[บทความต้นฉบับที่
MasterChaet.com:
http://j.mp/W1KQfQ] ผมเป็นหนึ่งในหลายๆ คน ที่เดินมาในสายของนิเทศศาสตร์ตั้งแต่ต้น ปริญญาตรีก็จบนิเทศศาสตร์ ปริญญาโทก็จบนิเทศศาสตร์ และคาดว่าปริญญาเอกก็คงจะเรียนนิเทศศาสตร์อีกเหมือนกัน ดูเผินๆ เหมือนจะไม่มีอะไรนะครับ แต่ก็ไม่วายมีคนสงสัยจนได้ คือตอนปริญญาตรี ผมจบมาในสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ไม่มีใครสงสัยหรอกครับ ฟังชื่อก็รู้ว่าเกี่ยวกับอะไร พอพูดต่อถึงปริญญาโท ผมจบมาในสาขาการสื่อสารผ่านสื่อและวาทนิเทศ (เป็นการแบ่งกลุ่มเรียนภายใน ไม่มีบันทึกในวุฒิการศึกษา) ทุกคนจะมีคำถามทันทีว่า “วาทนิเทศ” คืออะไร? เรียนเกี่ยวกับอะไร? จบมาแล้วทำอะไร? ไอไม่รู้จักสาขานี้เลย (อ่านคำถามด้วยสำเนียงฝรั่งพูดไทย จะได้อารมณ์เป็นพิเศษ) ต้องบอกว่าโดนถามจนชินน่ะครับ พี่ๆ น้องๆ โดนกันทุกรุ่นอย่างเท่าเทียม ทั้ง ป.ตรี ป.โท ป.เอก จะเลี่ยงไม่บอกสาขาไปแต่แรก ก็กลัวเขาจะไม่เข้าใจตัวตนของเรา แถมคนที่ถาม ก็จะมีภาพจำไว้ล่วงหน้าเลยว่า มันต้องเรียนเกี่ยวกับการพูดแน่ๆ เลย วาทะๆ เนี่ย ขอแสดงความยินดีครับ ท่านทายถูกตั้ง “ติ่ง” หนึ่งแน่ะ
สาขาผมดังมากนะครับ ย้ำเลยว่าดังมาก ในหลายมหาวิทยาลัยจะเป็นสาขาที่ใหญ่มาก บางที่ใหญ่เบ้อเริ่มจนต้องแยกมาตั้งคณะของตัวเองเลยก็มี แต่นั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาครับ ในประเทศไทยสาขาวาทนิเทศถือเป็นสาขาทางนิเทศศาสตร์ที่เล็กมาก และมีเปิดการเรียนการสอนอยู่เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น หลักๆ คือที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีหลักสูตรทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท ถามว่าทำไมถึงเล็ก ผมก็จะตอบว่ามันประกอบมาจากหลายสาเหตุครับ ไม่ว่าจะเป็นการที่คนทั่วไปไม่ค่อยเข้าใจว่าวาทนิเทศนั้นคืออะไร ไหนจะเรื่องที่สาขานี้ มีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในจำนวนที่ไม่มากนัก ปริมาณนักวิชาการที่สามารถผลิตได้ในแต่ละปี (ป.โท และ ป.เอก) ก็เกิดขึ้นได้ในวงจำกัด แต่ในความคิดเห็นของผมนั้น สิ่งที่เป็นปัญหาหลักคือความไม่เข้าใจนี่แหละครับ นักศึกษาไม่เข้าใจ ก็ไม่เลือกเรียน ผู้ประกอบการไม่เข้าใจ ก็จะวางตำแหน่งงานผิดพลาด ซึ่งกลายเป็นเหตุที่สาขานี้ไม่มีอาชีพเฉพาะมากนัก และอาชีพที่ควรจะเป็นของสาขานี้ กลับให้คนในสาขาอื่นที่ไม่ตรงนักมาทำแทน
สรุปแล้ว “วาทนิเทศ” คืออะไรกันแน่ วาทนิเทศถือเป็นองค์ความรู้เก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุดในบรรดาสาขาวิชาด้านการสื่อสารทุกแขนง เอกสารตำราบางเล่ม ย้อนกันได้ถึงอารยธรรมอียิปต์โบราณเลยด้วยซ้ำ แต่ถ้านับเอายุคแห่งความรุ่งเรืองของศาสตร์สาขานี้จริงๆ ก็คงจะต้องเริ่มกันที่ยุคของกรีกและโรมัน กับสามปรมาจารย์ โสเครติส เพลโต และอริสโตเติล กาลเวลาผ่านไป แนวคิดทางวาทนิเทศก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ผ่านยุคกลาง ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ล่วงถึงยุคสมัยใหม่ จนช่วงปลายศตวรรษที่ 19 วาทนิเทศก็ปรากฏชื่อในวงการการศึกษาขั้นสูง (วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย) เป็นครั้งแรก ถ้าในภาษาอังกฤษ เราเริ่มกันมาจากชื่อ “Speech Communication” ครับ แต่ด้วยความที่วาทนิเทศไม่ใช่แค่การพูดอย่างเดียว แต่เป็นแก่นแท้ของสาขานิเทศศาสตร์ (ที่เริ่มต้นด้วยการใช้สื่อบุคคลเป็นหลัก) ในปัจจุบัน วาทนิเทศจึงมักเป็นที่รู้จักในชื่อของ “Human Communication” หรือ “Communication Studies” แทน ซึ่งจะสามารถสื่อความได้ตรงตัวกว่าในความหมายของการสื่อสารมนุษย์และการศึกษาการสื่อสาร
“วาทนิเทศ” คือแขนงหนึ่งของสาขานิเทศศาสตร์ ที่มุ่งเน้นศึกษาการสื่อสารทุกรูปแบบที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ทั้งในแง่ปรัชญา กระบวนการคิด และการแสดงออกด้วยรูปแบบต่างๆ ทั้งวัจนภาษา (การพูด การเขียน สัญลักษณ์) และอวัจนภาษา (ท่าทาง น้ำเสียง ลีลา ฯลฯ) ทั้งแบบที่ผ่านสื่อและไม่ผ่านสื่อ วาทนิเทศจึงครอบคลุมถึงการสื่อสารของมนุษย์ที่ผ่านสื่อสมัยใหม่อย่างสื่อสังคมออนไลน์ด้วย โดยองค์ความรู้ที่เป็นที่รู้จักของวาทนิเทศ เช่น การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม การฝึกอบรม การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การเจรจาต่อรอง การสื่อสารภายในองค์กร วาทกรรมกับสังคม การสื่อสารผ่านสื่อ บุคลิกภาพและการแสดงออก การนำเสนอผลงานอย่างมืออาชีพ การออกแบบสื่อนำเสนอ การสื่อสารในวาระพิเศษ การบริหารจัดการโครงการ ฯลฯ นี่เป็นเพียงองค์ความรู้ส่วนหนึ่งของวาทนิเทศเท่านั้น อย่างที่ผมได้เล่าไปก่อนหน้านี้ ว่าวาทนิเทศคือแก่นของนิเทศศาสตร์ องค์ความรู้ของสาขาจึงมีความครอบคลุมสูง และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย
ในประเทศไทย บุคลากรที่สำเร็จการศึกษาไปจากสาขาวาทนิเทศ มีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอาชีพสายตรง อย่างนักประมูลงาน พิธีกรและผู้ดำเนินรายการ ผู้ประกาศทางวิทยุและโทรทัศน์ วิทยากรในองค์กรชั้นนำ นักประสานงานภายใน นักสื่อสารภายในองค์กร นักบริหารโครงการ นักพูดในโอกาสพิเศษ นักพัฒนาบุคลิกภาพ นักพัฒนาทักษะการสื่อสาร นักกลยุทธ์ทางการสื่อสาร ฯลฯ หรือจะเป็นอาชีพที่สามารถนำเอาทักษะด้านวาทนิเทศไปใช้ อย่างนักร้องและนักแสดง ครูผู้สอนศิลปินฝึกหัด นักเขียน แอร์โฮสเตส อาจารย์มหาวิทยาลัย นักออกแบบการสื่อสารบนสื่อสมัยใหม่ ฯลฯ หลากหลายดีใช่ไหมครับ ในบางครั้ง ผมเองก็เลือกอธิบายนิยามทางวิชาชีพของชาววาทนิเทศสั้นๆ ว่า “ตราบใดที่มนุษย์ยังคงต้องสื่อสารกันอยู่ ชาววาทนิเทศจะยังคงมีงานทำ” ผมหวังว่า บทความเล็กๆ ที่ผมเขียน จะทำให้หลายๆ ท่านที่ยังไม่เข้าใจตัวตนของสาขานี้ ได้เห็นภาพและขอบเขตของวาทนิเทศอย่างชัดเจนมากขึ้น และผมยังคงหวังต่อไปอีกว่า แขนงวิชาที่สร้างผมมาจะโตวันโตคืน และกลายเป็นสาขาสำคัญของนิเทศศาสตร์ อย่างที่สาขานี้ควรจะเป็น
“วาทนิเทศ” กับคำถามที่ต้องตอบ — แนะนำแขนงวิชาที่เก่าแก่ที่สุดของสาขานิเทศศาสตร์เพื่อความเข้าใจของผู้เรียนและผู้ประกอบการ
สาขาผมดังมากนะครับ ย้ำเลยว่าดังมาก ในหลายมหาวิทยาลัยจะเป็นสาขาที่ใหญ่มาก บางที่ใหญ่เบ้อเริ่มจนต้องแยกมาตั้งคณะของตัวเองเลยก็มี แต่นั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาครับ ในประเทศไทยสาขาวาทนิเทศถือเป็นสาขาทางนิเทศศาสตร์ที่เล็กมาก และมีเปิดการเรียนการสอนอยู่เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น หลักๆ คือที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีหลักสูตรทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท ถามว่าทำไมถึงเล็ก ผมก็จะตอบว่ามันประกอบมาจากหลายสาเหตุครับ ไม่ว่าจะเป็นการที่คนทั่วไปไม่ค่อยเข้าใจว่าวาทนิเทศนั้นคืออะไร ไหนจะเรื่องที่สาขานี้ มีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในจำนวนที่ไม่มากนัก ปริมาณนักวิชาการที่สามารถผลิตได้ในแต่ละปี (ป.โท และ ป.เอก) ก็เกิดขึ้นได้ในวงจำกัด แต่ในความคิดเห็นของผมนั้น สิ่งที่เป็นปัญหาหลักคือความไม่เข้าใจนี่แหละครับ นักศึกษาไม่เข้าใจ ก็ไม่เลือกเรียน ผู้ประกอบการไม่เข้าใจ ก็จะวางตำแหน่งงานผิดพลาด ซึ่งกลายเป็นเหตุที่สาขานี้ไม่มีอาชีพเฉพาะมากนัก และอาชีพที่ควรจะเป็นของสาขานี้ กลับให้คนในสาขาอื่นที่ไม่ตรงนักมาทำแทน
สรุปแล้ว “วาทนิเทศ” คืออะไรกันแน่ วาทนิเทศถือเป็นองค์ความรู้เก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุดในบรรดาสาขาวิชาด้านการสื่อสารทุกแขนง เอกสารตำราบางเล่ม ย้อนกันได้ถึงอารยธรรมอียิปต์โบราณเลยด้วยซ้ำ แต่ถ้านับเอายุคแห่งความรุ่งเรืองของศาสตร์สาขานี้จริงๆ ก็คงจะต้องเริ่มกันที่ยุคของกรีกและโรมัน กับสามปรมาจารย์ โสเครติส เพลโต และอริสโตเติล กาลเวลาผ่านไป แนวคิดทางวาทนิเทศก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ผ่านยุคกลาง ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ล่วงถึงยุคสมัยใหม่ จนช่วงปลายศตวรรษที่ 19 วาทนิเทศก็ปรากฏชื่อในวงการการศึกษาขั้นสูง (วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย) เป็นครั้งแรก ถ้าในภาษาอังกฤษ เราเริ่มกันมาจากชื่อ “Speech Communication” ครับ แต่ด้วยความที่วาทนิเทศไม่ใช่แค่การพูดอย่างเดียว แต่เป็นแก่นแท้ของสาขานิเทศศาสตร์ (ที่เริ่มต้นด้วยการใช้สื่อบุคคลเป็นหลัก) ในปัจจุบัน วาทนิเทศจึงมักเป็นที่รู้จักในชื่อของ “Human Communication” หรือ “Communication Studies” แทน ซึ่งจะสามารถสื่อความได้ตรงตัวกว่าในความหมายของการสื่อสารมนุษย์และการศึกษาการสื่อสาร
“วาทนิเทศ” คือแขนงหนึ่งของสาขานิเทศศาสตร์ ที่มุ่งเน้นศึกษาการสื่อสารทุกรูปแบบที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ทั้งในแง่ปรัชญา กระบวนการคิด และการแสดงออกด้วยรูปแบบต่างๆ ทั้งวัจนภาษา (การพูด การเขียน สัญลักษณ์) และอวัจนภาษา (ท่าทาง น้ำเสียง ลีลา ฯลฯ) ทั้งแบบที่ผ่านสื่อและไม่ผ่านสื่อ วาทนิเทศจึงครอบคลุมถึงการสื่อสารของมนุษย์ที่ผ่านสื่อสมัยใหม่อย่างสื่อสังคมออนไลน์ด้วย โดยองค์ความรู้ที่เป็นที่รู้จักของวาทนิเทศ เช่น การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม การฝึกอบรม การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การเจรจาต่อรอง การสื่อสารภายในองค์กร วาทกรรมกับสังคม การสื่อสารผ่านสื่อ บุคลิกภาพและการแสดงออก การนำเสนอผลงานอย่างมืออาชีพ การออกแบบสื่อนำเสนอ การสื่อสารในวาระพิเศษ การบริหารจัดการโครงการ ฯลฯ นี่เป็นเพียงองค์ความรู้ส่วนหนึ่งของวาทนิเทศเท่านั้น อย่างที่ผมได้เล่าไปก่อนหน้านี้ ว่าวาทนิเทศคือแก่นของนิเทศศาสตร์ องค์ความรู้ของสาขาจึงมีความครอบคลุมสูง และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย
ในประเทศไทย บุคลากรที่สำเร็จการศึกษาไปจากสาขาวาทนิเทศ มีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอาชีพสายตรง อย่างนักประมูลงาน พิธีกรและผู้ดำเนินรายการ ผู้ประกาศทางวิทยุและโทรทัศน์ วิทยากรในองค์กรชั้นนำ นักประสานงานภายใน นักสื่อสารภายในองค์กร นักบริหารโครงการ นักพูดในโอกาสพิเศษ นักพัฒนาบุคลิกภาพ นักพัฒนาทักษะการสื่อสาร นักกลยุทธ์ทางการสื่อสาร ฯลฯ หรือจะเป็นอาชีพที่สามารถนำเอาทักษะด้านวาทนิเทศไปใช้ อย่างนักร้องและนักแสดง ครูผู้สอนศิลปินฝึกหัด นักเขียน แอร์โฮสเตส อาจารย์มหาวิทยาลัย นักออกแบบการสื่อสารบนสื่อสมัยใหม่ ฯลฯ หลากหลายดีใช่ไหมครับ ในบางครั้ง ผมเองก็เลือกอธิบายนิยามทางวิชาชีพของชาววาทนิเทศสั้นๆ ว่า “ตราบใดที่มนุษย์ยังคงต้องสื่อสารกันอยู่ ชาววาทนิเทศจะยังคงมีงานทำ” ผมหวังว่า บทความเล็กๆ ที่ผมเขียน จะทำให้หลายๆ ท่านที่ยังไม่เข้าใจตัวตนของสาขานี้ ได้เห็นภาพและขอบเขตของวาทนิเทศอย่างชัดเจนมากขึ้น และผมยังคงหวังต่อไปอีกว่า แขนงวิชาที่สร้างผมมาจะโตวันโตคืน และกลายเป็นสาขาสำคัญของนิเทศศาสตร์ อย่างที่สาขานี้ควรจะเป็น