อาจารย์แต่ละคนอาจจะมีพฤติกรรม การแสดงออกที่พวกเราไม่ชอบอยู่บ้าง รวมไปถึงทัศนคติแต่ละเรื่องในชั้นเรียนหรือตามสถานการศึกษาต่างๆ ทำให้นักเรียน นักศึกษาไม่สนใจสิ่งที่อาจารย์ได้สอนมา เพราะไม่สามารถเข้าถึงความสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนได้ แต่เราก็สามารถรับมือได้หากทำตาม 10 อันดับดังนี้
10.จะต้องมีความอดทนและตั้งใจฟัง
อาจารย์ที่นักเรียนไม่ชอบส่วนใหญ่นั้น มักจะมีนิสัยที่คิดว่าตัวเองรู้ดีกว่าใคร ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้นักเรียนไม่ชอบอาจารย์ หากยิ่งทำแบบนี้บ่อยๆ จะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน นักศึกษาไม่ชอบมากขึ้น ดีที่สุดก็คือ จะต้องตั้งใจฟังอย่างอดทนและอย่าไปทำปฎิกิริยาตอบโต้อะไรมากนัก พยายามตั้งใจเรียนจนหมดคาบและก็ทำให้อาจารย์รู้ว่า เราเข้าใจเนื้อหาที่สอนไปแล้ว
9.รู้จักอาจารย์ให้ดีมากพอ
เราอย่าไปทำอะไรที่ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์ร้าวมากขึ้น เพราะบางครั้งสิ่งที่เราได้ยินมาว่าอาจารย์ไม่ชอบนักเรียน แบบนั้น แบบนี้อาจจะเป็นสิ่งที่เข้าใจผิดมาโดยตลอดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกเกรดให้เราไม่ดี ให้คะแนนน้อยกว่าผิดปกติ ก็ทำให้เรารู้สึกไม่ชอบอาจารย์บ้างเป็นธรรมดา แต่เราอย่าไปตั้งอคติมากเกินไปว่า อาจารย์รังเกลียดเรา เราจึงต้องรู้จักอาจารย์ให้ดีก่อนว่า แท้ที่จริงแล้วอาจารย์เป็นคนอย่างไร
8.ทำตัวให้สุภาพเรียบร้อย
ส่วนใหญ่นักเรียน นักศึกษาจะทำตัวไม่เรียบร้อยกับอาจารย์ที่ไม่ชอบก็เพราะว่า สไตล์การสอนมีความแตกต่างกัน ที่บางคนอาจารย์ก็สอนแบบขอไปทีบ้างและก็ทำให้ผลคะแนนออกมาไม่ดี แทนที่เราจะนั่งอยู่เฉยๆ เราก็ใช้เวลานี้ไปพูดคุยกับอาจารย์อย่างสุภาพและอธิบายเกี่ยวกับปัญหาการสอนของอาจารย์จะดีกว่ามาก เราควรจะถามอาจารย์เกี่ยวกับปัญหาในการพูดหรือขอความช่วยเหลือให้อาจารย์สอนให้ เพื่อทำคะแนนให้ดีขึ้นกว่าเดิม
7.ทำตัวนักเลงในยามจำเป็น
เราอาจจะไม่ชอบอาจารย์ก็เพราะว่า อาจารย์คนนั้นทำตัวนักเลงหรือหาเรื่องกับเรา ซึ่งอาจารย์หลายคนที่ทำแบบนี้ก็มักจะทำให้เรารู้สึกขายขี้หน้าและขจัดนักเรียนที่ดูอ่อนแอไป และเราคงไม่นิ่งดูดายเรื่องนี้แน่ๆ เพราะเขาไม่ใช่เป็นผู้วิเศษสักหน่อยที่อยากจะทำอะไรกับเราก็ได้ เราก็ยืนหยัดต่อสู้และซักถามถึงนิสัยของเขาไปตรงๆเลย หรือแอบอัดวิดีโอนิสัยของอาจารย์ แล้วนำเรื่องไปฟ้องร้อง
6.ทำตัวเงียบและเชื่อฟัง
ครูอาจารย์ส่วนใหญ่มักจะเข้ามาตรงต่อเวลา แต่พออาจารย์เข้ามาปุ๊ป ก็วางกฎวินัยซะเข้มงวดเลย นี่ถือเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักเรียนหลายคนไม่ชอบอาจารย์ที่ทำแบบนี้ แต่ก่อนที่เราจะทำอะไรที่มันเกินเลย เราจะต้องมาดูตัวเองก่อนว่า สิ่งที่อาจารย์ทำนั้นมันผิดถูกหรือไม่ที่วางระเบียบแบบนั้น เราจะต้องหาคำตอบก่อนว่าเหตุผลจริงๆที่เราไม่ชอบนั้น ก็แค่เรื่องกฎวินัยที่เข้มงวดแค่นั้นจริงหรือ
5.ตรงต่อเวลา
ครูอาจารย์ทุกๆคนไม่ชอบนักเรียนที่มาเข้าเรียนไม่ตรงเวลาที่กำหนด เชื่อผมเถอะว่า นักเรียนเองก็ไม่ชอบที่อาจารย์มาตรงต่อเวลาเหมือนกัน (เข้าใจว่าคงไม่อยากเรียนวิชานั้นๆ) แต่ก็ไม่มีทางอื่นนอกจากเราจะต้องมาตรงต่อเวลาและทำให้ครูอาจารย์รู้สึกดีขึ้น แม้ว่าจะมีกฎวินัยที่เข้มงวดก็ตาม ก็ทำให้อาจารย์คนนั้นยอมอ่อนข้อเรื่องวินัยบ้าง
4.พูดคุยกับอาจารย์ด้วยความเคารพ
ไม่สำคัญหรอกว่าจะเป็นใคร แต่ทุกๆคนเราก็ต้องให้ความเคารพด้วยกันไม่ว่าจะเป็นหญิงชาย เด็กเล็กผู้ใหญ่ แม้ว่าอาจารย์อาจจะมีทัศนคติที่ไม่ตรงกับพวกเราบ้าง เราก็ต้องให้ความเคารพต่อความเห็นนั้นๆ ไม่ต้องไปด่าลับหลังอะไรหรอก เพียงแค่เรากับอาจารย์ก็เคารพในความเห็นที่แตกต่างก็พอแล้ว เพราะว่าอาจารย์ถือเป็นคนที่ให้เรารู้ถึงความเห็นที่แตกต่างกัน ก็เพื่อที่จะให้เราปรับตัวเข้ากับสังคมได้
3.การบ้านถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
ไม่สำคัญหรอกว่าการบ้านจะเป็นยังไง เยอะแค่ไหน เราจะต้องให้ความสำคัญกับการบ้านไว้ก่อน นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบทำการบ้านเสร็จ (ผมเองก็คนหนึ่ง
) และก็ยอมให้อาจารย์คนนั้นลงโทษเรา ทำให้แต่ละวันเราเริ่มมีความรู้สึกไม่ชอบอาจารย์คนนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เรื่องนี้เราจะโทษอาจารย์เป็นฝ่ายผิดไม่ได เพราะอาจารย์ได้มอบหมายหน้าที่ให้เราทำการบ้านให้เสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ เราจึงต้องเข้าใจว่าการทำการบ้านถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
2.พยายามสร้างสีสันให้มีความสนุกสนาน
อาจารย์บางคนก็ชอบมอบหมายงานให้เรามากเกินไป เราอาจจะไม่ชอบอาจารย์ก็เพราะตรงนี้ แต่เราอย่าไปหลีกเลี่ยงเรื่องนี้ หากเราพูดคุยดีๆกับอาจารย์ เขาก็อาจจะมีข้อเสนอให้ลดงานให้น้อยลงหรือเลื่อนเวลาส่งงานไปก็ได้ อาจารย์หลายคนจะต้องสร้างความรู้สึกที่ดีกับนักเรียนด้วยว่า ให้นักเรียนมีความสุขกับการทำงานโดยไม่ต้องไปเร่งรัดมากเกินไป แต่นักเรียนเองก็ต้องส่งงานตรงเวลาด้วยเช่นกัน จะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายเต็มไปด้วยความสนุกในชั้นเรียน
1.หาทางเลือกใหม่ๆในชั้นเรียน
เมื่ออาจารย์ที่เราไม่ชอบได้เข้ามาชั้นเรียน สิ่งแรกที่เรามักจะคิดก็คือ หาเรื่องที่จะโดดเรียนหรือไม่สนใจกับอาจารย์คนนั้น ซึ่งเป็นวิธีไม่เข้าท่าเอาซะเลย ในช่วงแรกนักเรียนจะปรับปรุงแก้ไขจากทางเลือกที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ แต่หากดูเหมือนไม่ได้ผล เราก็ต้องพยายามหาทางเลือกใหม่ๆเข้ามา เพราะครั้งต่อไปอาจารย์เข้ามาสอนด้วยอารมณ์ที่เปลี่ยนไปก็ได้ ลองหาทางเลือกที่ชาญฉลาดดู
ผู้เขียน Mr.lawrence10
(เรื่องน่ารู้) 10 อันดับแนวทางในการรับมือกับครูอาจารย์ที่เราไม่ชอบ
อาจารย์ที่นักเรียนไม่ชอบส่วนใหญ่นั้น มักจะมีนิสัยที่คิดว่าตัวเองรู้ดีกว่าใคร ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้นักเรียนไม่ชอบอาจารย์ หากยิ่งทำแบบนี้บ่อยๆ จะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน นักศึกษาไม่ชอบมากขึ้น ดีที่สุดก็คือ จะต้องตั้งใจฟังอย่างอดทนและอย่าไปทำปฎิกิริยาตอบโต้อะไรมากนัก พยายามตั้งใจเรียนจนหมดคาบและก็ทำให้อาจารย์รู้ว่า เราเข้าใจเนื้อหาที่สอนไปแล้ว
เราอย่าไปทำอะไรที่ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์ร้าวมากขึ้น เพราะบางครั้งสิ่งที่เราได้ยินมาว่าอาจารย์ไม่ชอบนักเรียน แบบนั้น แบบนี้อาจจะเป็นสิ่งที่เข้าใจผิดมาโดยตลอดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกเกรดให้เราไม่ดี ให้คะแนนน้อยกว่าผิดปกติ ก็ทำให้เรารู้สึกไม่ชอบอาจารย์บ้างเป็นธรรมดา แต่เราอย่าไปตั้งอคติมากเกินไปว่า อาจารย์รังเกลียดเรา เราจึงต้องรู้จักอาจารย์ให้ดีก่อนว่า แท้ที่จริงแล้วอาจารย์เป็นคนอย่างไร
ส่วนใหญ่นักเรียน นักศึกษาจะทำตัวไม่เรียบร้อยกับอาจารย์ที่ไม่ชอบก็เพราะว่า สไตล์การสอนมีความแตกต่างกัน ที่บางคนอาจารย์ก็สอนแบบขอไปทีบ้างและก็ทำให้ผลคะแนนออกมาไม่ดี แทนที่เราจะนั่งอยู่เฉยๆ เราก็ใช้เวลานี้ไปพูดคุยกับอาจารย์อย่างสุภาพและอธิบายเกี่ยวกับปัญหาการสอนของอาจารย์จะดีกว่ามาก เราควรจะถามอาจารย์เกี่ยวกับปัญหาในการพูดหรือขอความช่วยเหลือให้อาจารย์สอนให้ เพื่อทำคะแนนให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เราอาจจะไม่ชอบอาจารย์ก็เพราะว่า อาจารย์คนนั้นทำตัวนักเลงหรือหาเรื่องกับเรา ซึ่งอาจารย์หลายคนที่ทำแบบนี้ก็มักจะทำให้เรารู้สึกขายขี้หน้าและขจัดนักเรียนที่ดูอ่อนแอไป และเราคงไม่นิ่งดูดายเรื่องนี้แน่ๆ เพราะเขาไม่ใช่เป็นผู้วิเศษสักหน่อยที่อยากจะทำอะไรกับเราก็ได้ เราก็ยืนหยัดต่อสู้และซักถามถึงนิสัยของเขาไปตรงๆเลย หรือแอบอัดวิดีโอนิสัยของอาจารย์ แล้วนำเรื่องไปฟ้องร้อง
ครูอาจารย์ส่วนใหญ่มักจะเข้ามาตรงต่อเวลา แต่พออาจารย์เข้ามาปุ๊ป ก็วางกฎวินัยซะเข้มงวดเลย นี่ถือเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักเรียนหลายคนไม่ชอบอาจารย์ที่ทำแบบนี้ แต่ก่อนที่เราจะทำอะไรที่มันเกินเลย เราจะต้องมาดูตัวเองก่อนว่า สิ่งที่อาจารย์ทำนั้นมันผิดถูกหรือไม่ที่วางระเบียบแบบนั้น เราจะต้องหาคำตอบก่อนว่าเหตุผลจริงๆที่เราไม่ชอบนั้น ก็แค่เรื่องกฎวินัยที่เข้มงวดแค่นั้นจริงหรือ
ครูอาจารย์ทุกๆคนไม่ชอบนักเรียนที่มาเข้าเรียนไม่ตรงเวลาที่กำหนด เชื่อผมเถอะว่า นักเรียนเองก็ไม่ชอบที่อาจารย์มาตรงต่อเวลาเหมือนกัน (เข้าใจว่าคงไม่อยากเรียนวิชานั้นๆ) แต่ก็ไม่มีทางอื่นนอกจากเราจะต้องมาตรงต่อเวลาและทำให้ครูอาจารย์รู้สึกดีขึ้น แม้ว่าจะมีกฎวินัยที่เข้มงวดก็ตาม ก็ทำให้อาจารย์คนนั้นยอมอ่อนข้อเรื่องวินัยบ้าง
ไม่สำคัญหรอกว่าจะเป็นใคร แต่ทุกๆคนเราก็ต้องให้ความเคารพด้วยกันไม่ว่าจะเป็นหญิงชาย เด็กเล็กผู้ใหญ่ แม้ว่าอาจารย์อาจจะมีทัศนคติที่ไม่ตรงกับพวกเราบ้าง เราก็ต้องให้ความเคารพต่อความเห็นนั้นๆ ไม่ต้องไปด่าลับหลังอะไรหรอก เพียงแค่เรากับอาจารย์ก็เคารพในความเห็นที่แตกต่างก็พอแล้ว เพราะว่าอาจารย์ถือเป็นคนที่ให้เรารู้ถึงความเห็นที่แตกต่างกัน ก็เพื่อที่จะให้เราปรับตัวเข้ากับสังคมได้
ไม่สำคัญหรอกว่าการบ้านจะเป็นยังไง เยอะแค่ไหน เราจะต้องให้ความสำคัญกับการบ้านไว้ก่อน นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบทำการบ้านเสร็จ (ผมเองก็คนหนึ่ง ) และก็ยอมให้อาจารย์คนนั้นลงโทษเรา ทำให้แต่ละวันเราเริ่มมีความรู้สึกไม่ชอบอาจารย์คนนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เรื่องนี้เราจะโทษอาจารย์เป็นฝ่ายผิดไม่ได เพราะอาจารย์ได้มอบหมายหน้าที่ให้เราทำการบ้านให้เสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ เราจึงต้องเข้าใจว่าการทำการบ้านถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
อาจารย์บางคนก็ชอบมอบหมายงานให้เรามากเกินไป เราอาจจะไม่ชอบอาจารย์ก็เพราะตรงนี้ แต่เราอย่าไปหลีกเลี่ยงเรื่องนี้ หากเราพูดคุยดีๆกับอาจารย์ เขาก็อาจจะมีข้อเสนอให้ลดงานให้น้อยลงหรือเลื่อนเวลาส่งงานไปก็ได้ อาจารย์หลายคนจะต้องสร้างความรู้สึกที่ดีกับนักเรียนด้วยว่า ให้นักเรียนมีความสุขกับการทำงานโดยไม่ต้องไปเร่งรัดมากเกินไป แต่นักเรียนเองก็ต้องส่งงานตรงเวลาด้วยเช่นกัน จะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายเต็มไปด้วยความสนุกในชั้นเรียน
เมื่ออาจารย์ที่เราไม่ชอบได้เข้ามาชั้นเรียน สิ่งแรกที่เรามักจะคิดก็คือ หาเรื่องที่จะโดดเรียนหรือไม่สนใจกับอาจารย์คนนั้น ซึ่งเป็นวิธีไม่เข้าท่าเอาซะเลย ในช่วงแรกนักเรียนจะปรับปรุงแก้ไขจากทางเลือกที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ แต่หากดูเหมือนไม่ได้ผล เราก็ต้องพยายามหาทางเลือกใหม่ๆเข้ามา เพราะครั้งต่อไปอาจารย์เข้ามาสอนด้วยอารมณ์ที่เปลี่ยนไปก็ได้ ลองหาทางเลือกที่ชาญฉลาดดู
ผู้เขียน Mr.lawrence10