สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
.
.
.
ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างบล็อคปูพื้นที่ใช้กับ... " ทางสัญจรด้วยยานพาหนะ " ...นะครับ
.
เพราะบล็อคปูพื้นมี 2-3 ประเภทแยกตามการใช้งาน... เช่น เป็นทางเดินเท้าใช้เท้าเดินนี่แล , ทางสำหรับยานพาหนะ... อื่น ๆ
.
.
.
.
การเตรียมพื้นที่...หากพื้นที่กว้างและเครื่องมือพร้อม...อาจหมายถึงเครื่องจักรขนาดใหญ่.....และที่สำคัญการต้องดูว่า... " พื้น ณ ตรงนั้นจะใช้เพื่ออะไร " ในรูปนี้คือต้องการรองรับการใช้งานด้วยยานพาหนะ การปรับพื้นที่จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรใหญ่เข้ามาช่วย ในเเง่ดีก็คือการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เข้ามาช่วยจะทำให้พื้นล่างมีความแข็งแรงขึ้น..แน่นขึ้น
.
.
.
.
.
.
.
.
จากนั้นจะใช้ทรายหยาบมาโรยหน้าเพื่อปรับระดับผิวหน้าพื้นที่ทั้งหมด โดยใช้บล็อคจริงมาวางปรับระดับด้วยเส้นเอ็น + ระดับน้ำ ทั้งนี้เพื่อกำหนดทิศทางการลาดเอียงของการระบายน้ำ, ความลาดเอียงในการเข้า - ออก ของการลานทั้งหมด ส่วนคันหินด้านข้าง ( ตัวกั้นขอบข้าง / หากมี ) จะต้องต้องติดตั้งให้ได้เเนวให้ได้ระดับก่อนปูตัวผืนนะครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
ต่อไป..เราจะต้องปรับทรายหยาบให้แน่นด้วยเครื่องตบดิน
.
.
.
.
.
.
.
.
เมื่อพื้นที่ ๆ ปรับพร้อมแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการปูบล็อคลงบนผิวทราย การปูบล็อคขนาดไหนก่อน - หลัง ขึ้นอยู่กับลวดลายและชนิดของบล็อคที่แต่ละท่านเลือกใช้ครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
.
ในงานสนามจริง ๆ บริเวณขอบของลานที่ปูบล็อคจะต้องมีเศษของพื้นที่ๆ เหลือ หากเป็นบล็อคปูพื้นสำหรับทางสัญจรที่มีความหนาประมาณ 5 ซม. จะต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตัด การใช้เครื่องตัดตัวนี้ขอบของบล็อคที่ถูกตัดจะเรียบร้อยมากขึ้น
.
.
.
.
.
.
เมื่อการปูบล็อคบนผืนเสร็จแล้ว จะต้องใช้ทรายหยาบโรยหน้าพื้นที่ที่ปูทั้งหมด จากนั้นใช้เครื่องตบดินเดินบนผิวหน้าบล็อคทั้งหมดเพื่อเป็นการช่วยไล่ทรายอัดลงไปในร่องรอยต่อระหว่างบล็อคแต่ละก้อนนั่นเอง
.
.
.
.
.
.
.
ขั้นตอนสุดท้าย... เป็นการทาน้ำยาประสานทรายบนผิวหน้าบล็อค น้ำยาประสานทรายนี้จะช่วยให้ทรายระหว่างร่องของบล็อคแต่ละก้อนไม่หลุดไม่ไหลออกไปในเวลาอันสั้น ( แต่บ่ได้หมายความว่ามันจะช่วยได้ตลอดไปนะครับ )
.
.
.
จริง ๆ แล้ว ยังมีอีกขั้นหนึ่งแต่เป็นทางเลือกที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้ นั่นคือ..การทาน้ำยาเคลือบผิวหน้าบล็อคอีกที น้ำยานี้จะช่วยยืดสีสันบนผิวหน้าของบล็อคให้มีอายุยืนยาวขึ้น หากทาน้ำยาตัวนี้ลงไปบนผิวหน้าบล็อคสีของบล็อคจะสดขึ้นเข้มขึ้นประมาณหนึ่ง
.
.
*-*
.
.
.
ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างบล็อคปูพื้นที่ใช้กับ... " ทางสัญจรด้วยยานพาหนะ " ...นะครับ
.
เพราะบล็อคปูพื้นมี 2-3 ประเภทแยกตามการใช้งาน... เช่น เป็นทางเดินเท้าใช้เท้าเดินนี่แล , ทางสำหรับยานพาหนะ... อื่น ๆ
.
.
.
.
การเตรียมพื้นที่...หากพื้นที่กว้างและเครื่องมือพร้อม...อาจหมายถึงเครื่องจักรขนาดใหญ่.....และที่สำคัญการต้องดูว่า... " พื้น ณ ตรงนั้นจะใช้เพื่ออะไร " ในรูปนี้คือต้องการรองรับการใช้งานด้วยยานพาหนะ การปรับพื้นที่จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรใหญ่เข้ามาช่วย ในเเง่ดีก็คือการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เข้ามาช่วยจะทำให้พื้นล่างมีความแข็งแรงขึ้น..แน่นขึ้น
.
.
.
.
.
.
.
.
จากนั้นจะใช้ทรายหยาบมาโรยหน้าเพื่อปรับระดับผิวหน้าพื้นที่ทั้งหมด โดยใช้บล็อคจริงมาวางปรับระดับด้วยเส้นเอ็น + ระดับน้ำ ทั้งนี้เพื่อกำหนดทิศทางการลาดเอียงของการระบายน้ำ, ความลาดเอียงในการเข้า - ออก ของการลานทั้งหมด ส่วนคันหินด้านข้าง ( ตัวกั้นขอบข้าง / หากมี ) จะต้องต้องติดตั้งให้ได้เเนวให้ได้ระดับก่อนปูตัวผืนนะครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
ต่อไป..เราจะต้องปรับทรายหยาบให้แน่นด้วยเครื่องตบดิน
.
.
.
.
.
.
.
.
เมื่อพื้นที่ ๆ ปรับพร้อมแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการปูบล็อคลงบนผิวทราย การปูบล็อคขนาดไหนก่อน - หลัง ขึ้นอยู่กับลวดลายและชนิดของบล็อคที่แต่ละท่านเลือกใช้ครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
.
ในงานสนามจริง ๆ บริเวณขอบของลานที่ปูบล็อคจะต้องมีเศษของพื้นที่ๆ เหลือ หากเป็นบล็อคปูพื้นสำหรับทางสัญจรที่มีความหนาประมาณ 5 ซม. จะต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตัด การใช้เครื่องตัดตัวนี้ขอบของบล็อคที่ถูกตัดจะเรียบร้อยมากขึ้น
.
.
.
.
.
.
เมื่อการปูบล็อคบนผืนเสร็จแล้ว จะต้องใช้ทรายหยาบโรยหน้าพื้นที่ที่ปูทั้งหมด จากนั้นใช้เครื่องตบดินเดินบนผิวหน้าบล็อคทั้งหมดเพื่อเป็นการช่วยไล่ทรายอัดลงไปในร่องรอยต่อระหว่างบล็อคแต่ละก้อนนั่นเอง
.
.
.
.
.
.
.
ขั้นตอนสุดท้าย... เป็นการทาน้ำยาประสานทรายบนผิวหน้าบล็อค น้ำยาประสานทรายนี้จะช่วยให้ทรายระหว่างร่องของบล็อคแต่ละก้อนไม่หลุดไม่ไหลออกไปในเวลาอันสั้น ( แต่บ่ได้หมายความว่ามันจะช่วยได้ตลอดไปนะครับ )
.
.
.
จริง ๆ แล้ว ยังมีอีกขั้นหนึ่งแต่เป็นทางเลือกที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้ นั่นคือ..การทาน้ำยาเคลือบผิวหน้าบล็อคอีกที น้ำยานี้จะช่วยยืดสีสันบนผิวหน้าของบล็อคให้มีอายุยืนยาวขึ้น หากทาน้ำยาตัวนี้ลงไปบนผิวหน้าบล็อคสีของบล็อคจะสดขึ้นเข้มขึ้นประมาณหนึ่ง
.
.
*-*
.
แสดงความคิดเห็น
ปูอิฐตัวหนอนแบบไหนจึงจะถูกต้อง
อยากทราบว่าควรปูทรายก่อนแล้วปูพลาสติกดำ แล้วจึงปูตัวหนอนทับพลาสติก
หรือควรปูพลาสติกก่อน แล้วปูทรายทับ ตามด้วยตัวหนอน
ท่านผู้มีประสบการณ์ช่วยชี้แนะข้อดี ข้อเสียของทั้งสองวิธีนี้ด้วยครับ
ขอบพระคุณอย่างสูง