สืบเนื่องมาจาก ตอนที่ 1 ขึ้นเขามาดูเครื่องส่ง >>
http://ppantip.com/topic/32587706
และ ตอนที่ 2 Combiner มาล่ะจ้าาาา~ >>
http://ppantip.com/topic/32628170
หลังจากพี่พ่อหนุ่มวิศวกรรูปหล่อผู้นี้
กำลัง Commissioning ตู้ Combiner เรียบร้อยแล้ว คราวนี้มาเป็นคิวของ "เครื่องส่งโทรทัศน์" ที่กำลังจะมาในวันเสาร์นี้ล่ะค่าาาาา
หมายเหตุ 1: ต้องขออภัยสำหรับวิศวกรพ่อรูปหล่อท่านนี้ด้วย ท่านนี้มาจากแดนมังกร ทางผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
วันเสาร์สบายๆ แบบนี้ ก็ไหว้พระไหว้เจ้าให้สบายๆ ก่อน วอนท่าน "กิ้วอ๋องไต่เต่" ให้ผู้เขียนมีความสุข ให้ทำงานราบรื่นไม่มีอะไรมาขัดขวาง...
แต่คนเขียนสิไม่รู้ป่วยมาจากไหน ขึ้นสถานชุมเสาเขาโต๊ะแซะได้ทุกวัน ไม่ใช่เพราะอะไรหรอก อยากจะมา "เสิร์ฟความรู้" (เท่าที่ผู้เขียนทราบ) มาสู่ท่านผู้อ่านบนพันทิปให้ได้มากที่สุดจ้า แหม่ๆๆ
มาถึงคราวนี้ก็ขอเข้าสถานีส่งมาดูเครื่องส่งเลยครับ บร๊ะเจ้าาาาา กำลังติดตั้งอยู่ครับ
เครื่องส่งที่ ThaiPBS ใช้นั้น เป็นเครื่องส่งของ NEC ผลิตที่ญี่ปุ่น ที่ ThaiPBS ใช้มี 3 รุ่นคือ DTU-70 (ใช้น้ำหล่อเลี้ยง) DTU-30 และ DTU-10 (ใช้พัดลมอย่างเดียว) อย่างที่ภูเก็ตใช้รุ่น DTU-30 ชนิด 1R1 กำลังส่งสูงสุด 1.1 kW แต่ใช้เอาจริงๆ แค่ 740 W เท่านั้นฮะ (เพราะที่นี่ใช้เครื่องไม่เกิน 740 W เป็นอย่างสูง)
งานนี้จะมีแค่วิศวกรจาก ThaiPBS อย่างเดียวไม่ได้แล้ว ต้องมีวิศวกรจากญี่ปุ่น (ทางบริษัท NEC Crop. ส่งมา) ช่วยจัดการอีกแรงหนึ่งด้วยครับ แหะๆๆ
ซึ่งพี่จิ๋ว (วิศวกรจาก ThaiPBS) บอกว่า ตรังยังออกอากาศไม่ได้นะ... เพราะจะให้เครื่องส่งเดินได้ก็ต้องให้วิศวกรจาก NEC เค้ามาจัดการด้วย ถึงแม้เครื่องส่งจะติดตั้งเสร็จแล้วแต่ถ้าวิศวกรจากทางโน้นยังไม่มาก็ยังออกอากาศไม่ได้อยู่ดีฮะ
การติดตั้งเครื่องส่งนั้น จะติดตั้งจากแบบสำเร็จรูปที่ทางบริษัทผลิตเครื่องส่งจัดการให้ คือเมื่อถึงสถานีเครื่องส่ง ก็ทำการติดตั้งแค่โครง แล้วประกอบตามแผนผังที่วางไว้ แต่การวางตำแหน่งเครื่องส่ง หรือวางท่อนำคลื่น (ซึ่งจะอธิบายภายหลัง) ต้องเป็นวิศวกรจาก ThaiPBS เค้าจัดการล่ะครับ
หลังจากที่วางเครื่องส่งเสร็จตามล็อก สิ่งที่จะต้องจัดการต่อไปคือ การต่อท่อ ซึ่งการต่อท่อนั้นจะเป็นการต่อท่อจากตัว Combiner ของเครื่องส่ง (ทุก MUX จะต้องมีเครื่องส่งหลัก 1 ตัว และสำรอง 1 ตัว แล้วเอาไปรวมที่ Combiner ของเครื่องส่งก่อนที่จะนำไปลง Combiner ประจำสถานีเพื่อทำการกรองความถี่แล้วยิงขึ้นเสาส่งโทรทัศน์ต่อไป
ท่อนำคลื่น จะเป็นท่อทองแดง มีขนาดตั้งแต่สายขนาด 5/8, 7/8 และเป็นท่อเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ 5 นิ้ว ท่อนำคลื่นที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่นั้นจะเป็นท่อที่มีเหล็กครอบ ส่วนภายในเป็นท่อทองแดงจริงๆ ซึ่งจะมีพลาสติกยึดเหล็กครอบไว้
เจ้าท่อเหล็กพวกนี้จะอยู่ในห่อกระดาษสีน้ำตาล แล้วหุ้มอีกทีด้วยฟอยล์ ก่อนจะบรรจุในลังไม้ที่เต็มไปด้วยถุงโฟมตัวหนอน แสดงว่าเค้าละเอียดในการส่งของมาก ทะนุถนอมชนิดจะมีตำหนิไม่ได้แม้แต่น้อย
เวลาตัดท่อเพื่อนำไปใช้ เค้าจะตัดท่อเหล็กข้างนอกก่อน เพื่อให้การตัดท่อได้สะดวกขึ้น เมื่อตัดท่อเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องนำปลายท่อที่ตัดได้ไปเจียรมุมไม่ให้แหลม และยังต้องพ่นลมให้สะอาด
ที่ทำแบบนี้ก็เพราะว่าถ้าเกิดสิ่งสกปรก หรือทำท่อไม่เรียบร้อย คลื่นความถี่ที่เดินทางออกไปยัง BAY ข้างนอก แทนที่จะเสริมให้ออกไปเร็วๆ มันจะกลับมาสะท้อนหักล้างกัน ทีนี้ก็ออกอากาศไม่ได้อีก ต้องมานั่งแก้กันอีกนาน
หลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่จะเดินสายไฟฟ้า ต่อสายข้างในเครื่อง และจัดการยึดท่อต่อไป ส่วนผมขอลงไปเอาจอมอนเตอร์ไปต่อกับ Set Top Box ละกันนะครับ
และมาถึงวันอาทิตย์ (วันนี้) ผมก็มาอีก ตอนนี้เครื่องส่งประกอบเรียบร้อยแล้ว ออกอากาศเมื่อเย็นวันเสาร์ที่ผ่านมา (ผมเริ่มรับสัญญาณช่วงสองทุ่มที่ผ่านมาฮะ) ตอนนี้เห็นวิศวกรเค้ากำลังทำการ Commissioning เครื่องส่งทีวีดิจิตอล เพื่อให้เดินเครื่องได้ไม่สะดุดทั้งเครื่องหลักและเครื่องสำรอง (จะทำงานกันอย่างไร เดี๋ยวจะอธิบายให้นะครับ)
จากบนไปล่างนะครับ บนสุดคือตัวควบคุมการทำงานของเครื่องส่งแต่ละเครื่อง ว่าจะเดินเครื่องส่งตัวใดบ้าง อีกชั้นหนึ่งก็จะเป็น Coaxial Interface ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นต้องให้พี่วิศวกรเค้าอธิบายล่ะครับ (เพราะผมไม่ได้ถาม 55555) ส่วนถัดมาข้างล่างคือ TX Controller เป็นตัวควบคุมเครื่องส่งทีวีดิจิตอลทั้งชุด ว่าชุดนี้จะออกอย่างไร แบบไหน โดยจะควบคุมย่อยอีกทีที่ตัวควบคุมที่อยู่ชั้นล่างถัดมา
ส่วนเจ้าด้านล่าง 3 ตัวนี้คือตัวเครื่องส่ง (PA) ซึ่งตัวหนึ่งที่ใช้ในสถานีนี้มีกำลังส่ง 350 W (แต่จะสูงหรือต่ำนั้นก็แล้วแต่ว่าสถานีจังหวัดไหนครอบคลุมพื้นที่และประชากรได้เท่าไหร่ ใช้เครื่องส่งแบบไหน)
ใช้ทั้งหมด 3 เครื่องก็จะมีกำลังส่งรวมจริงๆ คือ 1.05 kW เมื่อมีกำลังส่งสูงสุดจริงๆ จะมีกำลังเกือบ 1.1 kW ซึ่งเป็นขนาดกำลังส่งของเครื่องส่งชนิด 1R1 แต่ใช้จริงๆ ใช้แค่ 70% ของเครื่องส่งทั้งหมด (คือไม่เกิน 735-740 W) ซึ่งนอกจากนะประหยัดไฟแล้ว ยังช่วยถนอมเครื่องส่งได้แรงหนึ่งไปเลยทีเดียว (แต่จริงๆ ก็ใช้ไม่เกิน 740 W หรอกฮะ ถ้าเกิดใช้เกิน ก็จะเกินกำลังที่ BAY เค้าจะออกอากาศได้ และจะเกินอัตราที่ กสทช. เค้ากำหนดด้วย เดี๋ยวก็เอาเครื่องส่งเข้ามาไม่ได้ อัตราการแพร่กระจาย (ERP) ที่ภูเก็ตจะใช้แค่ไม่เกิน 25 kW แม้ BAY จะทนได้ถึง 30 kW ทั้ง Lower 4 ชั้น และ Upper 4 ชั้น แต่ก็ต้องเอาตามกำหนดไว้ก่อนนะฮะ)
นี่คือเครื่องส่งที่กำลังเดินเครื่องอยู่จริงๆ นะครับ MUX ThaiPBS ในจังหวัดภูเก็ตจะออกอากาศบนความถี่ 682 MHz (CH 47)
ส่วน 2 ชั้นบน (ชั้นล่างไม่เกี่ยวนะครับ) นั่นคือตัว Reciver ดาวเทียมและอินเทอร์เน็ต สำหรับการนำไป Re-Broadcasting ที่เครื่องส่ง โดยทาง ThaiPBS นั้นใช้ระบบโครงข่ายจาก ENENSYS ซึ่งช่อง 5 ได้นำไปใช้เป็นรายแรกก่อน โดยจะติดตั้งในส่วนของเครื่องส่งอนาล็อก
หลักการทำงานของเครื่องส่งตามภูมิภาค เมื่อได้รับสัญญาณจากดาวเทียม หรืออินเทอร์เน็ตแล้ว จะนำข้อมูลนั้นเข้าสู่ตัว Reciver แล้วจากนั้นจะนำข้อมูลนั้นเข้าสู่เครื่องส่งเพื่อนำไปรวมกับคลื่นความถี่ จากนั้นก็จะออกมาที่ท่อนำคลื่น โดยที่จะมีตัวรวมสัญญาณความถี่ด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อมีความถี่เกิน ก็จะต้องมีตัวระบายความถี่ (Dummy Load) ซึ่งจะเป็นตะแกรงสีเทาๆ ตามภาพด้านล่างครับ
เจ้า Dummy Load ตัวนี้จะช่วยแปลงความถี่ให้เป็นพลังงานอย่างไรก็ได้ ถือว่าเป็นเสาอากาศจำลองอย่างหนึ่ง แต่แทนที่จะนำไปออกอากาศบน BAY ก็มาออกอากาศตรงนี้แทน
ส่วนตัวนี้คือตัว Combiner ที่รวมทั้งสัญญาณดิจิตอลและคลื่นความถี่ที่กำเนิดจากเครื่องส่งเพื่อนำไปออกอากาศบน BAY เสาอากาศต่อไป
ล่าสุด! ThaiPBS ออกอากาศแล้วจ้า! ชาวภูเก็ตเช็คสัญญาณได้เลยนะฮ้า~ อิอิ
แต่ช่วงนี้เครื่องส่งน่าจะทำการ Commissioning อยู่ อาจมีติดๆ ดับๆ บ้างครับ
(ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายนเป็นต้นไปสัญญาณนิ่งแล้วนะครับ หายห่วง)
ตอนต่อไป เรามา "สวัสดี" ทีวีดิจิตอลกัน อิอิ พบกันใหม่นะจ๊ะ ตอนนี้ขอสวัสดีนะฮ้า~
ปล. 1 ผมได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ให้เข้าไปถ่ายภาพและดูเครื่องส่งที่สถานีเครื่องส่งแห่งนี้แล้วนะครับ
ปล. 2 การขึ้นเขาโต๊ะแซะนั้น เนื่องจากทางขึ้นชันและสูงมาก ใครอยากจะขึ้นไปดูวิวที่เขาลูกนี้ สภาพรถของท่านต้องพร้อม (แต่ตอนนี้ถนนลาดยางทั้งสาย วิ่งรถได้สบายกว่าเมื่อก่อนมาก)
ปล. 3 ระหว่างขึ้นเขา โปรดระวังลิงเจ้าถิ่น ลิงพวกนี้ซ่ามาก ทำให้เจ้าหน้าที่สถานีส่งปวดหัวกันไปตามๆ กัน (ไม่เชื่อลองถามเจ้าหน้าที่สถานีส่งของ อสมท ดูครับ)
ปล. 4 เป็นความสามารถเฉพาะตัว ไม่ควรลอกเลียนแบบนะจ๊ะ
นายเบนซ์อภินันท์-Abhinan'zCH
เพิ่มเติมนะคะ: ขอแก้ชื่อนะคะ วิศวกรชื่อพี่จิ๋ว ไม่ใช่พี่เจี๊ยบค่าาา ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่าาาา
(ทีวีดิจิตอล ออนภูเก็ต By Abhinan'zCH) Ep 3 เครื่องส่งดิจิตอลมาแล้ว~ >.<
และ ตอนที่ 2 Combiner มาล่ะจ้าาาา~ >> http://ppantip.com/topic/32628170
หลังจากพี่พ่อหนุ่มวิศวกรรูปหล่อผู้นี้ กำลัง Commissioning ตู้ Combiner เรียบร้อยแล้ว คราวนี้มาเป็นคิวของ "เครื่องส่งโทรทัศน์" ที่กำลังจะมาในวันเสาร์นี้ล่ะค่าาาาา
หมายเหตุ 1: ต้องขออภัยสำหรับวิศวกรพ่อรูปหล่อท่านนี้ด้วย ท่านนี้มาจากแดนมังกร ทางผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
วันเสาร์สบายๆ แบบนี้ ก็ไหว้พระไหว้เจ้าให้สบายๆ ก่อน วอนท่าน "กิ้วอ๋องไต่เต่" ให้ผู้เขียนมีความสุข ให้ทำงานราบรื่นไม่มีอะไรมาขัดขวาง...
แต่คนเขียนสิไม่รู้ป่วยมาจากไหน ขึ้นสถานชุมเสาเขาโต๊ะแซะได้ทุกวัน ไม่ใช่เพราะอะไรหรอก อยากจะมา "เสิร์ฟความรู้" (เท่าที่ผู้เขียนทราบ) มาสู่ท่านผู้อ่านบนพันทิปให้ได้มากที่สุดจ้า แหม่ๆๆ
มาถึงคราวนี้ก็ขอเข้าสถานีส่งมาดูเครื่องส่งเลยครับ บร๊ะเจ้าาาาา กำลังติดตั้งอยู่ครับ
เครื่องส่งที่ ThaiPBS ใช้นั้น เป็นเครื่องส่งของ NEC ผลิตที่ญี่ปุ่น ที่ ThaiPBS ใช้มี 3 รุ่นคือ DTU-70 (ใช้น้ำหล่อเลี้ยง) DTU-30 และ DTU-10 (ใช้พัดลมอย่างเดียว) อย่างที่ภูเก็ตใช้รุ่น DTU-30 ชนิด 1R1 กำลังส่งสูงสุด 1.1 kW แต่ใช้เอาจริงๆ แค่ 740 W เท่านั้นฮะ (เพราะที่นี่ใช้เครื่องไม่เกิน 740 W เป็นอย่างสูง)
งานนี้จะมีแค่วิศวกรจาก ThaiPBS อย่างเดียวไม่ได้แล้ว ต้องมีวิศวกรจากญี่ปุ่น (ทางบริษัท NEC Crop. ส่งมา) ช่วยจัดการอีกแรงหนึ่งด้วยครับ แหะๆๆ
ซึ่งพี่จิ๋ว (วิศวกรจาก ThaiPBS) บอกว่า ตรังยังออกอากาศไม่ได้นะ... เพราะจะให้เครื่องส่งเดินได้ก็ต้องให้วิศวกรจาก NEC เค้ามาจัดการด้วย ถึงแม้เครื่องส่งจะติดตั้งเสร็จแล้วแต่ถ้าวิศวกรจากทางโน้นยังไม่มาก็ยังออกอากาศไม่ได้อยู่ดีฮะ
การติดตั้งเครื่องส่งนั้น จะติดตั้งจากแบบสำเร็จรูปที่ทางบริษัทผลิตเครื่องส่งจัดการให้ คือเมื่อถึงสถานีเครื่องส่ง ก็ทำการติดตั้งแค่โครง แล้วประกอบตามแผนผังที่วางไว้ แต่การวางตำแหน่งเครื่องส่ง หรือวางท่อนำคลื่น (ซึ่งจะอธิบายภายหลัง) ต้องเป็นวิศวกรจาก ThaiPBS เค้าจัดการล่ะครับ
หลังจากที่วางเครื่องส่งเสร็จตามล็อก สิ่งที่จะต้องจัดการต่อไปคือ การต่อท่อ ซึ่งการต่อท่อนั้นจะเป็นการต่อท่อจากตัว Combiner ของเครื่องส่ง (ทุก MUX จะต้องมีเครื่องส่งหลัก 1 ตัว และสำรอง 1 ตัว แล้วเอาไปรวมที่ Combiner ของเครื่องส่งก่อนที่จะนำไปลง Combiner ประจำสถานีเพื่อทำการกรองความถี่แล้วยิงขึ้นเสาส่งโทรทัศน์ต่อไป
ท่อนำคลื่น จะเป็นท่อทองแดง มีขนาดตั้งแต่สายขนาด 5/8, 7/8 และเป็นท่อเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ 5 นิ้ว ท่อนำคลื่นที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่นั้นจะเป็นท่อที่มีเหล็กครอบ ส่วนภายในเป็นท่อทองแดงจริงๆ ซึ่งจะมีพลาสติกยึดเหล็กครอบไว้
เจ้าท่อเหล็กพวกนี้จะอยู่ในห่อกระดาษสีน้ำตาล แล้วหุ้มอีกทีด้วยฟอยล์ ก่อนจะบรรจุในลังไม้ที่เต็มไปด้วยถุงโฟมตัวหนอน แสดงว่าเค้าละเอียดในการส่งของมาก ทะนุถนอมชนิดจะมีตำหนิไม่ได้แม้แต่น้อย
เวลาตัดท่อเพื่อนำไปใช้ เค้าจะตัดท่อเหล็กข้างนอกก่อน เพื่อให้การตัดท่อได้สะดวกขึ้น เมื่อตัดท่อเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องนำปลายท่อที่ตัดได้ไปเจียรมุมไม่ให้แหลม และยังต้องพ่นลมให้สะอาด
ที่ทำแบบนี้ก็เพราะว่าถ้าเกิดสิ่งสกปรก หรือทำท่อไม่เรียบร้อย คลื่นความถี่ที่เดินทางออกไปยัง BAY ข้างนอก แทนที่จะเสริมให้ออกไปเร็วๆ มันจะกลับมาสะท้อนหักล้างกัน ทีนี้ก็ออกอากาศไม่ได้อีก ต้องมานั่งแก้กันอีกนาน
หลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่จะเดินสายไฟฟ้า ต่อสายข้างในเครื่อง และจัดการยึดท่อต่อไป ส่วนผมขอลงไปเอาจอมอนเตอร์ไปต่อกับ Set Top Box ละกันนะครับ
และมาถึงวันอาทิตย์ (วันนี้) ผมก็มาอีก ตอนนี้เครื่องส่งประกอบเรียบร้อยแล้ว ออกอากาศเมื่อเย็นวันเสาร์ที่ผ่านมา (ผมเริ่มรับสัญญาณช่วงสองทุ่มที่ผ่านมาฮะ) ตอนนี้เห็นวิศวกรเค้ากำลังทำการ Commissioning เครื่องส่งทีวีดิจิตอล เพื่อให้เดินเครื่องได้ไม่สะดุดทั้งเครื่องหลักและเครื่องสำรอง (จะทำงานกันอย่างไร เดี๋ยวจะอธิบายให้นะครับ)
จากบนไปล่างนะครับ บนสุดคือตัวควบคุมการทำงานของเครื่องส่งแต่ละเครื่อง ว่าจะเดินเครื่องส่งตัวใดบ้าง อีกชั้นหนึ่งก็จะเป็น Coaxial Interface ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นต้องให้พี่วิศวกรเค้าอธิบายล่ะครับ (เพราะผมไม่ได้ถาม 55555) ส่วนถัดมาข้างล่างคือ TX Controller เป็นตัวควบคุมเครื่องส่งทีวีดิจิตอลทั้งชุด ว่าชุดนี้จะออกอย่างไร แบบไหน โดยจะควบคุมย่อยอีกทีที่ตัวควบคุมที่อยู่ชั้นล่างถัดมา
ส่วนเจ้าด้านล่าง 3 ตัวนี้คือตัวเครื่องส่ง (PA) ซึ่งตัวหนึ่งที่ใช้ในสถานีนี้มีกำลังส่ง 350 W (แต่จะสูงหรือต่ำนั้นก็แล้วแต่ว่าสถานีจังหวัดไหนครอบคลุมพื้นที่และประชากรได้เท่าไหร่ ใช้เครื่องส่งแบบไหน)
ใช้ทั้งหมด 3 เครื่องก็จะมีกำลังส่งรวมจริงๆ คือ 1.05 kW เมื่อมีกำลังส่งสูงสุดจริงๆ จะมีกำลังเกือบ 1.1 kW ซึ่งเป็นขนาดกำลังส่งของเครื่องส่งชนิด 1R1 แต่ใช้จริงๆ ใช้แค่ 70% ของเครื่องส่งทั้งหมด (คือไม่เกิน 735-740 W) ซึ่งนอกจากนะประหยัดไฟแล้ว ยังช่วยถนอมเครื่องส่งได้แรงหนึ่งไปเลยทีเดียว (แต่จริงๆ ก็ใช้ไม่เกิน 740 W หรอกฮะ ถ้าเกิดใช้เกิน ก็จะเกินกำลังที่ BAY เค้าจะออกอากาศได้ และจะเกินอัตราที่ กสทช. เค้ากำหนดด้วย เดี๋ยวก็เอาเครื่องส่งเข้ามาไม่ได้ อัตราการแพร่กระจาย (ERP) ที่ภูเก็ตจะใช้แค่ไม่เกิน 25 kW แม้ BAY จะทนได้ถึง 30 kW ทั้ง Lower 4 ชั้น และ Upper 4 ชั้น แต่ก็ต้องเอาตามกำหนดไว้ก่อนนะฮะ)
นี่คือเครื่องส่งที่กำลังเดินเครื่องอยู่จริงๆ นะครับ MUX ThaiPBS ในจังหวัดภูเก็ตจะออกอากาศบนความถี่ 682 MHz (CH 47)
ส่วน 2 ชั้นบน (ชั้นล่างไม่เกี่ยวนะครับ) นั่นคือตัว Reciver ดาวเทียมและอินเทอร์เน็ต สำหรับการนำไป Re-Broadcasting ที่เครื่องส่ง โดยทาง ThaiPBS นั้นใช้ระบบโครงข่ายจาก ENENSYS ซึ่งช่อง 5 ได้นำไปใช้เป็นรายแรกก่อน โดยจะติดตั้งในส่วนของเครื่องส่งอนาล็อก
หลักการทำงานของเครื่องส่งตามภูมิภาค เมื่อได้รับสัญญาณจากดาวเทียม หรืออินเทอร์เน็ตแล้ว จะนำข้อมูลนั้นเข้าสู่ตัว Reciver แล้วจากนั้นจะนำข้อมูลนั้นเข้าสู่เครื่องส่งเพื่อนำไปรวมกับคลื่นความถี่ จากนั้นก็จะออกมาที่ท่อนำคลื่น โดยที่จะมีตัวรวมสัญญาณความถี่ด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อมีความถี่เกิน ก็จะต้องมีตัวระบายความถี่ (Dummy Load) ซึ่งจะเป็นตะแกรงสีเทาๆ ตามภาพด้านล่างครับ
เจ้า Dummy Load ตัวนี้จะช่วยแปลงความถี่ให้เป็นพลังงานอย่างไรก็ได้ ถือว่าเป็นเสาอากาศจำลองอย่างหนึ่ง แต่แทนที่จะนำไปออกอากาศบน BAY ก็มาออกอากาศตรงนี้แทน
ส่วนตัวนี้คือตัว Combiner ที่รวมทั้งสัญญาณดิจิตอลและคลื่นความถี่ที่กำเนิดจากเครื่องส่งเพื่อนำไปออกอากาศบน BAY เสาอากาศต่อไป
ล่าสุด! ThaiPBS ออกอากาศแล้วจ้า! ชาวภูเก็ตเช็คสัญญาณได้เลยนะฮ้า~ อิอิ
แต่ช่วงนี้เครื่องส่งน่าจะทำการ Commissioning อยู่ อาจมีติดๆ ดับๆ บ้างครับ
(ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายนเป็นต้นไปสัญญาณนิ่งแล้วนะครับ หายห่วง)
ตอนต่อไป เรามา "สวัสดี" ทีวีดิจิตอลกัน อิอิ พบกันใหม่นะจ๊ะ ตอนนี้ขอสวัสดีนะฮ้า~
ปล. 1 ผมได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ให้เข้าไปถ่ายภาพและดูเครื่องส่งที่สถานีเครื่องส่งแห่งนี้แล้วนะครับ
ปล. 2 การขึ้นเขาโต๊ะแซะนั้น เนื่องจากทางขึ้นชันและสูงมาก ใครอยากจะขึ้นไปดูวิวที่เขาลูกนี้ สภาพรถของท่านต้องพร้อม (แต่ตอนนี้ถนนลาดยางทั้งสาย วิ่งรถได้สบายกว่าเมื่อก่อนมาก)
ปล. 3 ระหว่างขึ้นเขา โปรดระวังลิงเจ้าถิ่น ลิงพวกนี้ซ่ามาก ทำให้เจ้าหน้าที่สถานีส่งปวดหัวกันไปตามๆ กัน (ไม่เชื่อลองถามเจ้าหน้าที่สถานีส่งของ อสมท ดูครับ)
ปล. 4 เป็นความสามารถเฉพาะตัว ไม่ควรลอกเลียนแบบนะจ๊ะ
นายเบนซ์อภินันท์-Abhinan'zCH
เพิ่มเติมนะคะ: ขอแก้ชื่อนะคะ วิศวกรชื่อพี่จิ๋ว ไม่ใช่พี่เจี๊ยบค่าาา ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่าาาา