ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เครือข่ายเกษตรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี ได้จัดประชุมใหญ่และเสวนา
กู้ชีพชาวสวนยาง เพื่อพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันให้ได้ประโยชน์ในทุกมิติจากการใช้ยางพาราและปาล์มน้ำมัน หลังจากในวันที่ 27 กรกฎาคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคสช.มีมติมอบหมายให้ทุกกระทรวง หน่วยงานรายการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากยางพาราหรือผลิตภัณฑ์จากยางพาราในประเทศให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณยางพาราในสต็อก
โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาอาทิ นายมาโนช เสนพงศ์ นายกอบจ.นครศรีธรรมราช รศ.ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.เลิศชาย ศิริชัย คณะบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตัวแทนอบจ.14 จังหวัดภาคใต้และจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ นายสุนทร รักษ์รงค์ ผู้ประสานงานแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง นายเพิกรวมถึงเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่เข้าร่วมจำนวนมาก
โดยภายหลังการสัมมนาในช่วงเช้า แนวร่วมกู้ชีพชาวสวนอย่างได้มีมติยื่น 5 ข้อเสนอไปยังรัฐบาลคือ 1.
ให้รัฐบาลและผู้ส่งออกหามาตรการที่จะทำให้ราคายางพาราอยู่ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัมภายใน 45 วัน โดยเสนอให้รัฐบาลจ่ายชดเชยราคาส่วนต่างแก่เกษตรกรเป็นพันธบัตรรัฐบาล 2.ให้รัฐบาลยกเลิกการขายยางพาราในสต็อก 2.1 แสนตัน และนำยางพารามาใช้ในประเทศ ผ่านช่องทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอื่นๆ อีกทั้งให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการที่มาจากตัวแทนของชาวสวนยางพารา เพื่อตรวจเช็คสต็อกยางพารา 3.กรณีมาตรการยึดยางพาราคืนองกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้รัฐบาลปฏิบัติตามคำสั่งคสช.ข้อ 66 คือ ไม่ให้กระทบผู้รายได้ต่ำ 4.ให้รัฐบาลและคสช.แก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำยางพารามาใช้เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์และกิจกรรมต่างๆได้ 5.จัดตั้งแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยางพาราเพื่อดำเนินกิจกรรมเคลื่อนไหว เปิดเวทีระดมความเห็นจากพี่น้องชาวสวนยางทั่วประเทศ เพื่อ
ปฏิรูปยางพาราทั้งระบบ โดยขอความร่วมมือจากสมาพันธ์องค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด รวมทั้งประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี เพื่อหามาตรการระยะยาวในการแก้ปัญหาราคาตกต่ำ สร้างความมั่นคงและความยั่งยืนของอาชีพยางพารา โดยจะร่างเป็นพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยฉบับชาวสวนยางเสนอต่อรัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคสช. ดังนั้น
ขณะนี้ควรหยุดพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยที่กำลังเสนอเข้าสนช.ทันที
ทั้งนี้ ในการสัมมนาดังกล่าวยังมีความเห็นว่า หากข้อเสนอทั้ง 5 ข้อที่ยื่นต่อรัฐบาลนั้นไม่ได้รับการตอบรับ หลังจากนี้จะดำเนินการไปเรียกร้องต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลทันที
http://www.fahwonmai.tv/economy/1212030#.VDUX1RRBHnl.facebook
เมื่อไหร่จะเอาจริงเหมือนตอนเจ้ปูซะทีล่ะฮะ
มติชาวสวนยางใต้ขีดเส้นรัฐบาล 45 วันทำราคาขึ้น 80 บาท
ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เครือข่ายเกษตรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี ได้จัดประชุมใหญ่และเสวนากู้ชีพชาวสวนยาง เพื่อพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันให้ได้ประโยชน์ในทุกมิติจากการใช้ยางพาราและปาล์มน้ำมัน หลังจากในวันที่ 27 กรกฎาคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคสช.มีมติมอบหมายให้ทุกกระทรวง หน่วยงานรายการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากยางพาราหรือผลิตภัณฑ์จากยางพาราในประเทศให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณยางพาราในสต็อก
โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาอาทิ นายมาโนช เสนพงศ์ นายกอบจ.นครศรีธรรมราช รศ.ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.เลิศชาย ศิริชัย คณะบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตัวแทนอบจ.14 จังหวัดภาคใต้และจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ นายสุนทร รักษ์รงค์ ผู้ประสานงานแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง นายเพิกรวมถึงเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่เข้าร่วมจำนวนมาก
โดยภายหลังการสัมมนาในช่วงเช้า แนวร่วมกู้ชีพชาวสวนอย่างได้มีมติยื่น 5 ข้อเสนอไปยังรัฐบาลคือ 1.ให้รัฐบาลและผู้ส่งออกหามาตรการที่จะทำให้ราคายางพาราอยู่ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัมภายใน 45 วัน โดยเสนอให้รัฐบาลจ่ายชดเชยราคาส่วนต่างแก่เกษตรกรเป็นพันธบัตรรัฐบาล 2.ให้รัฐบาลยกเลิกการขายยางพาราในสต็อก 2.1 แสนตัน และนำยางพารามาใช้ในประเทศ ผ่านช่องทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอื่นๆ อีกทั้งให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการที่มาจากตัวแทนของชาวสวนยางพารา เพื่อตรวจเช็คสต็อกยางพารา 3.กรณีมาตรการยึดยางพาราคืนองกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้รัฐบาลปฏิบัติตามคำสั่งคสช.ข้อ 66 คือ ไม่ให้กระทบผู้รายได้ต่ำ 4.ให้รัฐบาลและคสช.แก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำยางพารามาใช้เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์และกิจกรรมต่างๆได้ 5.จัดตั้งแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยางพาราเพื่อดำเนินกิจกรรมเคลื่อนไหว เปิดเวทีระดมความเห็นจากพี่น้องชาวสวนยางทั่วประเทศ เพื่อปฏิรูปยางพาราทั้งระบบ โดยขอความร่วมมือจากสมาพันธ์องค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด รวมทั้งประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี เพื่อหามาตรการระยะยาวในการแก้ปัญหาราคาตกต่ำ สร้างความมั่นคงและความยั่งยืนของอาชีพยางพารา โดยจะร่างเป็นพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยฉบับชาวสวนยางเสนอต่อรัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคสช. ดังนั้น ขณะนี้ควรหยุดพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยที่กำลังเสนอเข้าสนช.ทันที
ทั้งนี้ ในการสัมมนาดังกล่าวยังมีความเห็นว่า หากข้อเสนอทั้ง 5 ข้อที่ยื่นต่อรัฐบาลนั้นไม่ได้รับการตอบรับ หลังจากนี้จะดำเนินการไปเรียกร้องต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลทันที
http://www.fahwonmai.tv/economy/1212030#.VDUX1RRBHnl.facebook
เมื่อไหร่จะเอาจริงเหมือนตอนเจ้ปูซะทีล่ะฮะ