ฝันให้ไกลไปให้ถึงกับ Hakeem Olajuwon สุดยอดเซนเตอร์ตลอดกาล
เด็กหนุ่มจากแอฟริกา ลงจากรถแท็กซี่สีเหลือง เพื่อเติมเต็มความฝัน ทุมเทแรงกายแรงใจจนประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต สร้างตำนานให้กับวงการบาสเก็ตบอล เด็กยักษ์จากแอฟริกาคนนี้มีขื่อว่า Hakeem “เดอะดรีม” Olajuwon จากทีม Houston Rockets ชื่อเสียงเรียงนามพร้อมสรรพคุณคงไม่ต้องบรรยาย ตำนานของเดอะดรีมถือกำเนิดขึ้นจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองลากอส อดีตเมืองหลวงตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไนจีเรีย ในวัยเด็กฮาคีมคือมนุษย์กีฬาคนหนึ่ง เล่นทุกชนิดกีฬายกเว้นบาสเก็ตบอล ช่วงอายุ 16 สูง 6’7 ด้วยสภาพแวดล้อม ความนิยมฟุตบอลในบ้านเกิด กีฬาฟุตบอลเลยเป็นกีฬาหลัก และด้วยความสูงขนาดนี้ ตำแหน่งผู้รักประตูเหมาะสมที่สุด หลังจากเดินหลงทางอยู่พักหนึ่ง ไม่นานก็เริ่มหาตัวตนที่แท้จริงเจอ สูงใหญ่ขนาดนี้ แน่นอนบาสเก็ตบอลเป็นคำตอบสุดท้าย ฮาคีมเข้าสู่ระบบทีมและเริ่มฝึกซ้อมอย่างจริงจัง ด้วยความที่เป็นคนเรียนรู้เร็ว ฉลาดและมีพัฒนาการสูง เหมือนเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ เขาใช้เวลาเพียง 2 ปี ช่วงอายุ 18 สูงถึง 6’10 พาทีมโรงเรียนคว้าแชมป์ระดับชาติ
โค้ชเห็นแววและแนะนำให้ไปอเมริกา คำตอบแรกจากฮาคีม คือไม่รู้จักใครที่อเมริกาเลย แล้วจะไปอยู่ยังไง โค้ชบอกมีเพื่อนอยู่อเมริกา เป็นโค้ชของมหาลัย University of Houston นานว่า Guy Lewis ได้โทรพูดคุยกันว่ามีเด็กยักษ์ 6’10 สนใจมั้ย โค้ชบอกมาเลยแบบไม่ต้องคิด ฮาคีมพร้อมเก็บกระเป๋าออกเดินทาง ต่อมา..ฮาคีมมาถึงสนามบินโทรหาคนมารับ ผู้ช่วยโค้ชจะไปรับแต่ดึกมาก ประมาณเที่ยงคืน บอกให้นั้งแท็กซี่มาเองทั้งๆที่ไม่เคยมา ภาษาก็ไม่ถนัด สักพักใหญ่ มีแท็กซี่สีเหลีองมาจอด มองจากหน้าต่างเห็นเด็กตัวใหญ่มากๆลงจากแท็กซี่ ผู้ช่วยรีบออกไปรับด้วยความตื้นเต้นกับเด็กยักษ์จากแอฟริกา
หลังจากข้ามน้ำข้ามทะเลมา ฮาคีมได้เข้ามาสู่โลกใบใหม่ สังคมใหม่ วัฒนธรรมใหม่ ซึ่งแตกต่างจากบ้านเกิดอย่างสิ้นเชิง การปรับตัวเป็นไปอย่างรวดเร็ว ชีวิตในมหาลัยมีความสุขมาก ตื่นเช้ามาเรียน ตกเย็นซ้อมบาส ได้เจอผู้คนหลากหลาย ไม่เพียงแค่การปรับตัวทางด้านความเป็นอยู่ เนื่องจากมีพรสวรรค์ เขายังปรับตัวเข้ากับระบบทีมอย่างรวดเร็วอีกด้วย คนเราไม่ได้เกิดมาเก่ง เช่นเดียวกับฮาคีมที่ยังขาดทักษะทางด้านเกมบุกที่หลากหลาย ทำให้ยังคนเป็นตัวสำรอง ในปีแรก หรือที่ฝรั่งเรียกว่าปีเฟรสแมน (freshman) Houston ผ่านเข้าไปในรอบ 4 ทีมสุดท้าย (Final Four) หรือ รอบรองชนะเลิศแล้วถูกแชมป์เก่า North Carolina โดยโค้ชชื่อดัง Dean Smith สอยตกรอบ มี Michael Jordan กับ James Worthy ซึ่งได้ MOP (ผู้เล่นยอดเยี่ยม) และคว้าแชมป์ NCAA1982 (เอาชนะ Georgetown ที่มี Patrick Ewing) ความพ่ายแพ้ครั้งนี้เป็นแรงผลักดันในการพัฒนาอย่างจริงจัง และเติมเต็มทักษะต่างๆขั้นสูงที่ยังมีข้อจำกัดอยู่ของฮาคีม
หลังความพ่ายแพ้ ฮาคีมต้องการเพิ่มชม.บิน จึงขอคำแนะนำจากโค้ช ได้รับคำแนะนำว่าให้ไปแจมกับ เซนเตอร์เจ้าถิ่น Moses Malone เจ้าของ NBA MVP พร้อมพักพวกจากลีก ซึ่งจะมาฝึกซ้อมแบ่งทีมเล่นเป็นประจำช่วงปิดฤดูกาล หนึ่งเดือนผ่านไปไวเหมือนโกหก การได้เล่น ได้ประกบคู่ต่อสู้ที่เหนือกว่า แกร่งกว่า ช่วยให้เขาพัฒนาได้อีกระดับหนึ่ง ฮาคีมได้ให้เครดิต Malone เรื่องนี้ ทั้งๆที่ไม่ได้สอนอะไรด้วยคำพูดเลย แต่สอนผ่านการกระทำ แรกๆทำอะไรไม่ได้มาก อึดอัดจนถึงกับท้อ เพราะกระดูกคนละเบอร์ ยังว่า...ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น หลังๆฮาคีมได้บอก Malone ผ่านการกระทำกลับไปว่า เขาได้เรียนรู้แล้ว โดยการแย่งเก็บรีบาวด์แล้วดังค์ใส่รุ่นใหญ่เพื่อนร่วมทีมเห็นถึงกับอุทานว่า “เอาแล้วมีง”
ฤดูกาลใหม่เริ่มขึ้น ฮาคีมกลับมาจากซัมเมอร์ราวกับเป็นผู้เล่นคนละคน พร้อมแล้วสำหรับการทดสอบฝีมือ ทุกๆปีจะมีทัวร์นาเม้นต์เล็กๆ ที่มีทีมมาหลัย Auburn ของ Sir Charles Barkley เข้าร่วมด้วย ตามฟอร์ม Sir Charles ได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะดังค์ใส่อาคีมให้ดู แต่พอเอาเข้าจริงยังไม่ทันได้ดังค์ใส่ เจอไป 4 บล็อก ปีนี้เองที่ได้เป็นตัวจริง แล้วได้แจ้งเกิดพร้อมกับเพื่อนร่วมทีม Clyde Drexler พา Houston ชนะ 20 เกมติด ภายในเวลาอันรวดเร็วฮาคีมก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของสุดยอดทีมในยุคนั้น และเป็นชอทบล็อกเกอร์เบอร์ 1 คนรู้จักทั้งประเทศ เขาพาทีมคว้าแชมป์สาย ได้เข้ามาเล่นใน Final Four เป็นครั้งที่ 2 สอย Louisville ขาดกระจายในรอบรองชนะเลิศ ทะลุเข้าไปชิงแชมป์ NCAA 1983 พบกับ North Carolina State พร้อมความมั่นใจว่าจะชนะ เพราะชนะทีมชั้นเลิศมา แถมเป็นต่ออีกต่างหาก อาคีมระเบิดฟอร์มในคืนนั้น เกมไม่ห่าง นำอยู่เกือบตลอดทั้งเกม เกมมาตัดสินในช่วง 10 วินาทีสุด สกอร์เสมอกัน 52-52 North Carolina State ส่องไกลเกือบๆครึ่งสนาม ปรากฏว่าแอร์บอล แต่ไม่รู้ทำบุญวัดไหนมา โชคดีโคตร มีตัวรออยู่ใต้แป้นโดยไม่มีใครประกบ เก็บบอลได้แล้วซ้ำลงไปวินาทีสุด พลิกเอาชนะไป 54-52 อกหักฝันสลายอีกตามเคย หลังจบฤดูกาล Drexler เซย์กู๊ดบายไป NBA พร้อมกับผู้เล่นหลักๆออกจากทีมไป คงเหลือแค่ฮาคีม เขาจะตัดสินใจตามเพื่อนไปมั้ย หลายๆคนคิดว่าน่าจะทิ้งทีมไป เป็นช่วงเวลาที่ตัดสินใจยากพอสมควรของชีวิตเดอะดรีม
ปีที่ 3 หรือ ปีจูเนียร์ เขาตัดสินใจล่าแชมป์ต่อ อีกครั้ง....ได้เข้าชิงแชมป์ NCAA 1984 กับ Georgtown มีสุดยอดเซนเตอร์ไร้แหวน Patrick Ewing เป็นก้างขวางคอชิ้นใหญ่ เรื่องฝีมือไม่ได้ด้อยไปกว่า Ewing แม้แต่นิดเดียว เกมนี้วัดกันที่ผู้เล่นรอบๆว่าของใครดีกว่า ปรากฏว่าของ Ewing ดีกว่า และได้แชมป์ไปไหนที่สุด ทีมแพ้แต่ตัวเองได้ MOP 1984 (ผู้ยอดเยี่ยม) ความฝันที่จะได้แชมป์ NCAA สิ้นสุดลงโดยบริบูรณ์
พอจบฤดูกาล ฮาคีมตัดสินใจประกาศผ่านสื่อว่าเขาจะมา NBA ในปีนี้ หมายมั่นตั้งใจอยากอยู่เมือง Houston ที่คุ้นเคย หวังไว้ว่า Houston Rockets จะได้ดราฟอันดับแรก เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่เขาตัดสินใจมาในปีนี้ แล้ว NBA ดราฟ 1984 ก็เริ่มขึ้น มี Portland Trailblazers กับ Houston Rockets ที่จะได้สิทธิดราฟผู้เล่นคนแรก โดยสมัยนั้นยังใช้วิธีโยนเหรียญอยู่ ผลปรากฏว่าHouston Rockets ชนะการโยนเหรียญ ได้เลือกผู้เล่นเป็นทีมแรก แน่นอน Rockets เลือกฮาคีม Blazers เลือก Sam Bowie และ ลำดับ 3 Bulls เลือก MJ ว่ากันว่าเป็นดราฟที่ดีที่สุดเท่าที่มีมา นอกจาก 3 คนดังกล่าวยังมี Charles Barkley, John Stockton เป็นต้น การได้เป็นดราฟเบอร์ 1 ก่อน MJ เปรียบเสมือนรางวัลปลอบใจช่วยให้มีกำลังใจเพื่อสู้ต่อ หลังจากที่ผิดหวังมาตลอด จบจากการดราฟก็มีข่าวหนาหูว่า Houston Rockets เลือกผิดคน อาจเป็นเพราะฮาคีมไม่มีดีกรีแชมป์ แล้วเขาก็โชว์ให้เห็นในปีรุกกี้ ว่าเลือกเขาถูกต้องที่สุด เพราะเข้ามาถึงก็บล็อกกระจายก่อนเลย บอกเพื่อนร่วมทีมอีกต่างหากว่าอย่างทำฟาว์ลเดียวเขาจัดให้ หนึ่งในเพื่อนร่วมทีม Rookie of the Year ปีที่แล้ว Raft Simpson สูงถึง 7’4 หลายๆคนคงรู้จัก เล่นเข้าขากันดีมากจนกลายมาเป็น Twin Towers (หอคอยคู่) ที่ไม่ใครเอาอยู่ ทำให้ Rockets จากทีมลำดับท้ายๆ ชนะ 23 แพ้ 53 พอฮาคีมมา ชนะ 48 แพ้ 34 ทำแต้มเฉลี่ย 20 แต้ม 11 รีบาวด์ 2 บล็อก ติดออลสตาร์ในปีรุกกี้ พอจบฤดูกาลจากผลโหวต Rookie of the Year ฮาคีมเป็นรองแค่ MJ เท่านั้น
NBA ฤดูกาล 1985-1986 ปีที่ 2 หลังจากเทิร์นโปร ฮาคีมทำแต้มเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 23 แต้ม 11 รีบาวด์ 3 บล็อก ช่วย Rockets ชนะ 51-31 ได้เข้าชิงแชมป์สายตะวันตกครั้งแรกอย่างเหนือความคาดหมาย ทีมหนุ่มรุ่นใหม่เจอกับแชมป์สาย LA Lakers ยุค The Show Time ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ Houston Rockets กับ หอคอยคู่ ช็อคโลกกีฬาอเมริกันเกมส์ พลิกเอาชนะมวยเป็นต่อแบบหมดราคา 4-1 เกม Pat Riley โค้ช Lakers สมัยนั้น ยอมรับว่าไม่รู้จะแก้เกมยังไงกับฮาคีม รุม 2 ก็แล้ว 3 ก็แล้ว ไม่คิดว่าจะเอาไม่อยู่ขนาดนี้ และที่สำคัญไม่ได้ทำการบ้านมาเลยด้วย ส่วนทางปู่คารีมโดนเด็กจัดหนัก สับสนไม่รู้จะประกบใครใต้แป้นดี คนหนึ่ง 7’4 อีกคน 7’ เล่นฉลาดแถมจ่ายบอลดี โดยเฉพาะฮาคีม เซนเตอร์ร่างยักษ์ที่ไม่ห่วงบอล จ่ายบอลงามๆพอๆกับการ์ดจ่าย Rockets ฉลองชัย แต่ก็ได้ไม่นาน หลังจากที่ได้แชมป์สาย ด่านต่อไปคือชิงแชมป์ NBA กับแชมป์เก่า Boston Celtics ชุด 1986 เป็นชุดที่ดีที่สุดในยุค ‘80 ครั้งนี้ไม่พลิกอีกแล้ว แพ้ไปในเกม 6 Celtics ครองแชมป์เป็นสมัยที่ 2 ติดกัน
เกิดการเปลื่ยนแปลงในทีม Simpson บาดเจ็บหนักที่หัวเข่า พอไร้ค่าก็ถูกเทรดออก เป็นจุดเริ่มต้นของการจบอาชีพของแกก็ว่าได้ ต่อมาเปลื่ยนโค้ชเป็น Don Chaney ฤดูกาลนี้ฮาคีมลุยเดียวจนจบฤดูกาล ชนะ 45-37 ได้เข้าเพลย์ออฟ แต่แพ้อย่างยับเยินแค่รอบแรก หลังจากนี้ Rockets ก็ไม่ได้เข้าเหยียบรอบชิงแชมป์อีกเลย ขึ้นเร็วย่อมลงเร็ว และจากนี้ไป Rockets อยู่ในช่วงขาลง (จบยุคเฟืองฟูของ Celtics (Larry Bird) ต่อมาก็ Lakers (The Show Time) - Pistons (Bad Boy) - Bulls (Air Jordan) ตามลำดับ) แม้ทีมจะอยู่ในช่วงขาลง ถ้าว่ากันเรื่องผลงานส่วนตัวของฮาคีมยังคงพัฒนาต่อเนื่อง ทำแต้มในเพลย์ออฟ 37 แต้ม 16 รีบาวด์ เป็นเจ้าพ่อรีบาวด์ 2 สมัย บล็อกลูกเฉลี่ย 4.6 บล็อก เป็นเจ้าพ่อชอทบล็อกเกอร์ 3 สมัย จำนวนบล็อกบวกรีบาวด์ดังกล่าว ในประวัติศาสตร์มี ปู่คารีมกับปู่ Bill Walton เท่านั้นที่ทำได้ ฤดูกาลนี้ฮาคีมยังทำ 2.9 แอสซิสต์ 1.9 สตีลต่อเกม ครบเครื่องของจริง
จุดตกต่ำของ Houston Rockets ยุคนั้น อยู่ที่ปี 1992 เป็นครั้งแรกของฮาคีมที่ไม่ได้เข้าเพลย์ออฟ เกิดปัญหามากมายทั้งในและนอกสนาม ทีมไม่ปรับปรุงตัวผู้เล่นรอบๆฮาคีมเลย ทีมเข้ารอบเพลย์ออฟ 6 ครั้ง แต่โดนตบร่วงตกรอบแรกถึง 4 ครั้ง อีกปัญหาก็เรื่องสัญญาค่าแรงของฮาคีมถูกทีมเอาเปรียบ จ่ายให้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งที่เป็นเซนเตอร์เบอร์ 1 ของลีก เกิดความขัดแย้งกับเจ้าของทีมถึงขนาดมองหน้ากันไม่ติด และต้องการจะย้ายทีม เป็นบทพิสูตรอีกครั้งของเขา ฮาคีมซึ่งนับถือถือศาสนาอิสลาม ใช้หลักคำสอนที่เขาเคร่งคัด และเข้าถึง เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ใช้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ แก้ไขปัญหาที่เกิด มีการตกลงพูดคุยระหว่างเจ้าของทีมกับฮาคีม ได้ให้อภัยกัน ลืมสิ่งที่เคยพูดเคยได้ยิน ทำความเข้าใจกับความขัดแย้งต่างๆก่อนหน้านี้ ช่วยกันหาทางออกที่ดีที่สุด
Rockets กลับมาเริ่มนับหนึ่งใหม่ หาผู้เล่นฝีมือดีๆเสริมทัพครั้งใหญ่ ได้ Kenny Smith, Mario Elie, Robert Horry (ปีที่ 2 ), Vernon Maxwell และได้ดราฟ Sam Cassell หลังจบฤดูกาล แล้วเปลื่ยนโค้ชมาเป็น Rudy Tomjanovich พอได้ผู้เล่นดีๆมา เหมือนกับการเพิ่มพลังให้ฮาคีมอีกครั้งอย่างมากมายมหาศาล ช่วงนี้เองฮาคีมเริ่มทำแอสซิสต์เป็นกอบเป็นกำเพื่อพิสูตรให้เห็นว่า เขาไม่ใช่ประเภทวันแมนโชว์ ซึ่งก่อนหน้าโดนโจมตีเรื่องนี้ตลอด พอๆกับเรื่องพี่บี้ กับเรื่องเกมรับของพ่อเครางาม คือพวกเราสนุกแต่เจ้าตัวไม่น่าจะสนุกด้วย บางทีก็น่าเห็นใจเหมือนกัน เล่นกันไม่จบไม่สิ้น เลยต้องเอาให้เห็นกันจะๆจากตัวเลข 3.5 แอสซิสต์ต่อเกม พอได้ส่วนผสมทางเคมีใหม่ซึ่งเข้ากันได้ดีกว่า ฮาคีมเปลื่ยนเป็นออลนิวฮาคีม ด้วยความเก่ง ทำให้เพื่อนๆรอบตัวเก่งขึ้นตามมา ทีมได้เข้ารอบเพลย์ออฟ และเป็นครั้งแรกของรอบหลายๆปีที่ผ่านทะลุรอบแรกมาได้ รอบ 2 เจอกับของแข็ง Seattle Supersonics (Shawn Kemp) เล่นกันยันเกม 7 แล้วแพ้ไปในช่วงต่อเวลา เหมือนว่าผิดหวังอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ กลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของความหวังที่จะได้แชมป์ Rockets มาถูกทางแล้ว
โดยเพจ
www.facebook.com/ThaiNbaFanclub
ฝันให้ไกลไปให้ถึงกับ Hakeem Olajuwon สุดยอดเซนเตอร์ตลอดกาล
เด็กหนุ่มจากแอฟริกา ลงจากรถแท็กซี่สีเหลือง เพื่อเติมเต็มความฝัน ทุมเทแรงกายแรงใจจนประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต สร้างตำนานให้กับวงการบาสเก็ตบอล เด็กยักษ์จากแอฟริกาคนนี้มีขื่อว่า Hakeem “เดอะดรีม” Olajuwon จากทีม Houston Rockets ชื่อเสียงเรียงนามพร้อมสรรพคุณคงไม่ต้องบรรยาย ตำนานของเดอะดรีมถือกำเนิดขึ้นจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองลากอส อดีตเมืองหลวงตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไนจีเรีย ในวัยเด็กฮาคีมคือมนุษย์กีฬาคนหนึ่ง เล่นทุกชนิดกีฬายกเว้นบาสเก็ตบอล ช่วงอายุ 16 สูง 6’7 ด้วยสภาพแวดล้อม ความนิยมฟุตบอลในบ้านเกิด กีฬาฟุตบอลเลยเป็นกีฬาหลัก และด้วยความสูงขนาดนี้ ตำแหน่งผู้รักประตูเหมาะสมที่สุด หลังจากเดินหลงทางอยู่พักหนึ่ง ไม่นานก็เริ่มหาตัวตนที่แท้จริงเจอ สูงใหญ่ขนาดนี้ แน่นอนบาสเก็ตบอลเป็นคำตอบสุดท้าย ฮาคีมเข้าสู่ระบบทีมและเริ่มฝึกซ้อมอย่างจริงจัง ด้วยความที่เป็นคนเรียนรู้เร็ว ฉลาดและมีพัฒนาการสูง เหมือนเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ เขาใช้เวลาเพียง 2 ปี ช่วงอายุ 18 สูงถึง 6’10 พาทีมโรงเรียนคว้าแชมป์ระดับชาติ
โค้ชเห็นแววและแนะนำให้ไปอเมริกา คำตอบแรกจากฮาคีม คือไม่รู้จักใครที่อเมริกาเลย แล้วจะไปอยู่ยังไง โค้ชบอกมีเพื่อนอยู่อเมริกา เป็นโค้ชของมหาลัย University of Houston นานว่า Guy Lewis ได้โทรพูดคุยกันว่ามีเด็กยักษ์ 6’10 สนใจมั้ย โค้ชบอกมาเลยแบบไม่ต้องคิด ฮาคีมพร้อมเก็บกระเป๋าออกเดินทาง ต่อมา..ฮาคีมมาถึงสนามบินโทรหาคนมารับ ผู้ช่วยโค้ชจะไปรับแต่ดึกมาก ประมาณเที่ยงคืน บอกให้นั้งแท็กซี่มาเองทั้งๆที่ไม่เคยมา ภาษาก็ไม่ถนัด สักพักใหญ่ มีแท็กซี่สีเหลีองมาจอด มองจากหน้าต่างเห็นเด็กตัวใหญ่มากๆลงจากแท็กซี่ ผู้ช่วยรีบออกไปรับด้วยความตื้นเต้นกับเด็กยักษ์จากแอฟริกา
หลังจากข้ามน้ำข้ามทะเลมา ฮาคีมได้เข้ามาสู่โลกใบใหม่ สังคมใหม่ วัฒนธรรมใหม่ ซึ่งแตกต่างจากบ้านเกิดอย่างสิ้นเชิง การปรับตัวเป็นไปอย่างรวดเร็ว ชีวิตในมหาลัยมีความสุขมาก ตื่นเช้ามาเรียน ตกเย็นซ้อมบาส ได้เจอผู้คนหลากหลาย ไม่เพียงแค่การปรับตัวทางด้านความเป็นอยู่ เนื่องจากมีพรสวรรค์ เขายังปรับตัวเข้ากับระบบทีมอย่างรวดเร็วอีกด้วย คนเราไม่ได้เกิดมาเก่ง เช่นเดียวกับฮาคีมที่ยังขาดทักษะทางด้านเกมบุกที่หลากหลาย ทำให้ยังคนเป็นตัวสำรอง ในปีแรก หรือที่ฝรั่งเรียกว่าปีเฟรสแมน (freshman) Houston ผ่านเข้าไปในรอบ 4 ทีมสุดท้าย (Final Four) หรือ รอบรองชนะเลิศแล้วถูกแชมป์เก่า North Carolina โดยโค้ชชื่อดัง Dean Smith สอยตกรอบ มี Michael Jordan กับ James Worthy ซึ่งได้ MOP (ผู้เล่นยอดเยี่ยม) และคว้าแชมป์ NCAA1982 (เอาชนะ Georgetown ที่มี Patrick Ewing) ความพ่ายแพ้ครั้งนี้เป็นแรงผลักดันในการพัฒนาอย่างจริงจัง และเติมเต็มทักษะต่างๆขั้นสูงที่ยังมีข้อจำกัดอยู่ของฮาคีม
หลังความพ่ายแพ้ ฮาคีมต้องการเพิ่มชม.บิน จึงขอคำแนะนำจากโค้ช ได้รับคำแนะนำว่าให้ไปแจมกับ เซนเตอร์เจ้าถิ่น Moses Malone เจ้าของ NBA MVP พร้อมพักพวกจากลีก ซึ่งจะมาฝึกซ้อมแบ่งทีมเล่นเป็นประจำช่วงปิดฤดูกาล หนึ่งเดือนผ่านไปไวเหมือนโกหก การได้เล่น ได้ประกบคู่ต่อสู้ที่เหนือกว่า แกร่งกว่า ช่วยให้เขาพัฒนาได้อีกระดับหนึ่ง ฮาคีมได้ให้เครดิต Malone เรื่องนี้ ทั้งๆที่ไม่ได้สอนอะไรด้วยคำพูดเลย แต่สอนผ่านการกระทำ แรกๆทำอะไรไม่ได้มาก อึดอัดจนถึงกับท้อ เพราะกระดูกคนละเบอร์ ยังว่า...ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น หลังๆฮาคีมได้บอก Malone ผ่านการกระทำกลับไปว่า เขาได้เรียนรู้แล้ว โดยการแย่งเก็บรีบาวด์แล้วดังค์ใส่รุ่นใหญ่เพื่อนร่วมทีมเห็นถึงกับอุทานว่า “เอาแล้วมีง”
ฤดูกาลใหม่เริ่มขึ้น ฮาคีมกลับมาจากซัมเมอร์ราวกับเป็นผู้เล่นคนละคน พร้อมแล้วสำหรับการทดสอบฝีมือ ทุกๆปีจะมีทัวร์นาเม้นต์เล็กๆ ที่มีทีมมาหลัย Auburn ของ Sir Charles Barkley เข้าร่วมด้วย ตามฟอร์ม Sir Charles ได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะดังค์ใส่อาคีมให้ดู แต่พอเอาเข้าจริงยังไม่ทันได้ดังค์ใส่ เจอไป 4 บล็อก ปีนี้เองที่ได้เป็นตัวจริง แล้วได้แจ้งเกิดพร้อมกับเพื่อนร่วมทีม Clyde Drexler พา Houston ชนะ 20 เกมติด ภายในเวลาอันรวดเร็วฮาคีมก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของสุดยอดทีมในยุคนั้น และเป็นชอทบล็อกเกอร์เบอร์ 1 คนรู้จักทั้งประเทศ เขาพาทีมคว้าแชมป์สาย ได้เข้ามาเล่นใน Final Four เป็นครั้งที่ 2 สอย Louisville ขาดกระจายในรอบรองชนะเลิศ ทะลุเข้าไปชิงแชมป์ NCAA 1983 พบกับ North Carolina State พร้อมความมั่นใจว่าจะชนะ เพราะชนะทีมชั้นเลิศมา แถมเป็นต่ออีกต่างหาก อาคีมระเบิดฟอร์มในคืนนั้น เกมไม่ห่าง นำอยู่เกือบตลอดทั้งเกม เกมมาตัดสินในช่วง 10 วินาทีสุด สกอร์เสมอกัน 52-52 North Carolina State ส่องไกลเกือบๆครึ่งสนาม ปรากฏว่าแอร์บอล แต่ไม่รู้ทำบุญวัดไหนมา โชคดีโคตร มีตัวรออยู่ใต้แป้นโดยไม่มีใครประกบ เก็บบอลได้แล้วซ้ำลงไปวินาทีสุด พลิกเอาชนะไป 54-52 อกหักฝันสลายอีกตามเคย หลังจบฤดูกาล Drexler เซย์กู๊ดบายไป NBA พร้อมกับผู้เล่นหลักๆออกจากทีมไป คงเหลือแค่ฮาคีม เขาจะตัดสินใจตามเพื่อนไปมั้ย หลายๆคนคิดว่าน่าจะทิ้งทีมไป เป็นช่วงเวลาที่ตัดสินใจยากพอสมควรของชีวิตเดอะดรีม
ปีที่ 3 หรือ ปีจูเนียร์ เขาตัดสินใจล่าแชมป์ต่อ อีกครั้ง....ได้เข้าชิงแชมป์ NCAA 1984 กับ Georgtown มีสุดยอดเซนเตอร์ไร้แหวน Patrick Ewing เป็นก้างขวางคอชิ้นใหญ่ เรื่องฝีมือไม่ได้ด้อยไปกว่า Ewing แม้แต่นิดเดียว เกมนี้วัดกันที่ผู้เล่นรอบๆว่าของใครดีกว่า ปรากฏว่าของ Ewing ดีกว่า และได้แชมป์ไปไหนที่สุด ทีมแพ้แต่ตัวเองได้ MOP 1984 (ผู้ยอดเยี่ยม) ความฝันที่จะได้แชมป์ NCAA สิ้นสุดลงโดยบริบูรณ์
พอจบฤดูกาล ฮาคีมตัดสินใจประกาศผ่านสื่อว่าเขาจะมา NBA ในปีนี้ หมายมั่นตั้งใจอยากอยู่เมือง Houston ที่คุ้นเคย หวังไว้ว่า Houston Rockets จะได้ดราฟอันดับแรก เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่เขาตัดสินใจมาในปีนี้ แล้ว NBA ดราฟ 1984 ก็เริ่มขึ้น มี Portland Trailblazers กับ Houston Rockets ที่จะได้สิทธิดราฟผู้เล่นคนแรก โดยสมัยนั้นยังใช้วิธีโยนเหรียญอยู่ ผลปรากฏว่าHouston Rockets ชนะการโยนเหรียญ ได้เลือกผู้เล่นเป็นทีมแรก แน่นอน Rockets เลือกฮาคีม Blazers เลือก Sam Bowie และ ลำดับ 3 Bulls เลือก MJ ว่ากันว่าเป็นดราฟที่ดีที่สุดเท่าที่มีมา นอกจาก 3 คนดังกล่าวยังมี Charles Barkley, John Stockton เป็นต้น การได้เป็นดราฟเบอร์ 1 ก่อน MJ เปรียบเสมือนรางวัลปลอบใจช่วยให้มีกำลังใจเพื่อสู้ต่อ หลังจากที่ผิดหวังมาตลอด จบจากการดราฟก็มีข่าวหนาหูว่า Houston Rockets เลือกผิดคน อาจเป็นเพราะฮาคีมไม่มีดีกรีแชมป์ แล้วเขาก็โชว์ให้เห็นในปีรุกกี้ ว่าเลือกเขาถูกต้องที่สุด เพราะเข้ามาถึงก็บล็อกกระจายก่อนเลย บอกเพื่อนร่วมทีมอีกต่างหากว่าอย่างทำฟาว์ลเดียวเขาจัดให้ หนึ่งในเพื่อนร่วมทีม Rookie of the Year ปีที่แล้ว Raft Simpson สูงถึง 7’4 หลายๆคนคงรู้จัก เล่นเข้าขากันดีมากจนกลายมาเป็น Twin Towers (หอคอยคู่) ที่ไม่ใครเอาอยู่ ทำให้ Rockets จากทีมลำดับท้ายๆ ชนะ 23 แพ้ 53 พอฮาคีมมา ชนะ 48 แพ้ 34 ทำแต้มเฉลี่ย 20 แต้ม 11 รีบาวด์ 2 บล็อก ติดออลสตาร์ในปีรุกกี้ พอจบฤดูกาลจากผลโหวต Rookie of the Year ฮาคีมเป็นรองแค่ MJ เท่านั้น
NBA ฤดูกาล 1985-1986 ปีที่ 2 หลังจากเทิร์นโปร ฮาคีมทำแต้มเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 23 แต้ม 11 รีบาวด์ 3 บล็อก ช่วย Rockets ชนะ 51-31 ได้เข้าชิงแชมป์สายตะวันตกครั้งแรกอย่างเหนือความคาดหมาย ทีมหนุ่มรุ่นใหม่เจอกับแชมป์สาย LA Lakers ยุค The Show Time ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ Houston Rockets กับ หอคอยคู่ ช็อคโลกกีฬาอเมริกันเกมส์ พลิกเอาชนะมวยเป็นต่อแบบหมดราคา 4-1 เกม Pat Riley โค้ช Lakers สมัยนั้น ยอมรับว่าไม่รู้จะแก้เกมยังไงกับฮาคีม รุม 2 ก็แล้ว 3 ก็แล้ว ไม่คิดว่าจะเอาไม่อยู่ขนาดนี้ และที่สำคัญไม่ได้ทำการบ้านมาเลยด้วย ส่วนทางปู่คารีมโดนเด็กจัดหนัก สับสนไม่รู้จะประกบใครใต้แป้นดี คนหนึ่ง 7’4 อีกคน 7’ เล่นฉลาดแถมจ่ายบอลดี โดยเฉพาะฮาคีม เซนเตอร์ร่างยักษ์ที่ไม่ห่วงบอล จ่ายบอลงามๆพอๆกับการ์ดจ่าย Rockets ฉลองชัย แต่ก็ได้ไม่นาน หลังจากที่ได้แชมป์สาย ด่านต่อไปคือชิงแชมป์ NBA กับแชมป์เก่า Boston Celtics ชุด 1986 เป็นชุดที่ดีที่สุดในยุค ‘80 ครั้งนี้ไม่พลิกอีกแล้ว แพ้ไปในเกม 6 Celtics ครองแชมป์เป็นสมัยที่ 2 ติดกัน
เกิดการเปลื่ยนแปลงในทีม Simpson บาดเจ็บหนักที่หัวเข่า พอไร้ค่าก็ถูกเทรดออก เป็นจุดเริ่มต้นของการจบอาชีพของแกก็ว่าได้ ต่อมาเปลื่ยนโค้ชเป็น Don Chaney ฤดูกาลนี้ฮาคีมลุยเดียวจนจบฤดูกาล ชนะ 45-37 ได้เข้าเพลย์ออฟ แต่แพ้อย่างยับเยินแค่รอบแรก หลังจากนี้ Rockets ก็ไม่ได้เข้าเหยียบรอบชิงแชมป์อีกเลย ขึ้นเร็วย่อมลงเร็ว และจากนี้ไป Rockets อยู่ในช่วงขาลง (จบยุคเฟืองฟูของ Celtics (Larry Bird) ต่อมาก็ Lakers (The Show Time) - Pistons (Bad Boy) - Bulls (Air Jordan) ตามลำดับ) แม้ทีมจะอยู่ในช่วงขาลง ถ้าว่ากันเรื่องผลงานส่วนตัวของฮาคีมยังคงพัฒนาต่อเนื่อง ทำแต้มในเพลย์ออฟ 37 แต้ม 16 รีบาวด์ เป็นเจ้าพ่อรีบาวด์ 2 สมัย บล็อกลูกเฉลี่ย 4.6 บล็อก เป็นเจ้าพ่อชอทบล็อกเกอร์ 3 สมัย จำนวนบล็อกบวกรีบาวด์ดังกล่าว ในประวัติศาสตร์มี ปู่คารีมกับปู่ Bill Walton เท่านั้นที่ทำได้ ฤดูกาลนี้ฮาคีมยังทำ 2.9 แอสซิสต์ 1.9 สตีลต่อเกม ครบเครื่องของจริง
จุดตกต่ำของ Houston Rockets ยุคนั้น อยู่ที่ปี 1992 เป็นครั้งแรกของฮาคีมที่ไม่ได้เข้าเพลย์ออฟ เกิดปัญหามากมายทั้งในและนอกสนาม ทีมไม่ปรับปรุงตัวผู้เล่นรอบๆฮาคีมเลย ทีมเข้ารอบเพลย์ออฟ 6 ครั้ง แต่โดนตบร่วงตกรอบแรกถึง 4 ครั้ง อีกปัญหาก็เรื่องสัญญาค่าแรงของฮาคีมถูกทีมเอาเปรียบ จ่ายให้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งที่เป็นเซนเตอร์เบอร์ 1 ของลีก เกิดความขัดแย้งกับเจ้าของทีมถึงขนาดมองหน้ากันไม่ติด และต้องการจะย้ายทีม เป็นบทพิสูตรอีกครั้งของเขา ฮาคีมซึ่งนับถือถือศาสนาอิสลาม ใช้หลักคำสอนที่เขาเคร่งคัด และเข้าถึง เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ใช้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ แก้ไขปัญหาที่เกิด มีการตกลงพูดคุยระหว่างเจ้าของทีมกับฮาคีม ได้ให้อภัยกัน ลืมสิ่งที่เคยพูดเคยได้ยิน ทำความเข้าใจกับความขัดแย้งต่างๆก่อนหน้านี้ ช่วยกันหาทางออกที่ดีที่สุด
Rockets กลับมาเริ่มนับหนึ่งใหม่ หาผู้เล่นฝีมือดีๆเสริมทัพครั้งใหญ่ ได้ Kenny Smith, Mario Elie, Robert Horry (ปีที่ 2 ), Vernon Maxwell และได้ดราฟ Sam Cassell หลังจบฤดูกาล แล้วเปลื่ยนโค้ชมาเป็น Rudy Tomjanovich พอได้ผู้เล่นดีๆมา เหมือนกับการเพิ่มพลังให้ฮาคีมอีกครั้งอย่างมากมายมหาศาล ช่วงนี้เองฮาคีมเริ่มทำแอสซิสต์เป็นกอบเป็นกำเพื่อพิสูตรให้เห็นว่า เขาไม่ใช่ประเภทวันแมนโชว์ ซึ่งก่อนหน้าโดนโจมตีเรื่องนี้ตลอด พอๆกับเรื่องพี่บี้ กับเรื่องเกมรับของพ่อเครางาม คือพวกเราสนุกแต่เจ้าตัวไม่น่าจะสนุกด้วย บางทีก็น่าเห็นใจเหมือนกัน เล่นกันไม่จบไม่สิ้น เลยต้องเอาให้เห็นกันจะๆจากตัวเลข 3.5 แอสซิสต์ต่อเกม พอได้ส่วนผสมทางเคมีใหม่ซึ่งเข้ากันได้ดีกว่า ฮาคีมเปลื่ยนเป็นออลนิวฮาคีม ด้วยความเก่ง ทำให้เพื่อนๆรอบตัวเก่งขึ้นตามมา ทีมได้เข้ารอบเพลย์ออฟ และเป็นครั้งแรกของรอบหลายๆปีที่ผ่านทะลุรอบแรกมาได้ รอบ 2 เจอกับของแข็ง Seattle Supersonics (Shawn Kemp) เล่นกันยันเกม 7 แล้วแพ้ไปในช่วงต่อเวลา เหมือนว่าผิดหวังอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ กลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของความหวังที่จะได้แชมป์ Rockets มาถูกทางแล้ว
โดยเพจ www.facebook.com/ThaiNbaFanclub