"โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่น่ากลัว" รายการ SciFind ตอนที่ 10 แล้วครับ เปลี่ยนประเด็นดีเบตฮอตๆ จากเรื่องความเชื่อ มาเป็นความหวาดกลัวกันบ้าง ... ใครๆ ก็รู้บ้านเราเนี่ยแทบไม่มีความมั่นคงทางพลังงานซะเลย พึ่งพาแหล่งเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าจากต่างประเทศเสียมาก ขณะที่แผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็มาชะงักไปอย่างแรงหลังจากเกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่ญี่ปุ่น
ตกลงว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน อันตรายหรือไม่ เราจะดูแคความปลอดภัยมันได้อย่างไร มาลองชมคลิปรายการ SciFind ตอนนี้กันดูนะครับ พร้อมกับข้อเท็จจริงจาก รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ Thawatchai Onjun นักนิวเคลียร์ชั้นนำของไทย จากสถาบัน SIIT ของ ม.ธรรมศาสตร์ มาให้ข้อมูลที่หลายคนยังสงสัยเรื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครับ
ถ้าชอบช่วยกดไลค์ในยูทูปด้วยนะครับ
http://www.youtube.com/watch?v=xgsO500guJ0
------------------------------
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่น่ากลัว
ข้อมูลโดย รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสรินธร
Q – โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่างจากโรงไฟฟ้าแบบอื่นอย่างไร
A – โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่อาศัยหลักการเดียวกันคือ นำพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิงไปต้มน้ำ เพื่อกลายเป็นไอน้ำ แล้วนำไปหมุนกังหันเพื่อปั่นกระแสไฟฟ้า ที่ต่างกันก็คือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะนำเอาความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์มาต้มน้ำ ทดแทนพลังงานความร้อน จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง โดยมีจุดเด่นคือ ต้นทุนเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้ามีราคาไม่แพงมาก และไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่นำไปสู่ภาวะโลกร้อน
Q – ระบบรักษาความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีประสิทธิภาพสูงขนาดไหน
A - ความกังวลเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยในโรงไฟฟ้าเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน หรือขาดข้อมูลที่แท้จริง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีการดำเนินการมายาวนานมากกว่า 50 ปี วิศวกรได้พัฒนาระบบความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการนำ เทคโนโลยีใหม่มาใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การลดการพึ่งพิงมนุษย์สำหรับระบบความปลอดภัยพื้นฐาน การสร้างอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ อีกชั้นเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของกากกัมมันตรังสี เมื่อมีอุบัติเหตุการรั่วไหล รวมทั้ง การมีบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วภายในอาคาร มีรายงานว่าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กว่า 400 แห่งทั่วโลก มีอุบัติเหตุที่มีผลกระทบสูงเพียง 4 ครั้งเท่านั้น และมีเพียงแค่ 1 ครั้งเท่านั้น ที่มีบุคลากรในโรงไฟฟ้าเสียชีวิต โดยตรงจากรังสี หรือการระเบิด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความปลอดภัยสูงมาก
Q – เชื้อเพลิงใช้แล้วหรือกากกัมมันตรังสีนำไปเก็บไว้ที่ไหน
A - ก่อนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จะต้องมีการวางแผนการจัดการเกี่ยวกับ เชื้อเพลิงใช้แล้วหรือกากกัมมันตรังสีที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ต้องมีสระน้ำเพื่อแช่เชื้อเพลิงใช้แล้ว ในระยะแรก และในระยะต่อไปสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยนำไปผสมกับ เชื้อเพลิงใหม่ หรือสามารถนำไปเก็บในส่วนอื่นของโรงไฟฟ้าหรือสถานที่อื่น เช่น การฝังใต้ดิน เป็นต้น โดยจะขึ้นอยู่กับนโยบายของประเทศนั้น ๆ ซึ่งจะทำข้อตกลงกับผู้สร้างโรงไฟฟ้า การจัดการกับเชื้อเพลิงใช้แล้วและกากกัมมันตรังสีจะต้องมีระเบียบขั้นตอนที่ชัดเจน และมีการควบคุมอย่างเข้มข้นจากกฎหมายภายในประเทศนั้นๆ และองค์ระหว่างประเทศ เช่น ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือ IAEA เป็นต้น
รายการ SciFind ตอนที่ 10 "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่น่ากลัว"
ตกลงว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน อันตรายหรือไม่ เราจะดูแคความปลอดภัยมันได้อย่างไร มาลองชมคลิปรายการ SciFind ตอนนี้กันดูนะครับ พร้อมกับข้อเท็จจริงจาก รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ Thawatchai Onjun นักนิวเคลียร์ชั้นนำของไทย จากสถาบัน SIIT ของ ม.ธรรมศาสตร์ มาให้ข้อมูลที่หลายคนยังสงสัยเรื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครับ
ถ้าชอบช่วยกดไลค์ในยูทูปด้วยนะครับ
http://www.youtube.com/watch?v=xgsO500guJ0
------------------------------
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่น่ากลัว
ข้อมูลโดย รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสรินธร
Q – โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่างจากโรงไฟฟ้าแบบอื่นอย่างไร
A – โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่อาศัยหลักการเดียวกันคือ นำพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิงไปต้มน้ำ เพื่อกลายเป็นไอน้ำ แล้วนำไปหมุนกังหันเพื่อปั่นกระแสไฟฟ้า ที่ต่างกันก็คือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะนำเอาความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์มาต้มน้ำ ทดแทนพลังงานความร้อน จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง โดยมีจุดเด่นคือ ต้นทุนเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้ามีราคาไม่แพงมาก และไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่นำไปสู่ภาวะโลกร้อน
Q – ระบบรักษาความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีประสิทธิภาพสูงขนาดไหน
A - ความกังวลเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยในโรงไฟฟ้าเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน หรือขาดข้อมูลที่แท้จริง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีการดำเนินการมายาวนานมากกว่า 50 ปี วิศวกรได้พัฒนาระบบความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการนำ เทคโนโลยีใหม่มาใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การลดการพึ่งพิงมนุษย์สำหรับระบบความปลอดภัยพื้นฐาน การสร้างอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ อีกชั้นเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของกากกัมมันตรังสี เมื่อมีอุบัติเหตุการรั่วไหล รวมทั้ง การมีบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วภายในอาคาร มีรายงานว่าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กว่า 400 แห่งทั่วโลก มีอุบัติเหตุที่มีผลกระทบสูงเพียง 4 ครั้งเท่านั้น และมีเพียงแค่ 1 ครั้งเท่านั้น ที่มีบุคลากรในโรงไฟฟ้าเสียชีวิต โดยตรงจากรังสี หรือการระเบิด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความปลอดภัยสูงมาก
Q – เชื้อเพลิงใช้แล้วหรือกากกัมมันตรังสีนำไปเก็บไว้ที่ไหน
A - ก่อนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จะต้องมีการวางแผนการจัดการเกี่ยวกับ เชื้อเพลิงใช้แล้วหรือกากกัมมันตรังสีที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ต้องมีสระน้ำเพื่อแช่เชื้อเพลิงใช้แล้ว ในระยะแรก และในระยะต่อไปสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยนำไปผสมกับ เชื้อเพลิงใหม่ หรือสามารถนำไปเก็บในส่วนอื่นของโรงไฟฟ้าหรือสถานที่อื่น เช่น การฝังใต้ดิน เป็นต้น โดยจะขึ้นอยู่กับนโยบายของประเทศนั้น ๆ ซึ่งจะทำข้อตกลงกับผู้สร้างโรงไฟฟ้า การจัดการกับเชื้อเพลิงใช้แล้วและกากกัมมันตรังสีจะต้องมีระเบียบขั้นตอนที่ชัดเจน และมีการควบคุมอย่างเข้มข้นจากกฎหมายภายในประเทศนั้นๆ และองค์ระหว่างประเทศ เช่น ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือ IAEA เป็นต้น