ทำไมอิหร่านไม่รวมรบกับอาหรับ ในสงคราม 6 วันเพื่อรุมอิสราเอลครับ ?

เห็นไม่กี่ปีมานี้อิหร่านบอกจะลบอิสเรียลออกจากแผนที่โลก
แต่ทำไมครั้งนั้นไม่ร่วมรบด้วยอะครับ

ถามต่อ ว่าด้วยศักยภาพกองทัพอิหร่าน
ตั้งแต่อดีต จนปัจจุบัน จะสู้อิสเรียลได้มั้ย ?


แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
***ถ้าใครสนใจเรื่อง "อิหร่าน" ยุคนั้นล่ะก็เมื่อประมาณ 2 ปีก่อน  มีภาพยนตร์เรื่อง "Argo" ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ "วิกฤติตัวประกันในอิหร่าน" ช่วงปลายยุค70'ด้วยครับลองไปหามาลองดูกัน***

     ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง "Argo" นี้สร้างขึ้นโดยอิงเนื้อหามาจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วง "วิกฤติตัวประกันที่อิหร่าน" ประมาณปลายยุค70'ครับ  กล่าวคือ ณ ห้วงนั้นอิหร่านมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างสายฟ้าแลบในช่วงต้นปีค.ศ.1979 เมื่อ "พระเจ้าชาห์ ปัลลาวี" ของอิหร่านซึ่งเป็นผู้นำที่โปรตะวันตกอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูต้องสเด็จลี้ภัยไปอเมริกาเพราะถูกประชาชนประท้วงขับไล่ลงจากอำนาจ (สมัยนั้นอิหร่านโปรตะวันตกแค่ไหนก็ดูเอาจากที่ว่าเป็นเพียงชาติเดียวในยุคนั้นนอกจากมะริกันที่มีเจ้าหน้าแมว "F-14 Tomcat" ประจำการ)  และแม้ว่า "พระเจ้าชาห์" จะทรงลี้ภัยไปยังอเมริกาแล้วแต่รัฐบาลของอิหร่านภายใต้การค้ำจุนของกองทัพก็ยังคงทำการบริหารประเทศต่อไปได้อยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง

   ทว่าจุดเปลี่ยนมาเกิดขึ้นเมื่อ "อะยา ตอลลาห์ โคมัยนี่ย์" ผู้นำทางศาสนาหัวรุนแรงที่เคยถูก "พระเจ้าชาห์" เนรเทศออกจากอิหร่านไปเมื่อ15ปีก่อน  ได้ตรงดิ่งจากฝรั่งเศสกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอนในอีกไม่กี่เดือนถัดมา  โดย "โคมัยนี่ย์" เองเป็นที่เคารพรักของชาวอิหร่านและนักศึกษาในยุคนั้นทำให้เขามีกองกำลังผู้สนับสนุนอยู่ในมือจำนวนมาก  ซึ่งภายหลังกลุ่มผู้สนับสนุนเหล่านี้จะก่อสงครามจลาจลกับฝ่ายกองทัพและรัฐบาล (ช่วงนี้มะริกันและตะวันตกเริ่มประกาศเตือนให้คนของตนเองออกจากอิหร่านแล้ว)  จนในที่สุดหลังความวุ่นวายต่างๆผ่านไปในช่วงปลายปีค.ศ.1979 "โคมัยนี่ย์" ก็สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำสูงสุดของประเทศ  และประกาศ "การปฏิวัติอิสลาม" ไปทั่วอิหร่านโดยหันมายึดถือแนวทางของศาสนาอิสลามในการปกครองประเทศแทนระบอบทุนนิยม

- รูปแถวบน ประชาชนชาวอิหร่านออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาล  และชูป้ายสนับสนุน "โคมัยนี่ย์" ไปทั่วกรุงเตหะราน

- รูปแถวล่าง (ซ้าย)ชาวอเมริกันติดป้ายแสดงความขอบคุณรัฐบาลแคนนาดาที่มีส่วนช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ทั้ง6คน  (ขวา)แผนผังของสนามบินที่ฑูตแคนนาดาวาดไว้อย่างคร่าวๆเพื่อให้ตัวประกันทั้ง6สามารถหลบหนีไปยังจุดปลอดภัยได้



     จากนั้นจึงเกิดการประท้วงขับไล่และต่อต้านชาวตะวันตกในประเทศอิหร่านอย่างหนักหน่วง  โดยเหตุการณ์อันรุนแรงที่สุดคือมีการจับเจ้าหน้าที่สถานฑูตและนักศึกษาชาวอเมริกันไปคุมขังไว้  พร้อมมีการเผยแพร่ภายตัวประกันเหล่านั้นในสภาพถูกปิดตาและมัดมือเท้าออกมาทางสถานีโทรทัศน์  จึงทำให้ทางรัฐบาลมะริกันต้องวางแผนอย่างเร่งด่วนเพื่อนำชาวอเมริกันที่ถูกจับเป็นตัวประกันกลับบ้าน (ยุคนั้น "จิมมี่ คาร์เตอร์" เป็นประธานาธิบดี)  จนนำไปสู่จุดกำเนิดของปฏิบัติการชิงตัวประกันที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ขึ้นมาภายหลังนั่นเองครับ (ดังเพราะล้มเหลวไม่ใช่สำเร็จ!)

     โดยเรื่องราวที่เห็นในภาพยนตร์นั้นคือปฏิบัติการ "Canadian Caper" (ไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการ) ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่สถานฑูตมะริกัน6คนตอนช่วงปลายปีค.ศ.1979  โดยฝีมือของทางการแคนนาดาและสายลับซี.ไอ.เอ.ที่แฝงตัวเข้าไปในฐานะทีมงานถ่ายภาพยนตร์  ส่วนการชิงตัวประกันอีกครั้งที่โด่งดังไปทั่วโลกคือ "ปฏิบัติการกรงเล็บอินทรีย์" (Operation Eagle Claw) ตอนเดือนสิงหาคมปีค.ศ.1980(ห่างกันเกือบ1ปี)  ซึ่งเป็นภารกิจช่วยเหลือตัวประกันที่ล้มเหลวและน่าอับอายมากที่สุดครั้งหนึ่งของพวกมะริกันชนคนเสรี  นอกจากนี้ปฏิบัติการดังกล่าวยังเป็นการเปิดเผยตัวตนของหน่วย "เดลต้าฟอร์ซ" ออกสู่สาตาชาวโลกเป็นครั้งแรก  และความล้มเหลวของปฏิบัติการนี้เองที่จะทำให้กองทัพมะริกันมีการจัดตั้งหน่วย "USSOCOM" ขึ้นมาในภายหลังเพื่อบริหารและจัดการภารกิจรบพิเศษต่างๆ  และยังเป็นจุดก่อกำเนิดของเจ้าเฮลิคอปเตอร์ "V-22 Osprey" อันโด่งดังด้วยครับ

- ภาพแถวบน เฮลิคอปเตอร์ที่เกิดอุบัติเหตุ ณ จุด Desert one ระหว่างปฏิบัติการกรงเล็บอินทรีย์

- ภาพแถวล่าง กำลังพลจากหน่วย "เดลต่าฟอร์ซ" ในปฏิบัติการกรงเล็บอินทรีย์



     โดยปฏิบัติการ "กรงเล็บอินทรีย์" นั้นมีขึ้นเพื่อจะช่วยเหลือชาวอเมริกันจำนวน52คนที่ถูกทางการอิหร่านจับตัวไว้ที่สถานฑูตมะริกัน  ซึ่งแผนการคือกองทัพจะใช้หน่วยรบพิเศษ "เดลต้าฟอร์ซ" เป็นหัวหอกในการชิงตัวประกัน  ด้วยการให้หน่วยจู่โจมลำเลียงด้วยเฮลิคอปเตอร์ "RH-53" ของนาวิกโยธินบินหลบเรดาห์ของอิหร่านไปซ่อนตัวอยู่กลางทะเลทราย  จากนั้นจึงเดินทางด้วยรถบรรทุกที่สายลับซี.ไอ.เอ.จัดหามาเข้าไปยังสถานฑูตและเปิดฉากโจมตีเพื่อช่วงชิงตัวประกันโดยมีกำลังทางอากาศสนับสนุน  จากนั้นเฮลิคอปเตอร์จะมารับตัวประกันและหน่วยจู่โจมไปยังฐานทัพอากาศซึ่งหน่วย "เรนเจอร์" ของมะริกันกระจายกำลังปิดล้อมสถานที่เอาไว้

    ก่อนที่หน่วยจู่โจมแปละตัวประกันจะขึ้นเครื่องลำเลียงC-140ออกจากอิหร่านเป็นการปิดฉากปฏิบัติการโดยสมบูรณ์  แต่ทว่าพอถึงวันปฏิบัติการจริงกลับเกิดปัญหาหลายอย่างเช่นเฮลิคอปเตอร์บางลำเสียหายขณะไปถึงจุดเติมน้ำมัน  อีกทั้งนักบินยังเจอสภาพทัศนวิสัยเลวร้ายมากจากพายุทราย  ยังผลให้เฮลิคอปเตอร์บางลำเสียหลักไปชนกับเครื่องบินเติมน้ำมันที่จุด "Desert One" จนเกิดการระเบิดขึ้นทำให้ทางกองทัพต้องสั่งยกเลิกแผนอย่างสายฟ้าแลบในเวลาต่อมา  จนหน่วยเดลต้าบางส่วนซึ่งไปถึงจุดนัดพบ (Desert Two) นั้นถูกโดดเดี่ยว  มีบันทึกไว้ว่าทหารหลายคนถึงกับต้องขอความช่วยเหลือจากนักธุรกิจต่างประเทศเพื่อหาตั๋วเครื่องบินพาณิชย์ในการเดินทางหลบหนีออกจากอิหร่านเลยก็มี

**รูปภาพจากจุดที่เครื่องบินมะริกันเกิดอุบัติเหตุกลางทะเลทราย  โดยเหตุการนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก  กระทั่งทหารมะริกันไม่มีแม้แต่เวลาที่จะนำร่างของเพื่อนที่ถูกเผาอยู่ในซากเครื่องบินกลับมาด้วย**



***เกี่ยวกับหน่วยDelta-Force***

   "เดลต้า-ฟอร์ซ" เป็นกองกำลังซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นมาในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างยุค60'-70'ซึ่งเวลานั้นภัยจากการก่อการร้ายกำลังทวีวงกว้างไปทั่วโลก  บรรดานายทหารระดับสูงของพวกมะริกันจึงมีแนวคิดที่จะจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษไว้รับมือกับการก่อการร้ายสากล  แต่ทว้าด้วยความที่พวกมะริกันไม่เคยเจอกับปัญหาการก่อการร้ายเช่นนี้มาก่อนจึงต้องไปขอความช่วยเหลือจากขาใหญ่ในอดีตซึ่งมีประสบการณ์มาอย่างโชกโชนนั่นคือพวกผู้ดีตีนแดงแห่งเกาะอังกฤษครับ

   โดยทางกองทัพบกได้จัดส่งนายทหารจากหน่วยรบพิเศษ(กรีนเบเร่ต์)จำนวนหนึ่ง  ให้ไปฝึกฝนหลักสูตรของบรรดาพลพรรค "S.A.S." (Special Air Service) ที่เกาะอังกฤษอย่างเข้มข้นเป็นเวลาหลายเดือน  และเมื่อนายทหารเหล่านั้นกลับมาก็นำความรู้และประสบการณ์ที่ไ่ด้มาช่วยพัฒนาหลักสูตรเป็นเวลานับสิบปีจนสามารถจัดตั้งหน่วย "เดลต้า-ฟอร์ซ" ซึ่งเป็นหน่วยรบขนาดเล็กเคลื่อนที่เร็วและเพียบพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยล่าสุดเท่าที่มีในตอนนั้นได้สำเร็จ

   โดยในยุคแรกๆนั้นกองกำลัง "เดลต้า-ฟอร์ซ" ถือว่าเป็นหน่วยลับสุดยอดที่ถูกปกปิดโดยรัฐบาลมะริกันซึ่งชอบปฏิเสธการมีอยู่จริงของหน่วยดังกล่าว  จนทำให้ "หน่วยเดลต้า" นั้นกลายเป็นเรื่องลึกลับที่ชวนให้สื่อมวลชนจำนวนมากพากันขุดคุ้ยข้อมูลต่างๆกันอย่างสนุกมือ  ในยุคนั้นเชื่อกันว่านักรบจาก "หน่วยเดลต้า" ล้วนเข้าไปมีบทบาทในการลอบสังหารผู้นำแลบุคคลสำคัญของประเทศต่างๆที่เป็นภัยกับมะริกัน  จนทำให้พวกสื่อพากันขนานนามบุคคลเหล่านี้ว่าเป็น "มือสังหาร" ของรัฐบาลอเมริกันเลยทีเดียว

   กระทั่งเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ตัวประกันขึ้นที่อิหร่านในช่วงปลายปีค.ศ.1979  หน่วยเดลต้าจึงเริ่มปรากฏโฉมให้ผู้คนเห็นเป็นครั้งแรกในรูปแบบของกองกำลังรบพิเศษเคลื่อนที่เร็วซึ่งพรั่งพร้อมไปด้วยอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมืออันไฮเทคทันสมัยที่สุดยิ่งกว่าหน่วยทหารใดๆในกองทัพ  แต่แล้ว ใน “ปฏิบัติการกรงเล็บอินทรีย์” ซึ่งรัฐบาลตั้งใจจะใช้กองกำลังบุกเข้าชิงตัวประกันชาวมะริกันที่พวกอิหร่านจับไว้  ความล้มเหลวอย่างน่าอดสูครั้งแรกของหน่วย "เดลต้า-ฟอร์ซ" ก็ปรากฏแก่สายตาชาวโลกเป็นครั้งแรก

    โดยหลังจากภารกิจนี้ล้มเหลวหน่วย "เดลต้า-ฟอร์ซ" ยังเข้าไปมีบทบาทในการรบนอกแบบที่อเมริกาใต้เพื่อปราบปรามพ่อค้ายาเสพย์ติด  การโรมรันในยุทธภูมิพายุทะเลทรายที่อิรัก  ปฏิบัติการเดือดเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยในโซมาเลียซึ่งประสบความล้มเหลว  ภารกิจถอนรากถอนโคนผู้ก่อกรายร้ายในอัฟกานิสถานเมื่อปี2001  ภารกิจในอิรักเพื่อโค่นล้ม "ซัดดัม ฮุสเซน" เมื่อปี2003 และปัจจุบันคือภารกิจไล่ล่าสมาชิกของกลุ่มก่อการร้ายหัวรุนแรงต่างๆครับ

**ภาพเรียงจากบนลงล่าง**

- กองกำลังเดลต้าขณะขึ้นเครื่องบินลำเลียง "C-141" ระหว่างปฏิบัติการกรงเล็บอินทรีย์

- ซากเครื่องบินของพวกมะริกันที่เสียหายจากการลุกไหม้ในปฏิบัติการกรงเล็บอินทรีย์

- ทหารอิหร่านขณะยืนล้อมรอบซากเครื่องบินที่เสียหายของพวกมะริกัน  ตรงกลางภาพเป็นศพของนักบินมะริกันที่เสียชีวิตและถูกปล่อยทิ้งไว้

-หน่วยเดลต้าในปฏิบัติการพายุทะเลทราย

-หน่วยเดลต้าที่โซมาเลีย

-หน่วยเดลต้าที่ถูกส่งมาฝึกกองทหารที่อัฟกานิสถาน

-หน่วยเดลต้าที่อิรัก

(May the Spoil be with you)
ขอสปอยล์จงสถิตย์อยู่กับท่าน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่