"ความไม่มีหนี้คือลาภอันประเสริฐ"
ตั้งกระทู้อันนี้ขึ้นมาเพื่อแชร์ประสบการณ์การเก็บเงินและการบริหารการเงินส่วนบุคคลครับ ออกตัวไว้ก่อนว่าไม่ได้เปน expert อะไร และก้อไม่ได้มีปริญญง ปริญญาทางด้านการเงินด้วย แต่ทั้งหมดที่จะมาแชร์นี้คือประสบการณ์ที่เจอมาโดยตรง หวังแค่จะเอามาแชร์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยเฉพาะกับเด็กๆรุ่นใหม่ วัยที่เริ่มหรือกำลังจะเริ่มทำงานในสายวิชาชีพของตนครับ ยาวหน่อยนึง และถ้าตกหล่นอะไรกรุณาบอกด้วยครับ
ผมอายุ 32 แล้วครับ ทำงานมาได้สิบเอ็ดปีและ เรียนจบแล้วก้อทำงานเลยครับ เหตุผลที่รีบทำงานก้อเพราะอยากมีเงินเยอะๆนี่แหละ โชคดีที่ได้ทำงานในสายงานที่ชอบ เราถนัด และผลตอบแทนดี
ความรู้สึกตอนที่เริ่มทำงานคือเราประสบความสำเร็จแล้ว (ทั้งๆที่ความจริงเพิ่งเริ่มเอง คิดย้อนกลับไปก้อขำดี) หาเงินได้เอง แล้วตอนนั้นก้อคิดว่าเงินมากด้วย (เริ่มสตาร์ทเดือนละสามหมื่นกว่า ไม่เคยได้เงินมากแบบนี้มาก่อนเลยคิดว่ามาก) ไอ้ความคิดว่าเราประสบความสำเร็จนี่แหละ ทำให้เราเกิดความคิดว่าต้องมีและทำในสิ่งที่เราคิดว่าคนที่ประสบความสำเร็จเค้าทำกัน กิน เที่ยว ปาร์ตี้ ไปเที่ยวต่างประเทศ ซื้อคอนโด (ตอนนั้นกู้ในชื่อพ่อแม่ แม่ผมดาวน์ให้) ซื้อรถ (ดาวน์น้อยผ่อนนาน)
เงินที่เราว่าได้เยอะนี่ไม่รู้เหมือนกันทำไมเดือนชนเดือนทุกที
สิ่งที่คนที่เพิ่งเริ่มทำงานจะเจออีกอย่างคือบัตรเครดิตครับ ยิ่งเมื่อสิบปีก่อนนี่เรื่องยอดเงินไม่ได้เคร่งครัดเลย เวลาแต่ละธนาคารออกบัตรก้อจะให้ยอดเต็มที่ที่คิดว่าเราจะมีปัญญาจ่ายได้ แต่ว่าเราขอได้หลายที่หลายธนาคารไงครับ ยอดรวมทุกบัตรรวมกันมันเลยเกินความสามารถในการใช้หนี้เราไปเยอะ ตอนนั้นผมมีบัตรเครดิตเกือบสิบใบเลย สมัครไปโดยความคิดที่ว่ามันมีโปรโมชั่นได้ของแถม (กระเป๋าโลโก้ธนาคาร ร่มกอล์ฟ เครื่องปั่น - สรุปคือเอามาเปนขยะกองไว้ที่บ้านทั้งนั้น) และเราจะไม่ใช้บัตรไม่เป็นหนี้ ตอนนั้นคิดว่าบัตรทอง บัตรแพลตตินั่มนี่เจ๋งโคดๆ เปนสัญลักษ์แสดงฐานะอย่างหนึ่ง (แต่ความจริงแล้วบัตรเครดิตมันก้อเปนธุรกิจแสวงหากำไรชนิดหนึ่งนั่นแหละครับ สุดท้ายแล้วราคาของไอ้พวกอภิสิทธิ์ต่างๆ แต้มสะสม และของที่ให้แลกต่างๆ มันก้อโดนผลักดันกลับมาให้ผู้บริโภคในรูปของค่าบริการหรือดอกเบี้ยนั่นแหละ)
บัตรที่มีหลายใบที่สมัครมาเพื่อเอาของแถม สุดท้ายก้อเผลอใจใช้จนได้ บัตรพวกนี้มีวิธีการทำการตลาดมากมายครับ เช่น สะสมแต้มแลกของ (แลกขยะ) ส่วนลดซื้อของ สะสมแลกไมล์ (ที่แลกตั๋วหรือแลกโรงแรมดีๆไม่ค่อยจะได้) แลกของที่ระลึกธนาคาร (ต้องจ่ายดอกเค้าแล้วยังช่วยโฆษนาให้เค้าอีก) หรือใช้เพียงแค่ให้มียอดในบัตรเพื่อที่จะไม่ต้องเสียค่าบริการรายปี (มีหนี้เพื่อที่จะได้เปนหนี้ต่อ) แล้วที่สำคัญมากๆคือการใช้บัตรเครดิตนี่ความรู้สึกมันต่างจากการใช้เงินสดเยอะครับ ใช้บัตรแล้วมันไม่มีความรู้สึก เสียดาย หรือ สำนึกผิด มันเลยทำให้เราใช้จ่ายเยอะกว่าเมื่อเทียบกับใช้เงินสด
แต่ข้อดีที่บัตรเครดิตให้กับผมคือมันทำให้เกิดจุดเปลี่ยนครับ
ทำงานมาได้สามปี ตอนนั้นใช้บัตรเครดิตอยู่ห้าหกใบ บางเดือนโดนค่าปรับจ่ายช้า (มีมากเกินบริหารไม่ไหว) มันแย่จนถึงจุดที่ว่าเดือนนึงหลังจากจ่ายค่าผ่อนคอนโด ผ่อนรถ จ่ายหนี้บัตรเครดิต "ขันต่ำ" แล้วเหลือเงินใช้ไม่ถึงหมื่น บัตรที่ลืมจ่าย จ่ายช้าก้อโดนโทรมาทวง (บวกกับต้องจ่ายค่าโทรทวงสามร้อยบาท) และอย่าลืมว่าที่จ่ายบัตรเครดิตไปมันก้อเปนแค่ "ขันต่ำ" ยังมีก้อนหนี้เหลืออยู่อีกที่ต้องจ่ายดอกอยู่ทุกเดือน
เลยเริ่มมาคิดว่าไม่ใช่และ ตรากตรำทำงานมาตั้งนาน หน้าที่การงานก้อก้าวหน้าดี เงินเดือนก้อขึ้นมาตั้งหลายหมื่น แล้วทำไมเราถึงกลายเปนติดลบแบบนี้
ผมเลยตั้งปณิฐานกับตัวเองครับ คิดใหม่ทำใหม่ ต้องเอาตัวเราเองออกจากวัฎจักรหนี้ให้ได้ เพราะตัวเราเปนคนเดินเข้ามาเอง
หลังจากที่ผมตัดสินใจจะออกจากวัฎจักรหนี้ สิ่งที่ทำอย่างแรกคือเริ่มทำบัญชีค่าใช้จ่ายครับ สมัยก่อนไม่มีสมาร์ทโฟนใช้ก้อใช้จดเอา กลับมากลางคืนก่อนนอนก้อพิมลง excel ครบเดือนแรกก้อรวมยอดครับ ดูว่าใช้ไปเท่าไหร่ จากที่ผ่านมาไม่เคยรู้เลยว่าใช้ไปเท่าไหร่เพราะดูแค่ยอดในบัญชีธนาคารแต่มันไม่รวมยอดที่เราใช้ผ่านบัตรเครดิต
หลังจากเดือนแรกที่ทำบัญชีค่าใช้จ่าย ก้อมานั่งดูรายละเอียดเพื่อทำ Budget สำหรับเดือนต่อๆไป ใช้ excel ทำตารางเอาครับ สูตรง่ายๆไม่ซับซ้อนอะไร
สำหรับในส่วนของหนี้ก้อเขียนรายละเอียดทั้งหมดครับ มียอดอยู่เท่าไหร่ ขั้นต่ำต้องชำระเท่าไหร่ ต้องจ่ายอะไรวันที่เท่าไหร่ ตอนทำ Budget ก้อดูครับว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ตัดได้บ้าง และจะเอาค่าใช้จ่ายที่ตัดไปอันนี้ไปโปะหนี้ยอดไหน พอเงินเดือนออกก้อเอาไปจ่ายหนี้ก่อนเลยครับ จะได้เปนการบังคับให้ตัวเราใช้จ่ายตาม Budget
และที่สำคัญมากคือผมเลิกใช้บัตรเครดิตไปเลยครับ ใช้จ่ายประจำวันหรือจะซื้อของอะไรก้อใช้เงินสดเอา ความรู้สึกเวลากำเงินสดไปซื้อของนี่ต่างจากใช้บัตรพลาสติกเยอะครับ ทำให้เราคิดมากกว่าก่อนจะใช้ ความเสียดายมันจะมากกว่าเวลาเห็นเงินจริง มีหลายครั้งครับที่กำเงินไปแต่เปลี่ยนใจไม่ซื้อตอนที่เห็นเงินที่ควักออกจากกระเป๋าตัง
การเปลี่ยนแปลงของผมเปนการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปครับ ไม่ใช่ว่าพอหลอดไฟเหนือหัวติดปิ๋งขึ้นมาก้อเปลี่ยนได้ทันที ของตัวผมเองอันที่ยากที่สุดคือการปฏิเสธครับ ทั้งปฏิเสธเพื่อนเวลามันชวนไปกินไปเที่ยว หรือปฏิเสธตนเองเวลาอยากได้อะไรใหม่ (ขยะอีกแล้ว) และกรณีของผมหนี้มันไม่ได้ร้ายแรงมาก มียอดอยู่ห้าหกบัตรแต่ก้อไม่ถึงกับเต็มยอด รวมแล้วแค่แสนกว่าๆเกือบสองแสน ช่วงแรกเลยเปนแบบค่อยๆทยอยเกบเงิน ค่อยๆตัดค่าใช้จ่าย ค่อยๆทยอยจ่ายหนี้ไปเรื่อยๆ
จุดที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงของผมจริงจังและเข้มข้นมากขึ้นคือเรื่องของคอนโดครับ
ต่อที่นี่ครับ
http://ppantip.com/topic/32596975
มาขอแชร์ประสบการณ์การเก็บเงินและการวางแผนการเงินครับ
ตั้งกระทู้อันนี้ขึ้นมาเพื่อแชร์ประสบการณ์การเก็บเงินและการบริหารการเงินส่วนบุคคลครับ ออกตัวไว้ก่อนว่าไม่ได้เปน expert อะไร และก้อไม่ได้มีปริญญง ปริญญาทางด้านการเงินด้วย แต่ทั้งหมดที่จะมาแชร์นี้คือประสบการณ์ที่เจอมาโดยตรง หวังแค่จะเอามาแชร์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยเฉพาะกับเด็กๆรุ่นใหม่ วัยที่เริ่มหรือกำลังจะเริ่มทำงานในสายวิชาชีพของตนครับ ยาวหน่อยนึง และถ้าตกหล่นอะไรกรุณาบอกด้วยครับ
ผมอายุ 32 แล้วครับ ทำงานมาได้สิบเอ็ดปีและ เรียนจบแล้วก้อทำงานเลยครับ เหตุผลที่รีบทำงานก้อเพราะอยากมีเงินเยอะๆนี่แหละ โชคดีที่ได้ทำงานในสายงานที่ชอบ เราถนัด และผลตอบแทนดี
ความรู้สึกตอนที่เริ่มทำงานคือเราประสบความสำเร็จแล้ว (ทั้งๆที่ความจริงเพิ่งเริ่มเอง คิดย้อนกลับไปก้อขำดี) หาเงินได้เอง แล้วตอนนั้นก้อคิดว่าเงินมากด้วย (เริ่มสตาร์ทเดือนละสามหมื่นกว่า ไม่เคยได้เงินมากแบบนี้มาก่อนเลยคิดว่ามาก) ไอ้ความคิดว่าเราประสบความสำเร็จนี่แหละ ทำให้เราเกิดความคิดว่าต้องมีและทำในสิ่งที่เราคิดว่าคนที่ประสบความสำเร็จเค้าทำกัน กิน เที่ยว ปาร์ตี้ ไปเที่ยวต่างประเทศ ซื้อคอนโด (ตอนนั้นกู้ในชื่อพ่อแม่ แม่ผมดาวน์ให้) ซื้อรถ (ดาวน์น้อยผ่อนนาน)
เงินที่เราว่าได้เยอะนี่ไม่รู้เหมือนกันทำไมเดือนชนเดือนทุกที
สิ่งที่คนที่เพิ่งเริ่มทำงานจะเจออีกอย่างคือบัตรเครดิตครับ ยิ่งเมื่อสิบปีก่อนนี่เรื่องยอดเงินไม่ได้เคร่งครัดเลย เวลาแต่ละธนาคารออกบัตรก้อจะให้ยอดเต็มที่ที่คิดว่าเราจะมีปัญญาจ่ายได้ แต่ว่าเราขอได้หลายที่หลายธนาคารไงครับ ยอดรวมทุกบัตรรวมกันมันเลยเกินความสามารถในการใช้หนี้เราไปเยอะ ตอนนั้นผมมีบัตรเครดิตเกือบสิบใบเลย สมัครไปโดยความคิดที่ว่ามันมีโปรโมชั่นได้ของแถม (กระเป๋าโลโก้ธนาคาร ร่มกอล์ฟ เครื่องปั่น - สรุปคือเอามาเปนขยะกองไว้ที่บ้านทั้งนั้น) และเราจะไม่ใช้บัตรไม่เป็นหนี้ ตอนนั้นคิดว่าบัตรทอง บัตรแพลตตินั่มนี่เจ๋งโคดๆ เปนสัญลักษ์แสดงฐานะอย่างหนึ่ง (แต่ความจริงแล้วบัตรเครดิตมันก้อเปนธุรกิจแสวงหากำไรชนิดหนึ่งนั่นแหละครับ สุดท้ายแล้วราคาของไอ้พวกอภิสิทธิ์ต่างๆ แต้มสะสม และของที่ให้แลกต่างๆ มันก้อโดนผลักดันกลับมาให้ผู้บริโภคในรูปของค่าบริการหรือดอกเบี้ยนั่นแหละ)
บัตรที่มีหลายใบที่สมัครมาเพื่อเอาของแถม สุดท้ายก้อเผลอใจใช้จนได้ บัตรพวกนี้มีวิธีการทำการตลาดมากมายครับ เช่น สะสมแต้มแลกของ (แลกขยะ) ส่วนลดซื้อของ สะสมแลกไมล์ (ที่แลกตั๋วหรือแลกโรงแรมดีๆไม่ค่อยจะได้) แลกของที่ระลึกธนาคาร (ต้องจ่ายดอกเค้าแล้วยังช่วยโฆษนาให้เค้าอีก) หรือใช้เพียงแค่ให้มียอดในบัตรเพื่อที่จะไม่ต้องเสียค่าบริการรายปี (มีหนี้เพื่อที่จะได้เปนหนี้ต่อ) แล้วที่สำคัญมากๆคือการใช้บัตรเครดิตนี่ความรู้สึกมันต่างจากการใช้เงินสดเยอะครับ ใช้บัตรแล้วมันไม่มีความรู้สึก เสียดาย หรือ สำนึกผิด มันเลยทำให้เราใช้จ่ายเยอะกว่าเมื่อเทียบกับใช้เงินสด
แต่ข้อดีที่บัตรเครดิตให้กับผมคือมันทำให้เกิดจุดเปลี่ยนครับ
ทำงานมาได้สามปี ตอนนั้นใช้บัตรเครดิตอยู่ห้าหกใบ บางเดือนโดนค่าปรับจ่ายช้า (มีมากเกินบริหารไม่ไหว) มันแย่จนถึงจุดที่ว่าเดือนนึงหลังจากจ่ายค่าผ่อนคอนโด ผ่อนรถ จ่ายหนี้บัตรเครดิต "ขันต่ำ" แล้วเหลือเงินใช้ไม่ถึงหมื่น บัตรที่ลืมจ่าย จ่ายช้าก้อโดนโทรมาทวง (บวกกับต้องจ่ายค่าโทรทวงสามร้อยบาท) และอย่าลืมว่าที่จ่ายบัตรเครดิตไปมันก้อเปนแค่ "ขันต่ำ" ยังมีก้อนหนี้เหลืออยู่อีกที่ต้องจ่ายดอกอยู่ทุกเดือน
เลยเริ่มมาคิดว่าไม่ใช่และ ตรากตรำทำงานมาตั้งนาน หน้าที่การงานก้อก้าวหน้าดี เงินเดือนก้อขึ้นมาตั้งหลายหมื่น แล้วทำไมเราถึงกลายเปนติดลบแบบนี้
ผมเลยตั้งปณิฐานกับตัวเองครับ คิดใหม่ทำใหม่ ต้องเอาตัวเราเองออกจากวัฎจักรหนี้ให้ได้ เพราะตัวเราเปนคนเดินเข้ามาเอง
หลังจากที่ผมตัดสินใจจะออกจากวัฎจักรหนี้ สิ่งที่ทำอย่างแรกคือเริ่มทำบัญชีค่าใช้จ่ายครับ สมัยก่อนไม่มีสมาร์ทโฟนใช้ก้อใช้จดเอา กลับมากลางคืนก่อนนอนก้อพิมลง excel ครบเดือนแรกก้อรวมยอดครับ ดูว่าใช้ไปเท่าไหร่ จากที่ผ่านมาไม่เคยรู้เลยว่าใช้ไปเท่าไหร่เพราะดูแค่ยอดในบัญชีธนาคารแต่มันไม่รวมยอดที่เราใช้ผ่านบัตรเครดิต
หลังจากเดือนแรกที่ทำบัญชีค่าใช้จ่าย ก้อมานั่งดูรายละเอียดเพื่อทำ Budget สำหรับเดือนต่อๆไป ใช้ excel ทำตารางเอาครับ สูตรง่ายๆไม่ซับซ้อนอะไร
สำหรับในส่วนของหนี้ก้อเขียนรายละเอียดทั้งหมดครับ มียอดอยู่เท่าไหร่ ขั้นต่ำต้องชำระเท่าไหร่ ต้องจ่ายอะไรวันที่เท่าไหร่ ตอนทำ Budget ก้อดูครับว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ตัดได้บ้าง และจะเอาค่าใช้จ่ายที่ตัดไปอันนี้ไปโปะหนี้ยอดไหน พอเงินเดือนออกก้อเอาไปจ่ายหนี้ก่อนเลยครับ จะได้เปนการบังคับให้ตัวเราใช้จ่ายตาม Budget
และที่สำคัญมากคือผมเลิกใช้บัตรเครดิตไปเลยครับ ใช้จ่ายประจำวันหรือจะซื้อของอะไรก้อใช้เงินสดเอา ความรู้สึกเวลากำเงินสดไปซื้อของนี่ต่างจากใช้บัตรพลาสติกเยอะครับ ทำให้เราคิดมากกว่าก่อนจะใช้ ความเสียดายมันจะมากกว่าเวลาเห็นเงินจริง มีหลายครั้งครับที่กำเงินไปแต่เปลี่ยนใจไม่ซื้อตอนที่เห็นเงินที่ควักออกจากกระเป๋าตัง
การเปลี่ยนแปลงของผมเปนการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปครับ ไม่ใช่ว่าพอหลอดไฟเหนือหัวติดปิ๋งขึ้นมาก้อเปลี่ยนได้ทันที ของตัวผมเองอันที่ยากที่สุดคือการปฏิเสธครับ ทั้งปฏิเสธเพื่อนเวลามันชวนไปกินไปเที่ยว หรือปฏิเสธตนเองเวลาอยากได้อะไรใหม่ (ขยะอีกแล้ว) และกรณีของผมหนี้มันไม่ได้ร้ายแรงมาก มียอดอยู่ห้าหกบัตรแต่ก้อไม่ถึงกับเต็มยอด รวมแล้วแค่แสนกว่าๆเกือบสองแสน ช่วงแรกเลยเปนแบบค่อยๆทยอยเกบเงิน ค่อยๆตัดค่าใช้จ่าย ค่อยๆทยอยจ่ายหนี้ไปเรื่อยๆ
จุดที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงของผมจริงจังและเข้มข้นมากขึ้นคือเรื่องของคอนโดครับ
ต่อที่นี่ครับ http://ppantip.com/topic/32596975