The voice รอบ Battle มีไว้ทำไม เรามาลองแชร์ความคิดกันดีกว่า!

จากที่เคยติดตามชมมาทั้งของ US, UK และ ของไทยทั้งสามซีซัน
พอจะสรุปได้ตามแนวคิดของผมตามนี้นะ

- เลือกลูกทีมจับคู่กัน โดยอาจจะเลือกจากสไตล์เพลงใกล้กัน เพื่อเน้นการร้องประสานให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด เพลงไม่ล่ม

- เลือกเพลงที่ส่งให้แต่ละคนในร้องท่อนที่ตัวเองพาไปได้

- ตีความ ซ้อม พัฒนาขีดจำกัดของตัวเอง

- แสดงสด


โดยจริงๆ ตั้งแต่จับคู่แล้วครับ โค๊ชจะมองว่าใครน่าจะร้องเป็นอย่างไรบ้าง บางทีที่กดบางคนเข้ารอบ blind มาคือเพื่อให้มาจับคู่กับอีกคนที่ตัวเองมีนี่แหละ แต่ถามว่าจะฟันธงว่ากดมาเพื่อส่งอีกคนเข้ารอบไหม ขอบอกเลยว่าไม่ เพราะอะไร

เพราะหลังจากเลือกเพลงแล้ว โค๊ชแต่ละคนจะได้รู้จักตัวตนของนักร้องมากขึ้น รู้สไตล์ จังหวะ ท่อนที่โดดเด่น ซึ่งการซ้อมจะทำให้โค๊ชได้เห็นพัฒนาการในแต่ละคน บางคนทำได้ดีขึ้น บางคนอาจจะเท่าเดิม ซึ่งทั้งโค๊ชและผู้ช่วยอาจจะพยายามเปลี่ยนแปลงหรือช่วยให้คำแนะนำที่สามารถนำไปปรับใช้ในการร้องของแต่ละคน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำได้ในเวลาที่จำกัด

ซึ่งตรงนี้ก็เป็นส่วนที่โค๊ชและผู้ช่วยจะทำการเก็บคะแนนตรงนี้เลยครับ เพื่อดูถึงการพัฒนา ความหลากหลาย การต่อยอด สิ่งต่างๆ จะเริ่มดูจากตรงนี้ครับ บางครั้ง มวยรวงที่จับคู่มาอาจจะทำได้ดีจนโค๊ชน่าหนักใจ มวยหลักไม่ได้แสดงของ หรือมีจุดอ่อนที่ไม่ได้มองเห็นตอนแรกเพิ่มขึ้นมา ก็ต้องว่าไป ซึ่งบางทีอาจจะเซอไพรซ์ได้ว่า เฮ๊ย จริงๆคนนี้ร้องได้ขนาดนี้เลยเหรอ เหมือนกับได้รู้ความสามารถของลูกทีมตัวเองมากขึ้น

ท้ายที่สุดแล้ว อยู่ที่การแสดงสดครับ สำหรับโค๊ชที่เลือกมาจากบ้านแล้วคือ เค้าดูจากการซ้อมนี่แหละครับ แล้วก็คิดว่า ไม่น่าจะมีอะไรเซอไพร์สำหรับหน้างาน เลือกแล้วคนที่จะไปต่อ คือ สิ่งที่เลือกก็มาจากการซ้อมหลักๆนี่แหละครับ ไม่ใช่ว่าโค๊ชไม่พยายามปั้นนะ เท่าที่ผมดู โค๊ชจะพยายามช่วยให้ออกมาเป็นจุดเด่นของแต่ละคนจริงๆ แต่บางคนมันก็ได้เท่านี้ ซึ่งโค๊ชก็ดูแล้วว่า คงไปต่อได้ยาก หรือปั้นต่อไปได้จำกัด ตรงนี้ก็อาจจะเป็นเหตุให้เลือกมาจากบ้าน (หรือจริงๆเลือกมาจากการซ้อมน่ะแหละ)

ส่วนที่สำคัญอย่างนึง ผมว่าคนที่เข้ารอบแต่ละคน ไม่ธรรมดาครับ มีความมั่นใจกันมากในแต่ละคน จนอาจจะทำให้บางคน เกิดอีโก้ที่ฝึกสอน หรือเปลี่ยนสไตล์ยาก ซึ่งถ้าทำงานต่อเนื่องกันต่อไป โค๊ชคงมองว่าเป็นเรื่องยาก เลยอาจจะไม่อยากเก็บไว้ก็ได้ครับ ไม่ใช่ว่าเค้าไม่บอกนะครับว่าให้ปรับกันยังไง ตรงไหน แต่บางครั้ง ถ้าปรับแล้วไม่ได้ หรือเค้ายืนยันจะทำแบบนี้ แล้วไม่ได้ออกมาดีตามที่โค๊ชต้องการ โค๊ชคงหนักใจครับที่จะให้ไปต่อ ซึ่งก็เป็นไปได้ครับ

ส่วนอีกกรณีคือตอนซ้อมไม่มีปัญหาใดๆ ทำได้ดีพอๆกัน เรื่องทัศนคติส่วนตัว ไม่มีปัญหา ตรงนี้ใครก็ปั้นต่อได้ ถ้ากรณีนี้โค๊ชคงดูหน้างานครับ หรือไม่ก็ ตอนซ้อมทำได้ 9/10 อีกคน ได้ 8/10 แต่พอตอนแสดงสด ดันทำได้ 8/10 เท่ากัน หรืออาจจะได้ 7.5 จากตอนซ้อมที่ได้ถึง 9 ถ้าอีกคนไม่โดดไปจน 9 หรือ 10 ก็คงยากครับ เพราะโค๊ชคงเห็นตอนซ้อมหลายรอบแล้ว ดังนั้น หน้างานจริงๆ ก็มักจะได้แค่บางคู่ที่สูสีกันจริงๆ แต่หลายๆคู่ก็อย่างที่บอก บางทีตอนซ้อม มันบอกอะไรไปหมดแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีนะครับ ที่เลือกจากหน้างานอย่างเดียว แต่ก็นั่นแหละ เนื้อแท้แล้ว คนที่เลือก ก็คือคนที่โค๊ชคิดว่าเอาไปต่อยอดได้ทั้งนั้นเป็นประเด็นหลัก

ส่วนสำคัญอีกอย่างที่จะทำให้โค๊ชตัดสินใจให้ใครชนะหน้างาน ที่สำคัญนอกจากการทำในส่วนของตัวเองให้ดี นั่นก็คือ การประสานครับ เพลงคู่ที่แบทเทิลกัน หลายต่อหลายคู่ที่เราเห็นว่า แข่งกันตะเบ็ง งัดเทคนิคเข้าไปสู้กันบนเวลทีจนเกินความจำเป็น ทำให้เพลงมันดูป่วยๆ คนฟังแล้วอึดอัด กลับกันรอบนี้หากคู่ไหนประสานได้ดี ก็จะเป็นแบทเทิลที่มีแต่คนประทับใจและพูดถึง

ดังนั้น หากช่วงร้องหลักของนักร้อง ทำได้ไม่ดีพอ หรือแม้แต่การประสาน ที่จะพยายามข่มอีกฝั่งโดยไม่ได้เน้นไปที่การประสานเพลง ย่อมจะไม่ถูกใจโค๊ชแน่นอนครับ เพราะโค๊ชเองคงไม่ได้อยากได้ทุกอย่างมาจัดเต็ม ในเพลงที่มันไม่ใช่อารมณ์เพลงนั้น ดังจะเห็นได้จากรอบแบทเทิลหลายๆครั้ง ที่ทำไม บางคนร้องดีกว่า บางคนร้องดรอปกว่า แต่คนที่เรารู้สีกว่าร้องดีกว่านั้น เค้าร้องจัดเต็มเกินเพลงนั้นๆไป ทำให้ขาดการประสานงาน ทำให้เป็นเพลงที่เพราะ สำหรับร้องคนเดียว มากกว่าที่จะเป็นเพลงที่ร้องด้วยกัน

ดังนั้นตามที่ผมลองวิเคราะห์ดูครับ อันนี้เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องมีรอบแบทเทิล แล้วทำไมบางครั้ง โค๊ชถึงเลือกได้ไม่ตรงใจกับเรา เพราะอะไร

ลองแชร์ความเห็นกันได้นะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่