วันนี้อยากจะพูดถึงศิลปินที่ผมประทับใจคนนึงครับ
ผมชื่นชอบ บทเพลง และมุมมองในการเสนอของ ศิลปินท่านนี้มากพอสมควร
แม้จะไม่ได้รู้เรื่องของศิลปินท่านนี้มาก จนเอามาเขียนกะทู้ได้ดีนัก
และยังเป็นเพียง นักฟัง ที่ตั้งใจ แต่ไม่มีความรู้ด้านดนตรี แนวเพลง ทำนองสักเท่าไหร่
แต่จาก เหตุการณ์ ที่ผมพบเจอเมื่อวานก่อน ทำให้ผมอยากเขียนกะทู้นี้ครับ
ในมุมมองของผมเอง ผมมองว่า
การพัฒนาตัวเองให้เป็นศิลปิน ที่ได้รับการยอมรับ ด้วยผลงาน
นั้นต้องมาจากฝีมือ ที่น้อยคนมากๆ จะได้มาจากพรสวรรค์ตั้งแต่เกิด
ส่วนศิลปินคนอื่นๆ มักมาจาก การสั่งสมประสพการณ์ทางดนตรี
ไม่ว่าร้อง เล่น แต่งเพลง เขียนเนื้อร้อง
ซึ่งในสังคมไทยเรา แบ่ง เป็น 2 ประเภท หลักๆ คือ ศิลปิน และนักร้อง
ซึ่งในช่วงหลังๆ จึงเริ่มแตกหน่อเป็น ศิลปิน, ดารา-นักร้อง, นักร้องนักดนตรี
คำจำกัดความ ของ ดารา-นักร้อง เช่น ดาราที่มีชื่อเสียง จากการแสดง แล้วผันตัวมาเป็นนักร้อง ชั่วคราวเช่น
เพลงประกอบละคร, ต้องร้องในคอนเสริต์เฉพาะกิจ อาทิ เจมส์จิ ณเดช มาริโอ้ เป็นต้น
คำจำกัดความ ของนักร้อง คือ คนที่มีความสามารถเรื่องเสียงร้อง โดยส่วนมาก มักจะร้องอย่างเดียว
อาจมีส่วนร่วมในการเขียนเพลง หรือ การแสดงท่าทาง ท่าเต้นด้วย แต่มักเอาดีทางการใช้เสียงร้องเป็นหลัก
อาทิ ทาทายัง, เบิร์ดธงไชย, มอส, เป็นต้น
คำจำกัดความของ ศิลปิน คือ คน หรือ กลุ่มคน ที่สามารถสร้างสรรค์งานทางดนตรี ได้ทั้งเล่นเอง ร้องเอง แต่งเพลงเอง
หรือบางทีอาจไม่มี นักร้อง แต่ก็สามารถทำเพลงโดยใช้เพียงเครื่องดนตรีและจังหวะได้เช่นกัน
ศิลปิน ในส่วนนี้มีทั้งแบบ วง และ เดี่ยว แบบวงมักจะ มีความถนัดคนละส่วน
เช่น เล่นกีต้าร์ได้ดีและแต่งเพลงได้ คนในวงก็จะถนัดไปคนละอย่าง หรือไม่ก็มีการนำความคิดมารวมกัน
หรืออาจนำเนื้อเพลงที่คนอื่นแต่ง มาเรียบเรียงในทำนองของตน จนเป็นเพลงเพระา เพลงฮิตขึ้นมาได้
แล้วออกเป็นเพลงซิงเกิ้ล หรืออัลบั้ม เช่น บอดี้ สแลม, เก็ตซูโนว่า, สมายบัฟฟาโล่, พรู, ไทเทเนียม เป็นต้น
ศิลปินเดี่ยว ในส่วนของคำจำกัดความของศิลปินเดี่ยว คือ เป็นนักร้อง หรือนักดนตรีที่มีความสามารถสูง
สามารถ สร้างสรรค์งานเพลง ได้จากความสามารถ ประสพการณ์ และ ความรู้สึกของตัวเอง
โดยส่วนใหญ่ หากศิลปินเดี่ยว เป็นผู้แต่งเพลงเองด้วย เพลงมักมีความเป็นเอกลักษณ์ และสะท้อนมุมมอง ตัวตน
นิสัย ฯลฯ ออกมากับเพลง หรือดนตรี
ศิลปินเดี่ยวที่ได้รับการยอมรับ มักมีผลงานที่ได้รับความนิยม อาจเป็นแบบวงกว้าง
สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม อาทิ
ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์, บอย โกสิยพงษ์, สแตมป์ เป็นต้น
หรือ อาจเจาะกลุ่มเป้าหมาย เฉพาะทาง เฉพาะแนว เช่น โจอี้บอย, เดอะมัส, กอล์ฟ ฟัคกิ้งฮีโร่
เกริ่น มาเสียยาว วันนี้ผมอยากพูดถึง ศิลปินคนนึงครับ
คุณอภิชัย ตระกูลเผด็จไกร
หรือ พี่เล็ก greasy cafe
มารู้จักกับพี่เล็กกันก่อนครับ
พี่เล็ก อภิชัย เกิดที่ย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ ในครอบครัวเย็บหมวกกีฬาที่มีพ่อและแม่เป็นชาวจีนแท้ๆ เรียนชั้นประถมศึกษากับโรงเรียนประสาทวุฒิ ซึ่งเป็นโรงเรียนภาษาไทยและจีน เรียนต่อมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเพชรรัตน์ และจบศึกการศึกษาระดับปวช. ที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป จากนั้นได้มีโอกาสไปเรียนภาษา เรียนถ่ายภาพที่ประเทศอังกฤษ และใช้เวลาอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 4 ปี
โดยระหว่างเรียนได้ไปเป็นมือกีตาร์ให้กับวง The Light กับเพื่อนนักดนตรีชาวอังกฤษ มีโอกาสได้แสดงโชว์ตามเมืองต่างๆเป็นระยะเวลาหนึ่ง เมื่อกลับมาเมืองไทยก็เอาดีกับอาชีพช่างภาพนิตยสาร และช่างภาพนิ่งภาพยนตร์ให้กับภาพยนตร์ทั้งไทยและนอก อาทิ จันดารา มนต์รักทรานซิสเตอร์ เดอะเลตเตอร์ โอเค เบตง อารมณ์ อาถรรพ์ อาฆาต ปืนใหญ่จอมสลัด องค์บาก 2 ฯลฯ
ในปีพ.ศ. 2544 ได้เริ่มทำงานเพลงกับค่ายสมอลล์รูมโดยได้แต่งเนื้อร้อง ทำนองเองทั้งหมด ในอัลบั้ม Smallroom 001
อัลบั้มรวมเพลงเปิดตัวของค่ายสมอลล์รูม เริ่มต้นเป็นที่รู้จักจากผลงานเพลง "หา (Quest?)" ในอัลบั้มนั้น ก่อนจะกลับมาอีกครั้งกับซิงเกิล "พบ (Pop)" ในอัลบั้ม Smallroom 002 (พ.ศ. 2544)
หลังจากนั้นต่อมาได้ร่วมงานในโปรเจกต์ "สนามหลวงคอนเนคส์" สังกัด สนามหลวง
ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยนำเพลง "เธอรู้รึเปล่า" ของ ใหม่ เจริญปุระ มาเรียบเรียงใหม่
ในปีพ.ศ. 2551 Greasy Cafe ได้ออกอัลบั้มเต็มชุดแรก "สิ่งเหล่านี้" สังกัด สมอลล์รูม ในปีพ.ศ. 2551
เป็นงานเพลงที่มีความแตกต่าง นำเสนอเรื่องราวความรัก มุมมองชีวิต มีความหมายลุ่มลึก ภาษาสวยงาม และเป็นงานเพลงที่ฟังค่อนข้างยากสำหรับใครหลายๆคน เพราะไม่ใช่ตามกระแสตลาดนิยม แต่ "สิ่งเหล่านี้" ก็สามารถคว้ารางวัลทางดนตรีมาการันตีในคุณภาพ
ซึ่งได้เสนอชื่อเข้าชิง และได้รางวัลมากมาย อาทิ ศิลปินชายยอดเยี่ยม เพลงยอดเยี่ยมแห่งปี ฯลฯ
โดยเพลงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือเพลง "สิ่งเหล่านี้" เพลงที่มีการตีความเนื้อหา "พรหมลิขิต" ได้สวนทาง เกือบทุกบทเพลงในแนวนี้
"สิ่งเหล่านี้"
เพลงที่ผมชอบที่สุด เพลงนึงในอัลบั้มนี้คือ
เพลง "ฝืน"
(มิวสิคไม่มีนะครับ อันนี้เป็น แบบไม่เป็นทางการ จากผลงานของ นักษึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร)
และ เพลงที่น่าจะมันส์ที่สุดในอัลบั้ม ทั้งตัวเพลง เนื้อเพลง และ การเล่นมิวสิคเอง รับทุกบทบาททั้งร้องนำ คอรัส เล่นดนตรีเองทุกอย่าง
"ความบังเอิญ"
หลังจากกระแสตอบรับเป็นอย่างดีอภิชัยได้ออกอัลบั้มที่ 2 ในปีถัดไปชื่อ "ทิศทาง"
ซึ่งยังคงแนว บริทป๊อบ อัลเทเนทีฟ ไว้
มีเพลง ที่น่าสนใจ อาทิ
"สูญ"
"ทิศทาง" เพลงที่ ใช้ฝีมือถ่ายภาพ มาทำมิวสิค บอกเล่าเรื่องราวประกอบเพลงได้ ยอดเยี่ยมมาก
และอัลบั้มที่ 3 ในปีพ.ศ. 2555 ชื่อ "The Journey without Maps"
Greasy Cafe ทิ้งช่วงไปราว 3 ปี จากอัลบั้มที่ 2 ครั้นพอถึงปี 2555 พี่เล็กกลับมาอีกครั้งกับผลงานชุด
“The Journey Without Maps” ที่การเดินทางครั้งนี้จะไร้แผนที่ แต่ว่าจุดหมายและทิศทางของเขายังคงชัดเจน
งานเพลงชุดนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ เล็ก อภิชัย รู้สึกตัน คิดอะไรไม่ออก เขาจึงตัดสินใจเดินทางไปอังกฤษ ดินแดนที่เคยมาใช้ชีวิต
ร่ำเรียนหนังสือ และก่อตั้งวงดนตรี อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
พี่เล็กเดินทางไปอังกฤษแบบไม่ได้คาดหวังใดๆ เพราะคิดว่าบางทีอาจกลับมามือเปล่า แต่สุดท้ายเขากลับมาพร้อมกับงานเขียนและอัลบั้มชุดล่าสุด
The Journey Without Maps
ปกหน้า อัลบั้ม The Journey Without Maps
ปกหลัง อัลบั้ม The Journey Without Maps
ในอัลบั้มนี้ มีเพลง "ประโยคบอกเล่า" ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด เนื่องจากเป็นเพลงประกอบภาพยนต์ "ชัมบาล่า"
และถูกรวมอยู่ในอัลบั้ม ในภายหลัง
"ประโยคบอกเล่า"
"ร่องน้ำตา" Feat. ญารินดา บุนนาค
และ เพลง "ป่าสนในห้องหมายเลข 1" ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนต์ "แต่เพียงผู้เดียว" และได้รับการมารวมในอัลบั้ม เช่นกัน
นอกจากนี้อภิชัยยังได้มีโอกาสกลับไปเดินทางสายภาพยนตร์ แต่ในฐานะนักแสดงนำ และนักแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ให้กับภาพยนตร์เรื่อง
"แต่เพียงผู้เดียว" กำกับโดย คงเดช จาตุรันต์รัศมี (ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง สยิว เฉิ่ม ฯลฯ)
ซึ่งได้เสนอชื่อเข้าชิงและได้รับรางวัลมากมาย อาทิ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ในปี 2556 ยังได้เล่นภาพยนตร์โทรทัศน์ ฉายทางโมเดิร์นไนน์ทีวี เรื่อง Sorry และ ตามด้วย บทช่างภาพประจำโรงเรียน
ในหนังไร้แก่นสาร Mary is happy, Mary is happy (ผมนั่งดูจบเพราะจะรอดูพี่เล็กออกฉาก จริงๆ)
มีต่อด้านล่างครับ
กว่าจะมาเป็น "ศิลปิน" บนเส้นทางดนตรี ของ "เล็ก" greasy cafe
ผมชื่นชอบ บทเพลง และมุมมองในการเสนอของ ศิลปินท่านนี้มากพอสมควร
แม้จะไม่ได้รู้เรื่องของศิลปินท่านนี้มาก จนเอามาเขียนกะทู้ได้ดีนัก
และยังเป็นเพียง นักฟัง ที่ตั้งใจ แต่ไม่มีความรู้ด้านดนตรี แนวเพลง ทำนองสักเท่าไหร่
แต่จาก เหตุการณ์ ที่ผมพบเจอเมื่อวานก่อน ทำให้ผมอยากเขียนกะทู้นี้ครับ
ในมุมมองของผมเอง ผมมองว่า
การพัฒนาตัวเองให้เป็นศิลปิน ที่ได้รับการยอมรับ ด้วยผลงาน
นั้นต้องมาจากฝีมือ ที่น้อยคนมากๆ จะได้มาจากพรสวรรค์ตั้งแต่เกิด
ส่วนศิลปินคนอื่นๆ มักมาจาก การสั่งสมประสพการณ์ทางดนตรี
ไม่ว่าร้อง เล่น แต่งเพลง เขียนเนื้อร้อง
ซึ่งในสังคมไทยเรา แบ่ง เป็น 2 ประเภท หลักๆ คือ ศิลปิน และนักร้อง
ซึ่งในช่วงหลังๆ จึงเริ่มแตกหน่อเป็น ศิลปิน, ดารา-นักร้อง, นักร้องนักดนตรี
คำจำกัดความ ของ ดารา-นักร้อง เช่น ดาราที่มีชื่อเสียง จากการแสดง แล้วผันตัวมาเป็นนักร้อง ชั่วคราวเช่น
เพลงประกอบละคร, ต้องร้องในคอนเสริต์เฉพาะกิจ อาทิ เจมส์จิ ณเดช มาริโอ้ เป็นต้น
คำจำกัดความ ของนักร้อง คือ คนที่มีความสามารถเรื่องเสียงร้อง โดยส่วนมาก มักจะร้องอย่างเดียว
อาจมีส่วนร่วมในการเขียนเพลง หรือ การแสดงท่าทาง ท่าเต้นด้วย แต่มักเอาดีทางการใช้เสียงร้องเป็นหลัก
อาทิ ทาทายัง, เบิร์ดธงไชย, มอส, เป็นต้น
คำจำกัดความของ ศิลปิน คือ คน หรือ กลุ่มคน ที่สามารถสร้างสรรค์งานทางดนตรี ได้ทั้งเล่นเอง ร้องเอง แต่งเพลงเอง
หรือบางทีอาจไม่มี นักร้อง แต่ก็สามารถทำเพลงโดยใช้เพียงเครื่องดนตรีและจังหวะได้เช่นกัน
ศิลปิน ในส่วนนี้มีทั้งแบบ วง และ เดี่ยว แบบวงมักจะ มีความถนัดคนละส่วน
เช่น เล่นกีต้าร์ได้ดีและแต่งเพลงได้ คนในวงก็จะถนัดไปคนละอย่าง หรือไม่ก็มีการนำความคิดมารวมกัน
หรืออาจนำเนื้อเพลงที่คนอื่นแต่ง มาเรียบเรียงในทำนองของตน จนเป็นเพลงเพระา เพลงฮิตขึ้นมาได้
แล้วออกเป็นเพลงซิงเกิ้ล หรืออัลบั้ม เช่น บอดี้ สแลม, เก็ตซูโนว่า, สมายบัฟฟาโล่, พรู, ไทเทเนียม เป็นต้น
ศิลปินเดี่ยว ในส่วนของคำจำกัดความของศิลปินเดี่ยว คือ เป็นนักร้อง หรือนักดนตรีที่มีความสามารถสูง
สามารถ สร้างสรรค์งานเพลง ได้จากความสามารถ ประสพการณ์ และ ความรู้สึกของตัวเอง
โดยส่วนใหญ่ หากศิลปินเดี่ยว เป็นผู้แต่งเพลงเองด้วย เพลงมักมีความเป็นเอกลักษณ์ และสะท้อนมุมมอง ตัวตน
นิสัย ฯลฯ ออกมากับเพลง หรือดนตรี
ศิลปินเดี่ยวที่ได้รับการยอมรับ มักมีผลงานที่ได้รับความนิยม อาจเป็นแบบวงกว้าง
สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม อาทิ
ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์, บอย โกสิยพงษ์, สแตมป์ เป็นต้น
หรือ อาจเจาะกลุ่มเป้าหมาย เฉพาะทาง เฉพาะแนว เช่น โจอี้บอย, เดอะมัส, กอล์ฟ ฟัคกิ้งฮีโร่
เกริ่น มาเสียยาว วันนี้ผมอยากพูดถึง ศิลปินคนนึงครับ
คุณอภิชัย ตระกูลเผด็จไกร
หรือ พี่เล็ก greasy cafe
มารู้จักกับพี่เล็กกันก่อนครับ
พี่เล็ก อภิชัย เกิดที่ย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ ในครอบครัวเย็บหมวกกีฬาที่มีพ่อและแม่เป็นชาวจีนแท้ๆ เรียนชั้นประถมศึกษากับโรงเรียนประสาทวุฒิ ซึ่งเป็นโรงเรียนภาษาไทยและจีน เรียนต่อมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเพชรรัตน์ และจบศึกการศึกษาระดับปวช. ที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป จากนั้นได้มีโอกาสไปเรียนภาษา เรียนถ่ายภาพที่ประเทศอังกฤษ และใช้เวลาอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 4 ปี
โดยระหว่างเรียนได้ไปเป็นมือกีตาร์ให้กับวง The Light กับเพื่อนนักดนตรีชาวอังกฤษ มีโอกาสได้แสดงโชว์ตามเมืองต่างๆเป็นระยะเวลาหนึ่ง เมื่อกลับมาเมืองไทยก็เอาดีกับอาชีพช่างภาพนิตยสาร และช่างภาพนิ่งภาพยนตร์ให้กับภาพยนตร์ทั้งไทยและนอก อาทิ จันดารา มนต์รักทรานซิสเตอร์ เดอะเลตเตอร์ โอเค เบตง อารมณ์ อาถรรพ์ อาฆาต ปืนใหญ่จอมสลัด องค์บาก 2 ฯลฯ
ในปีพ.ศ. 2544 ได้เริ่มทำงานเพลงกับค่ายสมอลล์รูมโดยได้แต่งเนื้อร้อง ทำนองเองทั้งหมด ในอัลบั้ม Smallroom 001
อัลบั้มรวมเพลงเปิดตัวของค่ายสมอลล์รูม เริ่มต้นเป็นที่รู้จักจากผลงานเพลง "หา (Quest?)" ในอัลบั้มนั้น ก่อนจะกลับมาอีกครั้งกับซิงเกิล "พบ (Pop)" ในอัลบั้ม Smallroom 002 (พ.ศ. 2544)
หลังจากนั้นต่อมาได้ร่วมงานในโปรเจกต์ "สนามหลวงคอนเนคส์" สังกัด สนามหลวง
ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยนำเพลง "เธอรู้รึเปล่า" ของ ใหม่ เจริญปุระ มาเรียบเรียงใหม่
ในปีพ.ศ. 2551 Greasy Cafe ได้ออกอัลบั้มเต็มชุดแรก "สิ่งเหล่านี้" สังกัด สมอลล์รูม ในปีพ.ศ. 2551
เป็นงานเพลงที่มีความแตกต่าง นำเสนอเรื่องราวความรัก มุมมองชีวิต มีความหมายลุ่มลึก ภาษาสวยงาม และเป็นงานเพลงที่ฟังค่อนข้างยากสำหรับใครหลายๆคน เพราะไม่ใช่ตามกระแสตลาดนิยม แต่ "สิ่งเหล่านี้" ก็สามารถคว้ารางวัลทางดนตรีมาการันตีในคุณภาพ
ซึ่งได้เสนอชื่อเข้าชิง และได้รางวัลมากมาย อาทิ ศิลปินชายยอดเยี่ยม เพลงยอดเยี่ยมแห่งปี ฯลฯ
โดยเพลงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือเพลง "สิ่งเหล่านี้" เพลงที่มีการตีความเนื้อหา "พรหมลิขิต" ได้สวนทาง เกือบทุกบทเพลงในแนวนี้
"สิ่งเหล่านี้"
เพลงที่ผมชอบที่สุด เพลงนึงในอัลบั้มนี้คือ
เพลง "ฝืน"
(มิวสิคไม่มีนะครับ อันนี้เป็น แบบไม่เป็นทางการ จากผลงานของ นักษึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร)
และ เพลงที่น่าจะมันส์ที่สุดในอัลบั้ม ทั้งตัวเพลง เนื้อเพลง และ การเล่นมิวสิคเอง รับทุกบทบาททั้งร้องนำ คอรัส เล่นดนตรีเองทุกอย่าง
"ความบังเอิญ"
หลังจากกระแสตอบรับเป็นอย่างดีอภิชัยได้ออกอัลบั้มที่ 2 ในปีถัดไปชื่อ "ทิศทาง"
ซึ่งยังคงแนว บริทป๊อบ อัลเทเนทีฟ ไว้
มีเพลง ที่น่าสนใจ อาทิ
"สูญ"
"ทิศทาง" เพลงที่ ใช้ฝีมือถ่ายภาพ มาทำมิวสิค บอกเล่าเรื่องราวประกอบเพลงได้ ยอดเยี่ยมมาก
และอัลบั้มที่ 3 ในปีพ.ศ. 2555 ชื่อ "The Journey without Maps"
Greasy Cafe ทิ้งช่วงไปราว 3 ปี จากอัลบั้มที่ 2 ครั้นพอถึงปี 2555 พี่เล็กกลับมาอีกครั้งกับผลงานชุด
“The Journey Without Maps” ที่การเดินทางครั้งนี้จะไร้แผนที่ แต่ว่าจุดหมายและทิศทางของเขายังคงชัดเจน
งานเพลงชุดนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ เล็ก อภิชัย รู้สึกตัน คิดอะไรไม่ออก เขาจึงตัดสินใจเดินทางไปอังกฤษ ดินแดนที่เคยมาใช้ชีวิต
ร่ำเรียนหนังสือ และก่อตั้งวงดนตรี อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
พี่เล็กเดินทางไปอังกฤษแบบไม่ได้คาดหวังใดๆ เพราะคิดว่าบางทีอาจกลับมามือเปล่า แต่สุดท้ายเขากลับมาพร้อมกับงานเขียนและอัลบั้มชุดล่าสุด
The Journey Without Maps
ปกหน้า อัลบั้ม The Journey Without Maps
ปกหลัง อัลบั้ม The Journey Without Maps
ในอัลบั้มนี้ มีเพลง "ประโยคบอกเล่า" ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด เนื่องจากเป็นเพลงประกอบภาพยนต์ "ชัมบาล่า"
และถูกรวมอยู่ในอัลบั้ม ในภายหลัง
"ประโยคบอกเล่า"
"ร่องน้ำตา" Feat. ญารินดา บุนนาค
และ เพลง "ป่าสนในห้องหมายเลข 1" ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนต์ "แต่เพียงผู้เดียว" และได้รับการมารวมในอัลบั้ม เช่นกัน
นอกจากนี้อภิชัยยังได้มีโอกาสกลับไปเดินทางสายภาพยนตร์ แต่ในฐานะนักแสดงนำ และนักแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ให้กับภาพยนตร์เรื่อง
"แต่เพียงผู้เดียว" กำกับโดย คงเดช จาตุรันต์รัศมี (ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง สยิว เฉิ่ม ฯลฯ)
ซึ่งได้เสนอชื่อเข้าชิงและได้รับรางวัลมากมาย อาทิ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ในปี 2556 ยังได้เล่นภาพยนตร์โทรทัศน์ ฉายทางโมเดิร์นไนน์ทีวี เรื่อง Sorry และ ตามด้วย บทช่างภาพประจำโรงเรียน
ในหนังไร้แก่นสาร Mary is happy, Mary is happy (ผมนั่งดูจบเพราะจะรอดูพี่เล็กออกฉาก จริงๆ)
มีต่อด้านล่างครับ