ประมาณ 18.20 นาทีครับ
ออกจากออฟฟิศมา ฝนตกแรงพอควร ใส่เสื้อกันฝนถูกๆ กับหมวกกันน๊อค ขับฝ่าฝนกลับบ้าน
เข้าซอยลัด ลาดพร้าว 80 แยก 20 จะทะลุ ไปทางไปสี่แยกเหน่งจ๋าย
ขับไป เลยกลางซอยไป เจอ คนนอนชักบน ถนน กลางฝนที่ตก
เป็นผู้หญิง น่าจะอายุราว 24-25
มีผู้หญิง 6-7 คนกางร่มให้ คนป่วย ที่นอนชักอยู่
ผมจอดรถข้างๆ เดินลงไปดู
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้(ผมพอมีประสพการณ์ ปฐมพยาบาลผู้ป่วย และนำส่ง โรงพยาบาล 6-7 เคส เคยอบรมได้ใบประกาศฯ จากโรงพยาบาลปากน้ำ 2 และ โรงพยาบาลพระมงกุฎ)
เดินลงไป ถามอาการกับคนที่กำลังช่วย
ภาพที่เห็นคือ ป้าคนที่เสียงดังที่สุด แกคอยกำกับทุกอย่าง สั่งโน่นนี่
"กดไว้ กำลังจะดีขึ้น"
(ผู้ป่วยนอนบนพื้นถนน มีฝนตกตลอดเวลา)
"นวดขาไปเรื่อยๆ"
ป้าสั่งคนที่กำลังนวดขา
"เอายาดมมา"
ป้าพูดลอยๆ มีคนเปิดกระเป๋าหา ยาดม
"อย่าคิดมาก ทำใจสบายๆ"
ป้าพูดกับคนป่วยที่ชัก
"กดช้อนแน่นๆ" ป้าย้ำ
ภาพที่เห็นคือ มีเลือดในปากคนป่วย แต่ไม่มาก กับช้อนทานข้าว ที่กดแบบคว่ำช้อน ประกบกับลิ้น ของคนป่วย โดยพี่อีกคนที่ป้าบอก
ตอนนั้น คิดในใจ เท่าที่ผมอบรมมา ผมจำได้ว่า อาการชัก ไม่ควรใช้ช้อน
พยาบาลเคยบอกว่า มันเป็นความเข้าใจผิดของคนสมัยก่อน (ตอนประถมครูผมก็สอนนะว่าให้ใช้ช้อน)
แต่เราต้องอิงกับการรักษาที่ปัจจุบันที่สุด
เลยพูดทักไป ว่าลมชัก ไม่ต้องใช้ช้อน
ไม่มีใครตอบ
ไม่มีใครสนใจ
ป้าก็ยังสั่งให้เอาช้อนกดไว้
สักพัก ผู้ป่วยเริ่มพูดได้ พูดเบาๆ ว่า "อ๊าย ใจ ไม่ ออก"
ป้าให้คนเอากระดาษหนังสือพิมมืมาพัดให้อากาศเข้า จะได้หายใจได้
เริ่มมีคนมาดูเพิ่ม
มีคนทักให้ป้าเอาช้อนออก แต่ป้า ไม่ยอม บอกเอาออกก็กัดลิ้นตายพอดี
พริบตาเดียว ผู้ป่วยชัดเกร็ง เอวลอยจากพื้นเลย
คนแถวนั้นช่วยกันกดไว้
ถึงตรงนี้ ผมรวบรวมความกล้า
(คือผมไม่รู้จักใครตรงนั้นเลย แถมที่จะพูดออกไป มันขัดกับ การปฐมพยาบาลของแกสุดๆ)
เริ่มด้วย
"ป้าครับ ช่วยกันย้ายผู้ป่วย ไปใต้ถุน หอพักตรงนี้เถอะ ฝนมันตกไม่หยุด" (ห่างไป 10 เมตร)
ป้าไม่ฟัง และไม่มีใคร ขัด สิ่งที่ป้าทำ
กอรปกับอาการคนป่วย เริ่มหยุดเกร็งแล้ว
ผมถามอีก "มีใครเรียกรถพยาบาลหรือยัง ? ครับ น้องเขามีประกันสังคมไหม ?"
ไม่มีใครตอบ
น้าคนนึง ผู้ชายเดินมาดู น่าจะรู้จักป้า เลยบอก "เรียกรถพยาบาลเลยไหม ?"
ป้าบอก ไม่ต้องเรียกดีขึ้นแล้ว
นาทีนั้นผมไม่กล้าถามว่า ป้าเป็นญาติเขาหรือเปล่า ?
เพราะ จริงๆ ต้องให้ญาติตัดสินใจ ถ้าป้าเป็น ผู้หวังดี แต่กำลัง ตัดสินใจและช่วยผิดวิธี
จะทำยังไงดี (นึกได้เลยโทรเข้า ศูนย์ นเรนทร แจ้งเหตุไป โดยให้เบอร์ติดต่อกลับไว้ ยังไงก็เรียกไว้ก่อน )
ผมก็ไม่เคยเจอเคสชักกับตัวซะด้วย ส่วนมากเจอ คือขาหัก รถชน สลบ หัวแตก โดนฟัน
เคสนี้ไม่เคยเจอยอมรับว่า ไม่กล้าออกความเห็น
จนกระทั่ง น้องเขาดีขึ้น และลุงเขามาถึงพอดี (น่าจะกินเหล้ามา คอแดงมาเลย)
ลุงช่วยกันพยุงไป หลบฝนตรงข้ามหอพักที่ผมเล็งไว้
โดยให้นอนบนแคร่ไม่ไผ่
ผมเห็นอาการดีขึ้น เลยจะกลับละ
เดินไปเข็นรถกลับมา ตรงที่คนป่วยนอน กะจะดูให้แน่ใจ
ทันใดนั้น เธอก็ร้องไห้ครับ ร้องไห้แบบเสียใจ ฮือๆๆๆ แล้วก็ กระตุกชัก ทีนี้แรงมาก ต้องช่วยกันกด (กลุ่มเดิม)
เนื่องจากคนมามุงมากแล้ว เสียงคนพูดเลยเริ่มดัง
"เรียกรถพยาบาลหรือยัง"
"ใครมีรถมั่ง"
"ไปแท๊กซี่ไหม"
"พาไปหาหมดเถอะ เดี๋ยวตาย"
ในระหว่างกำลังมุง มีคุณป้าอีกคน เดินถือร่มเข้ามาดู
คนนี้ ดูเหมือน เป็นครูเลย เพราะ คำพูดมีหลักการและเป็นผู้ใหญ่มาก
คำแรกที่ป้าถือร่มพูดคือ
"เรียกรถพยาบาลหรือยัง น้องเขาชักหนักนะ"
ป้าที่ช่วยไม่ตอบ
"นี่ เธอน่าจะช่วยผิดวิธีนะ อาการก็หนักเชียว เขาเป็นอะไรขึ้นมา รับผิดชอบไหวเหรอ ?"
(โอ๊ยยย ตรงใจ)
ป้าที่กำลังช่วย หันมาตอบกับป้าถือร่ม แต่มองมาที่ผมว่า
"รถพยาบาลมาหรือยัง ?"
(อ๊าวววววววววว ป้าาาาาาาาาาาาาาา ทำไมโยนงี้ละ)
ผมตอบไป "เรียกแล้วครับ แต่รถออกจาก วัชระ อาจจะนานหน่อย เดี๋ยวผมตามให้"
น้าอีกคนคุยกับ ศูนย์เอราวรรณ พอดี ผมเลยถามจากแก แกบอกรถกำลังมาแล้ว ไม่รู้ของหน่วยไหน ?
เราเลยไปสรุปให้ลุงที่เป็นญาติ ป้าที่ช่วย และป้าถือร่มและคนอื่นๆฟัง
ว่ารถกำลังมา
พี่คนนึง ไม่รู้เป็นเพื่อนของคนป่วยหรืออะไร บอกว่า น้องเขาไม่อยากไปโรงพยาบาล
และคนไข้ก็ตะโกนว่า ไม่ไป ไม่ไป โรงพยาบาล และก็ชักเบาๆต่อ
ผมเลยตัดสินใจพูดต่อทุกคนว่า
"โรคเกี่ยวกับอาการชักเป็นเรื่องของระบบ ประสาทครับ ต่อให้หายชักก็ควรส่งตัวไปโรงพยาบาล"
ลุงของผู้ป่วยบอกว่า
"หลานมันเพิ่งขึ้นมาหา ลุงที่กทม. ก่อนหน้านี้มันก็เป็น"
ผมถาม
"เป็นมานานไหมครับ โรคประจำตัวเหรอ ?"
ลุงตอบ
"ตั้งแต่ขึ้นมา ก็เป็น 2-3 ครั้งแล้ว"
ผมว่าส่งดีกว่าครับลุง ยิ่งเป็นหลายครั้ง ยิ่งมีความเสี่ยง
คราวนี้ทุกคนตรงนั้นฟังผมครับ และช่วยกันพูดให้ลุง เข้าใจว่าพาไปเถอะ เงินทองหาได้ ประมาณนั้น
ผมละออกมา จะกลับ เพราะ ไม่มีอะไรที่ผมทำได้แล้ว
ป้าถือร่มเดินเข้ามาคุย กับผม
"เธอมีความรู้ดีนะ เป็นอะไรละ"
"เอ่อ เป็น พนักงานบริษัทครับ พอดีเคยอบรม พยาบาลมา"
พูดจบ ป้าเดินมาคุยใกล้ๆ พูดว่า
"ถ้าอย่างนั้น ทันทีที่เห็นคนปฐมพยาบาลผิด เธอต้องรีบห้าม เธอรู้มากกว่าคนอื่น ป้ายืนดูมาพักนึงแล้ว "
ผมอึ้ง และ เข้าใจสิ่งที่ตัวเองไม่กล้าทำเมื่อ 20 นาทีก่อน
"แต่เธอทำดีแล้ว ที่ตัดสินใจเรียกรถไปก่อน"
ผมไม่ได้พูดตอบอะไรไป ในใจลึกๆโทษตัวเอง เล็กๆ ที่ไม่กล้าพูดออกไปแต่แรก
ผมขับรถออกมาจากตรงนั้น ระหว่างทาง กำลังจะถึงสี่แยกเหน่งจ๋าย พบว่ารถฉุกเฉินวิ่งสวนมาพอดี (น่าจะปอเต๊กตึ๊งนะ)
เลยเริ่มสบายใจขึ้น
เป็นบทเรียนและประสพการณ์ใหม่ของผมเลยครับ
แบ่งปันประสพการณ์ : ขับรถกลับบ้าน เจอคนนอนชักกลางถนน ท่ามกลางฝนตก
ออกจากออฟฟิศมา ฝนตกแรงพอควร ใส่เสื้อกันฝนถูกๆ กับหมวกกันน๊อค ขับฝ่าฝนกลับบ้าน
เข้าซอยลัด ลาดพร้าว 80 แยก 20 จะทะลุ ไปทางไปสี่แยกเหน่งจ๋าย
ขับไป เลยกลางซอยไป เจอ คนนอนชักบน ถนน กลางฝนที่ตก
เป็นผู้หญิง น่าจะอายุราว 24-25
มีผู้หญิง 6-7 คนกางร่มให้ คนป่วย ที่นอนชักอยู่
ผมจอดรถข้างๆ เดินลงไปดู
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เดินลงไป ถามอาการกับคนที่กำลังช่วย
ภาพที่เห็นคือ ป้าคนที่เสียงดังที่สุด แกคอยกำกับทุกอย่าง สั่งโน่นนี่
"กดไว้ กำลังจะดีขึ้น"
(ผู้ป่วยนอนบนพื้นถนน มีฝนตกตลอดเวลา)
"นวดขาไปเรื่อยๆ"
ป้าสั่งคนที่กำลังนวดขา
"เอายาดมมา"
ป้าพูดลอยๆ มีคนเปิดกระเป๋าหา ยาดม
"อย่าคิดมาก ทำใจสบายๆ"
ป้าพูดกับคนป่วยที่ชัก
"กดช้อนแน่นๆ" ป้าย้ำ
ภาพที่เห็นคือ มีเลือดในปากคนป่วย แต่ไม่มาก กับช้อนทานข้าว ที่กดแบบคว่ำช้อน ประกบกับลิ้น ของคนป่วย โดยพี่อีกคนที่ป้าบอก
ตอนนั้น คิดในใจ เท่าที่ผมอบรมมา ผมจำได้ว่า อาการชัก ไม่ควรใช้ช้อน
พยาบาลเคยบอกว่า มันเป็นความเข้าใจผิดของคนสมัยก่อน (ตอนประถมครูผมก็สอนนะว่าให้ใช้ช้อน)
แต่เราต้องอิงกับการรักษาที่ปัจจุบันที่สุด
เลยพูดทักไป ว่าลมชัก ไม่ต้องใช้ช้อน
ไม่มีใครตอบ
ไม่มีใครสนใจ
ป้าก็ยังสั่งให้เอาช้อนกดไว้
สักพัก ผู้ป่วยเริ่มพูดได้ พูดเบาๆ ว่า "อ๊าย ใจ ไม่ ออก"
ป้าให้คนเอากระดาษหนังสือพิมมืมาพัดให้อากาศเข้า จะได้หายใจได้
เริ่มมีคนมาดูเพิ่ม
มีคนทักให้ป้าเอาช้อนออก แต่ป้า ไม่ยอม บอกเอาออกก็กัดลิ้นตายพอดี
พริบตาเดียว ผู้ป่วยชัดเกร็ง เอวลอยจากพื้นเลย
คนแถวนั้นช่วยกันกดไว้
ถึงตรงนี้ ผมรวบรวมความกล้า
(คือผมไม่รู้จักใครตรงนั้นเลย แถมที่จะพูดออกไป มันขัดกับ การปฐมพยาบาลของแกสุดๆ)
เริ่มด้วย
"ป้าครับ ช่วยกันย้ายผู้ป่วย ไปใต้ถุน หอพักตรงนี้เถอะ ฝนมันตกไม่หยุด" (ห่างไป 10 เมตร)
ป้าไม่ฟัง และไม่มีใคร ขัด สิ่งที่ป้าทำ
กอรปกับอาการคนป่วย เริ่มหยุดเกร็งแล้ว
ผมถามอีก "มีใครเรียกรถพยาบาลหรือยัง ? ครับ น้องเขามีประกันสังคมไหม ?"
ไม่มีใครตอบ
น้าคนนึง ผู้ชายเดินมาดู น่าจะรู้จักป้า เลยบอก "เรียกรถพยาบาลเลยไหม ?"
ป้าบอก ไม่ต้องเรียกดีขึ้นแล้ว
นาทีนั้นผมไม่กล้าถามว่า ป้าเป็นญาติเขาหรือเปล่า ?
เพราะ จริงๆ ต้องให้ญาติตัดสินใจ ถ้าป้าเป็น ผู้หวังดี แต่กำลัง ตัดสินใจและช่วยผิดวิธี
จะทำยังไงดี (นึกได้เลยโทรเข้า ศูนย์ นเรนทร แจ้งเหตุไป โดยให้เบอร์ติดต่อกลับไว้ ยังไงก็เรียกไว้ก่อน )
ผมก็ไม่เคยเจอเคสชักกับตัวซะด้วย ส่วนมากเจอ คือขาหัก รถชน สลบ หัวแตก โดนฟัน
เคสนี้ไม่เคยเจอยอมรับว่า ไม่กล้าออกความเห็น
จนกระทั่ง น้องเขาดีขึ้น และลุงเขามาถึงพอดี (น่าจะกินเหล้ามา คอแดงมาเลย)
ลุงช่วยกันพยุงไป หลบฝนตรงข้ามหอพักที่ผมเล็งไว้
โดยให้นอนบนแคร่ไม่ไผ่
ผมเห็นอาการดีขึ้น เลยจะกลับละ
เดินไปเข็นรถกลับมา ตรงที่คนป่วยนอน กะจะดูให้แน่ใจ
ทันใดนั้น เธอก็ร้องไห้ครับ ร้องไห้แบบเสียใจ ฮือๆๆๆ แล้วก็ กระตุกชัก ทีนี้แรงมาก ต้องช่วยกันกด (กลุ่มเดิม)
เนื่องจากคนมามุงมากแล้ว เสียงคนพูดเลยเริ่มดัง
"เรียกรถพยาบาลหรือยัง"
"ใครมีรถมั่ง"
"ไปแท๊กซี่ไหม"
"พาไปหาหมดเถอะ เดี๋ยวตาย"
ในระหว่างกำลังมุง มีคุณป้าอีกคน เดินถือร่มเข้ามาดู
คนนี้ ดูเหมือน เป็นครูเลย เพราะ คำพูดมีหลักการและเป็นผู้ใหญ่มาก
คำแรกที่ป้าถือร่มพูดคือ
"เรียกรถพยาบาลหรือยัง น้องเขาชักหนักนะ"
ป้าที่ช่วยไม่ตอบ
"นี่ เธอน่าจะช่วยผิดวิธีนะ อาการก็หนักเชียว เขาเป็นอะไรขึ้นมา รับผิดชอบไหวเหรอ ?"
(โอ๊ยยย ตรงใจ)
ป้าที่กำลังช่วย หันมาตอบกับป้าถือร่ม แต่มองมาที่ผมว่า
"รถพยาบาลมาหรือยัง ?"
(อ๊าวววววววววว ป้าาาาาาาาาาาาาาา ทำไมโยนงี้ละ)
ผมตอบไป "เรียกแล้วครับ แต่รถออกจาก วัชระ อาจจะนานหน่อย เดี๋ยวผมตามให้"
น้าอีกคนคุยกับ ศูนย์เอราวรรณ พอดี ผมเลยถามจากแก แกบอกรถกำลังมาแล้ว ไม่รู้ของหน่วยไหน ?
เราเลยไปสรุปให้ลุงที่เป็นญาติ ป้าที่ช่วย และป้าถือร่มและคนอื่นๆฟัง
ว่ารถกำลังมา
พี่คนนึง ไม่รู้เป็นเพื่อนของคนป่วยหรืออะไร บอกว่า น้องเขาไม่อยากไปโรงพยาบาล
และคนไข้ก็ตะโกนว่า ไม่ไป ไม่ไป โรงพยาบาล และก็ชักเบาๆต่อ
ผมเลยตัดสินใจพูดต่อทุกคนว่า
"โรคเกี่ยวกับอาการชักเป็นเรื่องของระบบ ประสาทครับ ต่อให้หายชักก็ควรส่งตัวไปโรงพยาบาล"
ลุงของผู้ป่วยบอกว่า
"หลานมันเพิ่งขึ้นมาหา ลุงที่กทม. ก่อนหน้านี้มันก็เป็น"
ผมถาม
"เป็นมานานไหมครับ โรคประจำตัวเหรอ ?"
ลุงตอบ
"ตั้งแต่ขึ้นมา ก็เป็น 2-3 ครั้งแล้ว"
ผมว่าส่งดีกว่าครับลุง ยิ่งเป็นหลายครั้ง ยิ่งมีความเสี่ยง
คราวนี้ทุกคนตรงนั้นฟังผมครับ และช่วยกันพูดให้ลุง เข้าใจว่าพาไปเถอะ เงินทองหาได้ ประมาณนั้น
ผมละออกมา จะกลับ เพราะ ไม่มีอะไรที่ผมทำได้แล้ว
ป้าถือร่มเดินเข้ามาคุย กับผม
"เธอมีความรู้ดีนะ เป็นอะไรละ"
"เอ่อ เป็น พนักงานบริษัทครับ พอดีเคยอบรม พยาบาลมา"
พูดจบ ป้าเดินมาคุยใกล้ๆ พูดว่า
"ถ้าอย่างนั้น ทันทีที่เห็นคนปฐมพยาบาลผิด เธอต้องรีบห้าม เธอรู้มากกว่าคนอื่น ป้ายืนดูมาพักนึงแล้ว "
ผมอึ้ง และ เข้าใจสิ่งที่ตัวเองไม่กล้าทำเมื่อ 20 นาทีก่อน
"แต่เธอทำดีแล้ว ที่ตัดสินใจเรียกรถไปก่อน"
ผมไม่ได้พูดตอบอะไรไป ในใจลึกๆโทษตัวเอง เล็กๆ ที่ไม่กล้าพูดออกไปแต่แรก
ผมขับรถออกมาจากตรงนั้น ระหว่างทาง กำลังจะถึงสี่แยกเหน่งจ๋าย พบว่ารถฉุกเฉินวิ่งสวนมาพอดี (น่าจะปอเต๊กตึ๊งนะ)
เลยเริ่มสบายใจขึ้น
เป็นบทเรียนและประสพการณ์ใหม่ของผมเลยครับ