หมายเรียกพยานบุคคล บุคคลที่จะไปเป็นพยานศาลมี 2 ประเภท คือ พยานนำ และพยานหมาย
พยานนำ คือ พยานที่คู่ความติดต่อให้ไปเบิกความและพยานยินดีไปศาลด้วยความสมัครใจ
พยานหมาย คือ พยานที่คู่ความไม่สามารถนำไปเบิกความได้ จึงขอให้ศาลออกหมายเรียกให้ไปเบิกความ
ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล
1. ตรวจหมาย เมื่อได้รับหมายเรียกพยานควรตรวจหมายเสียก่อนเพื่อให้ได้ความแน่ชัดว่าเป็นหมายของศาลใด ศาลนั้นตั้งอยู่ที่ใด ต้องไปเป็นพยานในวันเวลาใด บางกรณีในจังหวัดเดียวกันอาจมีหลายศาล เช่น ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลเยาวชนและครอบครัว จึงควรตรวจหมายอย่างรอบคอบ
ในบางกรณี อาจมีการส่งประเด็นไปสืบพยานที่ศาลอื่น เช่น ศาลจังหวัดชลบุรี
ส่งประเด็นมาสืบพยานที่ศาลอาญา เนื่องจากพยานมีภูมิลำเนาอยู่ที่ศาลอาญา พยานต้องมาเบิกความที่ศาลอาญามิใช่ศาลจังหวัดชลบุรี
ดังนั้น พยานควรต้องตรวจหมายให้ดีเสียก่อน หากมีข้อสงสัยควรโทรศัพท์สอบถามไปยังศาลตามหมายเลขโทรศัพท์ที่อยู่ด้านล่างของหมายเรียก
2. ไปศาลให้ตรงตามวันและเวลานัด พยานต้องไปถึงศาลให้ตรงตามวันและเวลานัด หากมีความจำเป็นไม่อาจไปศาลตามกำหนดได้ ต้องรีบแจ้งให้ศาลทราบก่อนวันนัด การขัดขืนไม่ไปศาล อาจถูกศาลออกหมายจับ เพื่อเอาตัวกักขังไว้จนกว่าจะเบิกความ และยังถือว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 170
3. หาห้องพิจารณาคดีและรอการเบิกความ พยานควรนำหมายเรียกติดตัวไปศาลด้วยเพื่อความสะดวกในการติดต่อสอบถาม และเมื่อมาถึงศาลแล้วให้หาห้องพิจารณาคดีโดยตรวจดูจากบอร์ดวัดนัดพิจารณาคดีของศาล หรืออาจสอบถามเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เพื่อตรวจดูว่าคดีที่ตนต้องมาเป็นพยายเพื่อเบิกความนั้นอยู่ห้องพิจารณาคดีใด แล้วไปรอที่หน้าพิจารณาคดี แล้วไปรอที่หน้าห้องพิจารณาคดีนั้น เพื่อให้คู่ควาฝ่ายที่อ้างพยานหรือเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ของศาลได้ทราบว่าพยานได้เดินทางมาถึงศาลแล้ว
4. การปฏิญาณหรือสาบานตน ก่อนเบิกความพยานจะต้องปฏิญาณหรือสาบานตนตามลัทธิศาสนาของตน เว้นแต่
1. บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี หรือหย่อนความรู้สึกผิดชอบ
2. ภิกษุสามเณรในพุทธศาสนา
3. บุคคลที่คู่ความตกลงกันว่าไม่ต้องปฏิญาณหรือสาบานตน
5. การตอบคำถามเกี่ยวกับชื่อ อายุ ตำแหน่ง และอาชีพ
เมื่อพยานปฏิญาณหรือสาบานตนแล้ว พยานจะต้องตอบคำถามศาลเกี่ยวกับชื่อ อายุ อาชีพ ที่อยู่ และความเกี่ยวพันระหว่างพยานกับคู่ความ จากนั้นคู่ความหรือทนายความฝ่ายที่อ้างพยานจะมาซักถามเรื่องราวจากพยาน เมื่อฝ่ายที่อ้างพยานมาถามเสร็จแล้ว คู่ความหรือทนายความอีกฝ่ายหนึ่งก็จะถามค้านพยาน จากนั้นฝ่ายที่อ้างพยานมีสิทธิจะถามติงพยานได้อีกครั้งหนึ่ง กฎหมายห้ามมิให้ถามพยานด้วยคำถามที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี หรือคำถามที่อาจทำให้พยานหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกต้องรับโทษทาอาญา หรือคำถามที่เป็นการหมิ่นประมาทพยาน หากมีคำถามเช่นนี้ศาลจะเตือนให้พยานรู้ตัวก่อนหรืออาจห้ามใช้คำถามเช่นนั้น
6. การเบิกความ การเบิกความศาลจะให้พยานเบิกความโดยวิธีเล่าเรื่องตามที่ตนได้รู้ ได้เห็น หรือได้ยินมา หรืออาจจะเบิกความโดยวิธีตอบคำถามของศาลหรือคู่ความ พยานจะต้องเบิกความด้วยวาจา ห้ามอ่านข้อความที่จดหรือเขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลหรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เช่น ผู้มีความชำนาญพิเศษในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ การแพทย์ หรือกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งความเห็นของเขานั้นอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยคดี ห้ามไม่ให้พยานเบิกความต่อหน้าพยานอื่นที่จะเบิกความในภายหลัง
การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
7. หลังจากพยานเบิกความเสร็จ เมื่อพยานเบิกความเสร็จ ศาลจะอ่านคำเบิกความที่บันทึกไว้ให้พยานฟัง แต่ถ้าพยานเห็นว่าข้อความส่วนใดไม่ตรงกับที่ตนเบิกความไว้ ก็มีสิทธิทักท้วงขอแก้ไขได้ เมื่อถูกต้องทั้งหมดแล้วศาลจะให้พยานลงลายมือชื่อไว้ท้ายคำเบิกความ เป็นอันเสร็จสิ้นการเป็นพยาน
8. กรณีที่มีการเลื่อนการสืบพยาน หรือพยานยังเบิกความไม่เสร็จสิ้นและต้องเบิกความต่อในภายหลัง ศาลอาจสั่งให้พยานลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดสืบพยานครั้งต่อไปไว้ในรายงาน กระบวนพิจารณาหรือในแบบฟอร์มพยานลงชื่อทราบนัด กรณีเช่นนี้พยานต้องจดจำวันเวลานัดให้ดีเพราะศาลจะไม่ออกหมายเรียกไปอีก โดยถือว่าพยานรับทราบวันนัดแล้ว
ค่าตอบแทนการเป็นพยาน
การจ่ายค่าตอบแทนแก่พยานในคดีอาญาตามระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพากรี ผู้สืบสันดาน ของพยานหรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2547 นั้น พยานจะได้รับค่าตอบแทนเมื่อได้ให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความต่อศาลแล้ว จึงจะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรตามอัตราที่กำหนด ดังนี้
ในกรณีที่พยานมีที่พักอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดที่มาให้ข้อเท็จจริงยังที่ทำการพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา พนักงานงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา หรือศาล ได้รับค่าตอบแทนครั้งละ 200 บาท
ในกรณีที่พยานผู้ที่มีที่พักอาศัยอยู่นอกเขตจังหวัดที่เดินทางมาให้ข้อเท็จจริงยังที่ทำการของพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวน พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา หรือศาล ได้รับค่าตอบแทนครั้งละ 500 บาท
เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคดี เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุม พนักงานสอบสวน หรือข้าราชการอื่น ๆ เมื่อได้เบิกความต่อศาลในฐานะพยานโจทก์ในคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดินหรือในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวซึ่งพนักงาน อัยการเป็นโจทก์แล้ว เจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวย่อมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรตามที่กฎหมายบัญญัติ
อัตราค่าตอบแทนจำนวน 200 และ 500 บาท ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมดังกล่าวกำหนดจากระยะการเดินทางโดยถือเอาที่อยู่ของพยานเป็นเกณฑ์นั้น มิได้มีเจตนารมณ์ให้จ่ายเป็นค่าพาหนะ เพียงแต่อาศัยระยะทางมาเป็นตัวกำหนดค่าใช้จ่ายเท่านั้น ดังนั้น พยานในคดีอาญาดังต่อไปนี้จึงอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งให้มีการจ่ายค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้
(1) พยานโจทก์ เฉพาะคดีความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายเป็นโจทก์
(2) พยานจำเลย ทั้งในคดีความผิดต่อส่วนตัวและคดีความผิดต่อแผ่นดิน
ไม่ว่าผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการเป็นโจทก์
ความผิดทางอาญา
1. การขัดขืนหมายเรียกของศาลที่ให้ไปให้ถ้อยคำหรือเบิกความเป็นพยาน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 170 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. การขัดขืนคำสั่งศาลให้สาบานหรือปฏิญาณตน ให้ถ้อยคำหรือคำเบิกความ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 171 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าเป็นการเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เครดิต http://www.oknation.net/blog/print.php?id=241853
พยาน ในศาล
พยานนำ คือ พยานที่คู่ความติดต่อให้ไปเบิกความและพยานยินดีไปศาลด้วยความสมัครใจ
พยานหมาย คือ พยานที่คู่ความไม่สามารถนำไปเบิกความได้ จึงขอให้ศาลออกหมายเรียกให้ไปเบิกความ
ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล
1. ตรวจหมาย เมื่อได้รับหมายเรียกพยานควรตรวจหมายเสียก่อนเพื่อให้ได้ความแน่ชัดว่าเป็นหมายของศาลใด ศาลนั้นตั้งอยู่ที่ใด ต้องไปเป็นพยานในวันเวลาใด บางกรณีในจังหวัดเดียวกันอาจมีหลายศาล เช่น ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลเยาวชนและครอบครัว จึงควรตรวจหมายอย่างรอบคอบ
ในบางกรณี อาจมีการส่งประเด็นไปสืบพยานที่ศาลอื่น เช่น ศาลจังหวัดชลบุรี
ส่งประเด็นมาสืบพยานที่ศาลอาญา เนื่องจากพยานมีภูมิลำเนาอยู่ที่ศาลอาญา พยานต้องมาเบิกความที่ศาลอาญามิใช่ศาลจังหวัดชลบุรี
ดังนั้น พยานควรต้องตรวจหมายให้ดีเสียก่อน หากมีข้อสงสัยควรโทรศัพท์สอบถามไปยังศาลตามหมายเลขโทรศัพท์ที่อยู่ด้านล่างของหมายเรียก
2. ไปศาลให้ตรงตามวันและเวลานัด พยานต้องไปถึงศาลให้ตรงตามวันและเวลานัด หากมีความจำเป็นไม่อาจไปศาลตามกำหนดได้ ต้องรีบแจ้งให้ศาลทราบก่อนวันนัด การขัดขืนไม่ไปศาล อาจถูกศาลออกหมายจับ เพื่อเอาตัวกักขังไว้จนกว่าจะเบิกความ และยังถือว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 170
3. หาห้องพิจารณาคดีและรอการเบิกความ พยานควรนำหมายเรียกติดตัวไปศาลด้วยเพื่อความสะดวกในการติดต่อสอบถาม และเมื่อมาถึงศาลแล้วให้หาห้องพิจารณาคดีโดยตรวจดูจากบอร์ดวัดนัดพิจารณาคดีของศาล หรืออาจสอบถามเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เพื่อตรวจดูว่าคดีที่ตนต้องมาเป็นพยายเพื่อเบิกความนั้นอยู่ห้องพิจารณาคดีใด แล้วไปรอที่หน้าพิจารณาคดี แล้วไปรอที่หน้าห้องพิจารณาคดีนั้น เพื่อให้คู่ควาฝ่ายที่อ้างพยานหรือเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ของศาลได้ทราบว่าพยานได้เดินทางมาถึงศาลแล้ว
4. การปฏิญาณหรือสาบานตน ก่อนเบิกความพยานจะต้องปฏิญาณหรือสาบานตนตามลัทธิศาสนาของตน เว้นแต่
1. บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี หรือหย่อนความรู้สึกผิดชอบ
2. ภิกษุสามเณรในพุทธศาสนา
3. บุคคลที่คู่ความตกลงกันว่าไม่ต้องปฏิญาณหรือสาบานตน
5. การตอบคำถามเกี่ยวกับชื่อ อายุ ตำแหน่ง และอาชีพ
เมื่อพยานปฏิญาณหรือสาบานตนแล้ว พยานจะต้องตอบคำถามศาลเกี่ยวกับชื่อ อายุ อาชีพ ที่อยู่ และความเกี่ยวพันระหว่างพยานกับคู่ความ จากนั้นคู่ความหรือทนายความฝ่ายที่อ้างพยานจะมาซักถามเรื่องราวจากพยาน เมื่อฝ่ายที่อ้างพยานมาถามเสร็จแล้ว คู่ความหรือทนายความอีกฝ่ายหนึ่งก็จะถามค้านพยาน จากนั้นฝ่ายที่อ้างพยานมีสิทธิจะถามติงพยานได้อีกครั้งหนึ่ง กฎหมายห้ามมิให้ถามพยานด้วยคำถามที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี หรือคำถามที่อาจทำให้พยานหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกต้องรับโทษทาอาญา หรือคำถามที่เป็นการหมิ่นประมาทพยาน หากมีคำถามเช่นนี้ศาลจะเตือนให้พยานรู้ตัวก่อนหรืออาจห้ามใช้คำถามเช่นนั้น
6. การเบิกความ การเบิกความศาลจะให้พยานเบิกความโดยวิธีเล่าเรื่องตามที่ตนได้รู้ ได้เห็น หรือได้ยินมา หรืออาจจะเบิกความโดยวิธีตอบคำถามของศาลหรือคู่ความ พยานจะต้องเบิกความด้วยวาจา ห้ามอ่านข้อความที่จดหรือเขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลหรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เช่น ผู้มีความชำนาญพิเศษในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ การแพทย์ หรือกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งความเห็นของเขานั้นอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยคดี ห้ามไม่ให้พยานเบิกความต่อหน้าพยานอื่นที่จะเบิกความในภายหลัง
การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
7. หลังจากพยานเบิกความเสร็จ เมื่อพยานเบิกความเสร็จ ศาลจะอ่านคำเบิกความที่บันทึกไว้ให้พยานฟัง แต่ถ้าพยานเห็นว่าข้อความส่วนใดไม่ตรงกับที่ตนเบิกความไว้ ก็มีสิทธิทักท้วงขอแก้ไขได้ เมื่อถูกต้องทั้งหมดแล้วศาลจะให้พยานลงลายมือชื่อไว้ท้ายคำเบิกความ เป็นอันเสร็จสิ้นการเป็นพยาน
8. กรณีที่มีการเลื่อนการสืบพยาน หรือพยานยังเบิกความไม่เสร็จสิ้นและต้องเบิกความต่อในภายหลัง ศาลอาจสั่งให้พยานลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดสืบพยานครั้งต่อไปไว้ในรายงาน กระบวนพิจารณาหรือในแบบฟอร์มพยานลงชื่อทราบนัด กรณีเช่นนี้พยานต้องจดจำวันเวลานัดให้ดีเพราะศาลจะไม่ออกหมายเรียกไปอีก โดยถือว่าพยานรับทราบวันนัดแล้ว
ค่าตอบแทนการเป็นพยาน
การจ่ายค่าตอบแทนแก่พยานในคดีอาญาตามระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพากรี ผู้สืบสันดาน ของพยานหรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2547 นั้น พยานจะได้รับค่าตอบแทนเมื่อได้ให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความต่อศาลแล้ว จึงจะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรตามอัตราที่กำหนด ดังนี้
ในกรณีที่พยานมีที่พักอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดที่มาให้ข้อเท็จจริงยังที่ทำการพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา พนักงานงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา หรือศาล ได้รับค่าตอบแทนครั้งละ 200 บาท
ในกรณีที่พยานผู้ที่มีที่พักอาศัยอยู่นอกเขตจังหวัดที่เดินทางมาให้ข้อเท็จจริงยังที่ทำการของพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวน พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา หรือศาล ได้รับค่าตอบแทนครั้งละ 500 บาท
เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคดี เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุม พนักงานสอบสวน หรือข้าราชการอื่น ๆ เมื่อได้เบิกความต่อศาลในฐานะพยานโจทก์ในคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดินหรือในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวซึ่งพนักงาน อัยการเป็นโจทก์แล้ว เจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวย่อมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรตามที่กฎหมายบัญญัติ
อัตราค่าตอบแทนจำนวน 200 และ 500 บาท ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมดังกล่าวกำหนดจากระยะการเดินทางโดยถือเอาที่อยู่ของพยานเป็นเกณฑ์นั้น มิได้มีเจตนารมณ์ให้จ่ายเป็นค่าพาหนะ เพียงแต่อาศัยระยะทางมาเป็นตัวกำหนดค่าใช้จ่ายเท่านั้น ดังนั้น พยานในคดีอาญาดังต่อไปนี้จึงอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งให้มีการจ่ายค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้
(1) พยานโจทก์ เฉพาะคดีความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายเป็นโจทก์
(2) พยานจำเลย ทั้งในคดีความผิดต่อส่วนตัวและคดีความผิดต่อแผ่นดิน
ไม่ว่าผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการเป็นโจทก์
ความผิดทางอาญา
1. การขัดขืนหมายเรียกของศาลที่ให้ไปให้ถ้อยคำหรือเบิกความเป็นพยาน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 170 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. การขัดขืนคำสั่งศาลให้สาบานหรือปฏิญาณตน ให้ถ้อยคำหรือคำเบิกความ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 171 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าเป็นการเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้