The Hundred Foot Journey
หนังที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น อบอวลไปด้วยแรงใจแห่งความฝัน
The Hundred-Foot Journey ปรุงชีวิต ลิขิตฝัน ระยะห่างจากภัตตาคารเลอ ซอล เปลอเรอร์ และเมซอง มุมไบไม่ได้ไกลเลย เพียงแค่หนึ่งร้อยฟุต ไม่มาก ไม่น้อยไปกว่านี้ มันเป็นระยะทางน้อยๆ ที่ทั้งครอบครัวคาดัมและมาดามมัลลอรีต้องเดินทางบ่อยๆ ระหว่างเรื่อง แต่มันเป็นมากกว่าเพียงแค่ระยะห่างระหว่างสถานที่ทั้งสองแห่ง เพราะมันเป็นช่วงเวลาหนึ่งในชีวิตที่เราจะต้องก้าวออกจากเขตปลอดภัยของตัวเอง และข้ามเข้าสู่เขตแดนที่ไม่คุ้นเคย เพื่อค้นหาตัวเอง
ผู้อำนวยการสร้างจูเลียต เบลค อดีตผู้บริหารที่จิม เฮนสัน คัมปะนีและเนชันแนล จีโอกราฟิก แชนแนล ได้ออกเดินทางเพื่อนำหนังสือเรื่องนี้สู่จอเงินด้วยเช่นกัน มันเริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคม ปี 2009 ในตอนที่เบลครู้สึกกระวนกระวายและไม่พอใจกับสภาพที่เป็นอยู่ในอาชีพการงานของเธอ เธอได้อ่านนิยายฉบับร่างของริชาร์ด โมเรส์เรื่อง “The Hundred Foot Journey” ซึ่งยังไม่ได้ถูกตีพิมพ์ในอเมริกา และเธอก็รู้สึกหลงเสน่ห์ของมันตั้งแต่ต้นจนจบ “ฉันตกหลุมรักเรื่องราวนี้ และภูมิประเทศที่วิเศษสุด พร้อมด้วยความคิดที่ว่าอาหารทำให้คนเราผูกพันกันได้ยังไงน่ะค่ะ” เบลคกล่าว เธอกล่าวต่อไปอีกว่า “ฉันชื่นชอบความขัดแย้งระหว่างภัตตาคารฝรั่งเศสชั้นสูงแห่งนี้กับภัตตาคารอาหารอินเดียที่มีสีสันสดใสค่ะ ที่หนึ่งเปิดเพลงโมสาร์ท ส่วนอีกที่หนึ่งเปิดเพลงบอลลีวูดเสียงดัง คุณก็เลยจะได้เจอกับความขัดแย้งด้านวัฒนธรรมระดับใหญ่โตค่ะ”
ในฐานะลูกสาวของผู้อพยพชาวเยอรมัน เบลคก็เลยรู้สึกเข้าใจธีมการอพยพในเรื่องราวเป็นอย่างดี เธอเติบโตขึ้นมาในบ้านที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองและพ่อแม่ของเธอปฏิเสธที่จะพูดถึงการเสียชีวิตของปู่ย่าของเธอในออสวิทซ์ เบลคเล่าว่า “เรื่องราวนี้โดนใจฉันจริงๆ เพราะตัวละครเหล่านี้ให้ความรู้สึกเหมือนว่าพวกเขาอาจเป็นครอบครัวของฉันเองก็ได้ มันมีธีมสำคัญมากมาย ทั้งการเหยียดเชื้อชาติ การยอมรับ และความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง ซึ่งปรากฏอยู่ในเรื่องราวผู้อพยพทุกเรื่องค่ะ”
เบลคที่เชื่อว่าเรื่องราวนี้จะกลายเป็นภาพยนตร์ที่เพอร์เฟ็กต์ได้ ได้ขอนัดคุยกับโมเรส์ผ่านทางเพื่อนที่รู้จักทั้งคู่ โดยเธอสัญญากับนักเขียนผู้นี้ว่า จะมีการสร้างเรื่องราวนี้เป็นภาพยนตร์ และคว้าสิทธิในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้มาได้ หลังจากนั้น เธอก็ได้เข้าไปคุยกับบริษัทโปรดักชันหลายแห่งเพื่อประเมินความสนใจในการดัดแปลงหนังสือเรื่องนี้ให้เป็นบทภาพยนตร์ ที่ฮาร์โป ฟิล์มส์ เรื่องราวนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อโอปราห์ วินฟรีย์ และเธอก็กลายเป็นแฟนของหนังสือเรื่องนี้และนักเขียนผู้นี้ในทันที สตีเวน สปีลเบิร์กและสเตซีย์ สไนเดอร์ที่ดรีมเวิร์คส์เองก็ทึ่งกับเรื่องราวนี้เช่นกัน และพวกเขาก็ตื่นเต้นกับศักยภาพของโปรเจ็กต์นี้
ไม่นานนัก ทั้งดรีมเวิร์คส์และฮาร์โปต่างก็เข้าร่วมโปรเจ็กต์นี้ โดยสปีลเบิร์กและวินฟรีย์ได้ร่วมงานกับเบลคในฐานะผู้อำนวยการสร้าง ทั้งคู่ชื่นชอบโอกาสในการได้ทำงานร่วมกันเพื่อนำเรื่องราวที่น่ายินดีนี้และข้อคิดที่ทรงพลังของมันในเรื่องของความเข้าใจและการยอมรับมาสู่จอเงิน ครั้งสุดท้ายที่พวกเขาได้ร่วมงานกันคือในปี 1985 ในภาพยนตร์เรื่อง “The Color Purple”
สปีลเบิร์ก กล่าวว่า “เรามีโอกาสในการนำพลังงานสร้างสรรค์ของเรามารวมกันในแบบที่เข้ากันได้อย่างลงตัวมากๆ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวนี้เกี่ยวกับการทำตัวเข้ากันของกลุ่มคนที่คุณไม่คิดฝันมาก่อนว่าจะเข้ากันได้” วินฟรีย์เล่าต่อว่า “มันเป็นนิยายที่เหมือนอัญมณีและงานศิลปะที่ทำและพูดในสิ่งที่ฉันพยายามจะบอกในงานของฉันและศิลปะของฉันตลอดชีวิตการทำงานของฉัน มันเป็นเรื่องราวที่ยกระดับจิตใจอย่างเหลือเชื่อ และฉันก็ชื่นชอบไอเดียของการได้ร่วมงานกับสตีเวนอีกครั้ง”
หนังสือเรื่องนี้กลายเป็นหนังสือเบสต์เซลเลอร์ระดับโลกและตีพิมพ์ใน 28 ประเทศ หนังสือเรื่องนี้เป็นหนังสือที่ได้รับเลือกจากบรรณาธิการใน “เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ บุ๊ค รีวิว” และได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในหนังสือยอดเยี่ยมช่วงซัมเมอร์ประจำปี 2010 ใน “โอ, เดอะ โอปราห์ แม็กกาซีน” ของวินฟรีย์ด้วย สำหรับเบลค ผู้ซึ่งการซื้อสิทธินิยายเรื่องแรกเป็นการซื้อสิทธินิยายของนักเขียนหน้าใหม่ และได้ร่วมงานกับสปีลเบิร์กและวินฟรีย์ เทพธิดาแห่งโชคชะตาดูเหมือนจะแย้มยิ้มให้กับเธอ
อุปสรรคต่อไปคือการหามือเขียนบทที่จะเข้าถึงเรื่องราวนี้และสามารถเนรมิตชีวิตให้กับตัวละครได้ มือเขียนบทที่ติดลิสต์อันดับแรกๆ คือสตีเวน ไนท์ ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงอคาเดมี อวอร์ด เจ้าของผลงานบทภาพยนตร์เรื่อง Eastern Promises” และ “Dirty Pretty Things” แต่ผู้อำนวยการสร้างก็กังวลกันว่ามือเขียนบทความสามารถระดับเขาจะยุ่งเกินกว่าจะตอบตกลงรึเปล่า ไนท์ ชาวเบอร์มิงแฮมทางตอนเหนือของอังกฤษ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีประชากรชาวอินเดียสูงสุดในอังกฤษแห่งหนึ่ง ตอบสนองต่อเรื่องราวนี้อย่างรวดเร็วและแน่นอนและผู้อำนวยการสร้างก็ตื่นเต้นมาก “สตีเวน ไนท์ นำเสนอหนังที่ซีเรียสด้วยอารมณ์ขันที่รุ่มรวยครับ” สปีลเบิร์กกล่าว “มันเป็นการถ่ายทอดหนังสือสู่บทหนังได้อย่างงดงามจริงๆ”
แลสซี ฮอลสตรอมเป็นตัวเลือกที่สมเหตุสมผลสำหรับการกำกับ “The Hundred-Foot Journey” ด้วยผลงานภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง “My Life as a Dog,” “The Cider House Rules” และ “Chocolat” เขามักบอกเล่าเรื่องราวที่ยอดเยี่ยมเสมอ และสไตล์และความคิดอ่านในการถ่ายทำของเขาก็เหมาะกับเรื่องราวนี้อย่างที่สุด สปีลเบิร์กเป็นแฟนผลงานของแลสซีตั้งแต่ช่วงเริ่มแรก และยกให้ “My Life as a Dog” เป็นหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดตลอดกาลของเขา
สำหรับฮอลสตรอม การร่วมงานกับสปีลเบิร์กฐานะผู้อำนวยการสร้าง เป็นประสบการณ์ที่น่าทึ่ง “สตีเวนให้ความช่วยเหลืออย่างมากในเรื่องของการคัดเลือกนักแสดง เขาให้ความเห็นเกี่ยวกับฟิล์มต่างๆ และเสนอแนะว่าจะปรับเปลี่ยนบทยังไงด้วยครับ” และฮอลสตรอมก็มีแต่คำชื่นชมให้กับผู้อำนวยการสร้างวินฟรีย์และเบลคด้วยเช่นกัน “ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับโอปราห์ วินฟรีย์” เขากล่าว “ผมรักแง่มุมที่ไม่กลัวใครในชีวิตเธอและวิธีที่เธอสามารถดึงเอาส่วนที่ดีที่สุดของคนออกมาได้ ส่วนจูเลียต เบลคก็เป็นผู้อำนวยการสร้างที่ชาญฉลาดมากๆ ที่ผมชื่นชมเธอมากๆ มันเหมือนกับความบังเอิญที่น่าอัศจรรย์ใจสำหรับผม การได้เรื่องราวเหมาะๆ ในเวลาที่เหมาะสม กับทีมนักแสดงที่ใช่ และกลุ่มผู้อำนวยการสร้างที่ใช่ มันเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นครับ”
วินฟรีย์กล่าวว่า “ฉันชื่นชอบผลงานของแลสซี และสิ่งที่เขาทำได้อย่างวิเศษสุดคือการวางตำแหน่งนักแสดงให้อยู่ในสถานที่ที่งดงาม อย่างชนบทฝรั่งเศสที่สวยงาม และปล่อยให้ความจริงของเรื่องราวปรากฏออกมา” เบลคกล่าวเสริมว่า “เขาเป็นผู้กำกับที่วิเศษสุดและอ่อนไหวมากๆ และเขาก็เข้าใจเรื่องราวนี้ดีในแบบที่น่าทึ่งทีเดียว แล้วเขาก็เข้ากับนักแสดงได้ดีมากๆ และเขาก็สามารถดึงเอาการแสดงที่เป็นธรรมชาติจากนักแสดงของเขาได้ด้วยการปล่อยให้พวกเขาเข้าถึงความจริงก่อนที่พวกเขาจะพูดตามบทน่ะ
The Hundred-Foot Journey ปรุงชีวิต ลิขิตฝัน เต็มไปด้วยรสชาติที่กลมกล่อมและอบอวลไปทั่วลิ้น ชัยชนะเหนือการแบ่งแยก ที่ผลิบานด้วยความรักและหัวใจ มันคือการแสดงถึงการรวมกันของสองโลกและแรงขับเคลื่อนของชายหนุ่มเพื่อแสวงหาความรู้สึกถึงบ้าน ในทุกๆเมนู ไม่ว่าที่ไหนที่เขาต้องไป เรื่องราวของครอบครัวชาวอินเดียครอบครัวหนึ่งตัดสินใจย้ายไปยังประเทศฝรั่งเศสแล้วเปิดร้านอาหารตรงข้ามกับภัตตาคารท่ามกลางความกดดันภายในครอบครัว พวกเขาจะสู้ต่อไปไหวหรือไม่
ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://movie.bugaboo.tv/watch/148845/
สูตรลับความสำเร็จ จากหน้ากระดาษสู่จอเงินของ The Hundred Foot Journey
หนังที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น อบอวลไปด้วยแรงใจแห่งความฝัน
The Hundred-Foot Journey ปรุงชีวิต ลิขิตฝัน ระยะห่างจากภัตตาคารเลอ ซอล เปลอเรอร์ และเมซอง มุมไบไม่ได้ไกลเลย เพียงแค่หนึ่งร้อยฟุต ไม่มาก ไม่น้อยไปกว่านี้ มันเป็นระยะทางน้อยๆ ที่ทั้งครอบครัวคาดัมและมาดามมัลลอรีต้องเดินทางบ่อยๆ ระหว่างเรื่อง แต่มันเป็นมากกว่าเพียงแค่ระยะห่างระหว่างสถานที่ทั้งสองแห่ง เพราะมันเป็นช่วงเวลาหนึ่งในชีวิตที่เราจะต้องก้าวออกจากเขตปลอดภัยของตัวเอง และข้ามเข้าสู่เขตแดนที่ไม่คุ้นเคย เพื่อค้นหาตัวเอง
ผู้อำนวยการสร้างจูเลียต เบลค อดีตผู้บริหารที่จิม เฮนสัน คัมปะนีและเนชันแนล จีโอกราฟิก แชนแนล ได้ออกเดินทางเพื่อนำหนังสือเรื่องนี้สู่จอเงินด้วยเช่นกัน มันเริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคม ปี 2009 ในตอนที่เบลครู้สึกกระวนกระวายและไม่พอใจกับสภาพที่เป็นอยู่ในอาชีพการงานของเธอ เธอได้อ่านนิยายฉบับร่างของริชาร์ด โมเรส์เรื่อง “The Hundred Foot Journey” ซึ่งยังไม่ได้ถูกตีพิมพ์ในอเมริกา และเธอก็รู้สึกหลงเสน่ห์ของมันตั้งแต่ต้นจนจบ “ฉันตกหลุมรักเรื่องราวนี้ และภูมิประเทศที่วิเศษสุด พร้อมด้วยความคิดที่ว่าอาหารทำให้คนเราผูกพันกันได้ยังไงน่ะค่ะ” เบลคกล่าว เธอกล่าวต่อไปอีกว่า “ฉันชื่นชอบความขัดแย้งระหว่างภัตตาคารฝรั่งเศสชั้นสูงแห่งนี้กับภัตตาคารอาหารอินเดียที่มีสีสันสดใสค่ะ ที่หนึ่งเปิดเพลงโมสาร์ท ส่วนอีกที่หนึ่งเปิดเพลงบอลลีวูดเสียงดัง คุณก็เลยจะได้เจอกับความขัดแย้งด้านวัฒนธรรมระดับใหญ่โตค่ะ”
ในฐานะลูกสาวของผู้อพยพชาวเยอรมัน เบลคก็เลยรู้สึกเข้าใจธีมการอพยพในเรื่องราวเป็นอย่างดี เธอเติบโตขึ้นมาในบ้านที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองและพ่อแม่ของเธอปฏิเสธที่จะพูดถึงการเสียชีวิตของปู่ย่าของเธอในออสวิทซ์ เบลคเล่าว่า “เรื่องราวนี้โดนใจฉันจริงๆ เพราะตัวละครเหล่านี้ให้ความรู้สึกเหมือนว่าพวกเขาอาจเป็นครอบครัวของฉันเองก็ได้ มันมีธีมสำคัญมากมาย ทั้งการเหยียดเชื้อชาติ การยอมรับ และความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง ซึ่งปรากฏอยู่ในเรื่องราวผู้อพยพทุกเรื่องค่ะ”
เบลคที่เชื่อว่าเรื่องราวนี้จะกลายเป็นภาพยนตร์ที่เพอร์เฟ็กต์ได้ ได้ขอนัดคุยกับโมเรส์ผ่านทางเพื่อนที่รู้จักทั้งคู่ โดยเธอสัญญากับนักเขียนผู้นี้ว่า จะมีการสร้างเรื่องราวนี้เป็นภาพยนตร์ และคว้าสิทธิในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้มาได้ หลังจากนั้น เธอก็ได้เข้าไปคุยกับบริษัทโปรดักชันหลายแห่งเพื่อประเมินความสนใจในการดัดแปลงหนังสือเรื่องนี้ให้เป็นบทภาพยนตร์ ที่ฮาร์โป ฟิล์มส์ เรื่องราวนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อโอปราห์ วินฟรีย์ และเธอก็กลายเป็นแฟนของหนังสือเรื่องนี้และนักเขียนผู้นี้ในทันที สตีเวน สปีลเบิร์กและสเตซีย์ สไนเดอร์ที่ดรีมเวิร์คส์เองก็ทึ่งกับเรื่องราวนี้เช่นกัน และพวกเขาก็ตื่นเต้นกับศักยภาพของโปรเจ็กต์นี้
ไม่นานนัก ทั้งดรีมเวิร์คส์และฮาร์โปต่างก็เข้าร่วมโปรเจ็กต์นี้ โดยสปีลเบิร์กและวินฟรีย์ได้ร่วมงานกับเบลคในฐานะผู้อำนวยการสร้าง ทั้งคู่ชื่นชอบโอกาสในการได้ทำงานร่วมกันเพื่อนำเรื่องราวที่น่ายินดีนี้และข้อคิดที่ทรงพลังของมันในเรื่องของความเข้าใจและการยอมรับมาสู่จอเงิน ครั้งสุดท้ายที่พวกเขาได้ร่วมงานกันคือในปี 1985 ในภาพยนตร์เรื่อง “The Color Purple”
สปีลเบิร์ก กล่าวว่า “เรามีโอกาสในการนำพลังงานสร้างสรรค์ของเรามารวมกันในแบบที่เข้ากันได้อย่างลงตัวมากๆ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวนี้เกี่ยวกับการทำตัวเข้ากันของกลุ่มคนที่คุณไม่คิดฝันมาก่อนว่าจะเข้ากันได้” วินฟรีย์เล่าต่อว่า “มันเป็นนิยายที่เหมือนอัญมณีและงานศิลปะที่ทำและพูดในสิ่งที่ฉันพยายามจะบอกในงานของฉันและศิลปะของฉันตลอดชีวิตการทำงานของฉัน มันเป็นเรื่องราวที่ยกระดับจิตใจอย่างเหลือเชื่อ และฉันก็ชื่นชอบไอเดียของการได้ร่วมงานกับสตีเวนอีกครั้ง”
หนังสือเรื่องนี้กลายเป็นหนังสือเบสต์เซลเลอร์ระดับโลกและตีพิมพ์ใน 28 ประเทศ หนังสือเรื่องนี้เป็นหนังสือที่ได้รับเลือกจากบรรณาธิการใน “เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ บุ๊ค รีวิว” และได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในหนังสือยอดเยี่ยมช่วงซัมเมอร์ประจำปี 2010 ใน “โอ, เดอะ โอปราห์ แม็กกาซีน” ของวินฟรีย์ด้วย สำหรับเบลค ผู้ซึ่งการซื้อสิทธินิยายเรื่องแรกเป็นการซื้อสิทธินิยายของนักเขียนหน้าใหม่ และได้ร่วมงานกับสปีลเบิร์กและวินฟรีย์ เทพธิดาแห่งโชคชะตาดูเหมือนจะแย้มยิ้มให้กับเธอ
อุปสรรคต่อไปคือการหามือเขียนบทที่จะเข้าถึงเรื่องราวนี้และสามารถเนรมิตชีวิตให้กับตัวละครได้ มือเขียนบทที่ติดลิสต์อันดับแรกๆ คือสตีเวน ไนท์ ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงอคาเดมี อวอร์ด เจ้าของผลงานบทภาพยนตร์เรื่อง Eastern Promises” และ “Dirty Pretty Things” แต่ผู้อำนวยการสร้างก็กังวลกันว่ามือเขียนบทความสามารถระดับเขาจะยุ่งเกินกว่าจะตอบตกลงรึเปล่า ไนท์ ชาวเบอร์มิงแฮมทางตอนเหนือของอังกฤษ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีประชากรชาวอินเดียสูงสุดในอังกฤษแห่งหนึ่ง ตอบสนองต่อเรื่องราวนี้อย่างรวดเร็วและแน่นอนและผู้อำนวยการสร้างก็ตื่นเต้นมาก “สตีเวน ไนท์ นำเสนอหนังที่ซีเรียสด้วยอารมณ์ขันที่รุ่มรวยครับ” สปีลเบิร์กกล่าว “มันเป็นการถ่ายทอดหนังสือสู่บทหนังได้อย่างงดงามจริงๆ”
แลสซี ฮอลสตรอมเป็นตัวเลือกที่สมเหตุสมผลสำหรับการกำกับ “The Hundred-Foot Journey” ด้วยผลงานภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง “My Life as a Dog,” “The Cider House Rules” และ “Chocolat” เขามักบอกเล่าเรื่องราวที่ยอดเยี่ยมเสมอ และสไตล์และความคิดอ่านในการถ่ายทำของเขาก็เหมาะกับเรื่องราวนี้อย่างที่สุด สปีลเบิร์กเป็นแฟนผลงานของแลสซีตั้งแต่ช่วงเริ่มแรก และยกให้ “My Life as a Dog” เป็นหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดตลอดกาลของเขา
สำหรับฮอลสตรอม การร่วมงานกับสปีลเบิร์กฐานะผู้อำนวยการสร้าง เป็นประสบการณ์ที่น่าทึ่ง “สตีเวนให้ความช่วยเหลืออย่างมากในเรื่องของการคัดเลือกนักแสดง เขาให้ความเห็นเกี่ยวกับฟิล์มต่างๆ และเสนอแนะว่าจะปรับเปลี่ยนบทยังไงด้วยครับ” และฮอลสตรอมก็มีแต่คำชื่นชมให้กับผู้อำนวยการสร้างวินฟรีย์และเบลคด้วยเช่นกัน “ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับโอปราห์ วินฟรีย์” เขากล่าว “ผมรักแง่มุมที่ไม่กลัวใครในชีวิตเธอและวิธีที่เธอสามารถดึงเอาส่วนที่ดีที่สุดของคนออกมาได้ ส่วนจูเลียต เบลคก็เป็นผู้อำนวยการสร้างที่ชาญฉลาดมากๆ ที่ผมชื่นชมเธอมากๆ มันเหมือนกับความบังเอิญที่น่าอัศจรรย์ใจสำหรับผม การได้เรื่องราวเหมาะๆ ในเวลาที่เหมาะสม กับทีมนักแสดงที่ใช่ และกลุ่มผู้อำนวยการสร้างที่ใช่ มันเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นครับ”
วินฟรีย์กล่าวว่า “ฉันชื่นชอบผลงานของแลสซี และสิ่งที่เขาทำได้อย่างวิเศษสุดคือการวางตำแหน่งนักแสดงให้อยู่ในสถานที่ที่งดงาม อย่างชนบทฝรั่งเศสที่สวยงาม และปล่อยให้ความจริงของเรื่องราวปรากฏออกมา” เบลคกล่าวเสริมว่า “เขาเป็นผู้กำกับที่วิเศษสุดและอ่อนไหวมากๆ และเขาก็เข้าใจเรื่องราวนี้ดีในแบบที่น่าทึ่งทีเดียว แล้วเขาก็เข้ากับนักแสดงได้ดีมากๆ และเขาก็สามารถดึงเอาการแสดงที่เป็นธรรมชาติจากนักแสดงของเขาได้ด้วยการปล่อยให้พวกเขาเข้าถึงความจริงก่อนที่พวกเขาจะพูดตามบทน่ะ
The Hundred-Foot Journey ปรุงชีวิต ลิขิตฝัน เต็มไปด้วยรสชาติที่กลมกล่อมและอบอวลไปทั่วลิ้น ชัยชนะเหนือการแบ่งแยก ที่ผลิบานด้วยความรักและหัวใจ มันคือการแสดงถึงการรวมกันของสองโลกและแรงขับเคลื่อนของชายหนุ่มเพื่อแสวงหาความรู้สึกถึงบ้าน ในทุกๆเมนู ไม่ว่าที่ไหนที่เขาต้องไป เรื่องราวของครอบครัวชาวอินเดียครอบครัวหนึ่งตัดสินใจย้ายไปยังประเทศฝรั่งเศสแล้วเปิดร้านอาหารตรงข้ามกับภัตตาคารท่ามกลางความกดดันภายในครอบครัว พวกเขาจะสู้ต่อไปไหวหรือไม่
ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้