คนที่ค้าขาย หรือทำธุรกิจส่วนตัว ยื่นขอกู้สินเชื่อต่าง ๆ จากแบงค์กันยังไง ให้ผ่าน หรือได้รับการอนุมัติ

พวกขายสินค้าข้างทาง ตามตลาดนัด ตลาดเปิดท้าย

เปิดเป็นร้านตู้ตามห้าง หรือขายในตลาดสด หรือขายผ่านเว็บไซด์ โซเชี่ยลต่าง ๆ

เหลือกำไรต่อวัน หลักพันขึ้นไป เดือนละเป็นหลักหมื่นถึงหลักแสน

คุณจดทะเบียนการค้า หรือทะเบียนพาณิชย์กันมั้ย

แล้วกู้พวกสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถ สินเชื่อบ้าน

ถ้าหากต้องการกู้ให้ผ่าน ต้องกู้แบงค์ไหน ทำยังไงกันบ้าง ใช้เวลา ใช้เอกสารอะไรบ้าง

ช่วยแนะนำที

นานาขอบคุณ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 18
ผมทำอยู่ครับ ไม่ได้จดทะเบียนการค้า ขายของบนเว็ปไซต์และแฟนเพจของผมเอง + กับตลาดนัด(อันนี้แฟนขาย)ในวันว่างๆ
ไม่มีร้านของตัวเอง ไม่มีสัญญาเช่า ไม่มีอะไรทั้งนั้นเลย น่าจะเหมือนกับเจ้าของกระทู้แหละ
และทำงานฟรีแลนซ์ครับ เป็นงานเกี่ยวกับออกแบบเว็ปไซต์อีกน่ะแหละ

รายได้ขึ้นอยู่กับความขยันของผมครับ ตั้งแต่ 20000 - 40000 ต่อเดือน
บัญชีนี่เดินตลอดครับ ทุกๆ เดือน ทุกๆ อาทิตย์ ไปปรับสมุดทีนี่รอนานมาก

จนในที่สุดผมก็ได้ไปทำเรื่องขอกู้เงินหลายธนาคารมาก ปรากฏว่าเขาถามทุกอย่างครับ และที่สำคัญคือทำงานอะไร
ครั้งแรกผมตอบว่าขายตามตลาดนัดครับ ทุกวัน ยกเว้นวัน อ. พ. พฤ. รายได้ต่อเดือนจากสเตจเม้นถือว่าเยอะนะครับมีเงินเหลือด้วย
แต่ก็กู้ไม่ผ่าน ทุกๆ ธนาคารจะบอกเหมือนกันว่าเดี๋ยวยื่นเรื่องให้นะค่ะ แต่ดูๆ แล้วไม่น่าจะผ่านค่ะ
เพราะไม่มีทะเบียนการค้า ทางสำนักงานใหญ่เขาไม่สามารถตรวจสอบได้หรืออะไรทำนองนี้แหละครับ
สิ่งสำคัญคือต้องมีทะเบียนการค้าครับ เงินเข้าเยอะน้อยไม่สำคัญ ขอให้เข้าทุกๆ เดือน เข้าเยอะก็ได้สินเชื่อเยอะครับ

จนวันนึงผมเลยสร้างแฟนเพจซะและทำเว็ปไซต์ขึ้นมาประมาณต้นปี 2557 แต่ก็ยังไม่ได้จนทะเบียนการค้านะครับ
ก็เลยไปทำเรื่องกู้ใหม่เมื่อ 2 อาทิตย์ที่แล้ว และตอนที่เขาถามว่าทำงานอะไร ผมบอกเขาว่า
"ผมขายของในอินเตอเน๊ตครับ มีแฟนเฟจและเว็ปไซต์ด้วยนะครับ มีคนสั่งซื้อตลอด"
และผมก็บอกวิธีขายของ ของผมไปว่าทำอะไรอย่างไรบ้าง เขาก็ขอดูสเตจเม้น
แต่คราวนี้ธนาคารไม่ได้พูดแบบทำนองที่จะกู้ไม่ผ่านแบบ 100% เหมือนครั้งก่อน เขาพูดกลับมาว่า

"ทำงานที่บ้านใช่ไหมคะ ของก็เก็บไว้ที่บ้านใช่ไหมคะ ถ้างั้นเขียนชื่อที่ทำงานเป็นที่บ้านนะคะ
แล้วชื่อร้านก็ใส่เป็นเว็ปไซต์ของเราไป  ส่วนรายได้น่าจะได้ประมาณ 2 หมื่นต่อเดือนนะคะ"

และรอทางเราติดต่อกลับไปผ่านทางโทรศัพท์ภายใน 1 - 2 อาทิตย์ ว่าสามารถขอกู้สินเชื่อได้หรือไม่นะคะ

จนมาถึงวันจันทร์นี้ครับ วันที่ 8 กค. เขาโทมา ปรากฏว่าผมกู้ผ่านครับ ดีใจสุดๆ และส่งบัตรมาเมื่อวานนี้เอง
ถึงวงเงินจะน้อยก็เถอะ (วงเงินเท่ากับรายได้เลยครับคือ 2 หมื่นบาท) ตอนนี้ว่าจะไปกู้มาให้หมดเลยครับ
แต่ไม่ได้ใช้นะครับ เอามาเก็บไว้ในบัญชีเพื่อเพิ่มยอดสินเชื่อครับ พอผ่อนเงินที่กู้มาครบ 3 เดือนก็เอาไปโปะไม่ให้ค้าง
และก็จะไปทำเรื่องกู้ใหม่วนไปเรื่อยๆ คิดว่าจะทำอย่างนี้สัก 6 - 12 เดือน ยอดสินเชื่อน่าจะเพิ่มเป็น 5 หมื่นขึ้น

สิ่งที่ผมมีตอนไปกู้นะครับ

- สเตจเม้นครับ ย้อนหลัง 6 -  7 เดือน
- เอกสารสำหรับการกู้ทั่วไปต่างๆ ครับ เช่นพวกบัตรประชาชนอะไรแบบนี้ครับ
- เดินบัญชีบ่อยๆ ครับ และต้องมีเงินเหลือในบัญชีด้วยนะครับ จะดีมากกก

หมดแล้วครับ มีแค่นี้จริงๆ แต่ก็กู้ผ่านนะครับ ไม่มีเอกสารเกี่ยวกับเงินหรือการทำธุรกรรมอะไรเลย
ถ้ายอดสินเชื่อถึง 5 หมื่นผมคงมีร้านเป็นของตัวเองสักที คราวนี้คงจะขอสินเชื่อง่ายกว่าเมื่อก่อนเยอะ T^T
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 20
ขอพูดในฐานะคนทำงานแบงค์นะคะ  คร่าวๆ สิ่งที่ธนาคารต้องการทราบ คือ รายได้ และ แหล่งที่มาของรายได้ที่แน่นอน ตรวจสอบได้  เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวยืนยันได้ว่า "คุณจะมีรายได้สุทธิเพียงพอสำหรับการดำรงชีพ และ ชำระหนี้ ตามระยะเวลาที่ธนาคารปล่อยกู้"  ค่ะ
      1."รายได้" ดูจาก Statement ค่ะ  การเคลื่อนไหวบัญชีเป็นสิ่งสำคัญ ปัญหาอย่างนึงที่ พนง.สินเชื่อ พบบ่อยๆ คือ ลูกค้าไม่ค่อยชอบเดินบัญชี  มักหมุนเวียนเงินในรูปแบบของเงินสด  ขายได้วันนี้ก็เอาเงินที่ขายได้ไปทำทุนหมุนไปเรื่อยๆ  วิธีนี้คนค้าคนขาย "ชอบ" ค่ะ เพราะมักจะบอกว่า ไม่ค่อยมีเวลามาแบงค์บ้างหละ ยิ่งขายของตามตลาดนัด มักจะบอกว่า " กว่าจะขายเสร็จแบงค์ก็ปิด" etc.  บอกเลยว่าไม่ใช่เหตุผลค่ะ  พยายามเอาเงินเข้าออกเรื่อยๆ แต่ไม่ใช่ว่า เอาเข้าแล้วซักพักถอนออกนะคะ เช่น ฝากเงินเข้า 50,000  พรุ่งนี้ถอน 30,000 มะรืนเอาเข้าอีก 15,000 แบบนี้ค่ะ ไม่ใช่ว่า เข้าไป 50,000 พรุ่งนี้ถอนซะเกลี้ยง เพราะไปหมุนเอาเงินในบัญชีอื่นมาสร้างความงามให้ statement   และ 2. "รายได้" ดูจาก เอกสารการเสียภาษีค่ะ  เช่น เอกสารรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ เป็นต้นค่ะ  
     2. "แหล่งที่มาของรายได้"  ที่แน่นอน  ทำไมถึงบอกว่า "แน่นอน" คำว่า แน่นอน คือ สิ่งที่แสดงความมีตัวตนของกิจการค่ะ  เช่น ทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์  สัญญาเช่า สัญญาจ้าง ที่กำหนดระยะเวลา  อย่างขายของผ่าน internet ต่อให้คุณมีรายได้ผ่านบัญชีเยอะขนาดไหน ทำไมธนาคารถึงปล่อยกู้ยากจัง  เพราะธนาคารมองว่า ธุรกิจ แบบนี้ ไม่มีหน้าร้าน ไม่มีสัญญา การจะหยุดขายเมื่อไหร่ก็ทำได้ จึงยังมีความเสี่ยงสูงอยู่  แต่ก็ใช่ว่าจะกู้ไม่ได้เลย  ไปจดทะเบียนให้เรียบร้อย ทำการตลาดดีๆ ให้ Page เป็นที่รู้จัก ดูจากจำนวนผู้เข้าชม หรือ จำนวนคนกะ Like และ ค้าขายให้เป็นระบบค่ะ มีการจ่ายเงินเข้าบัญชี หรือ ผ่านระบบบริการทางการเงินดี เช่น Paypal  หรือ ตัดบัตรเครดิต ได้พวกนี้อ่ะค่ะ  ก็จะยังพอได้อยู่ และลองเขียนแผนการตลาดดีๆ เสียภาษีให้ชัดเจน   โอกาสกู้ได้มีค่ะ   ส่วนเรื่องสัญญาเช่า สัญญาจ้าง ก็อย่างเช่น ผู้ค้าที่ค้าขายตามตลาดค่ะ อาจจะเป็นแผงในตลาดสด หรือ ตลาดเปิดท้ายขายของ พวกนี้ความแน่นอนในการขายจะมีน้อย  นอกจากจะเป็นตลาดที่มีชื่อเสียง ค้าขายในตลาดนั้นมานาน และมีสัญญาเช่าระยะยาว เหล่านี้ สามารถนำมาประกอบได้
    3. "ตรวจสอบ" ได้ "พิสูจน์" ที่มาของรายได้นั้นๆ ได้  อย่างที่ 2 ข้อบนบอกค่ะ  เพราะรายได้หลักของเรามาจากกิจการ เพราะงั้นทุกอย่างต้องชัดเจนตรวจสอบได้  ควรมีหน้าร้านให้ธนาคารสามารถตรวจสอบได้  บางธนาคารเมื่อต้องไปตรวจกิจการ เค้าไม่ได้ถามแค่เจ้าของกิจการนะคะ  คนงาน สภาพแวดล้อม ข้างเคียง เป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีของแบงค์ด้วยเช่นกัน  สมมติ คุณมีกิจการขายส่งเสื้อผ้ามีร้านค้าที่ประตูน้ำ  แต่นานๆ ทีถึงจะได้ขาย  แบบนี้ถามร้านข้างเคียงเค้าก็คงพอให้ข้อมูลได้บ้าง ขายดีรึเปล่า ก็สามารถคะเนการหมุนเวียน stock ได้ เป็นต้น  หรือ ทำกิจการร้านสปา จำนวนลูกค้าหรือ Member เหล่านี้ก็สำคัญค่ะ

     ทั้งนี้ทั้งนั้น ธนาคารจะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ต่อเดือนของลูกค้าเป็นหลักค่ะ ไม่เกี่ยวกะหลักทรัพย์ที่คุณนำมาค้ำประกัน เพราะถึงแม้หลักทรัพย์จะมีมูลค่าคุ้มมูลหนี้ของคุณ แต่ถ้าพิจารณารายได้ต่อเดือนของคุณแล้ว ไม่เพียงพอสำหรับการชำระหนี้ ธนาคารก็เสี่ยงที่จะได้รับลูกค้าชั้นเลวที่จะเป็น NPL ต่อไปในอนาคต  ชำระหนี้ไม่ได้  ฟ้องร้อง บังคับคดีให้ ขายทรัพย์ทอดตลาด ขายได้ จึงจะคุ้มสำหรับธนาคาร เพราะฉะนั้น เราจะคัดกรองลูกค้าที่มีรายได้สุทธิต่อภาระหนี้ในแต่ละเดือน ที่มีความสามารถจะจ่ายได้  และจะต้องเพียงพอสำหรับการดำรงชีพของคุณ  เอาง่ายๆ ก็ลองคิดดูสิคะ  ไม่มีเงินจ่ายแบงค์ กะ อดข้าว คุณจะเลือกทำสิ่งไหนก่อน ???  เพราะงั้นแบงค์ที่มีธรรมาภิบาลจะไม่สักแต่ปล่อยสินเชื่อวงเงินสูงๆ และเรียกเอาประกันจากลูกค้าแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แต่ต้องพิจารณาเกณฑ์เหล่านี้ เพื่อช่วยเหลือลูกค้า   หากลูกค้ามีความสามารถในการชำระหนี้ดี  มีวินัยทางการเงิน  คือ ชำระตรงเวลา และเกินจำนวนเงินงวดที่ต้องชำระอยู่เสมอ  ธนาคารมักจะมีการเรียนเชิญลูกค้าเหล่านี้มากู้เพิ่มโดยวิธีการเพิ่มวงเงินให้จากเดิมได้ค่ะ

     พิมพ์มาซะยาว หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะคะ  ถ้ามีกิจการเป็นของตัวเองและยังไม่ได้เริ่มทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย กิจการ และ เดินบัญชีกับทางธนาคาร  ก็ขอให้เริ่มทำนะคะ  ไปจดทะเบียนการค้าให้เรียบร้อย เหล่านี้จะเป็นหลักฐานชั้นดีค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่