....12 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์
โปรแกรมมารร้ายที่คอยจ้องเข้ามาคุกคามคอมน้อยแสนรักของเรา
วันนี้จะมาเล่าเรื่องตั้งแต่ต้นกำเนิดจนถึงพัฒนาการปัจจุบันกันครับ
1. มันก็คือโปรแกรมอย่างหนึ่ง
....แม้จะถูกเรียกว่าไวรัส แต่แท้จริงการทำงานของมัน
ก็ไม่ได้ต่างกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั่วไป
แต่มักมีจุดประสงค์ของการทำลายมากกว่า
..และมันต่างจากโปรแกรมปกติคือ
ไวรัสคอมพิวเตอร์มักจะรันการทำงานด้วยตัวเองได้
และเผยแพร่ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ถ้ามีการเชื่อมต่อกับเครื่องโฮสต์
2. ไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวแรก
....ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1982
ริชาร์ด สเครนต้า เด็กชายชาวอเมริกันวัยเพียง 15 ปี
เป็นคนเขียนโค๊ดไวรัสคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรกขึ้น
ในชื่อ "
Elk Cloner" ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวแรก
ที่ระบาดไปในวงกว้างด้วยตัวเอง
3. รูปแบบของไวรัส
...ไวรัสคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ
ทั้ง บูตเซกเตอร์ไวรัส (
boot sector virus) ที่ทำงานระหว่างที่กำลังบูตเครื่อง
ไฟล์ไวรัส (
file virus) ที่ทำงานเมื่อมีการเรียกการทำงานจากไฟล์นั้นๆ
หนอน (
Worm) ที่มีประสิทธิภาพในการทำลายและกระจายตัวสูงที่สุด
และ ม้าโทรจัน (
Trojan) ที่จะมาสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแบบไม่รู้ตัว
4. การจัดการกับมัน
....ไวรัสคอมพิวเตอร์ ระบาดหนักมากในช่วงปี 1980
สุดท้ายบรรดานักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ต้องคิดค้นสิ่งที่จัดการกับไวรัสตัวร้ายให้ได้
ซึ่งนั่นก็คือ แอนตี้ไวรัส (
Antivirus software)
ซึ่งก็เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกนั่นแหละ
แต่ทำมาเพื่อตรวจจับเหล่าไวรัสทั้งหลายหากพบเจอก็จะทำลายทิ้งซะ
5. แอนตี้ไวรัสตัวแรก
....
Fred Cohen คือนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์คนแรก
ที่สร้างซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสขึ้นมาในปี 1984
แต่ก็อย่างที่ทราบ อะไรก็ตามที่ทำในยุคบุกเบิกน้อยคนนักจะประสบความสำเร็จ
Cohen ทำซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส จนถึงแค่ปี 1988
และก็หยุดพัฒนาเพราะมีปัญหาเรื่องโปรแกรมของเขา
ไม่สามารถจัดการกับไวรัสที่เกิดใหม่ทุกวันได้ครอบคลุมทุกตัว
6. ไวรัสในรูปแบบฮาๆ
...ไวรัสคอมพิวเตอร์มีเป็นล้านๆ ตัว ซึ่งก็ไม่ใช่ทั้งหมด
ที่ออกแบบมาเพื่อทำลายข้อมูลในคอมพิวเตอร์คุณอย่างเดียว
มีในรูปแบบฮาๆ อยู่ก็ไม่น้อย อย่างเช่นไวรัสที่ชื่อ Sunday
..
มันจะทำงานเฉพาะในวันอาทิตย์
ซึ่งจุดประสงค์ของมันไม่ใช่ทำลายข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น
แต่มันจะล็อคเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณไม่ให้ใช้
พร้อมทั้งขึ้นข้อความบอกว่า
วันอาทิตย์คุณควรหาอะไรทำนอกบ้านดีกว่ามานั่งหน้าจอ
อืม มันหวังดีนะเนี่ย
7. การระบาดครั้งใหญ่
...ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1988
เกิดการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสร์
เมื่อมีหนอนเครือข่ายชื่อ "Morris"
ระบาดอย่างหนักทำให้คอมพิวเตอร์กว่า 6000 เครื่องในอเมริกา
รวมทั้งใน ศูนย์วิจัยของ
NASA ก็ติดไปด้วย
ส่งผลกระทบให้การปฏิบัติงานหยุดโดยสิ้นเชิง
เนื่องจากไวรัสตัวนี้ก็อบปี้ตัวเองไปยังเครื่องอื่นๆ อย่างไม่จำกัด
การระบาดครั้งนั้นเกิดความเสียหายไปเป็นมูลค่ากว่า 96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
8. เหมือนเกมแมวไล่จับหนู
....แม้ว่าไวรัสจะเกิดใหม่ทุกๆ วัน
แต่ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ก็อัพเดทเพื่อจัดการมันตามไปเช่นกัน
ในยุคปัจจุบันอินเตอร์เน็ตแพร่หลาย
การอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสใหม่ๆ ของซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส
สามารถทำได้ง่าย ซึ่งก็ตอบโต้กันไปมาเหมือนแมวไล่จับหนูอยู่อย่างนี้
9. หรือเป็นเพียงทฤษฎีสมคบคิด?
...เริ่มมีหลายฝ่ายจับประเด็นว่า หรือที่จริงแล้วบริษัทผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสนั้น
อาจจะเป็นผู้ที่ปล่อยไวรัสออกมาเอง
เพราะถ้าไม่มีไวรัสออกมา แอนตี้ไวรัสก็จะขายไม่ได้
และนั่นมันหมายถึงการสูญเสียรายได้ครั้งใหญ่
ดังนั้นคงจะพูดได้ว่าบริษัทผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสนั้น
ต้องการไวรัสตัวใหม่ๆออกมาไม่ขาดสาย
ด้วยเหตุผลทางการค้าก็คงไม่ผิด เรื่องนี้น่าคิดเหมือนกัน
10. ไวรัสในยุคใหม่
....สมัยก่อนนั้นมีเพียงไวรัสที่รันไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเท่านั้น
แต่ในขณะนี้มีอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส์หลายอย่างที่สามารถใช้แทนคอมพิวเตอร์ได้
เช่น Tablet หรือ Smartphone
พวก Hacker ก็ยังตามล้างตามเช็ดเราไม่ลดละ
พยายามคิดไวรัสที่ติดกับอุปกรณ์เหล่านี้ขึ้นมาได้อีก
และนี่เป็นเพียงแค่ขั้นเริ่มต้นเท่านั้น
11. การแข่งขันของวงการแอนตี้ไวรัส
....ปัจจุบันนี้กลายเป็นว่าบริษัทผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส
ก็ผุดขึ้นมาหลายค่ายเป็นดอกเห็ดไม่แพ้ตัวไวรัสคอมพิวเตอร์เองเลย
แม้ว่าจะมีค่ายยักษ์ใหญ่อยู่ 2-3 ค่าย ที่ครองตลาดอยู่ในปัจจุบัน
แต่ถ้าใครเป็นคอ IT คงจะรู้ดีว่ามักมีค่ายใหม่ๆ เปิดตัวมาชิงตลาดไปครองอยู่พักใหญ่ๆ
และก็จะมีค่ายใหม่ๆเปิดขึ้นมาแซงอีก
บางทีบริษัทเหล่านี้คงต้องขอบคุณเหล่า Hacker ผู้สร้างไวรัสขึ้นมา
12. เรื่องตลกของแอนตี้ไวรัส
....อย่างที่ทราบกันว่าซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสนั้นมีเพื่อเอาไว้กำจัดไวรัส
แต่ถ้าใครเคยใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
จะรู้ว่าการลง Crack โปรแกรมต่างๆ เพื่อให้ใช้งานได้นั้น
รูปแบบมันก็ไม่ต่างจากการทำงานของไวรัสสักเท่าไร
และแม้แอนตี้ไวรัสจะสามารถจัดการกับเจ้าไวรัสตัวร้ายได้ดีขนาดไหน
แต่ตัวโปรแกรมเองก็ยังโดน Crack ได้ง่ายๆ ก็แปลกดีเหมือนกัน
ที่มา : Hardcorian
....12 ข้อเท็จจริงของ “ไวรัสคอมพิวเตอร์”
โปรแกรมมารร้ายที่คอยจ้องเข้ามาคุกคามคอมน้อยแสนรักของเรา
วันนี้จะมาเล่าเรื่องตั้งแต่ต้นกำเนิดจนถึงพัฒนาการปัจจุบันกันครับ
1. มันก็คือโปรแกรมอย่างหนึ่ง
....แม้จะถูกเรียกว่าไวรัส แต่แท้จริงการทำงานของมัน
ก็ไม่ได้ต่างกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั่วไป
แต่มักมีจุดประสงค์ของการทำลายมากกว่า
..และมันต่างจากโปรแกรมปกติคือ
ไวรัสคอมพิวเตอร์มักจะรันการทำงานด้วยตัวเองได้
และเผยแพร่ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ถ้ามีการเชื่อมต่อกับเครื่องโฮสต์
2. ไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวแรก
....ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1982
ริชาร์ด สเครนต้า เด็กชายชาวอเมริกันวัยเพียง 15 ปี
เป็นคนเขียนโค๊ดไวรัสคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรกขึ้น
ในชื่อ "Elk Cloner" ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวแรก
ที่ระบาดไปในวงกว้างด้วยตัวเอง
3. รูปแบบของไวรัส
...ไวรัสคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ
ทั้ง บูตเซกเตอร์ไวรัส (boot sector virus) ที่ทำงานระหว่างที่กำลังบูตเครื่อง
ไฟล์ไวรัส (file virus) ที่ทำงานเมื่อมีการเรียกการทำงานจากไฟล์นั้นๆ
หนอน (Worm) ที่มีประสิทธิภาพในการทำลายและกระจายตัวสูงที่สุด
และ ม้าโทรจัน (Trojan) ที่จะมาสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแบบไม่รู้ตัว
4. การจัดการกับมัน
....ไวรัสคอมพิวเตอร์ ระบาดหนักมากในช่วงปี 1980
สุดท้ายบรรดานักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ต้องคิดค้นสิ่งที่จัดการกับไวรัสตัวร้ายให้ได้
ซึ่งนั่นก็คือ แอนตี้ไวรัส (Antivirus software)
ซึ่งก็เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกนั่นแหละ
แต่ทำมาเพื่อตรวจจับเหล่าไวรัสทั้งหลายหากพบเจอก็จะทำลายทิ้งซะ
5. แอนตี้ไวรัสตัวแรก
....Fred Cohen คือนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์คนแรก
ที่สร้างซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสขึ้นมาในปี 1984
แต่ก็อย่างที่ทราบ อะไรก็ตามที่ทำในยุคบุกเบิกน้อยคนนักจะประสบความสำเร็จ
Cohen ทำซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส จนถึงแค่ปี 1988
และก็หยุดพัฒนาเพราะมีปัญหาเรื่องโปรแกรมของเขา
ไม่สามารถจัดการกับไวรัสที่เกิดใหม่ทุกวันได้ครอบคลุมทุกตัว
6. ไวรัสในรูปแบบฮาๆ
...ไวรัสคอมพิวเตอร์มีเป็นล้านๆ ตัว ซึ่งก็ไม่ใช่ทั้งหมด
ที่ออกแบบมาเพื่อทำลายข้อมูลในคอมพิวเตอร์คุณอย่างเดียว
มีในรูปแบบฮาๆ อยู่ก็ไม่น้อย อย่างเช่นไวรัสที่ชื่อ Sunday
..มันจะทำงานเฉพาะในวันอาทิตย์
ซึ่งจุดประสงค์ของมันไม่ใช่ทำลายข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น
แต่มันจะล็อคเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณไม่ให้ใช้
พร้อมทั้งขึ้นข้อความบอกว่า
วันอาทิตย์คุณควรหาอะไรทำนอกบ้านดีกว่ามานั่งหน้าจอ
อืม มันหวังดีนะเนี่ย
7. การระบาดครั้งใหญ่
...ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1988
เกิดการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสร์
เมื่อมีหนอนเครือข่ายชื่อ "Morris"
ระบาดอย่างหนักทำให้คอมพิวเตอร์กว่า 6000 เครื่องในอเมริกา
รวมทั้งใน ศูนย์วิจัยของ NASA ก็ติดไปด้วย
ส่งผลกระทบให้การปฏิบัติงานหยุดโดยสิ้นเชิง
เนื่องจากไวรัสตัวนี้ก็อบปี้ตัวเองไปยังเครื่องอื่นๆ อย่างไม่จำกัด
การระบาดครั้งนั้นเกิดความเสียหายไปเป็นมูลค่ากว่า 96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
8. เหมือนเกมแมวไล่จับหนู
....แม้ว่าไวรัสจะเกิดใหม่ทุกๆ วัน
แต่ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ก็อัพเดทเพื่อจัดการมันตามไปเช่นกัน
ในยุคปัจจุบันอินเตอร์เน็ตแพร่หลาย
การอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสใหม่ๆ ของซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส
สามารถทำได้ง่าย ซึ่งก็ตอบโต้กันไปมาเหมือนแมวไล่จับหนูอยู่อย่างนี้
9. หรือเป็นเพียงทฤษฎีสมคบคิด?
...เริ่มมีหลายฝ่ายจับประเด็นว่า หรือที่จริงแล้วบริษัทผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสนั้น
อาจจะเป็นผู้ที่ปล่อยไวรัสออกมาเอง
เพราะถ้าไม่มีไวรัสออกมา แอนตี้ไวรัสก็จะขายไม่ได้
และนั่นมันหมายถึงการสูญเสียรายได้ครั้งใหญ่
ดังนั้นคงจะพูดได้ว่าบริษัทผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสนั้น
ต้องการไวรัสตัวใหม่ๆออกมาไม่ขาดสาย
ด้วยเหตุผลทางการค้าก็คงไม่ผิด เรื่องนี้น่าคิดเหมือนกัน
10. ไวรัสในยุคใหม่
....สมัยก่อนนั้นมีเพียงไวรัสที่รันไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเท่านั้น
แต่ในขณะนี้มีอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส์หลายอย่างที่สามารถใช้แทนคอมพิวเตอร์ได้
เช่น Tablet หรือ Smartphone
พวก Hacker ก็ยังตามล้างตามเช็ดเราไม่ลดละ
พยายามคิดไวรัสที่ติดกับอุปกรณ์เหล่านี้ขึ้นมาได้อีก
และนี่เป็นเพียงแค่ขั้นเริ่มต้นเท่านั้น
11. การแข่งขันของวงการแอนตี้ไวรัส
....ปัจจุบันนี้กลายเป็นว่าบริษัทผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส
ก็ผุดขึ้นมาหลายค่ายเป็นดอกเห็ดไม่แพ้ตัวไวรัสคอมพิวเตอร์เองเลย
แม้ว่าจะมีค่ายยักษ์ใหญ่อยู่ 2-3 ค่าย ที่ครองตลาดอยู่ในปัจจุบัน
แต่ถ้าใครเป็นคอ IT คงจะรู้ดีว่ามักมีค่ายใหม่ๆ เปิดตัวมาชิงตลาดไปครองอยู่พักใหญ่ๆ
และก็จะมีค่ายใหม่ๆเปิดขึ้นมาแซงอีก
บางทีบริษัทเหล่านี้คงต้องขอบคุณเหล่า Hacker ผู้สร้างไวรัสขึ้นมา
12. เรื่องตลกของแอนตี้ไวรัส
....อย่างที่ทราบกันว่าซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสนั้นมีเพื่อเอาไว้กำจัดไวรัส
แต่ถ้าใครเคยใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
จะรู้ว่าการลง Crack โปรแกรมต่างๆ เพื่อให้ใช้งานได้นั้น
รูปแบบมันก็ไม่ต่างจากการทำงานของไวรัสสักเท่าไร
และแม้แอนตี้ไวรัสจะสามารถจัดการกับเจ้าไวรัสตัวร้ายได้ดีขนาดไหน
แต่ตัวโปรแกรมเองก็ยังโดน Crack ได้ง่ายๆ ก็แปลกดีเหมือนกัน
ที่มา : Hardcorian