หวังว่าสักวันอัยการผู้พิพากษาจะหยุดละเมิดสิทธิมนุษยชน

http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/news_detail.php?nid=3038&parent_id=1&type=hilight
นี่คือลิ้งก์อันเป็นมติของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่มีมติว่า การบังคับตรวจเลือดหา HIV เพื่อเป็นเงื่อนไขในการเข้าทำงาน เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

และสืบเนื่องจากกระทู้เก่าของดิฉัน

http://ppantip.com/topic/32569753/comment36

ซึ่งอำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สามารถที่จะดำเนินคดี ยกเลิก เพิกถอน กฎของคณะกรรมการอัยการและคณะกรรมการตุลาการ ที่มีการบังคับตรวจเลือดหาในการเป็นเงื่อนไข ในการบรรจุแต่งตั้ง เป็นอัยการผู้ช่วย และผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ ทั้งในศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ

การบังคับตรวจเลือดเข้าทำงานถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา30 ถือเป็นการแบ่งแยกกีดกันคนด้วยเหตุจากสุขภาพร่างกาย ซึ่งคงจะเทียบเคียงได้กับกรณีของท่านทนายความ ศิริมิตร บุญมูล ผู้พิการ ที่ต่อสู้ในเรื่องของการกีดกันไม่ให้ผู้พิการสอบเข้ารับราชการ อัยการ ผู้พิพากษาได้ จนชนะทั้งศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองมาแล้ว และเป็นเหตุให้ รธน 2550 มาตรา 30 ต้องบรรจุห้ามการแบ่งแยกถึงสภาพความพิการลงไปด้วย
ลิ้งก์ข่าวท่านศิริมิตร บุญมูล นักสู้ผู้พิการ ที่ต่อสู้กับความอยุติธรรม ของศาลและอัยการจนชนะ

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1341307557
และหากทุกท่านได้อ่าน คำสั่งศาลปกครองสูงสุด หมายเลขคดีแดงที่ 142/2547 คดีของคุณศิริมิตร บุญมูล ทนายผู้พิการ ทุกท่านอาจจะต้องหลั่งน้ำตาให้กับท่านเหมือนเช่นดิฉัน เพราะจากคำพิพากษา ขนาด ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกำแพงเพชรได้ทำหนังสือรับรองว่าท่านแม้จะเป็นโปลิโอแต่ก็ทำงานในศาลได้อย่างแข็งแรง ทำงานเป็นทนายช่วยเหลือประชาชนมาตลอด แต่คณะกรรมการอัยการ และคณะกรรมการแพทย์ ของโรงพยาบาลตุลาการ ก็ยังพร้อมใจกันเมินเฉยต่อความเห็นในความเป็นจริงของการปฏิบัติงาน โดยสนใจเพียงแค่ท่าน "พิการไม่สง่างาม"
สำหรับดิฉัน ในฐานะผู้ติดเชื้อ hiv แต่กำเนิดคนหนึ่ง ที่กำลังจะมีสิทธิสอบ อัยการผู้ช่วย และผู้ช่วยผู้พิพากษา ก็คงจะได้แต่หวังว่า
ในอนาคต คณะกรรมการตุลาการ และ คณะกรรมการอัยการ อันเป็นหน่วยงานที่ใช้กฎหมาย ประสาทความยุติธรรมให้ประชาชน จะหยุดบังคับตรวจ hiv เพื่อเป็นเงื่อนไขในการรับบุคคลเข้ารับราชการเสียที
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่