ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือทีเซลส์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า หลังจากทีเซลส์ได้จัดโครงการประกวดสุดยอดไอเดียหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ภายใต้ชื่อ "i, MedBot 2014: Bring Life, Brighten the World" โดยได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจไม่จำกัดเพศ วัย อายุ และการศึกษา ทั้งประเภทเดี่ยวและประเภททีม ส่งแนวคิดหุ่นยนต์ทางการแพทย์เข้าประกวดนั้น ปรากฏว่ามีผู้ส่งแนวคิดเข้าประกวดถึง 47 แนวคิด ทั้งวิศวกร นักออกแบบ นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์ อาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักออกแบบ และประชาชนทั่วไป
ดร.นเรศกล่าวว่า คณะกรรมการรอบคัดเลือกได้พิจารณาข้อเสนอแนวคิดจากทั้งหมด 47 ทีม และคัดเลือก 10 ทีม นำเสนอแนวคิดในรอบชิงชนะเลิศ เพื่อคัดเลือกหาผู้ชนะเลิศ และรองชนะเลิศอีก 2 ทีม ปรากฏว่า ทีมชนะเลิศอันดับ 1 คือ ทีม AIM Lab Mahidol จากแนวคิดหุ่นยนต์เสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก รับเงินรางวัล 150,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม BIE KMUTT จากแนวคิด Swarm robot of autism รับเงินรางวัล 100,000 บาท และ รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม Vioteche จากแนวคิดอุปกรณ์ฆ่าเชื้อช้อน-ส้อมอัตโนมัติ รับเงินรางวัล 50,000 บาท
"แม้จะมีเพียง 3 ทีมที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ แต่ทีมที่เข้ารอบทั้ง 10 ทีม จะได้รับการผลักดันจากทีเซลส์ประสานกับผู้ประกอบการให้นำแนวคิดไปขยายผลสู่ธุรกิจ เพราะล้วนสามารถต่อยอดไปสู่การใช้งานจริงได้ทั้งสิ้น" ดร.นเรศกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหุ่นยนต์กระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติกนั้น เจ้าของแนวคิดคือ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ และทีมวิจัย ที่เห็นว่าเด็กออทิสติกมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่มีจำนวนนักบำบัดไม่สอดคล้องกับเด็ก ส่งผลให้เด็กมีภาวะออทิสติก สเปกตรัม บางคนอาจได้รับโอกาสในการบำบัดหรือปรับพฤติกรรมไม่สม่ำเสมอและไม่ต่อเนื่อง จึงเกิดแนวคิดนำหุ่นยนต์มาเสริมกระตุ้นพัฒนาการ โดยให้มีบทบาทเป็นของเล่น เพื่อนเล่น เป็นครูผู้สอนทักษะ หรือพฤติกรรมทางสังคมให้กับเด็กออทิสติก โดยมีทั้งสิ้น 4 ตัวคือ หุ่นยนต์ช่างทำ เน้นการฝึกทักษะด้านการเลียนแบบ หุ่นยนต์ช่างพูด หุ่นยนต์ช่างคุย ที่เน้นฝึกทักษะการพูด
และหุ่นยนต์ฟ้าใส ที่รวมทุกฟังก์ชั่นของหุ่นยนต์ 3 ตัวแรกเข้าไว้ด้วยกัน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1410931927
http://bit.ly/เพจข่าวดี
หุ่นกระตุ้น"ออทิสติก" ชนะโครงการประกวดสุดยอดไอเดียหุ่นยนต์ทางการแพทย์
ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือทีเซลส์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า หลังจากทีเซลส์ได้จัดโครงการประกวดสุดยอดไอเดียหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ภายใต้ชื่อ "i, MedBot 2014: Bring Life, Brighten the World" โดยได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจไม่จำกัดเพศ วัย อายุ และการศึกษา ทั้งประเภทเดี่ยวและประเภททีม ส่งแนวคิดหุ่นยนต์ทางการแพทย์เข้าประกวดนั้น ปรากฏว่ามีผู้ส่งแนวคิดเข้าประกวดถึง 47 แนวคิด ทั้งวิศวกร นักออกแบบ นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์ อาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักออกแบบ และประชาชนทั่วไป
ดร.นเรศกล่าวว่า คณะกรรมการรอบคัดเลือกได้พิจารณาข้อเสนอแนวคิดจากทั้งหมด 47 ทีม และคัดเลือก 10 ทีม นำเสนอแนวคิดในรอบชิงชนะเลิศ เพื่อคัดเลือกหาผู้ชนะเลิศ และรองชนะเลิศอีก 2 ทีม ปรากฏว่า ทีมชนะเลิศอันดับ 1 คือ ทีม AIM Lab Mahidol จากแนวคิดหุ่นยนต์เสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก รับเงินรางวัล 150,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม BIE KMUTT จากแนวคิด Swarm robot of autism รับเงินรางวัล 100,000 บาท และ รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม Vioteche จากแนวคิดอุปกรณ์ฆ่าเชื้อช้อน-ส้อมอัตโนมัติ รับเงินรางวัล 50,000 บาท
"แม้จะมีเพียง 3 ทีมที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ แต่ทีมที่เข้ารอบทั้ง 10 ทีม จะได้รับการผลักดันจากทีเซลส์ประสานกับผู้ประกอบการให้นำแนวคิดไปขยายผลสู่ธุรกิจ เพราะล้วนสามารถต่อยอดไปสู่การใช้งานจริงได้ทั้งสิ้น" ดร.นเรศกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหุ่นยนต์กระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติกนั้น เจ้าของแนวคิดคือ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ และทีมวิจัย ที่เห็นว่าเด็กออทิสติกมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่มีจำนวนนักบำบัดไม่สอดคล้องกับเด็ก ส่งผลให้เด็กมีภาวะออทิสติก สเปกตรัม บางคนอาจได้รับโอกาสในการบำบัดหรือปรับพฤติกรรมไม่สม่ำเสมอและไม่ต่อเนื่อง จึงเกิดแนวคิดนำหุ่นยนต์มาเสริมกระตุ้นพัฒนาการ โดยให้มีบทบาทเป็นของเล่น เพื่อนเล่น เป็นครูผู้สอนทักษะ หรือพฤติกรรมทางสังคมให้กับเด็กออทิสติก โดยมีทั้งสิ้น 4 ตัวคือ หุ่นยนต์ช่างทำ เน้นการฝึกทักษะด้านการเลียนแบบ หุ่นยนต์ช่างพูด หุ่นยนต์ช่างคุย ที่เน้นฝึกทักษะการพูด
และหุ่นยนต์ฟ้าใส ที่รวมทุกฟังก์ชั่นของหุ่นยนต์ 3 ตัวแรกเข้าไว้ด้วยกัน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1410931927
http://bit.ly/เพจข่าวดี