คำว่า "ธนาคาร" คือ "แบงก์-Bank" ในภาษาอังกฤษ มาจากคำว่า "Banco" ในภาษาอิตาเลียน แปลว่า "ม้ายาว" จากที่พวกยิว รวมถึงนายธนาคารอื่นๆ ในยุคแรก ใช้ม้ายาวเป็นที่กองเงินตราเพื่อทำธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรา และให้กู้ยืม ส่วนสถานที่ใช้ประกอบธุรกิจ มักเป็นสถานที่ชุมนุมชน เช่น ตลาด หรือโรงสวด นอกจากนี้ คำว่า Bank ยังอาจมาจากคำว่า Banck ในภาษาเยอรมัน หมายถึง "กอง" ซึ่งชาวเยอรมัน ใช้บอกลักษณะของหนี้สาธารณะ
มัยโบราณ ประมาณ 3,900 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการดำเนินกิจการธนาคารในดินแดนอียิปต์ โดยประชาชนนำวัวมาฝากและได้รับหลักฐานการฝากไว้ กิจกรรมเกี่ยวกับการเก็บรักษาทรัพย์สินและการให้กู้ยืมเช่นนี้ มีเช่นกันในแคว้นบาบิโลน ณ อารามแดงแห่งอุรุก ซึ่งมีอายุประมาณ 3,400-3,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยที่อารามมีที่ดินกว้างขวาง นักบวชจึงให้เช่าที่ดินนั้นเพื่อทำการเกษตร รวมถึงหาประโยชน์จากสินทรัพย์จำนวนมากที่มีผู้นำมาถวายเทพเจ้า ต่อมาก็ให้กู้ยืมเมล็ดพืชธัญญาหาร ให้ยืมปศุสัตว์ โดยคิดค่าตอบแทน ทั้งพ่อค้าสามารถฝากสินทรัพย์ไว้กับอาราม และรับแผ่นดินเผาจารึกรายการที่ฝากไว้เป็นหลักฐาน เพื่อนำไปขอเบิกจ่ายสินทรัพย์ที่ฝากไว้กับสาขาของอาราม ช่วงเวลานี้มีฆราวาสที่มีที่ดินและฐานะดีดำเนินธุรกิจธนาคารด้วย
กิจการธนาคารของแคว้นบาบิโลนเลิกไป เพราะสงครามและอาณาจักรแตกแยก ต่อมาประมาณ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีธนาคารเกิดขึ้นในกรุงเอเธนส์ และโรม ซึ่งเป็นเมืองที่มีความเจริญและร่ำรวยมากในขณะนั้น กิจการธนาคารยังคงเริ่มจากอาราม นักบวชเป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินและของมีค่า ให้กู้เงิน รับแลกเงิน ออกตั๋วเงินตามจำนวนเงินที่ฝากไว้ ตั๋วเงินพวกนี้นำไปชำระหนี้หรือจ่ายเงินในเมืองอื่นได้ การที่มีกฎหมายบางอย่างควบคุมทำให้ธุรกิจธนาคารดำเนินไปด้วยดี จึงมีผู้ประกอบธุรกิจนี้มากขึ้น ทั้งที่เป็นเอกชน และผู้ปกครองรัฐ จนมีธนาคารตั้งอยู่เกือบทุกมณฑล กระทั่งอาณาจักรโรมแตกสลาย ภาวะการค้าเสื่อมลง กิจการธนาคารก็เสื่อมตามไปด้วย
สมัยกลาง อันเป็นระยะเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 4-14 เมื่ออำนาจโรมหมดลง ทวีปยุโรปจึงแยกเป็นแคว้นต่างๆ มากมาย ตามด้วยการรบพุ่ง บรรดาผู้มีอำนาจและที่ดินต่างสร้างป้อม ปราสาท และสะสมกำลังทหารรวมทั้งอัศวิน สภาพดังนี้ไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าและการธนาคาร จนเมื่อเกิดสงครามครูเสดการส่งอัศวินและทหารไปรบ ทำให้บรรดาเจ้าผู้ครองแคว้นต้องการเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการสะสมกำลังอาวุธ การให้กู้ยืมจึงเกิดขึ้น
นอกจากนี้ การที่ทหารไปรบแล้วถูกจับ ต้องส่งเงินไปเป็นค่าไถ่ตัวก็ดี การส่งทรัพย์สินที่ยึดได้ในสงครามกลับประเทศก็ดี ทำให้ต้องใช้บริการของธนาคารมากขึ้น กิจการธนาคารจึงฟื้นตัว
หลังจากยุคนี้แล้วก็มีการส่งเงินและของมีค่าไปยังคริสตจักรแห่งโรมมากขึ้น ทำให้ธุรกิจการธนาคารของเอกชนในอิตาลีเจริญขึ้น ธนาคารที่มีชื่อเสียงได้แก่ ธนาคารแห่งเวนิส ซึ่งตั้งขึ้น ค.ศ.1157 ยังมีธนาคารแห่งบาร์เซโลน่า (ค.ศ.1400) ธนาคารแห่ง เจนัว (ค.ศ.1407) ธนาคารแห่งอัมสเตอร์ดัม (ค.ศ.1609) ธนาคารแหล่านี้มีส่วนช่วยทำให้เมืองต่างๆ กลายเป็นศูนย์กลางของการค้า โดยรับฝากเงินเหรียญ โอนเงินระหว่างบัญชีของธนาคาร หรือที่เจ้าของบัญชีออกคำสั่งจ่ายเงินจากบัญชี เป็นต้น
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakUzTURJMU53PT0=
______________________
จากกิจการธนาคารในยุโรป.. ก็ พัฒนาเป็น ตลาดสินค้า เกษตรล่วงหน้า
ยุค ก่อนสมัยล่าอนานิคม ก็มีตลาดหุ้น หรือ จะเรียกว่าการเทรดสัญญา ล่วงหน้า
การซื้อขายเครื่องเทศ จากอินเดีย หรือ อินโดเนเซีย เนเธอร์แลนด์เอาเรือออกทะเลมาขนเครื่องเทศมาขาย
แต่ไม่มีเงินทุนพอ จึงออกเป็น สัญญาเงินลงทุน และใบสัญญานี้ สามารถขายและเปลี่ยนมือได้
จึงเป็นจุดกำเนิดของ ตลาดหุ้น หรือ ตลาดล่วงหน้า ก็ได้
ส่วนในญี่ปุ่น ก็มีตลาดหุ้นนะ โดยมีคน เอาราคาสินค้าทำเป็น เป็นเส้น จึงกลายมาเป็น กราฟแท่งเทียนอย่างทุกวันนี้
ส่วนในจีน เรานับ ย้อนไปซัก 400 ปีก็พอ สมัยราชวงศ์ หมิง มาถึง แมนจู
ระบบเศรษฐกิจของจีน ใหญ่ที่สุดในโลก
แล้วถ้านับ ย้อนไปอีกถึงราชวงศ์ถัง สมัยนั้น พวกยุโรป ยังโง่เขลา กับการไล่ล่าแม่มด
ยังมัวแต่ทำสงครามอยู่เลย เสื้อเกราะหนักๆ เสื้อผ้าชาวบ้านก็เป็นผ้าดิบธรรมดา
แต่สมัยราชวงศ์ถัง มีถังผ้าแพรสวยๆ มีสิ่งประดิษฐ์ประดิษฐ์ทางอาวธมากมาย มีการแต่งดนตรี มีบทกวีมากมาย
ในจีนมี ระบบตั๋วเงิน เหมือนที่เราเห็นในหนังจีน นั้นละ มีตั๋วเงินเดินทางไปแต่และเมือง
พวกจอมยุทธต้องไม่ทำงาน ไม่พกเงิน แต่ดันมีเงินจ่ายค่าข้าว ค่าโรงเตี้ยม ซะงั้น
แล้วก็มี สำนักเปาเปียว ที่เหมือน บริษัท rcl tta psl thai ในปัจจุบันนิละ
ค่อยรับจ้างขนสินค้า ขนคน ไปส่งยังที่ต่าง
กลับมาที่ไทย ครับ..
จากที่ผมเรียนมา ก็ การใช้เงิน แบบธนบัตร เริ่มมาในรัชกาลที่ 4 แต่ไม่นิยม จึงเลิกไป
และนำกลับมาใช้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในรัชกาลที่ 5 หลังจากการปฎิรูปประเทศ
หลังจากที่เราถูกฝรั่งเศล ปล้นเงินไป เงินสะสมของพระมหากษัตริย์ไทย คือรัชกาลที่ 3
ที่สะสมไว้ และ รวมจากเงินของเจ้านายต่าง ๆ มาจ่ายและ เงินถุงแดง
ลากลงเรือรบฝรั่งเศล ถนนที่ถุงเงินถูกลาก เป็นลอยลึกเลยทีเดียว
ธนาคารไทยแห่งแรก ก็ สยามกัมมาจล.. คือ scb ในปัจจุบันนิละ
และ ตั้งมาไม่นาน ก็เกิดความว่ามีการ ทุจริตที่สาขา ราชวงศ์ หรือ ท่าช้างผมจำไม่ค่อยได้นะ
แต่น่าจะเป็นราชวงศ์ เพราะย่านการค้าของคนจีนสมัยนั้น อยู่แถวราชวงส์
โดยผู้จัดการสาขา ซึ่งเป็นชาวจีนแอบยักยอกเงินออกไป เพราะขาดทุน จากการแอบไป
ทำสัญญาข้าว บังเอิญราคามันพุ่งขึ้นมากกว่า ที่คิดไว้ คือมองผิดทาง คิดว่าจะลง
มันดันขึ้น นั้นละ. เหมือนเม่าอย่างเราๆ เลย ขา s ตาย
จึงยักยอกเงินไป กว่า 3 ล้านบาท 3 ล้านบาทไทยในสมัยนั้น ถือว่ามากกว่างบประมาณ
ของแต่ละกระทรวงอีก เพราะ อย่างสมัยรัชกาลที่ 5 เรื่องทวิภพยัง พูดเลยว่า
รถสมัยแม่มณีทำไมแพงจัง คันละ 30 40 ล้านบาท
แค่งบประมาณแผ่นดินสยาม ก็แค่ปีละ 15 ล้านเอง ...
ธนาคารไทยพาณิชย์ ล้มแน่ๆ จึงต้องมีการเพิ่มทุนโดย พระคลังข้างที่ ถ้าผมจำไม่ผิดนะ
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ธนาคาร กรุงเทพ
คุณชิน โสพนพานิช
มาจากเมืองจีนที่ว่า เสื่อผืนหมอนใบ แต่ คุณชินอาจไม่ใช่
อาจจะมีทุนมาบ้าง
แล้ว ก็ ตามมาด้วยธนาคารกสิกรไทย
ระะบบธนาคารไทย จากอดีต ถึงวันนี้..เปลี่ยนแปลงไปในทางเลวร้ายลง..แถมแบงค์ชาติก็ไม่ยอมมีสมองคิด. ประชาชนก็ไม่ต้องหวังพึ่ง
มัยโบราณ ประมาณ 3,900 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการดำเนินกิจการธนาคารในดินแดนอียิปต์ โดยประชาชนนำวัวมาฝากและได้รับหลักฐานการฝากไว้ กิจกรรมเกี่ยวกับการเก็บรักษาทรัพย์สินและการให้กู้ยืมเช่นนี้ มีเช่นกันในแคว้นบาบิโลน ณ อารามแดงแห่งอุรุก ซึ่งมีอายุประมาณ 3,400-3,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยที่อารามมีที่ดินกว้างขวาง นักบวชจึงให้เช่าที่ดินนั้นเพื่อทำการเกษตร รวมถึงหาประโยชน์จากสินทรัพย์จำนวนมากที่มีผู้นำมาถวายเทพเจ้า ต่อมาก็ให้กู้ยืมเมล็ดพืชธัญญาหาร ให้ยืมปศุสัตว์ โดยคิดค่าตอบแทน ทั้งพ่อค้าสามารถฝากสินทรัพย์ไว้กับอาราม และรับแผ่นดินเผาจารึกรายการที่ฝากไว้เป็นหลักฐาน เพื่อนำไปขอเบิกจ่ายสินทรัพย์ที่ฝากไว้กับสาขาของอาราม ช่วงเวลานี้มีฆราวาสที่มีที่ดินและฐานะดีดำเนินธุรกิจธนาคารด้วย
กิจการธนาคารของแคว้นบาบิโลนเลิกไป เพราะสงครามและอาณาจักรแตกแยก ต่อมาประมาณ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีธนาคารเกิดขึ้นในกรุงเอเธนส์ และโรม ซึ่งเป็นเมืองที่มีความเจริญและร่ำรวยมากในขณะนั้น กิจการธนาคารยังคงเริ่มจากอาราม นักบวชเป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินและของมีค่า ให้กู้เงิน รับแลกเงิน ออกตั๋วเงินตามจำนวนเงินที่ฝากไว้ ตั๋วเงินพวกนี้นำไปชำระหนี้หรือจ่ายเงินในเมืองอื่นได้ การที่มีกฎหมายบางอย่างควบคุมทำให้ธุรกิจธนาคารดำเนินไปด้วยดี จึงมีผู้ประกอบธุรกิจนี้มากขึ้น ทั้งที่เป็นเอกชน และผู้ปกครองรัฐ จนมีธนาคารตั้งอยู่เกือบทุกมณฑล กระทั่งอาณาจักรโรมแตกสลาย ภาวะการค้าเสื่อมลง กิจการธนาคารก็เสื่อมตามไปด้วย
สมัยกลาง อันเป็นระยะเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 4-14 เมื่ออำนาจโรมหมดลง ทวีปยุโรปจึงแยกเป็นแคว้นต่างๆ มากมาย ตามด้วยการรบพุ่ง บรรดาผู้มีอำนาจและที่ดินต่างสร้างป้อม ปราสาท และสะสมกำลังทหารรวมทั้งอัศวิน สภาพดังนี้ไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าและการธนาคาร จนเมื่อเกิดสงครามครูเสดการส่งอัศวินและทหารไปรบ ทำให้บรรดาเจ้าผู้ครองแคว้นต้องการเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการสะสมกำลังอาวุธ การให้กู้ยืมจึงเกิดขึ้น
นอกจากนี้ การที่ทหารไปรบแล้วถูกจับ ต้องส่งเงินไปเป็นค่าไถ่ตัวก็ดี การส่งทรัพย์สินที่ยึดได้ในสงครามกลับประเทศก็ดี ทำให้ต้องใช้บริการของธนาคารมากขึ้น กิจการธนาคารจึงฟื้นตัว
หลังจากยุคนี้แล้วก็มีการส่งเงินและของมีค่าไปยังคริสตจักรแห่งโรมมากขึ้น ทำให้ธุรกิจการธนาคารของเอกชนในอิตาลีเจริญขึ้น ธนาคารที่มีชื่อเสียงได้แก่ ธนาคารแห่งเวนิส ซึ่งตั้งขึ้น ค.ศ.1157 ยังมีธนาคารแห่งบาร์เซโลน่า (ค.ศ.1400) ธนาคารแห่ง เจนัว (ค.ศ.1407) ธนาคารแห่งอัมสเตอร์ดัม (ค.ศ.1609) ธนาคารแหล่านี้มีส่วนช่วยทำให้เมืองต่างๆ กลายเป็นศูนย์กลางของการค้า โดยรับฝากเงินเหรียญ โอนเงินระหว่างบัญชีของธนาคาร หรือที่เจ้าของบัญชีออกคำสั่งจ่ายเงินจากบัญชี เป็นต้น
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakUzTURJMU53PT0=
______________________
จากกิจการธนาคารในยุโรป.. ก็ พัฒนาเป็น ตลาดสินค้า เกษตรล่วงหน้า
ยุค ก่อนสมัยล่าอนานิคม ก็มีตลาดหุ้น หรือ จะเรียกว่าการเทรดสัญญา ล่วงหน้า
การซื้อขายเครื่องเทศ จากอินเดีย หรือ อินโดเนเซีย เนเธอร์แลนด์เอาเรือออกทะเลมาขนเครื่องเทศมาขาย
แต่ไม่มีเงินทุนพอ จึงออกเป็น สัญญาเงินลงทุน และใบสัญญานี้ สามารถขายและเปลี่ยนมือได้
จึงเป็นจุดกำเนิดของ ตลาดหุ้น หรือ ตลาดล่วงหน้า ก็ได้
ส่วนในญี่ปุ่น ก็มีตลาดหุ้นนะ โดยมีคน เอาราคาสินค้าทำเป็น เป็นเส้น จึงกลายมาเป็น กราฟแท่งเทียนอย่างทุกวันนี้
ส่วนในจีน เรานับ ย้อนไปซัก 400 ปีก็พอ สมัยราชวงศ์ หมิง มาถึง แมนจู
ระบบเศรษฐกิจของจีน ใหญ่ที่สุดในโลก
แล้วถ้านับ ย้อนไปอีกถึงราชวงศ์ถัง สมัยนั้น พวกยุโรป ยังโง่เขลา กับการไล่ล่าแม่มด
ยังมัวแต่ทำสงครามอยู่เลย เสื้อเกราะหนักๆ เสื้อผ้าชาวบ้านก็เป็นผ้าดิบธรรมดา
แต่สมัยราชวงศ์ถัง มีถังผ้าแพรสวยๆ มีสิ่งประดิษฐ์ประดิษฐ์ทางอาวธมากมาย มีการแต่งดนตรี มีบทกวีมากมาย
ในจีนมี ระบบตั๋วเงิน เหมือนที่เราเห็นในหนังจีน นั้นละ มีตั๋วเงินเดินทางไปแต่และเมือง
พวกจอมยุทธต้องไม่ทำงาน ไม่พกเงิน แต่ดันมีเงินจ่ายค่าข้าว ค่าโรงเตี้ยม ซะงั้น
แล้วก็มี สำนักเปาเปียว ที่เหมือน บริษัท rcl tta psl thai ในปัจจุบันนิละ
ค่อยรับจ้างขนสินค้า ขนคน ไปส่งยังที่ต่าง
กลับมาที่ไทย ครับ..
จากที่ผมเรียนมา ก็ การใช้เงิน แบบธนบัตร เริ่มมาในรัชกาลที่ 4 แต่ไม่นิยม จึงเลิกไป
และนำกลับมาใช้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในรัชกาลที่ 5 หลังจากการปฎิรูปประเทศ
หลังจากที่เราถูกฝรั่งเศล ปล้นเงินไป เงินสะสมของพระมหากษัตริย์ไทย คือรัชกาลที่ 3
ที่สะสมไว้ และ รวมจากเงินของเจ้านายต่าง ๆ มาจ่ายและ เงินถุงแดง
ลากลงเรือรบฝรั่งเศล ถนนที่ถุงเงินถูกลาก เป็นลอยลึกเลยทีเดียว
ธนาคารไทยแห่งแรก ก็ สยามกัมมาจล.. คือ scb ในปัจจุบันนิละ
และ ตั้งมาไม่นาน ก็เกิดความว่ามีการ ทุจริตที่สาขา ราชวงศ์ หรือ ท่าช้างผมจำไม่ค่อยได้นะ
แต่น่าจะเป็นราชวงศ์ เพราะย่านการค้าของคนจีนสมัยนั้น อยู่แถวราชวงส์
โดยผู้จัดการสาขา ซึ่งเป็นชาวจีนแอบยักยอกเงินออกไป เพราะขาดทุน จากการแอบไป
ทำสัญญาข้าว บังเอิญราคามันพุ่งขึ้นมากกว่า ที่คิดไว้ คือมองผิดทาง คิดว่าจะลง
มันดันขึ้น นั้นละ. เหมือนเม่าอย่างเราๆ เลย ขา s ตาย
จึงยักยอกเงินไป กว่า 3 ล้านบาท 3 ล้านบาทไทยในสมัยนั้น ถือว่ามากกว่างบประมาณ
ของแต่ละกระทรวงอีก เพราะ อย่างสมัยรัชกาลที่ 5 เรื่องทวิภพยัง พูดเลยว่า
รถสมัยแม่มณีทำไมแพงจัง คันละ 30 40 ล้านบาท
แค่งบประมาณแผ่นดินสยาม ก็แค่ปีละ 15 ล้านเอง ...
ธนาคารไทยพาณิชย์ ล้มแน่ๆ จึงต้องมีการเพิ่มทุนโดย พระคลังข้างที่ ถ้าผมจำไม่ผิดนะ
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ธนาคาร กรุงเทพ
คุณชิน โสพนพานิช
มาจากเมืองจีนที่ว่า เสื่อผืนหมอนใบ แต่ คุณชินอาจไม่ใช่
อาจจะมีทุนมาบ้าง
แล้ว ก็ ตามมาด้วยธนาคารกสิกรไทย