รายการ SciFind ตอนที่ 4 "ไมโครเวฟ อันตรายจริงหรือ"

คลิปที่ 4 ของ Sci Find มาฟังการตอบข้อสงสัยของการใช้ไมโครเวฟ..จาก อ.ยอ หรือ ผศ.ดร.สุรเชษฐ์ หลิมกำเนิด ..อะไรที่เป็นแค่ความเชื่อ อะไรที่เป็นเรื่องจริง..ความปลอดภัยและอันตรายที่เกิดจากไมโครเวฟ รับรองว่าดูแล้วจะเข้าใจ รวมทั้งสามารถใช้ไมโครเวฟได้แบบถูกวิธี

ถ้าชอบ อย่าลืมกดไลท์ที่ยูทูปด้วยนะครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ใครยังไม่ได้กดไลค์เพจ SciFind ... เชิญกดไลค์ได้ที่ https://www.facebook.com/pages/SciFind/738735629503410 ครับ จะได้ติดตามผลงานกัน ไม่ให้พลาด

---------------------------------------------
ไมโครเวฟอันตรายจริงหรือ

ข้อมูลโดย ผศ.ดร.สุรเชษฐ์ หลิมกำเนิด
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Q - ใช้เตาไมโครเวฟอันตรายต่อสุขภาพไหม
A - ไม่อันตราย คลื่นไมโครเวฟสามารถอุ่นอาหารได้ เนื่องจากอาหารแทบทุกประเภท มักมีน้ำเป็นส่วนประกอบ น้ำเป็นโมเลกุลที่มีขั้วไฟฟ้าอยู่ เมื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างไมโครเวฟ เคลื่อนที่ผ่านบริเวณที่มีน้ำ โมเลกุลของน้ำที่อยู่ในอาหารจะได้รับการเหนี่ยวนำให้หมุนขั้ว กลับไปมาจนเสียดสีกับโมเลกุลข้างเคียงเกิดเป็นความร้อนขึ้น ถ้าเราใช้เตาไมโครเวฟอย่างถูกวิธี คุณค่าของอาหารจะไม่ได้แตกต่างจากการให้ความร้อนโดยวิธีปกติเลย แถมยังมีแนวโน้มจะรักษา สารอาหารต่าง ๆ เอาไว้ได้ดีกว่าอีกด้วย เพราะใช้เวลาในการให้ความร้อนที่น้อยกว่า

Q – คลื่นจากไมโครเวฟทำให้โครงสร้างโมเลกุลของอาหารเปลี่ยนแปลงไปจริงหรือ
A - จริง การใช้ไมโครเวฟอุ่นอาหารทำให้โครงสร้างในระดับพันธะของอาหารเปลี่ยนไป
แต่ก็ไม่อันตราย เพราะจริง ๆ แล้วการปรุงอาหารโดยการให้ความร้อน ไม่ว่าจะด้วยกรรมวิธีใด ก็ทำให้เกิความเปลี่ยนแปลงสมบัติของอาหารในระดับโมเลกุลทั้งนั้น การที่เนื้อได้รับความร้อน จากการย่างจนเปลี่ยนสีและความยืดหยุ่น ก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุลเช่นกัน

Q - ภาชนะแบบไหนที่ไม่ควรนำมาใช้กับไมโครเวฟ
A - ไม่ควรนำภาชนะที่ทำมาจากโฟม หรือพลาสติกคุณภาพต่ำเข้าไปใช้ในเตาไมโครเวฟ เคยมีการทดลอง นำภาชนะบางประเภทที่ทำจากพลาสติกคุณภาพต่ำไปอุ่นในเตาไมโครเวฟ แล้วพบปริมาณของพลาสติก ที่ละลายออกมาเกินกว่าระดับที่ปลอดภัยต่อมนุษย์ แม้แต่ภาชนะพลาสติกที่ระบุว่าเป็น microwave safe หรือปลอดภัยต่อการใช้กับเตาไมโครเวฟ เพราะสัญลักษณ์ดังกล่าวเป็น การทำขึ้นเองจากโรงงาน ผู้บริโภคจึงควรระวังด้วยตัวเอง เช่น เลือกใช้ชามแก้ว หรือชามกระเบื้องทนไฟแทนชามพลาสติกที่ไม่มั่นใจ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่