สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
จำเป็นหรือไม่จำเป็นขึ้นอยู่กับงานและคนใช้ครับ กล้องที่แพงกว่าก็มักจะมีความยืดหยุ่นมากกว่าเป็นธรรมดาครับ ส่วนกล้องในระดับที่ต่ำกว่าก็ย่อมมีประสิทธิภาพที่ลดหลั่นกันลงไปตามต้นทุนการผลิต(เฉพาะกล้องที่ออกมาในเวลาใกล้เคียงกันนะครับ เพราะเทคโนโลยีเดี๋ยวนี้มันไปไว)
กล้องฟูลเฟรมมักจะให้ภาพที่มีสัญญาณรบกวนน้อยกว่าและ DOF (Depth of field) ที่บางกว่า เนื่องจากมีขนาดเซนเซอร์รับภาพที่ใหญ่กว่า ทำให้การแยกมิติภาพด้วยการเบลอในจุดที่นอกเหนือจากจุดโฟกัสทำได้ง่ายกว่า (ในกรณีเงื่อนไขเดียวกันกับกล้องตัวคูณ) อีกทั้งในรุ่นสูงของกล้องฟูลเฟรมมักจะมีการซีลที่ดีกว่า ทำให้เสถียรภาพในการใช้งานและความทนทานต่อสภาวะต่าง ๆ มีสูงกว่าพวกกล้องตัวคูณ
ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากระยะเวลาและจุดประสงค์ในการออกแบบกล้องครับ อย่างกล้องฟูลเฟรมราคาประหยัดกับกล้องตัวคูณตัวท็อป จะมีจุดดีอย่างเสียอย่าง ต้องเลือกให้เหมาะกับการใช้งานของนักถ่ายภาพแต่ละคน อีกทั้งเทคโนโลยี ณ เวลาต่างกันทำให้บางครั้งกล้องฟูลเฟรมอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีเสมอไปสำหรับการใช้งาน เช่นกล้องฟูลเฟรมยุคแรก ๆ กับกล้องตัวคูณยุคปัจจุบัน
เลนส์ช่วงระยะโฟกัสเดียวกันเมื่อนำมาใช้กับกล้องที่ฟอร์แมตต่างกัน(FF กับ APS-C) จะต่างกันแบบที่เห็นได้ชัดคือ องศาการรับภาพ หากอยากได้ภาพที่ตัวแบบมีขนาดใกล้เคียงกันโดยใช้เลนส์ระยะเดียวกัน กล้องตัวคูณจะต้องอาศัยระยะห่างระหว่างแบบกับตัวกล้องมากกว่า แต่เรื่องอื่น ๆ อาจจะต่างกันไม่มากหรือไม่แตกต่างกันเลย (ในการใช้งานจริงจะมีเรื่องการโฟกัส ความเร็วชัตเตอร์ ฯลฯ เข้ามาเกี่ยวข้องครับ ขอละไว้เพราะถ้าพูดคงยาวมาก ๆ )
เลนส์ 85/1.8 บนกล้องฟูลเฟรม กับ 50/1.8 บนกล้องตัวคูณ จะให้องศาในการรับภาพที่ใกล้เคียงกันครับ ต่างกันประมาณ 1-2 ก้าวสั้น ๆ ในการถ่ายเพื่อให้ตัวแบบมีขนาดเท่ากัน (นิคอน X1.5 แคนนอนX1.6 พวกพานา โอลี่ X 2) แต่สิ่งอื่นจะแตกต่างกันเกือบทั้งหมดครับ ทั้งนี้เกิดขึ้นจากศักยภาพของกล้องและเลนส์ซึ่งต่างกัน อย่างประสิทธิภาพในการโฟกัส คุณภาพไฟล์ ความใสและสีของภาพที่ได้จากกล้อง(ยังไม่ผ่านการตกแต่งด้วยโปรแกรมคอมฯ)
เรื่องฉากหลังเป็นเรื่องของ perspective หรือทัศนะมิติครับ ส่วนมากเลนส์ที่ระยะแตกต่างกันจะให้ผลทางด้านทัศนะมิติที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่เลนส์มุมกว้างมักจะผลักฉากหลังให้ไกลออกจากตัวแบบ ส่วนเลนส์เทเลโฟโต้มักจะดึงฉากหลังให้ดูใกล้กับตัวแบบมากกว่าที่ตาเห็น(perspective ของเลนส์ช่วง 50 มม. จะใกล้เคียงกับที่ตามนุษย์เห็นครับ จริงๆมันมีเรื่องราวรายละเอียดที่ลึกกว่านี้ ขนาดเขียนกันได้เป็นเล่ม ๆ เลย ข้อแบบรวบรัดละกันนะครับ)
ดังนั้นแม้องศาในการรับภาพจะใกล้เคียงกัน ระหว่างเลนส์ 50 มม.บนกล้องตัวคูณ กับเลนส์ 85 มม.บนกล้องฟูลเฟรม ทำให้ระยะห่างในการยืนถ่ายภาพค่อนข้างจะใกล้เคียงกันก็จริง แต่เรื่องของ perspective จะแต่งต่างกันครับ แต่บางกรณีสังเกตด้วยตาเปล่าค่อนข้างยากครับ เรื่องนี้หากนักถ่ายภาพเข้าใจจะสามารถประยุกต์ใช้ได้โดยที่ภาพที่ได้จะไม่ต่างกันการนัก อย่างเช่นการถ่ายภาพคนแค่ครึ่งตัวหรือเต็มตัว ไม่ไปจ่อหน้า การเลือกแสงและฉากหลัง ให้ทิ้งระยะออกไปจากตัวแบบ ตรงนี้หากทำได้ดี เอารูปสองใบมาเทียบกันก็แยกออกยากครับ
ถามว่าจำเป็นไหมสำหรับกล้องฟูลเฟรม คนที่ตอบได้ดีที่สุดคือตัวคนถามเองครับ เพราะลักษณะงานที่แตกต่างกัน ความชอบที่ไม่เหมือนกัน งบประมาณที่มีไม่เท่ากัน ทุกอย่างมันมีผลต่อการตัดสินใจครับ
อย่างถามผมตอนนี้ ถ้าผมถ่ายแต่งานกลางวันหรือในที่ ๆ มีการจัดไฟเป็นหลัก อย่างรับปริญญาหรือถ่ายภาพสตูดิโอ และพวกการถ่ายภาพสินค้าหรือมาโคร เป็นหลัก ผมจะเลือกใช้กล้องตัวคูณ เพราะประหยัดงบประมาณในการลงทุนมากกว่า รวมทั้งสามารถควบคุมระยะชัดได้ง่ายกว่ากล้องฟูลเฟรม แต่ถ้าเป็นพวกงานที่ต้องถ่ายภาพในที่แสงน้อยหรือต้องอาศัยความเสถียรภาพของกล้องมาก ๆ อย่างเช่น งานอีเว้นท์ คอนเสิร์ต งานแต่งงาน ผมจะเลือกกล้องฟูลเฟรมครับ ในกรณีที่ไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณนะครับ
กล้องฟูลเฟรมมักจะให้ภาพที่มีสัญญาณรบกวนน้อยกว่าและ DOF (Depth of field) ที่บางกว่า เนื่องจากมีขนาดเซนเซอร์รับภาพที่ใหญ่กว่า ทำให้การแยกมิติภาพด้วยการเบลอในจุดที่นอกเหนือจากจุดโฟกัสทำได้ง่ายกว่า (ในกรณีเงื่อนไขเดียวกันกับกล้องตัวคูณ) อีกทั้งในรุ่นสูงของกล้องฟูลเฟรมมักจะมีการซีลที่ดีกว่า ทำให้เสถียรภาพในการใช้งานและความทนทานต่อสภาวะต่าง ๆ มีสูงกว่าพวกกล้องตัวคูณ
ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากระยะเวลาและจุดประสงค์ในการออกแบบกล้องครับ อย่างกล้องฟูลเฟรมราคาประหยัดกับกล้องตัวคูณตัวท็อป จะมีจุดดีอย่างเสียอย่าง ต้องเลือกให้เหมาะกับการใช้งานของนักถ่ายภาพแต่ละคน อีกทั้งเทคโนโลยี ณ เวลาต่างกันทำให้บางครั้งกล้องฟูลเฟรมอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีเสมอไปสำหรับการใช้งาน เช่นกล้องฟูลเฟรมยุคแรก ๆ กับกล้องตัวคูณยุคปัจจุบัน
เลนส์ช่วงระยะโฟกัสเดียวกันเมื่อนำมาใช้กับกล้องที่ฟอร์แมตต่างกัน(FF กับ APS-C) จะต่างกันแบบที่เห็นได้ชัดคือ องศาการรับภาพ หากอยากได้ภาพที่ตัวแบบมีขนาดใกล้เคียงกันโดยใช้เลนส์ระยะเดียวกัน กล้องตัวคูณจะต้องอาศัยระยะห่างระหว่างแบบกับตัวกล้องมากกว่า แต่เรื่องอื่น ๆ อาจจะต่างกันไม่มากหรือไม่แตกต่างกันเลย (ในการใช้งานจริงจะมีเรื่องการโฟกัส ความเร็วชัตเตอร์ ฯลฯ เข้ามาเกี่ยวข้องครับ ขอละไว้เพราะถ้าพูดคงยาวมาก ๆ )
เลนส์ 85/1.8 บนกล้องฟูลเฟรม กับ 50/1.8 บนกล้องตัวคูณ จะให้องศาในการรับภาพที่ใกล้เคียงกันครับ ต่างกันประมาณ 1-2 ก้าวสั้น ๆ ในการถ่ายเพื่อให้ตัวแบบมีขนาดเท่ากัน (นิคอน X1.5 แคนนอนX1.6 พวกพานา โอลี่ X 2) แต่สิ่งอื่นจะแตกต่างกันเกือบทั้งหมดครับ ทั้งนี้เกิดขึ้นจากศักยภาพของกล้องและเลนส์ซึ่งต่างกัน อย่างประสิทธิภาพในการโฟกัส คุณภาพไฟล์ ความใสและสีของภาพที่ได้จากกล้อง(ยังไม่ผ่านการตกแต่งด้วยโปรแกรมคอมฯ)
เรื่องฉากหลังเป็นเรื่องของ perspective หรือทัศนะมิติครับ ส่วนมากเลนส์ที่ระยะแตกต่างกันจะให้ผลทางด้านทัศนะมิติที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่เลนส์มุมกว้างมักจะผลักฉากหลังให้ไกลออกจากตัวแบบ ส่วนเลนส์เทเลโฟโต้มักจะดึงฉากหลังให้ดูใกล้กับตัวแบบมากกว่าที่ตาเห็น(perspective ของเลนส์ช่วง 50 มม. จะใกล้เคียงกับที่ตามนุษย์เห็นครับ จริงๆมันมีเรื่องราวรายละเอียดที่ลึกกว่านี้ ขนาดเขียนกันได้เป็นเล่ม ๆ เลย ข้อแบบรวบรัดละกันนะครับ)
ดังนั้นแม้องศาในการรับภาพจะใกล้เคียงกัน ระหว่างเลนส์ 50 มม.บนกล้องตัวคูณ กับเลนส์ 85 มม.บนกล้องฟูลเฟรม ทำให้ระยะห่างในการยืนถ่ายภาพค่อนข้างจะใกล้เคียงกันก็จริง แต่เรื่องของ perspective จะแต่งต่างกันครับ แต่บางกรณีสังเกตด้วยตาเปล่าค่อนข้างยากครับ เรื่องนี้หากนักถ่ายภาพเข้าใจจะสามารถประยุกต์ใช้ได้โดยที่ภาพที่ได้จะไม่ต่างกันการนัก อย่างเช่นการถ่ายภาพคนแค่ครึ่งตัวหรือเต็มตัว ไม่ไปจ่อหน้า การเลือกแสงและฉากหลัง ให้ทิ้งระยะออกไปจากตัวแบบ ตรงนี้หากทำได้ดี เอารูปสองใบมาเทียบกันก็แยกออกยากครับ
ถามว่าจำเป็นไหมสำหรับกล้องฟูลเฟรม คนที่ตอบได้ดีที่สุดคือตัวคนถามเองครับ เพราะลักษณะงานที่แตกต่างกัน ความชอบที่ไม่เหมือนกัน งบประมาณที่มีไม่เท่ากัน ทุกอย่างมันมีผลต่อการตัดสินใจครับ
อย่างถามผมตอนนี้ ถ้าผมถ่ายแต่งานกลางวันหรือในที่ ๆ มีการจัดไฟเป็นหลัก อย่างรับปริญญาหรือถ่ายภาพสตูดิโอ และพวกการถ่ายภาพสินค้าหรือมาโคร เป็นหลัก ผมจะเลือกใช้กล้องตัวคูณ เพราะประหยัดงบประมาณในการลงทุนมากกว่า รวมทั้งสามารถควบคุมระยะชัดได้ง่ายกว่ากล้องฟูลเฟรม แต่ถ้าเป็นพวกงานที่ต้องถ่ายภาพในที่แสงน้อยหรือต้องอาศัยความเสถียรภาพของกล้องมาก ๆ อย่างเช่น งานอีเว้นท์ คอนเสิร์ต งานแต่งงาน ผมจะเลือกกล้องฟูลเฟรมครับ ในกรณีที่ไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณนะครับ
แสดงความคิดเห็น
ความจำเป็นของช่างภาพ
แล้วก็ ผมอยากทราบว่า ฟูลเฟรมใส่ 85mm f1.8
กับ APS-C ใส่ 50mm f1.8 มีอะไรแตกต่างกันบ้างครับนอกเหนือจากเรื่องการละลายฉากหลัง (คุณภาพ,ความใสของภาพ แตกต่างกันไหมครับ ? )
ที่เข้ามาถามเพราะส่วนตัวใช้ 60D อยู่ครับ เลยอยากทราบความจำเป็น ขอบคุณครับผม