วันนี้น้องที่ทำงานเอาลองกองที่ฝากซื้อเมื่อวันก่อนมาให้ อร่อยมากขอบอก ลองกองยะลาลูกใหญ่ เปลือกบาง เนื้อดีหวาน
เจี๊ยบ ดิฉันสั่งซื้อไป 6 กิโล ตอนสั่งซื้อน้องบอกขายโลละ 50 บาท แต่วันนี้น้องกลับบอกโลละ 40 ถามว่าทำไมถึงลดให้
น้องบอกว่า
“แค่นี้ก็พอแล้วพี่นิด นี่หนูยังคิดว่าขายพี่นิดแพงไปหรือเปล่า เพราะตอนนี้ราคาหน้าสวนพ่อขายโลละ 6 บาทเองน่ะพี่”
ดิฉันเหลือบมองดูลองกอง 6 กิโลที่กองพะเนินอยู่ตรงหน้า ..... ปีนี้ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำมากจริงๆ
นี่ถ้าเป็นยุคนายกฯทักษิณ เราคงได้กิน “ลองกองช่วยชาติ” กันเป็นแน่
ด้วยรสชาติและคุณภาพของลองกองยะลาที่อยู่ตรงหน้า ราคาซื้อกิโลละ 40 บาทนี่ คุ้มจริงๆค่ะ
ดิฉันถือโอกาสสัมภาษณ์น้องคนนี้ต่อ เนื่องจากอยากรู้ความเป็นไปในวิถีชีวิตของคนจังหวัดชายแดนใต้ และการปรับตัว
ทางเศรษฐกิจในยุคที่ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเช่นนี้
น้องบอกว่า ที่บ้านมีอาชีพทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ ทั้งลองกอง มังคุด ทุเรียน ปีนี้ราคาผลไม้ตกต่ำมากกว่าทุกปี
รวมถึงราคายางพาราด้วย แต่โชคดีที่บ้านของน้องคุณพ่อคุณแม่กรีดยางและทำสวนผลไม้เอง ไม่ได้จ้างใครไม่ต้องแบ่ง
เงินให้ใคร จึงยังพออยู่ได้แบบไม่เดือดร้อน ถามต่อไปว่า แล้วคุณพ่อคุณแม่ทำกันเองไหวเหรอ สวนยางตั้ง 50 ไร่ แถมสวน
ผลไม้อีก
“พ่อกับแม่เก่งและขยันมากๆเลยค่ะพี่นิด มันเป็นอาชีพของพ่อแม่หนูนี่คะ เขาทำกันได้นะ เขาทำอาชีพนี้มาตั้งแต่หนูกับ
น้องยังไม่เกิด อย่างสวนยางนี่ พ่อกับแม่ก็แบ่งเป็นโซน และก็กรีดทุกวัน วันนี้กรีดโซนนี้ พรุ่งนี้กรีดโซนนั้น มะรืนกรีดโซน
โน้น พอครบรอบแล้วก็มากรีดโซนนี้ใหม่ สลับกันไปอย่างนี้ อาศัยความชำนาญก็กรีดได้เร็วค่ะ” น้องขยายความถึงวิธีการ
กรีดยางที่ทำกันเองยังไงไหวตั้ง 50 ไร่
“ตอนแรกฐานะทางบ้านเราก็ไม่ดีหรอก แต่เมื่อไม่ต้องแบ่งเงินกับใคร พ่อของหนูก็เอาเงินที่ลงทุนลงแรงมาต่อยอด ซื้อที่
ขยายสวนออกไปเรื่อยๆ จนตอนนี้เรามีที่ทำกินเกือบๆ 80 ไร่ หนูกับน้องทำสวนอย่างพ่อแม่ไม่ได้ ก็มาทำงานบริษัท
เหมือนกับพี่นิดนี่ล่ะ”
อืม....ฟังเด็กอายุ 20 กว่าๆเล่าถึงครอบครัวด้วยความภาคภูมิใจแล้วก็พลอยมีความสุข
เมื่อถามเธอถึงสถานการณ์ความรุนแรง เธอเล่าว่า เธอมีบ้านอยู่ทั้งในจังหวัดยะลา และ ปัตตานี เนื่องจากคุณพ่อเป็นคน
ปัตตานี และ คุณแม่เป็นคนยะลา บ้านของเธอที่ยะลาอยู่ในอำเภอ ธารโต ซึ่งอยู่รอบนอกและเป็นหมู่บ้านชาวพุธ ไม่ค่อย
น่ากลัวเท่าเขตชุมชนมุสลิม แต่บ้านเธอที่ยะลายังไม่น่ากลัวเท่าบ้านที่อำเภอนายอ จังหวัดปัตตานี เพราะปัตตานีมีการ
สร้างสถานการณ์บ่อยกว่ายะลา
“เวลาหนูกลับบ้านนะพี่นิด หนูไม่เคยนั่งหลับในรถนะ ตาจะต้องคอยสอดส่องข้างทางและรถที่ขับตามหลังอยู่ตลอดเวลา
ถ้าเป็นรถปิ๊กอัพตามหลังมานานๆ ไม่ยอมแซงเราเนี่ย เราก็ต้องระวังละ ยิ่งไม่มีป้ายทะเบียนด้วยแล้ว ยิ่งต้องคิดหาวิธีหนี
ให้ห่างเข้าไว้”
“ถ้าเป็นมอเตอร์ไซด์ มีวัยรุ่นซ้อนท้ายกันมา 2 คนเนี่ยต้องระวังเลยล่ะ เขาจะใช้ผ้าปิดหน้าเหมือนผู้หญิงมุสลิมปิดหน้าด้วย
ผ้าฮิญาบ เราไม่รู้หรอกพี่ว่าเป็นผู้หญิงผู้ชาย แต่ถึงจะเป็นแบบนี้ ครอบครัวของหนู พ่อแม่ก็ไม่คิดจะย้ายหนีไปไหนนะพี่ ก็
อยู่กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษเนาะ ใครจะทิ้งบ้านเกิดไปล่ะพี่ว่ามั๊ย”
ก่อนหมดเวลาพักและแยกย้ายกันไปทำงาน ดิฉันได้ถามน้องว่า ยางราคาไม่ดี ผลไม้ราคาไม่ดีอย่างนี้ ที่บ้านน้องคุณ
พ่อคุณแม่มีวิธีการจัดการยังไง
“ก็ไม่รู้จะจัดการยังไงนะพี่ แต่ให้พ่อแม่ตัดต้นยางทิ้งแล้วปลูกอย่างอื่นอย่างเขาบอก ก็ไม่รู้จะปลูกอะไร กว่ามันจะโตอีกล่ะ
จะเอาอะไรกิน พ่อแม่คงไม่ทำหรอก นี่ก็ยังมียางที่ยังไม่ได้กรีดอีกตั้งหลายไร่ แล้วจะมาให้ตัดทิ้งอีกเหรอ ถ้างั้นก็ต้องตัดต้น
มังคุด ลองกอง ทุเรียน ด้วยหรือเปล่าอะ?”
นั่นน่ะสิ เจอคำถามสวนกลับมาแบบนี้ดิฉันก็ได้แต่อึ้ง
“ก็ไม่ต้องตัดทิ้งหรอก แต่เราแปรรูปได้มั๊ยล่ะ อย่างทำลองกองอบแห้ง ทำน้ำมังคุดบรรจุขวดขาย หรือทำโลชั่นทุเรียนอะไร
แบบนี้” พอเริ่มเข้าตาจน ดิฉันก็ออกแนวลูกมั่ว ..... ทำโลชั่นทุเรียน (ฮา)
“มีด้วยเหรอพี่เอาทุเรียนมาทำโลชั่น ?” น่านงัย ไอ้น้องมันก็บ้าตาม
อย่างทุเรียนน่ะทำได้ เราทำทุเรียนทอดอบแห้ง มังคุดก็เอามากวนพอได้ แต่ลองกองเนี่ย หนูยังไม่เคยเห็นเขาเอามาอบแห้ง
นะ แต่มันก็ต้องลงทุนสูงต้องมีเครื่องอบอะไรอีกหลาว”
นั่นน่ะสิ จะทำอะไรตอนนี้มันก็ต้องใช้เงินลงทุนสูง ก็คงต้องฝากให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะช่วยหาวิธี “คืนความสุขให้
ประชาชน” อย่างจริงๆจังๆ ซะที วิธีแก้ปัญหาอย่างที่นักการเมืองบางพรรคเคยพูดไว้เช่น “ยางราคาตกต่ำ ก็ให้โค่นต้นทิ้ง
ปลูกอย่างอื่นแทน” นั่นน่ะเลิกซะทีเถอะ ถ้าจะทำอย่างนั้นจริงๆ ก็ไปตอบคำถามของน้องเค้าที่ถามว่า “ต้องโค่นต้นทุเรียน
มังคุด ลองกอง ด้วยไม๊ ?” ให้ได้ก่อน
ข้าวราคาตกต่ำ ก็ให้เลิกปลูกข้าวไปปลูกอย่างอื่นแทน มันแก้ปัญหาง่ายเกินไปหรือเปล่า ถ้าวิธีการแก้ปัญหาได้ง่ายๆแบบ
นี้ ชาวบ้านเค้าคงไม่เลือกท่านให้เข้ามาเป็นผู้นำของเค้าหรอกมั๊งคะ..... ตาสี ตาสา ป้ามา ลุงมี แถวบ้านดิฉันก็ทำได้
“แล้วพี่นิดเป็นคนใต้รึป่าวคะ” น้องถามก่อนที่ดิฉันจะเดินจากมา
“อ๋อ เปล่าจ่ะ”
“หนูก็ว่าหน้าตาพี่นิดดูไม่เหมือนคนใต้”
เฮ้อ .... ดีที่น้องมันไม่ได้ถามว่า “พี่นิดเป็นคนจังหวัดเลยหรือเปล่า?” เพราะถ้าดิฉันบอกว่า ดิฉันไม่ใช่คนจังหวัดเลย น้อง
มันก็คงจะต่อท้ายว่า
....... “หนูก็ว่าหน้าตาพี่นิดดูไม่เหมือนคนเลย” .........
+ + + + ตอนนี้คนใต้ก็ไม่ได้กินหลากหลาย + + + +
เจี๊ยบ ดิฉันสั่งซื้อไป 6 กิโล ตอนสั่งซื้อน้องบอกขายโลละ 50 บาท แต่วันนี้น้องกลับบอกโลละ 40 ถามว่าทำไมถึงลดให้
น้องบอกว่า
“แค่นี้ก็พอแล้วพี่นิด นี่หนูยังคิดว่าขายพี่นิดแพงไปหรือเปล่า เพราะตอนนี้ราคาหน้าสวนพ่อขายโลละ 6 บาทเองน่ะพี่”
ดิฉันเหลือบมองดูลองกอง 6 กิโลที่กองพะเนินอยู่ตรงหน้า ..... ปีนี้ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำมากจริงๆ
นี่ถ้าเป็นยุคนายกฯทักษิณ เราคงได้กิน “ลองกองช่วยชาติ” กันเป็นแน่
ด้วยรสชาติและคุณภาพของลองกองยะลาที่อยู่ตรงหน้า ราคาซื้อกิโลละ 40 บาทนี่ คุ้มจริงๆค่ะ
ดิฉันถือโอกาสสัมภาษณ์น้องคนนี้ต่อ เนื่องจากอยากรู้ความเป็นไปในวิถีชีวิตของคนจังหวัดชายแดนใต้ และการปรับตัว
ทางเศรษฐกิจในยุคที่ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเช่นนี้
น้องบอกว่า ที่บ้านมีอาชีพทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ ทั้งลองกอง มังคุด ทุเรียน ปีนี้ราคาผลไม้ตกต่ำมากกว่าทุกปี
รวมถึงราคายางพาราด้วย แต่โชคดีที่บ้านของน้องคุณพ่อคุณแม่กรีดยางและทำสวนผลไม้เอง ไม่ได้จ้างใครไม่ต้องแบ่ง
เงินให้ใคร จึงยังพออยู่ได้แบบไม่เดือดร้อน ถามต่อไปว่า แล้วคุณพ่อคุณแม่ทำกันเองไหวเหรอ สวนยางตั้ง 50 ไร่ แถมสวน
ผลไม้อีก
“พ่อกับแม่เก่งและขยันมากๆเลยค่ะพี่นิด มันเป็นอาชีพของพ่อแม่หนูนี่คะ เขาทำกันได้นะ เขาทำอาชีพนี้มาตั้งแต่หนูกับ
น้องยังไม่เกิด อย่างสวนยางนี่ พ่อกับแม่ก็แบ่งเป็นโซน และก็กรีดทุกวัน วันนี้กรีดโซนนี้ พรุ่งนี้กรีดโซนนั้น มะรืนกรีดโซน
โน้น พอครบรอบแล้วก็มากรีดโซนนี้ใหม่ สลับกันไปอย่างนี้ อาศัยความชำนาญก็กรีดได้เร็วค่ะ” น้องขยายความถึงวิธีการ
กรีดยางที่ทำกันเองยังไงไหวตั้ง 50 ไร่
“ตอนแรกฐานะทางบ้านเราก็ไม่ดีหรอก แต่เมื่อไม่ต้องแบ่งเงินกับใคร พ่อของหนูก็เอาเงินที่ลงทุนลงแรงมาต่อยอด ซื้อที่
ขยายสวนออกไปเรื่อยๆ จนตอนนี้เรามีที่ทำกินเกือบๆ 80 ไร่ หนูกับน้องทำสวนอย่างพ่อแม่ไม่ได้ ก็มาทำงานบริษัท
เหมือนกับพี่นิดนี่ล่ะ”
อืม....ฟังเด็กอายุ 20 กว่าๆเล่าถึงครอบครัวด้วยความภาคภูมิใจแล้วก็พลอยมีความสุข
เมื่อถามเธอถึงสถานการณ์ความรุนแรง เธอเล่าว่า เธอมีบ้านอยู่ทั้งในจังหวัดยะลา และ ปัตตานี เนื่องจากคุณพ่อเป็นคน
ปัตตานี และ คุณแม่เป็นคนยะลา บ้านของเธอที่ยะลาอยู่ในอำเภอ ธารโต ซึ่งอยู่รอบนอกและเป็นหมู่บ้านชาวพุธ ไม่ค่อย
น่ากลัวเท่าเขตชุมชนมุสลิม แต่บ้านเธอที่ยะลายังไม่น่ากลัวเท่าบ้านที่อำเภอนายอ จังหวัดปัตตานี เพราะปัตตานีมีการ
สร้างสถานการณ์บ่อยกว่ายะลา
“เวลาหนูกลับบ้านนะพี่นิด หนูไม่เคยนั่งหลับในรถนะ ตาจะต้องคอยสอดส่องข้างทางและรถที่ขับตามหลังอยู่ตลอดเวลา
ถ้าเป็นรถปิ๊กอัพตามหลังมานานๆ ไม่ยอมแซงเราเนี่ย เราก็ต้องระวังละ ยิ่งไม่มีป้ายทะเบียนด้วยแล้ว ยิ่งต้องคิดหาวิธีหนี
ให้ห่างเข้าไว้”
“ถ้าเป็นมอเตอร์ไซด์ มีวัยรุ่นซ้อนท้ายกันมา 2 คนเนี่ยต้องระวังเลยล่ะ เขาจะใช้ผ้าปิดหน้าเหมือนผู้หญิงมุสลิมปิดหน้าด้วย
ผ้าฮิญาบ เราไม่รู้หรอกพี่ว่าเป็นผู้หญิงผู้ชาย แต่ถึงจะเป็นแบบนี้ ครอบครัวของหนู พ่อแม่ก็ไม่คิดจะย้ายหนีไปไหนนะพี่ ก็
อยู่กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษเนาะ ใครจะทิ้งบ้านเกิดไปล่ะพี่ว่ามั๊ย”
ก่อนหมดเวลาพักและแยกย้ายกันไปทำงาน ดิฉันได้ถามน้องว่า ยางราคาไม่ดี ผลไม้ราคาไม่ดีอย่างนี้ ที่บ้านน้องคุณ
พ่อคุณแม่มีวิธีการจัดการยังไง
“ก็ไม่รู้จะจัดการยังไงนะพี่ แต่ให้พ่อแม่ตัดต้นยางทิ้งแล้วปลูกอย่างอื่นอย่างเขาบอก ก็ไม่รู้จะปลูกอะไร กว่ามันจะโตอีกล่ะ
จะเอาอะไรกิน พ่อแม่คงไม่ทำหรอก นี่ก็ยังมียางที่ยังไม่ได้กรีดอีกตั้งหลายไร่ แล้วจะมาให้ตัดทิ้งอีกเหรอ ถ้างั้นก็ต้องตัดต้น
มังคุด ลองกอง ทุเรียน ด้วยหรือเปล่าอะ?”
นั่นน่ะสิ เจอคำถามสวนกลับมาแบบนี้ดิฉันก็ได้แต่อึ้ง
“ก็ไม่ต้องตัดทิ้งหรอก แต่เราแปรรูปได้มั๊ยล่ะ อย่างทำลองกองอบแห้ง ทำน้ำมังคุดบรรจุขวดขาย หรือทำโลชั่นทุเรียนอะไร
แบบนี้” พอเริ่มเข้าตาจน ดิฉันก็ออกแนวลูกมั่ว ..... ทำโลชั่นทุเรียน (ฮา)
“มีด้วยเหรอพี่เอาทุเรียนมาทำโลชั่น ?” น่านงัย ไอ้น้องมันก็บ้าตาม
อย่างทุเรียนน่ะทำได้ เราทำทุเรียนทอดอบแห้ง มังคุดก็เอามากวนพอได้ แต่ลองกองเนี่ย หนูยังไม่เคยเห็นเขาเอามาอบแห้ง
นะ แต่มันก็ต้องลงทุนสูงต้องมีเครื่องอบอะไรอีกหลาว”
นั่นน่ะสิ จะทำอะไรตอนนี้มันก็ต้องใช้เงินลงทุนสูง ก็คงต้องฝากให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะช่วยหาวิธี “คืนความสุขให้
ประชาชน” อย่างจริงๆจังๆ ซะที วิธีแก้ปัญหาอย่างที่นักการเมืองบางพรรคเคยพูดไว้เช่น “ยางราคาตกต่ำ ก็ให้โค่นต้นทิ้ง
ปลูกอย่างอื่นแทน” นั่นน่ะเลิกซะทีเถอะ ถ้าจะทำอย่างนั้นจริงๆ ก็ไปตอบคำถามของน้องเค้าที่ถามว่า “ต้องโค่นต้นทุเรียน
มังคุด ลองกอง ด้วยไม๊ ?” ให้ได้ก่อน
ข้าวราคาตกต่ำ ก็ให้เลิกปลูกข้าวไปปลูกอย่างอื่นแทน มันแก้ปัญหาง่ายเกินไปหรือเปล่า ถ้าวิธีการแก้ปัญหาได้ง่ายๆแบบ
นี้ ชาวบ้านเค้าคงไม่เลือกท่านให้เข้ามาเป็นผู้นำของเค้าหรอกมั๊งคะ..... ตาสี ตาสา ป้ามา ลุงมี แถวบ้านดิฉันก็ทำได้
“แล้วพี่นิดเป็นคนใต้รึป่าวคะ” น้องถามก่อนที่ดิฉันจะเดินจากมา
“อ๋อ เปล่าจ่ะ”
“หนูก็ว่าหน้าตาพี่นิดดูไม่เหมือนคนใต้”
เฮ้อ .... ดีที่น้องมันไม่ได้ถามว่า “พี่นิดเป็นคนจังหวัดเลยหรือเปล่า?” เพราะถ้าดิฉันบอกว่า ดิฉันไม่ใช่คนจังหวัดเลย น้อง
มันก็คงจะต่อท้ายว่า
....... “หนูก็ว่าหน้าตาพี่นิดดูไม่เหมือนคนเลย” .........