คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 35
ผมก็ไม่ชอบคำพูดนี้ครับ โดยเฉพาะเวลาได้ยินจากเด็กจบใหม่ที่ยังเพิ่งพ้นสภาพจากขอตังพ่อแม่มาหมาดๆ
แต่ในทางเศรษฐศาสตร์เราไม่ได้ประนามคนที่อยู่เฉยๆ ไม่มีอาชีพ แต่เอาเงินไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนเลี้ยงชีพ
ท่านคงทราบว่า GDP = C + I + G + X - M นี่คือการมองในแง่ของรายจ่าย
แต่ GDP = ผลรวมของรายได้ของทุกคนและกำไรของบริษัทต่างๆด้วยเช่นกัน ไม่มีรายได้จะเอาอะไรมาจ่าย
รายได้เกิดจากอะไร ?
เกิดจากการ supply ปัจจัยการผลิตให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยการผลิตก็ได้แก่ ทุน (K) และ แรงงาน (L) ดังนั้น
GDP = f(K,L)
ในตอนเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ เราไม่มีทุน สิ่งเดียวที่เรา supply ได้ คือ แรงงาน และรับค่าจ้างเงินเดือนตอบแทน นานปีเข้า เราออมเงินได้มากขึ้น จึงสามารถ supply ทุนให้ระบบเศรษฐกิจได้ สัดส่วนของ รายได้จาก K สำหรับคนที่ลงทุนเป็น จะเพิ่มขึ้น และมากกว่ารายได้จาก L เมื่อเราอายุมากขึ้น
และในที่สุดหลายคน จะพบว่า จริงๆไม่ต้อง supply L เลย รายได้จาก K ก็พอใช้ และระบบเศรษฐกิจก็ไม่เดือดร้อนอะไร ถ้า K เป็นที่ต้องการมากกว่า L
จึงเกิดเป็น "อิสระภาพทางการเงิน"
การซื้อหุ้น IPO เป็นการ supply เงินทุนให้ธุรกิจ การซื้อหุ้นในตลาดรอง เช่น SET ก็จัดเป็นการ supply เงินทุนเช่นกัน เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อ IPO ได้ออกจากตลาด และนำเงินทุนไปให้ทำอย่างอื่น
น้องๆในบริษัทผมบ่นประจำ ทำไมเงินเดือนเราน้อย ทำไมผู้ถือหุ้นรวยเอาๆ แสดงว่าไม่เข้าใจหลักของการสร้างได้ = f(K,L) เลย
ในบริษัทที่ใช้เงินลงทุนมาก สัดส่วนรายได้จะมาจาก K มากกว่า L เช่น รายได้ของบริษัท 100,000 ล้าน มีพนักงาน 10,000 คน พนักงานอาจจะคิดว่า แต่ละคนสร้างรายได้ 10 ล้าน จริงๆแล้วไม่ใช่
ถามว่า แต่ละคนสร้างรายได้เท่าไหร่ ในทางเศรษฐศาสตร์จะตอบว่าไม่น้อยกว่า marginal product of labour หรือ ค่าจ้างนั่นเอง
อย่างไรก็ตามมีนักลงทุนบางกลุ่ม ให้เงินอยู่กับบริษัทสั้นมากๆ เป็นวัน เป็นชั่วโมง เป็นนาที พวกนี้จริงๆไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรเท่าไหร่
บางคนอาจจะบอกว่า เขาสร้างสภาพคล่องให้ตลาด แต่ส่วนใหญ่แล้ว สภาพคล่องที่สร้างขึ้นนี้มากเกินไป เกิดเป็นสภาพคล่องส่วนเกิน และกลายเป็นความเสี่ยง กลายเป็นต้นทุนของคนอื่นไป
แต่ในทางเศรษฐศาสตร์เราไม่ได้ประนามคนที่อยู่เฉยๆ ไม่มีอาชีพ แต่เอาเงินไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนเลี้ยงชีพ
ท่านคงทราบว่า GDP = C + I + G + X - M นี่คือการมองในแง่ของรายจ่าย
แต่ GDP = ผลรวมของรายได้ของทุกคนและกำไรของบริษัทต่างๆด้วยเช่นกัน ไม่มีรายได้จะเอาอะไรมาจ่าย
รายได้เกิดจากอะไร ?
เกิดจากการ supply ปัจจัยการผลิตให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยการผลิตก็ได้แก่ ทุน (K) และ แรงงาน (L) ดังนั้น
GDP = f(K,L)
ในตอนเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ เราไม่มีทุน สิ่งเดียวที่เรา supply ได้ คือ แรงงาน และรับค่าจ้างเงินเดือนตอบแทน นานปีเข้า เราออมเงินได้มากขึ้น จึงสามารถ supply ทุนให้ระบบเศรษฐกิจได้ สัดส่วนของ รายได้จาก K สำหรับคนที่ลงทุนเป็น จะเพิ่มขึ้น และมากกว่ารายได้จาก L เมื่อเราอายุมากขึ้น
และในที่สุดหลายคน จะพบว่า จริงๆไม่ต้อง supply L เลย รายได้จาก K ก็พอใช้ และระบบเศรษฐกิจก็ไม่เดือดร้อนอะไร ถ้า K เป็นที่ต้องการมากกว่า L
จึงเกิดเป็น "อิสระภาพทางการเงิน"
การซื้อหุ้น IPO เป็นการ supply เงินทุนให้ธุรกิจ การซื้อหุ้นในตลาดรอง เช่น SET ก็จัดเป็นการ supply เงินทุนเช่นกัน เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อ IPO ได้ออกจากตลาด และนำเงินทุนไปให้ทำอย่างอื่น
น้องๆในบริษัทผมบ่นประจำ ทำไมเงินเดือนเราน้อย ทำไมผู้ถือหุ้นรวยเอาๆ แสดงว่าไม่เข้าใจหลักของการสร้างได้ = f(K,L) เลย
ในบริษัทที่ใช้เงินลงทุนมาก สัดส่วนรายได้จะมาจาก K มากกว่า L เช่น รายได้ของบริษัท 100,000 ล้าน มีพนักงาน 10,000 คน พนักงานอาจจะคิดว่า แต่ละคนสร้างรายได้ 10 ล้าน จริงๆแล้วไม่ใช่
ถามว่า แต่ละคนสร้างรายได้เท่าไหร่ ในทางเศรษฐศาสตร์จะตอบว่าไม่น้อยกว่า marginal product of labour หรือ ค่าจ้างนั่นเอง
อย่างไรก็ตามมีนักลงทุนบางกลุ่ม ให้เงินอยู่กับบริษัทสั้นมากๆ เป็นวัน เป็นชั่วโมง เป็นนาที พวกนี้จริงๆไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรเท่าไหร่
บางคนอาจจะบอกว่า เขาสร้างสภาพคล่องให้ตลาด แต่ส่วนใหญ่แล้ว สภาพคล่องที่สร้างขึ้นนี้มากเกินไป เกิดเป็นสภาพคล่องส่วนเกิน และกลายเป็นความเสี่ยง กลายเป็นต้นทุนของคนอื่นไป
ความคิดเห็นที่ 36
เราก็ค่อนข้างมีความเห็นเหมือนจขกท.ค่ะ จริงๆ รู้ความหมายนะคะ แต่รู้สึกหลายๆ คนเอามาใช้คนละอย่าง
ก็เหมือนกันกับคนที่บอกว่า เบื่อเป็นมนุษย์เงินเดือน เบื่อไม่อยากทำงานเป็นเวลา ไม่อยากเอาใจเจ้านาย
อยากทำธุรกิจเอง เราฟังทีไรขนลุกทุกที
โธ่เอ๊ย เป็นมนุษย์เงินเดือนยังเป็นไม่ได้ จะเป็นเจ้าของธุรกิจได้เหรอ สงสัยดูละครไทยมากไป
ก็เหมือนกันกับคนที่บอกว่า เบื่อเป็นมนุษย์เงินเดือน เบื่อไม่อยากทำงานเป็นเวลา ไม่อยากเอาใจเจ้านาย
อยากทำธุรกิจเอง เราฟังทีไรขนลุกทุกที
โธ่เอ๊ย เป็นมนุษย์เงินเดือนยังเป็นไม่ได้ จะเป็นเจ้าของธุรกิจได้เหรอ สงสัยดูละครไทยมากไป
ความคิดเห็นที่ 7
คุณเข้าใจความหมายของมันผิดเอง "อิสระภาพทางการเงิน" ของผมหมายถึง การที่เรามีเงินเพียงพอในการดูแลพ่อ แม่ ลูก เมีย ครอบครัวของเราโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายมากกว่าครับ คุณอาจจะทำงานเป็นพนักงานที่มีรายได้สูง หรือเจ้าของกิจการของตนเอง หรือนักลงทุนในตลาดทุน ก็ทำได้หมด เพียงแต่ว่าคุณจะถึงจุดนั้นหรือเปล่า แต่ทุกวันนี้ คนมาเข้าใจคำนี้ว่า เป็นคนที่ไม่ต้องทำงานแต่มีเงินใช้นะครับ
ความคิดเห็นที่ 24
ผมอยากเปิดร้านจักรยาน ร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือ ทำไร ทำสวน
แน่นอนว่า ความมันคงของรายได้มันต่ำ ถ้าเทียบกับงานประจำที่ได้เงินเดือน
แต่ถ้าผมมี Income มาแทนในส่วนของเงินเดือนที่เคยได้
ผมก็เอาเวลาที่ทำงานประจำ ไปทำงานที่ผมชอบได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้ เพราะผมมีจุดนั้นแล้ว
ทีนี้ผมก็ชงกาแฟชิลๆ แบบสบายใจ (แต่ให้ธุรกิจมันเลี้ยงตัวเองได้นะ)
อิสรภาพทางการเงินมันต้องเป็นแบบนี้ครับ คุณเข้าใจคลาดเคลื่อนไปนะ
แน่นอนว่า ความมันคงของรายได้มันต่ำ ถ้าเทียบกับงานประจำที่ได้เงินเดือน
แต่ถ้าผมมี Income มาแทนในส่วนของเงินเดือนที่เคยได้
ผมก็เอาเวลาที่ทำงานประจำ ไปทำงานที่ผมชอบได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้ เพราะผมมีจุดนั้นแล้ว
ทีนี้ผมก็ชงกาแฟชิลๆ แบบสบายใจ (แต่ให้ธุรกิจมันเลี้ยงตัวเองได้นะ)
อิสรภาพทางการเงินมันต้องเป็นแบบนี้ครับ คุณเข้าใจคลาดเคลื่อนไปนะ
แสดงความคิดเห็น
รู้สึกไม่ดีกับคำว่า "อิสระภาพทางการเงิน" จังเลย
คือ เกษียรปุ้บไม่คิดจะทำอะไรให้ตัวเองสร้างมูลค่าเพิ่มบ้างเลยหรอ จะลงทุนแล้วให้มันงอกเงย แล้วไม่เบื่อบ้างหรอ ที่ต้องใช้ชีวิตไปวันๆ
ผมยังไม่เห็นคนรวยๆ หรือรุ่นพ่อรุ่นแม่เค้าบอกเค้าจะเกษียรอายุ มีแต่จะทำงานไปเรื่อยๆ มีความสุขในการทำงาน ถ้าไม่ทำเหมือนชีวิตมันไร้คุณค่า
แต่เห็นคนรุ่นใหม่ใช้คำนี้เยอะ บ่อย ก็เลยเป็นห่วง แค่เริ่มคิดมันก็ผิดแล้ว