นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน (ซ้าย) จับมือกับนายดมีตรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ระหว่างการประชุมหารือในกรุงมอสโก วันที่ 13 ต.ค. 2557 (ภาพรอยเตอร์ส)
เอเจนซี - สืบเนื่องจากกำหนดการเดินทางเยือนกลุ่มประเทศยุโรปของนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเยือนรัสเซียเป็นเวลาสามวัน โดยนายกฯ ของทั้งสองประเทศ ได้จรดปากกาในข้อตกลงต่างๆ ตั้งแต่พลังงาน การเงิน ไปจนถึงรถไฟความเร็วสูง รวมมูลค่ามหาศาลเป็นที่น่าจับตามอง
การประชุมนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 19 ณ กรุงมอสโก เมืองหลวงของรัสเซีย เมื่อวันจันทร์ (13 ต.ค.) ที่ผ่านมา นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน และนายดมีตรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ร่วมลงนามข้อตกลงด้านต่างๆ อาทิ พลังงาน การค้า การเงิน และระบบขนส่งมวลชน ฯลฯ รวมทั้งสิ้น 39 ฉบับ
โครงการโดดเด่นคือ จีนจะเข้าไปช่วยพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของรัสเซีย ด้วยการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรก ระยะทาง 770 กม. มูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เชื่อมต่อกรุงมอสโกกับเมืองคาซาน (Kazan) มหานครสำคัญซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำโวลกา (Volga River) โดยมีกำหนดแล้วเสร็จปี 2561 ตรงกับช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่รัสเซียเป็นเจ้าภาพ
หนังสือพิมพ์มอสโก ไทม์ส ของรัสเซีย รายงานว่า รถไฟความเร็วสูงจากจีน จะวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 400 กม./ชม. ร่นระยะเวลาการเดินทางระหว่างสองเมืองจากเดิม 13 ชม. เหลือเพียง 3 ชม.ครึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ เส้นทางม้าเหล็กไฮสปีดดังกล่าว ยังจะเป็นโปรเจคนำร่องสู่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงรัสเซีย-ปักกิ่งในอนาคตอีกด้วย
นอกเหนือจากนั้น บริษัทการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศจีน (State Grid Corporation of China: SGCC) จะช่วยยกเครื่องโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าของรัสเซีย ขณะเดียวกันมหาอำนาจทั้งสองก็บรรลุข้อตกลงการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจระหว่างสกุลเงินหยวนจีนและรูเบิลของรัสเซีย มูลค่ากว่า 150,000 ล้านหยวน หรือราว 750,000 ล้านบาท
มาร์การเร็ต ไคลน์ นักวิจัยด้านยุโรปตะวันออกและยูเรเซีย สถาบันกิจการระหว่างประเทศและความมั่นคงในกรุงเบอร์ลิน เยอรมัน มองว่า มอสโกเต็มใจทำงานหนักเพื่อประสบผลสำเร็จในโครงการความร่วมมือครั้งใหญ่กับปักกิ่ง รวมถึงแสดงให้เห็นว่ารัสเซียมิได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว ตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของอียู (EU) ต่อกรณีความขัดแย้งในยูเครน
หยัง เฮ่า อาจารย์มหาวิทยาลัยเจียวทงปักกิ่ง ซึ่งศึกษาการจัดการขนส่งทางรถไฟเผย จีนสั่งสมประสบการณ์และเทคโนโลยีอันก้าวหน้าในการก่อสร้างและปฏิบัติงานด้านเส้นทางรถไฟ โดยยินดีส่งออกความรู้ความสามารถเหล่านี้ให้กับต่างชาติ สอดคล้องกับความต้องการของมอสโกที่อยากพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคและการบริการรถไฟในประเทศ
“จีน-รัสเซีย ร่วมมือด้านการรถไฟมายาวนาน ย้อนกลับไปได้ในช่วงทศวรรษ 1950 เมื่อครั้งที่จีนรับเอาเทคโนโลยี วิศวกรรม และระบบการรถไฟจากอดีตสหภาพโซเวียตมาปรับใช้สร้างเครือข่ายรถไฟของตัวเอง อย่างไรก็ดี ความร่วมมือเป็นอันต้องหยุดชะงักช่วงทศวรรษ 1960 หลังจากความสัมพันธ์ถดถอยลง ... แต่ตอนนี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว”
“งานแรกของจีนคือเอาชนะความแตกต่างของขนาดรางรถไฟให้ได้ มันไม่ง่ายที่จะออกแบบหรือสร้างเส้นทางรถไฟแบบรัสเซีย เพราะต้องปรับความกว้างของราง และต้องเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างให้เหมาะสมกับขบวนรถและอุปกรณ์อื่นๆ” หยังกล่าว
จีน-รัสเซีย เซ็นข้อตกลงหลายสิบฉบับ ปักธงเทคโนฯ รถไฟความเร็วสูงบนถิ่นหมีขาว
นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน (ซ้าย) จับมือกับนายดมีตรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ระหว่างการประชุมหารือในกรุงมอสโก วันที่ 13 ต.ค. 2557 (ภาพรอยเตอร์ส)
เอเจนซี - สืบเนื่องจากกำหนดการเดินทางเยือนกลุ่มประเทศยุโรปของนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเยือนรัสเซียเป็นเวลาสามวัน โดยนายกฯ ของทั้งสองประเทศ ได้จรดปากกาในข้อตกลงต่างๆ ตั้งแต่พลังงาน การเงิน ไปจนถึงรถไฟความเร็วสูง รวมมูลค่ามหาศาลเป็นที่น่าจับตามอง
การประชุมนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 19 ณ กรุงมอสโก เมืองหลวงของรัสเซีย เมื่อวันจันทร์ (13 ต.ค.) ที่ผ่านมา นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน และนายดมีตรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ร่วมลงนามข้อตกลงด้านต่างๆ อาทิ พลังงาน การค้า การเงิน และระบบขนส่งมวลชน ฯลฯ รวมทั้งสิ้น 39 ฉบับ
โครงการโดดเด่นคือ จีนจะเข้าไปช่วยพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของรัสเซีย ด้วยการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรก ระยะทาง 770 กม. มูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เชื่อมต่อกรุงมอสโกกับเมืองคาซาน (Kazan) มหานครสำคัญซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำโวลกา (Volga River) โดยมีกำหนดแล้วเสร็จปี 2561 ตรงกับช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่รัสเซียเป็นเจ้าภาพ
หนังสือพิมพ์มอสโก ไทม์ส ของรัสเซีย รายงานว่า รถไฟความเร็วสูงจากจีน จะวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 400 กม./ชม. ร่นระยะเวลาการเดินทางระหว่างสองเมืองจากเดิม 13 ชม. เหลือเพียง 3 ชม.ครึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ เส้นทางม้าเหล็กไฮสปีดดังกล่าว ยังจะเป็นโปรเจคนำร่องสู่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงรัสเซีย-ปักกิ่งในอนาคตอีกด้วย
นอกเหนือจากนั้น บริษัทการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศจีน (State Grid Corporation of China: SGCC) จะช่วยยกเครื่องโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าของรัสเซีย ขณะเดียวกันมหาอำนาจทั้งสองก็บรรลุข้อตกลงการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจระหว่างสกุลเงินหยวนจีนและรูเบิลของรัสเซีย มูลค่ากว่า 150,000 ล้านหยวน หรือราว 750,000 ล้านบาท
มาร์การเร็ต ไคลน์ นักวิจัยด้านยุโรปตะวันออกและยูเรเซีย สถาบันกิจการระหว่างประเทศและความมั่นคงในกรุงเบอร์ลิน เยอรมัน มองว่า มอสโกเต็มใจทำงานหนักเพื่อประสบผลสำเร็จในโครงการความร่วมมือครั้งใหญ่กับปักกิ่ง รวมถึงแสดงให้เห็นว่ารัสเซียมิได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว ตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของอียู (EU) ต่อกรณีความขัดแย้งในยูเครน
หยัง เฮ่า อาจารย์มหาวิทยาลัยเจียวทงปักกิ่ง ซึ่งศึกษาการจัดการขนส่งทางรถไฟเผย จีนสั่งสมประสบการณ์และเทคโนโลยีอันก้าวหน้าในการก่อสร้างและปฏิบัติงานด้านเส้นทางรถไฟ โดยยินดีส่งออกความรู้ความสามารถเหล่านี้ให้กับต่างชาติ สอดคล้องกับความต้องการของมอสโกที่อยากพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคและการบริการรถไฟในประเทศ
“จีน-รัสเซีย ร่วมมือด้านการรถไฟมายาวนาน ย้อนกลับไปได้ในช่วงทศวรรษ 1950 เมื่อครั้งที่จีนรับเอาเทคโนโลยี วิศวกรรม และระบบการรถไฟจากอดีตสหภาพโซเวียตมาปรับใช้สร้างเครือข่ายรถไฟของตัวเอง อย่างไรก็ดี ความร่วมมือเป็นอันต้องหยุดชะงักช่วงทศวรรษ 1960 หลังจากความสัมพันธ์ถดถอยลง ... แต่ตอนนี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว”
“งานแรกของจีนคือเอาชนะความแตกต่างของขนาดรางรถไฟให้ได้ มันไม่ง่ายที่จะออกแบบหรือสร้างเส้นทางรถไฟแบบรัสเซีย เพราะต้องปรับความกว้างของราง และต้องเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างให้เหมาะสมกับขบวนรถและอุปกรณ์อื่นๆ” หยังกล่าว