เรียนรู้ศัพท์พระพุทธศาสนาวันละคำ "กุศลกรรมบถ 10 " (ขยายความ)

[320] กุศลกรรมบถ 10 (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ — wholesome course of action) ว่าโดยข้อธรรมสมบูรณ์ (แปลตัดเอาแต่ใจความ) ดังนี้
       
ก. กายกรรม 3 (การกระทำทางกาย — bodily action)
        1. ปาณาติปาตํ ปหาย ฯเปฯ สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี โหติ (ละการฆ่าการเบียดเบียน มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน — to avoid the destruction of life and be anxious for the welfare of all lives)
        2. อทินฺนาทานํ ปหาย ฯเปฯ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อนาทาตา โหติ (ละอทินนาทาน เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น — to avoid stealing, not violating the right to private property of others)
        3. กาเมสุมิจฺฉาจารํ ปหาย ฯเปฯ น จาริตฺตํ อาปชฺชิตา โหติ (ละการประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ — to avoid sexual misconduct, not transgressing sex morals)

ข. วจีกรรม 4 (การกระทำทางวาจา — verbal action)
        4. มุสาวาทํ ปหาย ฯเปฯ น สมฺปชานมุสา ภาสิตา โหติ (ละการพูดเท็จ ไม่ยอมกล่าวเท็จ เพราะเหตุตนเอง ผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ — to avoid lying, not knowingly speaking a lie for the sake of any advantage)
        5. ปิสุณํ วาจํ ปหาย ฯลฯ สมคฺคกรณี วาจํ ภาสิตา โหติ (ละการพูดคำส่อเสียด ช่วยสมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน ชอบกล่าวถ้อยคำที่สร้างสามัคคี — to avoid malicious speech, unite the discordant, encourage the united and utter speech that makes for harmony)
        6. ผรุสํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ พหุชนมนาปา ตถารูปี วาจํ ภาสิตา โหติ (ละคำหยาบ พูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน — to avoid harsh language and speak gentle, loving, courteous, dear and agreeable words)
        7. สมฺผปฺปลาปํ ปหาย ฯเปฯ กาลวาที ภูตวาที อตฺถวาที ธมฺมวาที วินยวาที นิธานวตึ วาจํ ภาสิตา โหติ ฯเปฯ (ละการพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริงมีเหตุผล มีสารประโยชน์ ถูกกาลเทศะ — to avoid frivolous talk; to speak at the right time, in accordance with facts, what is useful, moderate and full of sense)

       ค. มโนกรรม 3 (การกระทำทางใจ — mental action)
        8. อนภิชฺฌาลุ โหติ ฯเปฯ (ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น — to be without covetousness)
        9. อพฺยาปนฺนจิตฺโต โหติ ฯเปฯ สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตูติ (ไม่มีจิตคิดร้าย คือปรารถนาแต่ว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ ครองตนอยู่เป็นสุขเถิด — to be free from illwill, thinking, ‘Oh, that these beings were free fron hatred and illwill, and would lead a happy life from trouble.’)
        10. สมฺมาทิฏฺฐิโก โหติ ฯเปฯ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตีติ (มีความเห็นชอบ เช่นว่า ทานมีผล การบูชามีผล ผลวิบากกรรมดีกรรมชั่วมี เป็นต้น — to posses right view such as that gifts, donations and offerings are not fruitless and that there are results of wholesome and unwholesome actions)

       กุศลกรรมบถหมวดนี้ ในบาลีเรียกชื่อหลายอย่าง เช่นว่า ธรรมจริยา (ความประพฤติธรรม -- righteous conduct) บ้าง โสไจย (ความสะอาดหรือเครื่องชำระตัว -- cleansing) บ้าง อริยธรรม (อารยธรรม, ธรรมของผู้เจริญ -- virtues of a noble or civilized man) บ้าง อริยมรรค (มรรคาอันประเสริฐ -- the noble path) บ้าง สัทธรรม (ธรรมดี, ธรรมแท้ -- good law; true law) บ้าง สัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ -- qualities of a good man) บ้าง ฯลฯ

M.I.287;
A.V.266, 275-278.    ม.มู. 12/485/523;
องฺ.ทสก. 24/165/287; 168-181/296-300.
----



อ้างอิง

http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=320

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่