อ่านบุคคล 1-4 ได้ที่
http://ppantip.com/topic/32679172
5. ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ
ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ เมื่อพูดถึงชื่อนี้บางคนอาจจะนึกไม่ออก “ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ” ก่อนวิกฤติ 2540 เขาคือ ตำนานนักลงทุนในตลาดหุ้นไม่มีใครไม่รู้จัก แต่พิษวิกฤติ 2540 ทำให้เขาล้มละลาย สถานะเปลี่ยนจากเศรษฐีพันล้าน นักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มีลูกน้องกว่า 40 คน และนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหุ้นที่มีสำนักงานใหญ่โตทำงานนั่งห้องแอร์เย็นสบาย มาเป็นพ่อค้าขายแซนด์วิชข้างถนนริมฟุตบาท ที่ใครๆ ก็รู้จักในนาม “ศิริวัฒน์แซนด์วิช” แต่ยังมีลูกน้องจำนวน 20 คน ได้แจ้งความประสงค์ที่จะทำงานอยู่กับเขา ทั้งๆ ที่เขาได้สูญเสียเครดิตทางด้านการเงินพร้อมกับความร่ำรวย เขาและภรรยาจึงได้ตัดสินใจที่จะลดค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ยกเว้นเงินเดือนของพนักงาน) เพื่อความอยู่รอด เช่นได้ขอยกเลิกการเช่าออฟฟิศเดือนละ 100,000 บาทเหลือเพียงแค่เช่าทาวน์เฮาส์ เดือนละ 15,000
ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ ยึดหลักคำสอนของคุณพ่อคุณแม่ของเขาคือ “วันหนึ่งได้เป็นเจ้าคนนายคนอย่าทิ้งลูกน้อง พนักงานเขาคือเป็นครอบครัวเรา เขาช่วยเรา เราไม่มีเขาเราก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าเขาไม่มีเราเขาก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะมันไปด้วยกัน”
จากนั้น 15 ปีผ่านมา ชีวิตต้องสู้ของเขา ทำให้ตนเองกลับมาลุกขึ้นยืนได้อีกครั้งในฐานะประธานบริษัท ทีจีไอเอฟ จำกัด และล่าสุดเตรียมจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ( MAI ) ในปีหน้า ถือเป็นความสำเร็จในชีวิตการต่อสู้ของคนไม่ยอมแพ้ก็ว่าได้ แม้จะไม่กลับไปใหญ่เหมือนเดิม แต่น่าจะเป็นบทเรียนให้กับคนล้มเหลวหรือคนสิ้นหวัง ให้มีกำลังในการต่อสู้ ไม่ยอมแพ้กับปัญหานานาประการ
6. อนันต์ อัศวโภคิน
คุณอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ หรือยักษ์ใหญ่ในวงการอสังหาริมทรัพย์ จบการศึกษาจากระดับประถมถึงมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนอัสสัมชัญ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 11 รุ่นเดียวกับบุญคลี ปลั่งศิริ ปริญญาโท M.S. Industrial Engineering, สถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์, ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่ผ่านมา บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์ จดทะเบียนตามราคาตลาดในวันที่ซื้อขาย ครั้งแรกประมาณ 700 ล้านบาท แต่ปัจจุบันมูลค่าตามราคาตลาดของบริษัทสูงถึงกว่า 70,000 ล้านบาท เป็นตัวเลขที่ชี้ให้เห็นถึงการพลิกฟื้นที่เร็วมาก เพราะบริษัทพึ่งผ่านช่วงวิกฤตที่เกือบล้มละลายเมื่อปี พ.ศ.2542 เป็นผล สืบเนื่องจากการลดค่าเงินบาท ทำให้บริษัทขาดทุนถึง 20,000 ล้านบาท
คุณอนันต์ ในช่วงปี 40 เกือบล้มละลายขาดทุน 3-4 หมื่นล้าน เพราะกู้เป็นเงินดอลลาร์ แต่รายได้เป็นเงินบาท ต้องไปเจรจากับเจ้าหนี้ ตอนเจรจากับเจ้าหนี้ คุณอนันต์ยังยิ้มได้ตลอด เพราะนึกถึงสมัยเด็กบ้านยากจน ต้องยืมของเล่นข้างบ้าน ซึ่งคนที่หน้าตาหมองเศร้าคือเด็กคนนั้น หลังวิกฤตปี 2540 พลิกวิกฤตเป็นโอกาส “สร้างบ้านก่อนขาย” จนฮือฮาและอีกหลายๆ อย่างที่ “แลนด์ฯ” เป็นผู้นำให้หลายๆ คนเดินตาม ปีนี้สถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองไม่ปกติ เฮียตึ๋งแนะว่าเป็นปี “พักยกหยุดหายใจ” ผู้ประกอบการควรกลับมาดูแลการบริหารภายในองค์กร อันดับแรก ดูโปรดักชั่นต่อคน กำไรต่อคน อย่ารับคนโดยไม่จำเป็น
ปัจจุบัน เป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 26 ของประเทศไทย จัดอันดับโดย Forbes มีมูลค่าทรัพย์สิน 3.37 หมื่นล้านบาท
7. ประทีป ตั้งมติธรรม
ประทีป ตั้งมติธรรม จากชีวิตที่เคยติดลบกลับกลายเป็นมหาเศรษฐีเจ้าของอาณาจักรหมื่นล้านนามว่า “ศุภาลัย”
คำว่า “จน” สำหรับบางคนอาจหมายถึง “มีน้อย” สำหรับบางคนอาจหมายถึง “ไม่มี” แต่คำว่า “จน” ของเด็กชายประทีป ตั้งมติธรรม นั้น หมายถึง “เป็นหนี้” ถึงแม้ครอบครัวของประทีปจะมีกิจการค้าไม้และวัสดุก่อสร้างใหญ่โตหลายคูหา ซึ่งดูจากภายนอกคนทั่วไปยากนักที่จะทราบว่า ความเป็นอยู่ของคนในบ้านกำลัง “อัตคัต” ช่วงที่ครอบครัวลำบากว่า เริ่มต้นขึ้นจากกิจการที่บ้านมีการขาย “เชื่อ” ให้ผู้รับเหมา และถูกผู้รับเหมาบางคนเบี้ยวหนี้ไปเป็นจำนวนมาก ทำให้เงินทุนร่อยหรอ จนต้องไปแลกเช็คกู้หนี้ ยืมสินมาจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วยดอกเบี้ยแสนโหด เมื่อสภาพคล่องลด สินค้าในร้านเหลือน้อย ก็ยิ่งทำให้ขายของได้ยากขึ้น บางวันขายไม่ได้เลยแม้แต่ชิ้นเดียว ขณะที่รายได้จากการขายของลดลง แต่รายจ่ายยังคงมีทุกวัน รวมทั้งดอกเบี้ยแพงๆ ด้วย
ยังไม่ทันฟื้นสภาพได้พ่อของประทีปก็มาด่วนจากไปเสียก่อนด้วยอุบัติเหตุถูกรถชนเสียชีวิต พี่ชายคนโต “ชวน” และพี่สาวคนที่2 “ดารณี” ตัดสินใจเดินออกจากสถานศึกษาเพื่อลดรายจ่ายและทำงานหาเงินมาจุนเจือทางบ้าน ส่วน “ประทีป” และ น้องชายคนเล็ก “ประศาสน์” ได้เรียนต่อ โดยเลือกเรียนต่อในโรงเรียนรัฐบาล ประทีป ตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมที่ “University of Illinois at Urbana-Champaign” สหรัฐอเมริกา ด้วยเงินติดกระเป๋าที่หาได้เอง 40,000 บาท แม่และพี่สาวสมทบให้อีกคนละ 10,000 บาท รวมเป็น 60,000 บาท ถือเป็นครึ่งเดียวของเงินที่ต้องใช้ในการเรียน 1 ปี
ประทีปเดินทางกลับสู่บ้านเกิดพร้อมเงินสดอุ่นๆ ที่กำไว้ในมือราว 1 แสบบาทเศษ ซึ่งเป็นเงินทุนตั้งต้นก่อนจะมาเป็น “ศุภาลัย” อย่างในวันนี้ โดยเริ่มต้นจากการลงหุ้นกับ “ชวน” ผู้เป็นพี่ชาย เพื่อสร้าง “หมู่บ้านชวนชื่น-ประชาชื่น” ก่อนจะขยายงานต่อเนื่องมาเรื่อย และจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มั่นคง สถาปัตย์ จุดกำเนิดของ บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด ในเวลาต่อมา
สองพี่น้องจะแยกทางกันเดิน เนื่องจากมุมมองในการทำธุรกิจไม่เหมือนกัน ประทีปจึงตัดสินใจทิ้งหุ้นส่วนน้อยไว้ที่มั่นคงเคหะการ และ หอบเงินอีกจำนวนหนึ่งมาสร้างฝันของตัวเองในชื่อว่า “ศุภาลัย” ซึ่งเติบโตต่อเนื่องมาโดยตลอด และ กลายเป็นอาณาจักรหมื่นล้านได้อย่างในปัจจุบัน
“ชีวิตผมต้องบาลานซ์ระหว่างความกล้า กับ ความกลัว คนทุกคนเกิดมาพร้อมกับความกลัวอยู่แล้ว แต่ถ้าเราเข้าใจและเรียนรู้ รู้เหตุรู้ผล ก็จะทำให้ความกลัวนั้นหายไปได้
อีกหนึ่งต้นทุนสำคัญที่ทำให้ประทีปมีวันนี้ได้ คือ “ความน่าเชื่อถือ” ซึ่งผู้บริหารรายนี้ให้ความสำคัญมาก
“เราไม่กู้เกินทุนที่มี และ ที่สำคัญคือต้องมีความรู้ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งเสี่ยงน้อย โดยเราพยายามหาคำตอบว่าแนวทางที่ถูกต้องคืออะไร ลองผิดลองถูก ทำแล้วไม่ดีก็เลิก แต่ก็ต้องทำถูกมากกว่าทำผิด เพราะถ้าทำผิดบ่อยความน่าเชื่อถือก็ไม่เกิด และสิ่งที่เราจะไม่ทำเด็ดขาด คือ ไปโกงเขามา ความน่าเชื่อถือจึงเป็นต้นทุนที่สำคัญของเรา”
ปัจจุบัน เป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 50 ของประเทศไทย จัดอันดับโดย Forbes มีมูลค่าทรัพย์สิน 305 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
8. Donald Trump
ในการจัดอันดับมหาเศรษฐีระดับโลกของนิตยสารฟอร์บส์ในปี 2007 โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 314 ของโลก ความร่ำรวยของเขานั้นมาจากมรดกและความสามารถเพิ่มพูนมรดกที่ได้รับมานี้ให้มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยแหล่งของรายได้นั้นมาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเขามีทรัพย์สินทั้งหมด 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ภายในเวลา 10 กว่าปี เขาก็ไต่เต้าจนกลายเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่โดดเด่นหาตัวจับยากแห่งยุคทศวรรษ 1980 โดย “โดนัลด์ ทรัมป์” กว้านซื้อที่ดินก้อนใหญ่ๆมูลค่ามหาศาลไปทั่วนิวยอร์ก แต่พอมาในตอนต้นทศวรรษที่ 1990 โดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มประสบกับปัญหาการเงิน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ บริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งประสบปัญหาทางการเงิน เขามาถึงจุดตกต่าสุดเมื่อธนาคารบังคับให้เขาล้มละลายจากหนี้เงินกู้ 2 พันล้านดอลลาร์ที่ไม่สามารถหาเงินมาชำระคืนได้ เขาต้องเผชิญกับปัญหาการเงินอย่างหนัก เพราะกู้หนี้ยืมสินมากเกินตัวเพื่อขยายธุรกิจ แต่สุดท้ายเมื่อเศรษฐกิจอเมริกาตกอยู่ในภาวะถดถอยทั้งประเทศผลกระทบจึงลุกลามไปถึงธุรกิจของทรัมป์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สุดท้ายเขาต้องถูกบังคับให้เป็นบุคคลล้มละลาย
ปลายทศวรรษ 1990 เขาฟื้นฟูธุรกิจกลับมาได้อีกครั้ง และเริ่มกอบกู้ชื่อเสียงด้วยการสยายปีกจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เข้าไปลงทุนเพิ่มในธุรกิจมิเดีย โดยนอกจากจะเป็นเจ้าของเวทีประกวดนางงามหลายรายการ ตั้งแต่มิสยูเอสเอ, มิสยูนิเวิร์ส ไปจนถึงมิสทีน ยูเอสเอ
แม้จะล้มลุกคลุกคลานมากี่หน แต่คติประจำใจที่ “โดนัลด์ ทรัมป์” ยึดถือไม่เคยเปลี่ยนก็คือ คนเราเกิดมาต้องทำงานหนัก และทำงานที่รักถึงจะประสบความสำเร็จ
ที่มา :
TerraBKK
8 บุคคล”ล้มแล้วลุก”จากอสังหาฯ (2)
ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ เมื่อพูดถึงชื่อนี้บางคนอาจจะนึกไม่ออก “ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ” ก่อนวิกฤติ 2540 เขาคือ ตำนานนักลงทุนในตลาดหุ้นไม่มีใครไม่รู้จัก แต่พิษวิกฤติ 2540 ทำให้เขาล้มละลาย สถานะเปลี่ยนจากเศรษฐีพันล้าน นักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มีลูกน้องกว่า 40 คน และนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหุ้นที่มีสำนักงานใหญ่โตทำงานนั่งห้องแอร์เย็นสบาย มาเป็นพ่อค้าขายแซนด์วิชข้างถนนริมฟุตบาท ที่ใครๆ ก็รู้จักในนาม “ศิริวัฒน์แซนด์วิช” แต่ยังมีลูกน้องจำนวน 20 คน ได้แจ้งความประสงค์ที่จะทำงานอยู่กับเขา ทั้งๆ ที่เขาได้สูญเสียเครดิตทางด้านการเงินพร้อมกับความร่ำรวย เขาและภรรยาจึงได้ตัดสินใจที่จะลดค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ยกเว้นเงินเดือนของพนักงาน) เพื่อความอยู่รอด เช่นได้ขอยกเลิกการเช่าออฟฟิศเดือนละ 100,000 บาทเหลือเพียงแค่เช่าทาวน์เฮาส์ เดือนละ 15,000
ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ ยึดหลักคำสอนของคุณพ่อคุณแม่ของเขาคือ “วันหนึ่งได้เป็นเจ้าคนนายคนอย่าทิ้งลูกน้อง พนักงานเขาคือเป็นครอบครัวเรา เขาช่วยเรา เราไม่มีเขาเราก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าเขาไม่มีเราเขาก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะมันไปด้วยกัน”
จากนั้น 15 ปีผ่านมา ชีวิตต้องสู้ของเขา ทำให้ตนเองกลับมาลุกขึ้นยืนได้อีกครั้งในฐานะประธานบริษัท ทีจีไอเอฟ จำกัด และล่าสุดเตรียมจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ( MAI ) ในปีหน้า ถือเป็นความสำเร็จในชีวิตการต่อสู้ของคนไม่ยอมแพ้ก็ว่าได้ แม้จะไม่กลับไปใหญ่เหมือนเดิม แต่น่าจะเป็นบทเรียนให้กับคนล้มเหลวหรือคนสิ้นหวัง ให้มีกำลังในการต่อสู้ ไม่ยอมแพ้กับปัญหานานาประการ
คุณอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ หรือยักษ์ใหญ่ในวงการอสังหาริมทรัพย์ จบการศึกษาจากระดับประถมถึงมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนอัสสัมชัญ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 11 รุ่นเดียวกับบุญคลี ปลั่งศิริ ปริญญาโท M.S. Industrial Engineering, สถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์, ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่ผ่านมา บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์ จดทะเบียนตามราคาตลาดในวันที่ซื้อขาย ครั้งแรกประมาณ 700 ล้านบาท แต่ปัจจุบันมูลค่าตามราคาตลาดของบริษัทสูงถึงกว่า 70,000 ล้านบาท เป็นตัวเลขที่ชี้ให้เห็นถึงการพลิกฟื้นที่เร็วมาก เพราะบริษัทพึ่งผ่านช่วงวิกฤตที่เกือบล้มละลายเมื่อปี พ.ศ.2542 เป็นผล สืบเนื่องจากการลดค่าเงินบาท ทำให้บริษัทขาดทุนถึง 20,000 ล้านบาท
คุณอนันต์ ในช่วงปี 40 เกือบล้มละลายขาดทุน 3-4 หมื่นล้าน เพราะกู้เป็นเงินดอลลาร์ แต่รายได้เป็นเงินบาท ต้องไปเจรจากับเจ้าหนี้ ตอนเจรจากับเจ้าหนี้ คุณอนันต์ยังยิ้มได้ตลอด เพราะนึกถึงสมัยเด็กบ้านยากจน ต้องยืมของเล่นข้างบ้าน ซึ่งคนที่หน้าตาหมองเศร้าคือเด็กคนนั้น หลังวิกฤตปี 2540 พลิกวิกฤตเป็นโอกาส “สร้างบ้านก่อนขาย” จนฮือฮาและอีกหลายๆ อย่างที่ “แลนด์ฯ” เป็นผู้นำให้หลายๆ คนเดินตาม ปีนี้สถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองไม่ปกติ เฮียตึ๋งแนะว่าเป็นปี “พักยกหยุดหายใจ” ผู้ประกอบการควรกลับมาดูแลการบริหารภายในองค์กร อันดับแรก ดูโปรดักชั่นต่อคน กำไรต่อคน อย่ารับคนโดยไม่จำเป็น
ประทีป ตั้งมติธรรม จากชีวิตที่เคยติดลบกลับกลายเป็นมหาเศรษฐีเจ้าของอาณาจักรหมื่นล้านนามว่า “ศุภาลัย”
คำว่า “จน” สำหรับบางคนอาจหมายถึง “มีน้อย” สำหรับบางคนอาจหมายถึง “ไม่มี” แต่คำว่า “จน” ของเด็กชายประทีป ตั้งมติธรรม นั้น หมายถึง “เป็นหนี้” ถึงแม้ครอบครัวของประทีปจะมีกิจการค้าไม้และวัสดุก่อสร้างใหญ่โตหลายคูหา ซึ่งดูจากภายนอกคนทั่วไปยากนักที่จะทราบว่า ความเป็นอยู่ของคนในบ้านกำลัง “อัตคัต” ช่วงที่ครอบครัวลำบากว่า เริ่มต้นขึ้นจากกิจการที่บ้านมีการขาย “เชื่อ” ให้ผู้รับเหมา และถูกผู้รับเหมาบางคนเบี้ยวหนี้ไปเป็นจำนวนมาก ทำให้เงินทุนร่อยหรอ จนต้องไปแลกเช็คกู้หนี้ ยืมสินมาจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วยดอกเบี้ยแสนโหด เมื่อสภาพคล่องลด สินค้าในร้านเหลือน้อย ก็ยิ่งทำให้ขายของได้ยากขึ้น บางวันขายไม่ได้เลยแม้แต่ชิ้นเดียว ขณะที่รายได้จากการขายของลดลง แต่รายจ่ายยังคงมีทุกวัน รวมทั้งดอกเบี้ยแพงๆ ด้วย
ยังไม่ทันฟื้นสภาพได้พ่อของประทีปก็มาด่วนจากไปเสียก่อนด้วยอุบัติเหตุถูกรถชนเสียชีวิต พี่ชายคนโต “ชวน” และพี่สาวคนที่2 “ดารณี” ตัดสินใจเดินออกจากสถานศึกษาเพื่อลดรายจ่ายและทำงานหาเงินมาจุนเจือทางบ้าน ส่วน “ประทีป” และ น้องชายคนเล็ก “ประศาสน์” ได้เรียนต่อ โดยเลือกเรียนต่อในโรงเรียนรัฐบาล ประทีป ตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมที่ “University of Illinois at Urbana-Champaign” สหรัฐอเมริกา ด้วยเงินติดกระเป๋าที่หาได้เอง 40,000 บาท แม่และพี่สาวสมทบให้อีกคนละ 10,000 บาท รวมเป็น 60,000 บาท ถือเป็นครึ่งเดียวของเงินที่ต้องใช้ในการเรียน 1 ปี
ประทีปเดินทางกลับสู่บ้านเกิดพร้อมเงินสดอุ่นๆ ที่กำไว้ในมือราว 1 แสบบาทเศษ ซึ่งเป็นเงินทุนตั้งต้นก่อนจะมาเป็น “ศุภาลัย” อย่างในวันนี้ โดยเริ่มต้นจากการลงหุ้นกับ “ชวน” ผู้เป็นพี่ชาย เพื่อสร้าง “หมู่บ้านชวนชื่น-ประชาชื่น” ก่อนจะขยายงานต่อเนื่องมาเรื่อย และจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มั่นคง สถาปัตย์ จุดกำเนิดของ บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด ในเวลาต่อมา
สองพี่น้องจะแยกทางกันเดิน เนื่องจากมุมมองในการทำธุรกิจไม่เหมือนกัน ประทีปจึงตัดสินใจทิ้งหุ้นส่วนน้อยไว้ที่มั่นคงเคหะการ และ หอบเงินอีกจำนวนหนึ่งมาสร้างฝันของตัวเองในชื่อว่า “ศุภาลัย” ซึ่งเติบโตต่อเนื่องมาโดยตลอด และ กลายเป็นอาณาจักรหมื่นล้านได้อย่างในปัจจุบัน
อีกหนึ่งต้นทุนสำคัญที่ทำให้ประทีปมีวันนี้ได้ คือ “ความน่าเชื่อถือ” ซึ่งผู้บริหารรายนี้ให้ความสำคัญมาก
“เราไม่กู้เกินทุนที่มี และ ที่สำคัญคือต้องมีความรู้ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งเสี่ยงน้อย โดยเราพยายามหาคำตอบว่าแนวทางที่ถูกต้องคืออะไร ลองผิดลองถูก ทำแล้วไม่ดีก็เลิก แต่ก็ต้องทำถูกมากกว่าทำผิด เพราะถ้าทำผิดบ่อยความน่าเชื่อถือก็ไม่เกิด และสิ่งที่เราจะไม่ทำเด็ดขาด คือ ไปโกงเขามา ความน่าเชื่อถือจึงเป็นต้นทุนที่สำคัญของเรา”
ในการจัดอันดับมหาเศรษฐีระดับโลกของนิตยสารฟอร์บส์ในปี 2007 โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 314 ของโลก ความร่ำรวยของเขานั้นมาจากมรดกและความสามารถเพิ่มพูนมรดกที่ได้รับมานี้ให้มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยแหล่งของรายได้นั้นมาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเขามีทรัพย์สินทั้งหมด 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ภายในเวลา 10 กว่าปี เขาก็ไต่เต้าจนกลายเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่โดดเด่นหาตัวจับยากแห่งยุคทศวรรษ 1980 โดย “โดนัลด์ ทรัมป์” กว้านซื้อที่ดินก้อนใหญ่ๆมูลค่ามหาศาลไปทั่วนิวยอร์ก แต่พอมาในตอนต้นทศวรรษที่ 1990 โดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มประสบกับปัญหาการเงิน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ บริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งประสบปัญหาทางการเงิน เขามาถึงจุดตกต่าสุดเมื่อธนาคารบังคับให้เขาล้มละลายจากหนี้เงินกู้ 2 พันล้านดอลลาร์ที่ไม่สามารถหาเงินมาชำระคืนได้ เขาต้องเผชิญกับปัญหาการเงินอย่างหนัก เพราะกู้หนี้ยืมสินมากเกินตัวเพื่อขยายธุรกิจ แต่สุดท้ายเมื่อเศรษฐกิจอเมริกาตกอยู่ในภาวะถดถอยทั้งประเทศผลกระทบจึงลุกลามไปถึงธุรกิจของทรัมป์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สุดท้ายเขาต้องถูกบังคับให้เป็นบุคคลล้มละลาย
ปลายทศวรรษ 1990 เขาฟื้นฟูธุรกิจกลับมาได้อีกครั้ง และเริ่มกอบกู้ชื่อเสียงด้วยการสยายปีกจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เข้าไปลงทุนเพิ่มในธุรกิจมิเดีย โดยนอกจากจะเป็นเจ้าของเวทีประกวดนางงามหลายรายการ ตั้งแต่มิสยูเอสเอ, มิสยูนิเวิร์ส ไปจนถึงมิสทีน ยูเอสเอ
ที่มา : TerraBKK