วันนี้มีไมโครเวฟคนที่ทำงานฝากให้ซ่อมของ Electrolux 2ระบบ ย่างและเวฟได้ อาการคือ ย่างได้แต่เวฟไม่ร้อน
ขั้นตอนการตรวจเช็ค
1.ถอดน็อตยึดฝาครอบออก มีน็อตประมาณ 5ตัว เมื่อถอดออกแล้วก็จะเจอ วงจร หม้อแปลง แมกนีตรอน คาปาซิเตอร์ และฟิวส์
2.อาการนี้ต้องมุ่งไปที่ฟิวส์แมกนีตรอนก่อนเลย ถอดฝาครอบฟิวส์ออก
3.นำฟิวส์ออกมาตรวจเช็ค แต่ว่ามองด้วยตาเปล่าก็รู้ว่ามันขาด
4.หลังจากรู้ว่าฟิวส์ขาด เราก็ต้องมาหาสาเหตุกัน โดยที่อุปกรณ์ตัวแรกที่ต้องเช็คคือ คาปาซิเตอร์ โดยการวัดค่าความจุว่าลดลงไหม
5.เมื่อความจุไม่ลด เราก็ต้องวัดความต้านทานภายในอีกที
6.ความต้านทานปกติ เราก็ไปวัดไดโอด แต่ผมลืมถ้ายรูปไว้ให้ครับ การคือใช้มิเตอร์เข็มตั้งย่าน X10K โดยการวัดที่ขาไดโอดจะขึ้นครั้งไม่ขึ้นครั้ง
เหมือนกับไดโอดทั่วไป เพียงแต่ไดโอดไมโครเวฟมีความต้านทานสูง ถ้าไดโอดปกติก็ไปวัดที่ แมกนีตรอนต่อเลยครับ โดยการวัดที่ขั้วเทียบตัวถัง
ความต้านทานต้องไม่ขึ้น
7.ขั้วแรกไม่ขึ้นก็วัดอีกขั้ว ต้องไม่ขึ้นเหมือนกัน ถ้าวัดแล้วมีความต้านทานแสดงว่าเสีย
8.เมื่อวัดเทียบตัวถังแล้วไม่ขึ้น ก็วัดระหว่างขั้ว ปกติแล้วแมกนีตรอนจะมีค่าความต้านทานน้อยมากๆ คือไม่น่าจะเกิน 10 โอมห์
9.เมื่อเราเช็คอุปกรณ์ที่ฟิวส์ป้องกัน ได้ปกติหมดแล้ว สิ่งที่ต้องตรวจเช็คอีกอย่างคือ ช่องปล่อยคลื่นว่าสกปรกไหม
10.จากที่ได้เห็น มีคราบน้ำมันเกาะแผ่นไมก้าเต็มไปหมด และบริเวณรอบๆช่องปล่อยคลื่น ก็สกปรก
11.ทำความสะอาดช่องปล่อยคลื่น
12.ซื้อแผ่นไมก้ามาตัด
13.วาดแบบตามเดิมแล้วก็ใช้มีดคัตเตอร์ตัด
14.เมื่อตัดแผ่นไมก้าได้แล้วก็ใส่กลับไปที่เดิม ค่อยๆใส่อย่าให้แผ่นไมก้าแตก
15.หลังจากทำทุกอย่างแล้วทีนี้ก็มาลองไฟกัน แต่จะเป็นการลองไฟที่จ่ายให้แมกนีตรอน ไฟนี้จะมีไฟต่ำประมาณ 3-6VAC
16.เมื่อมั่นใจว่าทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็ประกอบฝาครอบหลัง ขันน็อต
ทดสอบการทำงาน ย่างและเวฟ สามารถใช้งานได้ปกติ ^_^
รีวิวซ่อมไมโครเวฟ Electrolux 2ระบบ อาการย่างได้แต่เวฟไม่ร้อน
ขั้นตอนการตรวจเช็ค
1.ถอดน็อตยึดฝาครอบออก มีน็อตประมาณ 5ตัว เมื่อถอดออกแล้วก็จะเจอ วงจร หม้อแปลง แมกนีตรอน คาปาซิเตอร์ และฟิวส์
2.อาการนี้ต้องมุ่งไปที่ฟิวส์แมกนีตรอนก่อนเลย ถอดฝาครอบฟิวส์ออก
3.นำฟิวส์ออกมาตรวจเช็ค แต่ว่ามองด้วยตาเปล่าก็รู้ว่ามันขาด
4.หลังจากรู้ว่าฟิวส์ขาด เราก็ต้องมาหาสาเหตุกัน โดยที่อุปกรณ์ตัวแรกที่ต้องเช็คคือ คาปาซิเตอร์ โดยการวัดค่าความจุว่าลดลงไหม
5.เมื่อความจุไม่ลด เราก็ต้องวัดความต้านทานภายในอีกที
6.ความต้านทานปกติ เราก็ไปวัดไดโอด แต่ผมลืมถ้ายรูปไว้ให้ครับ การคือใช้มิเตอร์เข็มตั้งย่าน X10K โดยการวัดที่ขาไดโอดจะขึ้นครั้งไม่ขึ้นครั้ง
เหมือนกับไดโอดทั่วไป เพียงแต่ไดโอดไมโครเวฟมีความต้านทานสูง ถ้าไดโอดปกติก็ไปวัดที่ แมกนีตรอนต่อเลยครับ โดยการวัดที่ขั้วเทียบตัวถัง
ความต้านทานต้องไม่ขึ้น
7.ขั้วแรกไม่ขึ้นก็วัดอีกขั้ว ต้องไม่ขึ้นเหมือนกัน ถ้าวัดแล้วมีความต้านทานแสดงว่าเสีย
8.เมื่อวัดเทียบตัวถังแล้วไม่ขึ้น ก็วัดระหว่างขั้ว ปกติแล้วแมกนีตรอนจะมีค่าความต้านทานน้อยมากๆ คือไม่น่าจะเกิน 10 โอมห์
9.เมื่อเราเช็คอุปกรณ์ที่ฟิวส์ป้องกัน ได้ปกติหมดแล้ว สิ่งที่ต้องตรวจเช็คอีกอย่างคือ ช่องปล่อยคลื่นว่าสกปรกไหม
10.จากที่ได้เห็น มีคราบน้ำมันเกาะแผ่นไมก้าเต็มไปหมด และบริเวณรอบๆช่องปล่อยคลื่น ก็สกปรก
11.ทำความสะอาดช่องปล่อยคลื่น
12.ซื้อแผ่นไมก้ามาตัด
13.วาดแบบตามเดิมแล้วก็ใช้มีดคัตเตอร์ตัด
14.เมื่อตัดแผ่นไมก้าได้แล้วก็ใส่กลับไปที่เดิม ค่อยๆใส่อย่าให้แผ่นไมก้าแตก
15.หลังจากทำทุกอย่างแล้วทีนี้ก็มาลองไฟกัน แต่จะเป็นการลองไฟที่จ่ายให้แมกนีตรอน ไฟนี้จะมีไฟต่ำประมาณ 3-6VAC
16.เมื่อมั่นใจว่าทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็ประกอบฝาครอบหลัง ขันน็อต
ทดสอบการทำงาน ย่างและเวฟ สามารถใช้งานได้ปกติ ^_^