หน้าแรก
คอมมูนิตี้
ห้อง
แท็ก
คลับ
ห้อง
แก้ไขปักหมุด
ดูทั้งหมด
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
แท็ก
แก้ไขปักหมุด
ดูเพิ่มเติม
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
{room_name}
{name}
{description}
กิจกรรม
แลกพอยต์
อื่นๆ
ตั้งกระทู้
เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก
เว็บไซต์ในเครือ
Bloggang
Pantown
PantipMarket
Maggang
ติดตามพันทิป
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
เกี่ยวกับเรา
กฎ กติกา และมารยาท
คำแนะนำการโพสต์แสดงความเห็น
นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิ์การใช้งานของสมาชิก
ติดต่อทีมงาน Pantip
ติดต่อลงโฆษณา
ร่วมงานกับ Pantip
Download App Pantip
Pantip Certified Developer
[CR] ประเพณีตานก๋วยสลาก...คืออะไร ตามไปดูกัน!!
กระทู้รีวิว
บันทึกนักเดินทาง
ภาคเหนือ
ทำบุญ
ศาสนาพุทธ
เรื่องมันเกิดจากที่ผมต้องไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ของศรีภรรยาที่ จ.ลำปาง พอดีว่าเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่เขาจัดงานบุญใหญ่ของชาวล้านนา และคุณภรรยาผมเขาก็โฆษณาไว้ซะเยอะว่า งานนี้ไม่ได้มีกันบ่อยๆ หรือจัดกันทุกปี เพราะต้องเตรียมงานเยอะทั้งชาวบ้านและพระสงฆ์องค์เจ้า งานบุญที่ว่าเป็นประเพณีของชาวล้านนาที่เรียกว่า "ประเพณีตานก๋วยสลาก"
ผมเริ่มงงๆ ว่ามันคืออะไร แต่ก็เดาได้ลางๆว่า อะไรที่เกี่ยวกับสลากนี่แหละ
แน่นอนถ้าเราอยากรู้ว่ามันคืออะไร ก็ต้องไปถามกูเกิ้ลและผมก็ได้ข้อมูลมายาวเหยียดตามนี้
http://www.med.cmu.ac.th/secret/admin/web/custom5_8.html
หลายท่านอาจจะขี้เกียจอ่านเพราะมันยาว ผมขอสรุปตามแบบที่ผมเจอมากับตัวเลยล่ะกันว่า (อันนี้ผมสรุปเอาเองน่ะครับ เพื่อให้เข้าใจง่าย อาจจะใช้คำหรือแสดงไปแนวทางสนุกสนาน ผิดพลาดหรือล่วงเกินประการใด ต้องขออภัยด้วยครับ)
"
ประเพณีตานก๋วยสลาก ก็คืองานทำบุญงานหนึ่งของชาวล้านนา ที่จะอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ล่วงลับ ส่วนของที่จะนำมาทำบุญก็สุดแล้วแต่ความต้องการของลูกหลาน(แต่จริงๆ เขามีสูตรนะว่าต้องใช้อะไรบ้าง แม่ยายผมบอกล่ะแต่ผมไม่จำ แถมยังไม่จดอีกต่างหาก) หรือไม่ก็ตามแต่ฐานะของแต่ละครอบครัว คราวนี้ถ้าจะทำบุญเฉกเช่นปกติทั่วๆ ไป ก็คงจะไม่เกิดกิจกรรมที่เรียกว่า ประเพณีตานก๋วยสลาก ก็เลยต้องมีอะไรให้พระสงฆ์ได้ ลำบากหน่อย ด้วยการเขียนชื่อของคนที่จะทำบุญ และคนที่จะอุทิศส่วนกุศลไปให้ จากนั้นชาวบ้านก็จะเอาสลากมารวมๆกัน แล้วก็แบ่งเป็นจำนวนเท่าๆ กัน แล้วก็ถวายให้กับพระสงฆ์ ทีนี้ก็ถึงคราวที่พระสงฆ์ต้องออกแรงตามหาล่ะว่าสลากที่พระสงฆ์ได้รับถวาย จะไปแปะกับของที่ชาวบ้านเอามาทำบุญ อยู่ที่ไหน งานนี้ต้องตามหาจนเจอนะครับ ทั้งชาวบ้าน ทั้งพระ ถ้าคนไม่ได้ถวายของหรือพระหาของที่มาทำบุญไม่เจอ ก็จะเหมือนทำบุญไม่เสร็จ บางคนก็บอกว่าบาปกันทั้งคู่
"
มาดูรูปประกอบกันเลยแล้วกันครับ
นี่แหละที่มาของคำว่า "ก๋วย"
ต่างคนต่างหิ้วข้าวของเข้ามาในวัด เพื่อเอาไปวางตามที่ ที่ตัวเองได้จองไว้
งานนี้ใช้บ้านเลขที่อย่างเดียวครับ
จัดให้ยาวๆ กับหน้าตา และสิ่งของที่แต่ล่ะบ้านนำมาทำบุญ มีทั้งเล็ก ทั้งใหญ่ ของกิน ของใช้ (บ้านเป็นหลังยังมีเลย) บางคนก็จัดข้าวของมาแบบสวยงาม รูปทรงนั่น โน่น นี่ แต่คุณภรรยาแอบบอกว่า ไฮไลท์ คือหงษ์ ถ้าใครนำเองหงษ์มา ก็จะสื่อว่าหงษ์นั้นจะช่วยนำสิ่งของ เงินทอง ขึ้นไปบนสวรรค์ให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว..
ถ้ามีชาวบ้านต่างบ้าน มาร่วมงานด้วยก็จะแห่มาจากบ้านของตัวเอง ส่วนเจ้าบ้านก็จะคอยฟ้อน คอยตีกลอง ร้องรำ ทำเพลงเพื่อต้นรับ
นี่คือหน้าตาของสลากที่ว่าครับ พระเอกของงานนี้เลยแหละ ในสลากก็จะเขียนว่า ใครเป้นคนอุทิศส่วนกุศล อุทิศให้ใคร และที่ขาดไม่ได้ ตรงสลากต้องระบุด้วยว่า เจ้าของสลากนั่งอยู่ที่ไหน บ้านเลขที่เท่าไหร่ ถ้าใส่เบอร์โทรด้วยจะยิ่งดี เดิมทีสลากจะเป็นใบลาน แต่หลังๆ ก็จะเป็นกระดาษบ้าง เพราะง่ายต่อการเตรียมและอ่าน
สลากของแต่ละคนก็จะถูกนำมารวมกัน เพื่อให้คณะกรรมการนับจำนวนทั้งหมดแล้วก็เอามาเค้าๆ ให้ปนกัน
ก่อนจะเริ่มอ่านสลาก มีนางรำมาฟ้อนเปิดงานด้วย
เมื่อได้เวลา (ส่วนใหญ่จะหลังจากพระฉันเพลแล้ว) คณะกรรมการจะประกาศว่า ครั้งนี้ได้สลากเท่าไหร่ (วันนี้ได้ทั้งหมด 3,905 ใบ) มีพระ เณร มาร่วมกินสลากเท่าไหร่ (วันนี้มีทั้งหมด 219 รูป) สรุปว่า พระ เณร 1 รูปจะได้สลากไปรูปล่ะ 15 ใบ สลากที่เหลือจะนำเข้าวัดเป็นของส่วนกลาง
เจ้าหน้าที่ก็จะถวายสลากให้กับพระสงฆ์ (พระหยิบเองไม่ได้น่ะ ผมเดาว่าน่าจะผิดวินัย เพราะเหมือนกันเล่นพนันยังไงไม่รู้)
คราวนี้แหละ พระสงฆ์ต้องออกแรงบ้างล่ะ (ความจริงพระแต่ละรูปก็จะมีลูกศิษย์ช่วยตามหา มากบ้าง น้อยบ้างครับ) ดูกันเอาเองล่ะกันครับ ว่าสภาพมันจะโกลาหลขนาดไหน ทั้งคนมาทำบุญ ทั้งพระ ทั้งลูกศิษย์ ตามหากันให้วุ่น... บางทีบ้านเลขที่ใช่ ชื่อไม่ใช่ บางทีชื่อใช่ แต่บ้านเลขที่ไม่ตรง บ้านเลขที่ซ้ำบ้าง ชื่อซ้ำบ้าง ในสลากบอกที่นั่ง ที่วางของไม่ตรงบ้าง บางครอบครัวถึงขั้นต้องขึ้นเก้าอี้ตะโกนบ้านเลขที่ตัวเอง เพื่อประกาศให้พระรู้ว่าตัวเองอยู่ไหน (เมื่อขายของตลาดนัดเลย)
ถ้าหาเจ้าของสลากเจอแล้ว พระสงฆ์กับจะรับประเคนของที่ชาวบ้านเตรียมมาทำบุญไป พร้อมกับให้ศีล ให้พร และอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ตามที่ใบสลากระบุไว้
แล้วก็จะวนๆ อยู่อย่างนี้ จนกว่าของที่ชาวบ้านเตรียมมาทำบุญ จะหมด บางคนเตรียมมาเยอะหลายชุด เพราะต้องการอุทิศไปให้ญาติหลายคน ก็รอนานหน่อยเพราะกว่าพระหรือลูกศิษย์จะตามหาเจอจนครบ บางครอบครัว(ไม่อยากใช้คำว่าซวย) ต้องนั่งรอนานหน่อยเพราะพระหาไม่เจอสักที หรือไม่ก็เกิดจากสลากของตัวเองไม่ได้ถวายให้กับพระสงฆ์ ดันไปอยู่รวมกับสลากที่จะถวายวัดเป้นกองกลาง ต้องให้ลูกหลานไปไล่คุ้ยๆ ดูถึงรู้ว่า ไม่ต้องรอพระมาตามหาล่ะ ของทำบุญของตัวเองถวายเข้ากองกลางของวัดได้เลย....
เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับ "ประเพณีตานก๋วยสลาก" ของชาวล้านนา ที่ไม่ได้จัดกันทุกปี ขนาดคุณภรรยาผมยังบอกว่าปีนี้มีบุญที่ได้กลับมาร่วมงาน เพราะจำไม่ได้ว่าครั้งล่าสุดมาร่วมงานเมื่อไหร่...สำหรับผมก็เป็นประเพณีที่แปลกดีครับ นอกจากจะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ได้ร่วมสนุกกันกันทั้งครอบครัว ทั้งหมู่บ้าน และที่สำคัญงานนี้พระสงฆ์ยังต้องออกแรงด้วย ก่อนจะรับถวายของที่บุญที่ชาวบ้านเตรียมมา
โพสต์รูปไปจนหมดถึงรู้ว่า Trip Date ผิด ที่ถูกต้องคือ 28-09-2014 นะครับ
ชื่อสินค้า:
ประเพณีตานก๋วยสลาก
คะแนน:
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
▼
กำลังโหลดข้อมูล...
▼
แสดงความคิดเห็น
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม
กระทรวงวัฒนธรรม จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม วันพุธที่ 8 มกราคม 2568 เ
อาคุงกล่อง
เที่ยวจุ๊บจิ๊บ ทริปปีใหม่ สระแก้ว จันทบุรี
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๘ สิ้นปีหยุดยาว 9 วัน พาแฟนกับลูกชาย(ในท้อง5เดือน) เดินทางกึ่งเที่ยวกึ่งเยี่ยมญาติที่อรัญประเทศ และทำบุญถวายอาหารพระสงฆ์ อุทิศกุศลให้บรรพบุรุษ สถานที่ท่องเที่ยวก็เคยไปมาแล้วทั้งนั้นแต่
จอมสงสัย
กระทรวงวัฒนธรรม จัดกิจกรรมตักบาตรรับปีใหม่ พุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญ สืบทอดพระพุทธศาสนา เสริมสิริมงคลต้อนรับปี 2568
กระทรวงวัฒนธรรม จัดกิจกรรมตักบาตรรับปีใหม่ พุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญ สืบทอดพระพุทธศาสนา เสริมสิริมงคลต้อนรับปี 2568 วันที่ 1 มกราคม 2567 เวลา 07.00
อาคุงกล่อง
วันนี้ วันพระ ทำ ...ผัดสามฉุน... ไปถวายพระ ทำบุญที่วัด
สวัสดีค่ะ วันนี้ วันอาทิตย์ เป็นวันพระเลยมีโอกาสได้นำอาหารไปถวายพระที่วัดค่ะ ช่วงนี้ นานทีปีหนจะได้ไปทำบุญใส่บาตรซักครั้ง ตามแต่กำลัง และโอกาสจะอำนวยค่ะ วันนี้ ใจจริง อยากทำผัดสามเหม็นแต่หาวัตถุดิบกลิ
เจ๊แก้ว คนเก่ง
สวดมนต์ข้ามปี วัดโบราณ สวยงดงาม ที่ นครนายก
ขอเชิญร่วมสวดมนต์ข้ามปี ทำความดีถวายเป็นพระราชกุศล ประจำปี ๒๕๖๗ - ๒๕๖๘ Cr. วัดคีรีวัน การสวดมนต์ข้ามปี ถือเป็นประเพณีที่ชาวไทยปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ
weiweija
สมเด็จพระสังฆราชประทานไฟพระฤกษ์ สวดมนต์ข้ามปี ถวายพระราชกุศล เสริมสิริมงคลทั่วไทย-ทั่วโลก ต้อนรับศักราชใหม่ 2568
สมเด็จพระสังฆราชประทานไฟพระฤกษ์ สวดมนต์ข้ามปี ถวายพระราชกุศล เสริมสิริมงคลทั่วไทย-ทั่วโลก ต้อนรับศักราชใหม่ 2568 วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐&nb
อาคุงกล่อง
บุญด่วน!!เจ้าภาพถวายภัตตาหารแด่คณะสงฆ์หมู่ใหญ่และผู้ที่มาปฏิบัติธรรม) ที่พักสงฆ์สวนป่ากัลยาณธรรมฯ (ป่าช้าเดิม)
( เจ้าภาพถวายภัตตาหารแด่คณะสงฆ์หมู่ใหญ่และผู้ที่มาปฏิบัติธรรม) ที่พักสงฆ์สวนป่ากัลยาณธรรมฯ (ป่าช้าเดิม)อำเภอนิคมคำสร้อยจังหวัดมุกดาหาร ขอเจริญสุขเจริญพรมายังท่านทั้งหลายฯขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพถวายภ
นำบุญมาฝาก
(มู) เราสามารถสื่อสารกับผี 1 ผ่านผี 2 ได้ไหมคะ กรณีสื่อสารกับผี 1 โดยตรงไม่ได้
สมมุติว่าผี 1 ติดคุก ถูกลงโทษ จองจำอยู่ในยมโลก เราเลยทานถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เพื่อให้พระส่งไปให้ผี 2 แล้วเราจะฝากผี 2 บอกว่าแบ่งไปให้ผี 1 ด้วยน่ะค่ะ
อวัยวะชิ้นนั้น
แบบไหนได้บุญมากกว่า (มีผู้ฝากถามมา) ?
มีผู้ทำอาหารไปแจกงานบุญโรงทาน มีอาหารไป 50 กล่อง ๑. เมื่อไปถึงโรงทาน จัดการแบ่งไปถวายพระ 3 ชุด ที่เหลือแจกคนมาร่วมบุญโดยตรง ๒. ถวายพระทั้งหมดก่อน ให้พระสวดมนต์ให้พรก่อนแล้วค่อยแจากจ่าย ได้บุญเ
พรพระพรหม
#วันพระ #ถวายภัตตาหาร #สังฆทาน #ธรรมทาน #วัดวีระโชติธรรมาราม ขอเชิญญาติธรรมกัลยาณมิตร และผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญ
#วันพระ #ถวายภัตตาหาร #สังฆทาน #ธรรมทาน #วัดวีระโชติธรรมาราม ขอเชิญญาติธรรมกัลยาณมิตร และผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญในวันพระ ถวายภัตตาหารเพล ถวายสังฆทาน ถวายกัณฑ์เทศน์ แด่คณะพระสงฆ์วัดวีระ
สมาชิกหมายเลข 4039131
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
บันทึกนักเดินทาง
ภาคเหนือ
ทำบุญ
ศาสนาพุทธ
บนสุด
ล่างสุด
อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้
หน้า:
หน้า
จาก
แชร์ : 6
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ยอมรับ
[CR] ประเพณีตานก๋วยสลาก...คืออะไร ตามไปดูกัน!!
เรื่องมันเกิดจากที่ผมต้องไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ของศรีภรรยาที่ จ.ลำปาง พอดีว่าเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่เขาจัดงานบุญใหญ่ของชาวล้านนา และคุณภรรยาผมเขาก็โฆษณาไว้ซะเยอะว่า งานนี้ไม่ได้มีกันบ่อยๆ หรือจัดกันทุกปี เพราะต้องเตรียมงานเยอะทั้งชาวบ้านและพระสงฆ์องค์เจ้า งานบุญที่ว่าเป็นประเพณีของชาวล้านนาที่เรียกว่า "ประเพณีตานก๋วยสลาก"
ผมเริ่มงงๆ ว่ามันคืออะไร แต่ก็เดาได้ลางๆว่า อะไรที่เกี่ยวกับสลากนี่แหละ
แน่นอนถ้าเราอยากรู้ว่ามันคืออะไร ก็ต้องไปถามกูเกิ้ลและผมก็ได้ข้อมูลมายาวเหยียดตามนี้ http://www.med.cmu.ac.th/secret/admin/web/custom5_8.html หลายท่านอาจจะขี้เกียจอ่านเพราะมันยาว ผมขอสรุปตามแบบที่ผมเจอมากับตัวเลยล่ะกันว่า (อันนี้ผมสรุปเอาเองน่ะครับ เพื่อให้เข้าใจง่าย อาจจะใช้คำหรือแสดงไปแนวทางสนุกสนาน ผิดพลาดหรือล่วงเกินประการใด ต้องขออภัยด้วยครับ)
"ประเพณีตานก๋วยสลาก ก็คืองานทำบุญงานหนึ่งของชาวล้านนา ที่จะอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ล่วงลับ ส่วนของที่จะนำมาทำบุญก็สุดแล้วแต่ความต้องการของลูกหลาน(แต่จริงๆ เขามีสูตรนะว่าต้องใช้อะไรบ้าง แม่ยายผมบอกล่ะแต่ผมไม่จำ แถมยังไม่จดอีกต่างหาก) หรือไม่ก็ตามแต่ฐานะของแต่ละครอบครัว คราวนี้ถ้าจะทำบุญเฉกเช่นปกติทั่วๆ ไป ก็คงจะไม่เกิดกิจกรรมที่เรียกว่า ประเพณีตานก๋วยสลาก ก็เลยต้องมีอะไรให้พระสงฆ์ได้ ลำบากหน่อย ด้วยการเขียนชื่อของคนที่จะทำบุญ และคนที่จะอุทิศส่วนกุศลไปให้ จากนั้นชาวบ้านก็จะเอาสลากมารวมๆกัน แล้วก็แบ่งเป็นจำนวนเท่าๆ กัน แล้วก็ถวายให้กับพระสงฆ์ ทีนี้ก็ถึงคราวที่พระสงฆ์ต้องออกแรงตามหาล่ะว่าสลากที่พระสงฆ์ได้รับถวาย จะไปแปะกับของที่ชาวบ้านเอามาทำบุญ อยู่ที่ไหน งานนี้ต้องตามหาจนเจอนะครับ ทั้งชาวบ้าน ทั้งพระ ถ้าคนไม่ได้ถวายของหรือพระหาของที่มาทำบุญไม่เจอ ก็จะเหมือนทำบุญไม่เสร็จ บางคนก็บอกว่าบาปกันทั้งคู่"
มาดูรูปประกอบกันเลยแล้วกันครับ
นี่แหละที่มาของคำว่า "ก๋วย"
ต่างคนต่างหิ้วข้าวของเข้ามาในวัด เพื่อเอาไปวางตามที่ ที่ตัวเองได้จองไว้
งานนี้ใช้บ้านเลขที่อย่างเดียวครับ
จัดให้ยาวๆ กับหน้าตา และสิ่งของที่แต่ล่ะบ้านนำมาทำบุญ มีทั้งเล็ก ทั้งใหญ่ ของกิน ของใช้ (บ้านเป็นหลังยังมีเลย) บางคนก็จัดข้าวของมาแบบสวยงาม รูปทรงนั่น โน่น นี่ แต่คุณภรรยาแอบบอกว่า ไฮไลท์ คือหงษ์ ถ้าใครนำเองหงษ์มา ก็จะสื่อว่าหงษ์นั้นจะช่วยนำสิ่งของ เงินทอง ขึ้นไปบนสวรรค์ให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว..
ถ้ามีชาวบ้านต่างบ้าน มาร่วมงานด้วยก็จะแห่มาจากบ้านของตัวเอง ส่วนเจ้าบ้านก็จะคอยฟ้อน คอยตีกลอง ร้องรำ ทำเพลงเพื่อต้นรับ
นี่คือหน้าตาของสลากที่ว่าครับ พระเอกของงานนี้เลยแหละ ในสลากก็จะเขียนว่า ใครเป้นคนอุทิศส่วนกุศล อุทิศให้ใคร และที่ขาดไม่ได้ ตรงสลากต้องระบุด้วยว่า เจ้าของสลากนั่งอยู่ที่ไหน บ้านเลขที่เท่าไหร่ ถ้าใส่เบอร์โทรด้วยจะยิ่งดี เดิมทีสลากจะเป็นใบลาน แต่หลังๆ ก็จะเป็นกระดาษบ้าง เพราะง่ายต่อการเตรียมและอ่าน
สลากของแต่ละคนก็จะถูกนำมารวมกัน เพื่อให้คณะกรรมการนับจำนวนทั้งหมดแล้วก็เอามาเค้าๆ ให้ปนกัน
ก่อนจะเริ่มอ่านสลาก มีนางรำมาฟ้อนเปิดงานด้วย
เมื่อได้เวลา (ส่วนใหญ่จะหลังจากพระฉันเพลแล้ว) คณะกรรมการจะประกาศว่า ครั้งนี้ได้สลากเท่าไหร่ (วันนี้ได้ทั้งหมด 3,905 ใบ) มีพระ เณร มาร่วมกินสลากเท่าไหร่ (วันนี้มีทั้งหมด 219 รูป) สรุปว่า พระ เณร 1 รูปจะได้สลากไปรูปล่ะ 15 ใบ สลากที่เหลือจะนำเข้าวัดเป็นของส่วนกลาง
เจ้าหน้าที่ก็จะถวายสลากให้กับพระสงฆ์ (พระหยิบเองไม่ได้น่ะ ผมเดาว่าน่าจะผิดวินัย เพราะเหมือนกันเล่นพนันยังไงไม่รู้)
คราวนี้แหละ พระสงฆ์ต้องออกแรงบ้างล่ะ (ความจริงพระแต่ละรูปก็จะมีลูกศิษย์ช่วยตามหา มากบ้าง น้อยบ้างครับ) ดูกันเอาเองล่ะกันครับ ว่าสภาพมันจะโกลาหลขนาดไหน ทั้งคนมาทำบุญ ทั้งพระ ทั้งลูกศิษย์ ตามหากันให้วุ่น... บางทีบ้านเลขที่ใช่ ชื่อไม่ใช่ บางทีชื่อใช่ แต่บ้านเลขที่ไม่ตรง บ้านเลขที่ซ้ำบ้าง ชื่อซ้ำบ้าง ในสลากบอกที่นั่ง ที่วางของไม่ตรงบ้าง บางครอบครัวถึงขั้นต้องขึ้นเก้าอี้ตะโกนบ้านเลขที่ตัวเอง เพื่อประกาศให้พระรู้ว่าตัวเองอยู่ไหน (เมื่อขายของตลาดนัดเลย)
ถ้าหาเจ้าของสลากเจอแล้ว พระสงฆ์กับจะรับประเคนของที่ชาวบ้านเตรียมมาทำบุญไป พร้อมกับให้ศีล ให้พร และอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ตามที่ใบสลากระบุไว้
แล้วก็จะวนๆ อยู่อย่างนี้ จนกว่าของที่ชาวบ้านเตรียมมาทำบุญ จะหมด บางคนเตรียมมาเยอะหลายชุด เพราะต้องการอุทิศไปให้ญาติหลายคน ก็รอนานหน่อยเพราะกว่าพระหรือลูกศิษย์จะตามหาเจอจนครบ บางครอบครัว(ไม่อยากใช้คำว่าซวย) ต้องนั่งรอนานหน่อยเพราะพระหาไม่เจอสักที หรือไม่ก็เกิดจากสลากของตัวเองไม่ได้ถวายให้กับพระสงฆ์ ดันไปอยู่รวมกับสลากที่จะถวายวัดเป้นกองกลาง ต้องให้ลูกหลานไปไล่คุ้ยๆ ดูถึงรู้ว่า ไม่ต้องรอพระมาตามหาล่ะ ของทำบุญของตัวเองถวายเข้ากองกลางของวัดได้เลย....
เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับ "ประเพณีตานก๋วยสลาก" ของชาวล้านนา ที่ไม่ได้จัดกันทุกปี ขนาดคุณภรรยาผมยังบอกว่าปีนี้มีบุญที่ได้กลับมาร่วมงาน เพราะจำไม่ได้ว่าครั้งล่าสุดมาร่วมงานเมื่อไหร่...สำหรับผมก็เป็นประเพณีที่แปลกดีครับ นอกจากจะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ได้ร่วมสนุกกันกันทั้งครอบครัว ทั้งหมู่บ้าน และที่สำคัญงานนี้พระสงฆ์ยังต้องออกแรงด้วย ก่อนจะรับถวายของที่บุญที่ชาวบ้านเตรียมมา
โพสต์รูปไปจนหมดถึงรู้ว่า Trip Date ผิด ที่ถูกต้องคือ 28-09-2014 นะครับ