ตั้งใจทำหน้าที่ เพราะมีหน้าที่ให้กระทำจึงต้องทำหน้าที่
เมื่อมีหน้าที่อะไรๆ ให้กระทำ ก็ควรทำหน้าที่นั้นๆ ให้เต็มที่
(ไม่ใช่เต็มทีหรือเต็มทน)
และควรทำให้ถูกต้องไม่บกพร่องในหน้าที่
ทำด้วยใจรัก รักในหน้าที่ที่ได้กระทำ (ฉันทะ)
ทำด้วยความเพียร (ไม่ใช่พยายาม) เพียรในการทำหน้าที่ (วิริยะ)
ทำด้วยความใส่ใจ เอาใจใส่ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำๆ ไป (จิตตะ)
ทำด้วยความรอบคอบ รอบรู้และรู้รอบในหน้าที่นั้นๆ
ที่กำลังกระทำ (วิมังสา)
ทำด้วยความตั้งใจคือเอาใจไปตั้งในการกระทำ
ในหน้าที่ที่กระทำนี้คือ "กรรมฐาน"
ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ คือใจบริสุทธิ์ในระหว่างที่มีการกระทำ
ได้แก่ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ไปพร้อมกันนี้คือ "วิปัสสนา"
ทำด้วยความมั่นใจ มีใจ มอบใจ มากไปด้วยใจ
ไม่หมดใจ ไม่เมินใจ ไม่หมองมัวใจ
ไม่เจี๊ยวจ๊าว จุ้นจ้าน จ้อกแจ้กจอแจ จุกจิกจู้จี้
จับเจ่า จวนเจียน จิ้มจุ่ม จับจดจับจ้อง
เจื้อยแจ้ว แต่จัดแจงให้จับจิตจับใจ ให้จูงใจ
ให้แจ่มแจ้งและให้จบจริงๆ
ขอให้ภาคภูมิใจในการที่เราได้ทำหน้าที่
หรือที่มีหน้าที่ให้เราได้กระทำ
แสดงว่าเรามีคุณค่าหรือความสำคัญพอที่จะทำหน้าที่นั้นๆ ได้
จึงมีผู้มอบหมายหน้าที่ให้เราได้กระทำ
เมื่อเข้าใจได้อย่างนี้ ก็จะได้ทำหน้าที่ด้วยความเต็มใจ
ไม่หนักอกหนักใจ ไม่ลำบากใจ ไม่เดือดร้อนใจ
ไม่กลัดกลุ้มร้อนรุ่มจิตใจ
ไม่กระสับกระส่ายกระวนกระวายจิตใจ
ไม่หงุดหงิดงุ่นง่านฟุ้งซ่านรำคาญใจ
แต่จะผ่อนคลาย โปร่งเบาสบาย ปลดปล่อยปลอดโปร่ง
ไม่เป็นภาระ
รื่นเริงเบิกบานและบันเทิงใจ
ใครมีหน้าที่อย่างไรก็ให้ทำไปตามหน้าที่
อย่าไปก้าวก่ายหน้าที่ ผิดกิจผิดหน้าที่ที่พึงกระทำ
และให้ทำหน้าที่ตามความเป็นจริง เช่นปัจจุบันเราเป็นมนุษย์
ก็ขอให้ทำหน้าที่ของมนุษย์
หน้าที่ของมนุษย์อย่างมนุษย์ธรรมดาๆ นี่แหละท่าน
ไม่ต้องไปก้าวก่ายหน้าที่ของเปรต อสุรกาย
สัตว์เดรัจฉานและสัตว์นรก
หรือแม้เทวดา พระอินทร์ พระพรหม พระปัจเจกพุทธเจ้า
หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น
ขอจงอยู่อย่างมนุษย์ แล้วทำหน้าที่ของมนุษย์ให้สมบูรณ์
ให้ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์พึงกระทำ
ไม่ต้องไปทำตัว เป็นผู้วิเศษ เป็นพระอินทร์พระพรหม
ยมยักษ์ หรือปีศาจมารต่างๆ
และไม่ต้องไปทำตัวเป็นศาสดาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ เจ้าลัทธิ
เจ้าสำนักอันเกรียงไกร!
อยู่อย่างมนุษย์เถิดท่าน ยอมรับในความเป็นมนุษย์เถิด
พอใจในความเป็นมนุษย์เถิด
แล้วก็ทำอย่างมนุษย์ธรรมดาดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านได้ทำเป็นตัวอย่างไว้แล้ว
เท่านี้แหละก็เป็นการพอเพียงแบบเพียงพอ
จากหนังสือ เพียงแค่รู้ (ฉบับปรับปรุง) ของ พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
พอเพียงและเพียงพอ
เมื่อมีหน้าที่อะไรๆ ให้กระทำ ก็ควรทำหน้าที่นั้นๆ ให้เต็มที่
(ไม่ใช่เต็มทีหรือเต็มทน)
และควรทำให้ถูกต้องไม่บกพร่องในหน้าที่
ทำด้วยใจรัก รักในหน้าที่ที่ได้กระทำ (ฉันทะ)
ทำด้วยความเพียร (ไม่ใช่พยายาม) เพียรในการทำหน้าที่ (วิริยะ)
ทำด้วยความใส่ใจ เอาใจใส่ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำๆ ไป (จิตตะ)
ทำด้วยความรอบคอบ รอบรู้และรู้รอบในหน้าที่นั้นๆ
ที่กำลังกระทำ (วิมังสา)
ทำด้วยความตั้งใจคือเอาใจไปตั้งในการกระทำ
ในหน้าที่ที่กระทำนี้คือ "กรรมฐาน"
ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ คือใจบริสุทธิ์ในระหว่างที่มีการกระทำ
ได้แก่ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ไปพร้อมกันนี้คือ "วิปัสสนา"
ทำด้วยความมั่นใจ มีใจ มอบใจ มากไปด้วยใจ
ไม่หมดใจ ไม่เมินใจ ไม่หมองมัวใจ
ไม่เจี๊ยวจ๊าว จุ้นจ้าน จ้อกแจ้กจอแจ จุกจิกจู้จี้
จับเจ่า จวนเจียน จิ้มจุ่ม จับจดจับจ้อง
เจื้อยแจ้ว แต่จัดแจงให้จับจิตจับใจ ให้จูงใจ
ให้แจ่มแจ้งและให้จบจริงๆ
ขอให้ภาคภูมิใจในการที่เราได้ทำหน้าที่
หรือที่มีหน้าที่ให้เราได้กระทำ
แสดงว่าเรามีคุณค่าหรือความสำคัญพอที่จะทำหน้าที่นั้นๆ ได้
จึงมีผู้มอบหมายหน้าที่ให้เราได้กระทำ
เมื่อเข้าใจได้อย่างนี้ ก็จะได้ทำหน้าที่ด้วยความเต็มใจ
ไม่หนักอกหนักใจ ไม่ลำบากใจ ไม่เดือดร้อนใจ
ไม่กลัดกลุ้มร้อนรุ่มจิตใจ
ไม่กระสับกระส่ายกระวนกระวายจิตใจ
ไม่หงุดหงิดงุ่นง่านฟุ้งซ่านรำคาญใจ
แต่จะผ่อนคลาย โปร่งเบาสบาย ปลดปล่อยปลอดโปร่ง
ไม่เป็นภาระ
รื่นเริงเบิกบานและบันเทิงใจ
ใครมีหน้าที่อย่างไรก็ให้ทำไปตามหน้าที่
อย่าไปก้าวก่ายหน้าที่ ผิดกิจผิดหน้าที่ที่พึงกระทำ
และให้ทำหน้าที่ตามความเป็นจริง เช่นปัจจุบันเราเป็นมนุษย์
ก็ขอให้ทำหน้าที่ของมนุษย์
หน้าที่ของมนุษย์อย่างมนุษย์ธรรมดาๆ นี่แหละท่าน
ไม่ต้องไปก้าวก่ายหน้าที่ของเปรต อสุรกาย
สัตว์เดรัจฉานและสัตว์นรก
หรือแม้เทวดา พระอินทร์ พระพรหม พระปัจเจกพุทธเจ้า
หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น
ขอจงอยู่อย่างมนุษย์ แล้วทำหน้าที่ของมนุษย์ให้สมบูรณ์
ให้ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์พึงกระทำ
ไม่ต้องไปทำตัว เป็นผู้วิเศษ เป็นพระอินทร์พระพรหม
ยมยักษ์ หรือปีศาจมารต่างๆ
และไม่ต้องไปทำตัวเป็นศาสดาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ เจ้าลัทธิ
เจ้าสำนักอันเกรียงไกร!
อยู่อย่างมนุษย์เถิดท่าน ยอมรับในความเป็นมนุษย์เถิด
พอใจในความเป็นมนุษย์เถิด
แล้วก็ทำอย่างมนุษย์ธรรมดาดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านได้ทำเป็นตัวอย่างไว้แล้ว
เท่านี้แหละก็เป็นการพอเพียงแบบเพียงพอ
จากหนังสือ เพียงแค่รู้ (ฉบับปรับปรุง) ของ พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ