บอร์ด กสท. 3 คน พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ แถลงจุดยืนร่วมกัน ชี้ดำเนินการทุกอย่างตามกฎหมาย มั่นใจยังมีโอกาสบรรลุข้อตกลงร่วมกับช่อง 3...
หลังจากมีกำหนดการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ในวันนี้ (5 ก.ย.57) เพื่อสรุปมาตรการแจ้งเตือนโครงข่ายที่นำสัญญาณของช่อง 3 อนาล็อกไปออกอากาศ เนื่องจากช่อง 3 สิ้นสุดการเป็นผู้ให้บริการเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือ มัสต์แครี่ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ บอร์ด กสท. ได้ทวีตข้อความผ่าน @supinya เมื่อเวลาประมาณ 16.15 น. ว่า "ข่าวด่วน การประชุมล่ม เพราะกรรมการไม่ครบ 5 เหลือ 3 คน แต่ กสท. 3 คน จะลงไปแถลงจุดยืนกับสื่อแทน กรณีช่อง 3 เวลา 16.30 น. ห้องสื่อ ชั้น 2 กสทช."
ซึ่งผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวลา 16.30 น. ได้มีบอร์ด กสท. 3 คน คือ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการด้านเนื้อหาผังรายการ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการฝ่ายเศรษฐศาสตร์ และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค ออกมาแถลงข่าวกับสื่อมวลชนที่ติดตามผลการประชุม กสท. เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยบอร์ด กสท. ทั้ง 3 คน ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยระบุว่าการแถลงข่าวในครั้งนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของบอร์ดทั้ง 3 คน
"อยากทำความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน คำสั่งที่มีในขณะนี้ไม่ใช่การสั่งไปยังช่อง 3 แต่เป็นการสั่งโครงข่ายทั้งดาวเทียมและเคเบิล เนื่องจาก กสทช. ไม่สามารถสั่งไปยังช่อง 3 ได้ อย่างไรก็ตามอยากให้การดำเนินการต่างๆ อยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย แต่แนวทางของ กสทช. อยู่ในฐานะของผู้กำกับดูแล เราไม่ได้มองว่าสื่อมวลชนเป็นศัตรู เรากำลังมองเพื่อหาทางผ่อนปรนและช่วยเหลือ แต่อยากให้เข้าใจว่าการดำเนินการใดๆ ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของกฎหมายนั้น ก็ไม่ใช่แนวทางของ กสทช. เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ช่อง 3 มีทางเลือกว่าจะออกอากาศแบบคู่ขนานหรือจะไม่ออกอากาศเลย"
พล.ท.พีระพงษ์ กล่าวอีกว่า จากประสบการณ์การทำงานใน กสทช. พบว่าการดำเนินการต่างๆ โดยใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดก็มักจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ประกอบการร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนจะถึงวันที่ 8 ก.ย. ซึ่งจะมีการประชุมบอร์ด กสท. อีกครั้ง ตนเชื่อว่าเรื่องดังกล่าวอาจมีทางออกได้ หากมีการบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ในที่สุด
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่อง 3 ได้เผยแพร่คำชี้แจง ถึงเหตุผลกรณีไม่ออกอากาศแบบคู่ขนาน จำนวน 3 ข้อ โดยระบุว่า 1. ช่อง 3 โดยบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ไม่ได้เข้าร่วมประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลเนื่องจากติดเงื่อนไขสัญญาสัมปทานเดิม ช่อง 3 จึงไม่มีใบอนุญาตช่องรายการในระบบดิจิตอล 2. บริษัท บีอีซีมัลติมีเดีย จำกัด ซึ่งประมูลได้ช่องทีวีดิจิตอลมา 3 ช่อง ก็ไม่สามารถจะนำ "ช่อง 3 " ไปออกอากาศคู่ขนานได้ เนื่องจากผิดกฎกติกาของ กสทช. เอง ที่กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาต จะต้องดำเนินการด้วยตนเอง
3. ถ้า กสท. จะอนุญาตให้บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด นำรายการของช่อง 3 ไปออกอากาศคู่ขนาน (Pass Through) โดยที่สัญญาณ เนื้อหารายการและโฆษณาของช่อง 3 จะต้องไม่ถูกดัดแปลง แก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น ไม่เช่นนั้น จะก่อให้เกิดปัญหาแก่ช่อง 3 ในเรื่องลิขสิทธิ์รายการ จากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ และยังมีขั้นตอนที่ทั้ง บีอีซี มัลติมีเดีย และบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ ต้องไปดำเนินการระหว่างกันให้ถูกต้อง อีกทั้งยังต้องไปหารือทำความตกลงกับ กสท. ในเรื่องการขออนุญาต ค่าประมูล ค่าสัมปทาน ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฎและเป็นธรรมต่อไป.
http://www.thairath.co.th/content/448225
กสท.ไม่กล้าฟัน! ช่อง3ดื้อประกาศไม่ออกอากาศคู่ขนาน
บอร์ด กสท. 3 คน พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ แถลงจุดยืนร่วมกัน ชี้ดำเนินการทุกอย่างตามกฎหมาย มั่นใจยังมีโอกาสบรรลุข้อตกลงร่วมกับช่อง 3...
หลังจากมีกำหนดการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ในวันนี้ (5 ก.ย.57) เพื่อสรุปมาตรการแจ้งเตือนโครงข่ายที่นำสัญญาณของช่อง 3 อนาล็อกไปออกอากาศ เนื่องจากช่อง 3 สิ้นสุดการเป็นผู้ให้บริการเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือ มัสต์แครี่ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ บอร์ด กสท. ได้ทวีตข้อความผ่าน @supinya เมื่อเวลาประมาณ 16.15 น. ว่า "ข่าวด่วน การประชุมล่ม เพราะกรรมการไม่ครบ 5 เหลือ 3 คน แต่ กสท. 3 คน จะลงไปแถลงจุดยืนกับสื่อแทน กรณีช่อง 3 เวลา 16.30 น. ห้องสื่อ ชั้น 2 กสทช."
ซึ่งผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวลา 16.30 น. ได้มีบอร์ด กสท. 3 คน คือ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการด้านเนื้อหาผังรายการ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการฝ่ายเศรษฐศาสตร์ และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค ออกมาแถลงข่าวกับสื่อมวลชนที่ติดตามผลการประชุม กสท. เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยบอร์ด กสท. ทั้ง 3 คน ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยระบุว่าการแถลงข่าวในครั้งนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของบอร์ดทั้ง 3 คน
"อยากทำความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน คำสั่งที่มีในขณะนี้ไม่ใช่การสั่งไปยังช่อง 3 แต่เป็นการสั่งโครงข่ายทั้งดาวเทียมและเคเบิล เนื่องจาก กสทช. ไม่สามารถสั่งไปยังช่อง 3 ได้ อย่างไรก็ตามอยากให้การดำเนินการต่างๆ อยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย แต่แนวทางของ กสทช. อยู่ในฐานะของผู้กำกับดูแล เราไม่ได้มองว่าสื่อมวลชนเป็นศัตรู เรากำลังมองเพื่อหาทางผ่อนปรนและช่วยเหลือ แต่อยากให้เข้าใจว่าการดำเนินการใดๆ ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของกฎหมายนั้น ก็ไม่ใช่แนวทางของ กสทช. เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ช่อง 3 มีทางเลือกว่าจะออกอากาศแบบคู่ขนานหรือจะไม่ออกอากาศเลย"
พล.ท.พีระพงษ์ กล่าวอีกว่า จากประสบการณ์การทำงานใน กสทช. พบว่าการดำเนินการต่างๆ โดยใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดก็มักจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ประกอบการร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนจะถึงวันที่ 8 ก.ย. ซึ่งจะมีการประชุมบอร์ด กสท. อีกครั้ง ตนเชื่อว่าเรื่องดังกล่าวอาจมีทางออกได้ หากมีการบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ในที่สุด
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่อง 3 ได้เผยแพร่คำชี้แจง ถึงเหตุผลกรณีไม่ออกอากาศแบบคู่ขนาน จำนวน 3 ข้อ โดยระบุว่า 1. ช่อง 3 โดยบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ไม่ได้เข้าร่วมประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลเนื่องจากติดเงื่อนไขสัญญาสัมปทานเดิม ช่อง 3 จึงไม่มีใบอนุญาตช่องรายการในระบบดิจิตอล 2. บริษัท บีอีซีมัลติมีเดีย จำกัด ซึ่งประมูลได้ช่องทีวีดิจิตอลมา 3 ช่อง ก็ไม่สามารถจะนำ "ช่อง 3 " ไปออกอากาศคู่ขนานได้ เนื่องจากผิดกฎกติกาของ กสทช. เอง ที่กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาต จะต้องดำเนินการด้วยตนเอง
3. ถ้า กสท. จะอนุญาตให้บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด นำรายการของช่อง 3 ไปออกอากาศคู่ขนาน (Pass Through) โดยที่สัญญาณ เนื้อหารายการและโฆษณาของช่อง 3 จะต้องไม่ถูกดัดแปลง แก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น ไม่เช่นนั้น จะก่อให้เกิดปัญหาแก่ช่อง 3 ในเรื่องลิขสิทธิ์รายการ จากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ และยังมีขั้นตอนที่ทั้ง บีอีซี มัลติมีเดีย และบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ ต้องไปดำเนินการระหว่างกันให้ถูกต้อง อีกทั้งยังต้องไปหารือทำความตกลงกับ กสท. ในเรื่องการขออนุญาต ค่าประมูล ค่าสัมปทาน ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฎและเป็นธรรมต่อไป.
http://www.thairath.co.th/content/448225