เรียนถามนักบัญชีและภาษีอากรครับ
บริษัทฯ เป็นบริษัทค้าอสังหาริมทรัพย์ ได้ทำการซื้อที่ดินมาเพื่อก่อสร้างคอนโด โดยจากผังโครงการ ต้องมีการแบ่งที่ดินบางส่วนออกเป็นถนนสาธารณะประโชยน์ เพื่อเป็นการประหยัดภาษีและค่าธรรมเนียมการโอน บริษัทจึงได้ให้เจ้าของที่ดินทำการแบ่งโฉนดออกเป็น 2 ส่วนคือ
1.ส่วนที่เป็นที่ตั้งของโครงการ
2.ส่วนที่จะโอนให้กับเขต(เป็นทางสาธารณะ)
ณ วันที่ทำการโอนที่ๆดิน
ส่วนที่ 1 ได้ทำการโอนให้กับบริษัท เสียภาษีและค่าธรรมเนียมที่กรมที่ดินถูกต้อง หลังโฉนด กรรมสิทธิ เป็นของบริษัทเรียบร้อย (จากเจ้าของที่ดินเดิม ย้ายไปเป็นของบริษัท)
ส่วนที่ 2 ได้ให้เจ้าของที่ดินเดิมทำการโอนให้กับหลวงเลย เสียค่าธรรมเนียมประมาณ 25 บาท หลังโฉนดระบุเป็นของสาธารณะ (จากเจ้าของที่ดินเดิม ย้ายไปเป็นของสาธารณะ โดยไม่ได้ผ่านทางบริษัท) และเอกสารทางราชการในส่วนของแบบยื่นเรื่องบริจาคทรัพย์ให้หลวง ก็ระบุว่าเจ้าของที่ดินเดิมได้ยกที่ดินให้กับหลวง มิใช้ตัวบริษัทยกให้กับหลวง แต่เอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแนบท้ายระบุไว้แล้วว่าส่วนที่ 2 จะยกให้หลวงเป็นถนนสาธารณะ
จากที่กล่าวมาจึงอยากเรียนถามในส่วนที่ 2 ว่า
1. ในทางบัญชี มูลค่าที่ดินส่วนที่ 2 ถือเป็นต้นทุนของโครงการได้หรือไม่
2. ในทางภาษี จากที่ทราบมาการยกทรัพย์สินให้กับหลวงถือเป็นรายจ่ายการกุศล ถือเป็นรายจ่ายได้ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิทางภาษี เท่ากับว่าที่ดินส่วนนี้ไม่ถือเป็นต้นทุนทางภาษีใช่หรือไม่
3. ในทางภาษี (ที่กลัวที่สุด) เอกสารทางราชการระบุว่าเจ้าของที่ดินเดิมได้ยกที่ดินให้กับหลวงมิใช่บริษัทเป็นผู้ให้ อย่างนี้แล้วเงินค่าที่ดินในส่วนที่ 2 ที่บริษัทจ่ายไปให้กับเจ้าของที่ดินเดิม จะถือเป็นรายได้จ่ายภาษี (รายการจ่ายกุศล) ได้หรือไม่ เพราะสาเหตุที่ไม่โอนให้บริษัทก่อน เพราะต้องการประหยัดภาษีและค่าธรรมเนียมการโอน
4. ระหว่างเอกสารทางราชการ กับ เอกสารภายใน(หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน) สรรพากรให้น้ำหนักตัวไหนในการประเมินมากกว่ากันครับ เพราะกลัวว่าค่าที่ดินในส่วนที่ 2 สรรพากรจะมองว่าบริษัทไม่ได้เป็นผู้ยกให้กับหลวง และหลังโฉนดที่ดินก็ไม่ได้ระบุว่าบริษัทเคยครอบครองที่ดินนี้มาก่อน แล้วจะประเมินว่าเงินที่จ่ายไปในส่วนที่ 2 เป็นเงินที่จ่ายไปโดยเสน่ห์หา และจะกลายเป็นค่ารับรอง หรือค่าใช้จ่ายบวกกลับทั้งจำนวน
แท็ก : ห้องสิธร ด้วยเพราะคิดว่านักวิเคราะห์งบการเงินจะพอตอบคำถามให้ได้
ขอบคุณมากครับ
(ถามนักบัญชี) เรื่องซื้อที่ดินมาเพื่อสร้างคอนโดขาย
บริษัทฯ เป็นบริษัทค้าอสังหาริมทรัพย์ ได้ทำการซื้อที่ดินมาเพื่อก่อสร้างคอนโด โดยจากผังโครงการ ต้องมีการแบ่งที่ดินบางส่วนออกเป็นถนนสาธารณะประโชยน์ เพื่อเป็นการประหยัดภาษีและค่าธรรมเนียมการโอน บริษัทจึงได้ให้เจ้าของที่ดินทำการแบ่งโฉนดออกเป็น 2 ส่วนคือ
1.ส่วนที่เป็นที่ตั้งของโครงการ
2.ส่วนที่จะโอนให้กับเขต(เป็นทางสาธารณะ)
ณ วันที่ทำการโอนที่ๆดิน
ส่วนที่ 1 ได้ทำการโอนให้กับบริษัท เสียภาษีและค่าธรรมเนียมที่กรมที่ดินถูกต้อง หลังโฉนด กรรมสิทธิ เป็นของบริษัทเรียบร้อย (จากเจ้าของที่ดินเดิม ย้ายไปเป็นของบริษัท)
ส่วนที่ 2 ได้ให้เจ้าของที่ดินเดิมทำการโอนให้กับหลวงเลย เสียค่าธรรมเนียมประมาณ 25 บาท หลังโฉนดระบุเป็นของสาธารณะ (จากเจ้าของที่ดินเดิม ย้ายไปเป็นของสาธารณะ โดยไม่ได้ผ่านทางบริษัท) และเอกสารทางราชการในส่วนของแบบยื่นเรื่องบริจาคทรัพย์ให้หลวง ก็ระบุว่าเจ้าของที่ดินเดิมได้ยกที่ดินให้กับหลวง มิใช้ตัวบริษัทยกให้กับหลวง แต่เอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแนบท้ายระบุไว้แล้วว่าส่วนที่ 2 จะยกให้หลวงเป็นถนนสาธารณะ
จากที่กล่าวมาจึงอยากเรียนถามในส่วนที่ 2 ว่า
1. ในทางบัญชี มูลค่าที่ดินส่วนที่ 2 ถือเป็นต้นทุนของโครงการได้หรือไม่
2. ในทางภาษี จากที่ทราบมาการยกทรัพย์สินให้กับหลวงถือเป็นรายจ่ายการกุศล ถือเป็นรายจ่ายได้ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิทางภาษี เท่ากับว่าที่ดินส่วนนี้ไม่ถือเป็นต้นทุนทางภาษีใช่หรือไม่
3. ในทางภาษี (ที่กลัวที่สุด) เอกสารทางราชการระบุว่าเจ้าของที่ดินเดิมได้ยกที่ดินให้กับหลวงมิใช่บริษัทเป็นผู้ให้ อย่างนี้แล้วเงินค่าที่ดินในส่วนที่ 2 ที่บริษัทจ่ายไปให้กับเจ้าของที่ดินเดิม จะถือเป็นรายได้จ่ายภาษี (รายการจ่ายกุศล) ได้หรือไม่ เพราะสาเหตุที่ไม่โอนให้บริษัทก่อน เพราะต้องการประหยัดภาษีและค่าธรรมเนียมการโอน
4. ระหว่างเอกสารทางราชการ กับ เอกสารภายใน(หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน) สรรพากรให้น้ำหนักตัวไหนในการประเมินมากกว่ากันครับ เพราะกลัวว่าค่าที่ดินในส่วนที่ 2 สรรพากรจะมองว่าบริษัทไม่ได้เป็นผู้ยกให้กับหลวง และหลังโฉนดที่ดินก็ไม่ได้ระบุว่าบริษัทเคยครอบครองที่ดินนี้มาก่อน แล้วจะประเมินว่าเงินที่จ่ายไปในส่วนที่ 2 เป็นเงินที่จ่ายไปโดยเสน่ห์หา และจะกลายเป็นค่ารับรอง หรือค่าใช้จ่ายบวกกลับทั้งจำนวน
แท็ก : ห้องสิธร ด้วยเพราะคิดว่านักวิเคราะห์งบการเงินจะพอตอบคำถามให้ได้
ขอบคุณมากครับ