*ไม่ใช่วิธีการคำณวนหามูลค่าค่าตัวของนักฟุตบอลเวลาที่มีการซื้อ-ขาย แต่เป็นลักษณะการดูว่าสโมสรหนึ่งๆ จะพิจารณาค่าตัวของนักเตะที่จะซื้อเข้ามาอย่างไร*
"ค่าตัว" ของนักฟุตบอลเป็นที่สนใจและเป็นสิ่งสำคัญในโลกฟุตบอลมาตลอดนั่นล่ะนะครับ สมัยก่อนนี่ ผมจำได้ว่าค่าตัวระดับ 15 ล้าน 20 ล้าน ก็ทำให้อื้ออึงได้ ว่าแล้วก็นึกถึงพวก คริสเตียน วิเอรี่, เฮอนัน เครสโป, กาเบรียล บาติสตูต้า ฯลฯ นะ ยุคโน้นนี่ เดนิลสัน ค่าตัว 22 ล้านกับเบติสฮือฮาแทบแย่
กลับมาก่อน
บางครั้งเราอาจจะสับสนเพราะคำว่า "ค่าตัว" หรือ "transfer fee" จนนำมาเปรียบเทียบและอาจทำให้มองค่าตัวของนักฟุตบอลผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง อ้าว แล้วจริงๆ ควรดูอย่างไร?
เริ่มแรกก่อนเลยสำหรับ "สโมสร" นั้น มีฐานะเป็นธุรกิจ เป็นกิจการ เป็น business ดังนั้นเวลามอง ต้องเริ่มปรับเป็น annual หรือคิดเป็นรายจ่าย "ต่อปี"
อย่างที่หลายๆ คนคุ้นๆ เวลาฝรั่งพูดเรื่องเงินเดือนเค้าจะพูดเป็น "ต่อปี" เช่นเดียวกับนักฟุตบอลในบางลีกบางประเทศ (เยอรมัน, สเปน ฯลฯ) ก็จะบอกว่า นักเตะคนนี้ๆ ได้ "ค่าเหนื่อยต่อปี" เป็นที่เท่าไหร่นั่นเอง
ต่อมา สิ่งที่สโมสรต้องนำมาคิดเวลาที่ซื้อนักเตะสักคน -ค่าตัว- เป็นแค่ส่วนเดียวอย่างที่บอก จริงๆ สโมสรต้องนำ ค่าเหนื่อย, ไซน์ออน-โบนัส (โบนัสตอนเซ็นสัญญา), agent fee, ค่าลิขสิทธิ์ และอื่นๆ จิปาถะมาคิดรวมด้วย แต่ เอาเป็นว่าหลักๆ ดูแค่ "transfer fee + wage" ก็พอ
วิธีที่สโมสรเค้าคำณวนก็คือ เอาทุกอย่างมาหารตาม "จำนวนปี" หรืออายุสัญญา ซึ่งโดยนัยก็คือ "อายุการใช้งาน" ของทรัพย์สินนั้นๆ นั่นเอง
เช่น นักเตะค่าตัว 64 ล้านปอนด์ ก็นำมาหารด้วยอายุสัญญา สมมุติ 5 ปีก็เป็น 64/5 = 12.8 ล้านปอนด์ต่อปี
เช่นเดียวกันกับ ค่าเหนื่อย สมมุติ 200,000 ปอนด์/สัปดาห์ ก็นำมาทำเป็นปี คือ 200,000 x 52 = 10.4 ล้านปอนด์ต่อปี
หาค่าตัวกลมๆ ต้องนำ ค่าเหนื่อยต่อปี x อายุสัญญา คือ 10.4 x 5 = 52 ล้านปอนด์ บวกกับค่าตัว 64 ล้านปอนด์ เท่ากับสโมสรมีภาระทางการเงินกับนักเตะนิรนามคนนี้ 116 ล้านปอนด์ตลอด 5 ปีของอายุการใช้งาน และคิดเป็นต่อปีคือปีละ 23.2 ล้านปอนด์ นั่นเอง
ดังนั้นแล้ว บางครั้ง เราจึงจะได้ยินอะไรแปลกๆ เพิ่มขึ้นในระยะหลังๆ เช่น ทีมเอ พร้อมทุ่มเงิน 100 ล้านเป็นค่าตัวนักเตะ แต่พ่วงมาด้วยว่านี่คือ "งบรวม" คือค่าตัวบวกค่าเหนื่อยตลอดอายุสัญญา ไม่ใช่ค่าฉีกสัญญาอย่างเดียวอย่างที่เราเคยชินกัน
หากจำไม่ผิด ก่อนหน้านี้ แมนฯยูไนเต็ด ก็เคยมีข่าวกับ เวสลีย์ ชไนเดอร์ ตามข่าวว่าล้มเหลวเพราะเกิน "งบที่ตั้งไว้" คือ ต้องลดอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ค่าตัวก็ค่าเหนื่อย คิดง่ายๆ เหมือนกับว่า กุให้งบรวมไปสมมุติ 70 ล้านปอนด์อายุสัญญา 4 ปีนะ ไปบริหารยังไงก็ได้ โดยรวมทั้ง "ค่าตัว" และ "ค่าเหนื่อย" อยู่ในนั้นเลย ปรับเอาตามใจชอบ
นี่คือ สิ่งที่สโมสรคิด
นอกจาก 2 ปัจจัยหลักข้างบน ที่เหลือก็อย่างที่เราๆ ทราบกัน ไม่ว่าโบนัส, ค่าต่อสัญญา, ค่านายหน้า ฯลฯ ซึ่งปกติก็ไม่ได้ถึงกับมากมายเท่าไหร่อยู่แล้ว เว้นในบางกรณีที่มหาศาลจริงๆ สื่อก็จะกระพือให้เอง
อีกเรื่องคือ นักเตะบางคนอาจจะหมดสัญญา ย้ายทีมฟรี เราก็นึกว่าสโมสรใหม่นี่หวานปากเลย ไม่ต้องจ่าย transfer fee แต่เอาเข้าจริงแล้ว ถ้านักเตะคนนั้นค่อนข้างดัง มีชื่อเสียง ค่า signon-fee ก็อาจจะสูงพอๆ กับการเซ็นสัญญาเล็กๆ ได้เลย ก็อาจเป็นล้านหรือหลายล้านยูโร
ดังนั้นการเซ็นสัญญาพวกฟรีเอเจ้นท์ก็ไม่ได้แปลว่าจะถูกกว่าการซื้อตัวเสมอไป ถ้าตัวที่ซื้อนั้นค่าตัวไม่แพง และค่าเหนื่อยก็ไม่แพง
สำคัญคือ เวลามองค่าตัวนักเตะในมุมมองของสโมสร มองแค่ค่าตัวอย่างเดียวไม่ได้ ดังนั้น สมมุติว่าเอานักเตะ 2 ที่ค่าตัวพอๆ กันมาเทียบเคียงกัน บางครั้งจึงทำไม่ได้
เช่นว่า สมมุติ นักเตะ 2 คนค่าตัวอาจจะ 40 ล้านปอนด์เท่ากันเด๊ะเลย
แต่คนนึงสัญญา 4 ปี อีกคน 6 ปี
คนนึงค่าเหนื่อย 2 แสน อีกคน 1 แสน
ต่างๆ เหล่านี้คงพอจะเห็นภาพได้ว่าสำหรับสโมสรนั้นถึงแม้นักเตะ 2 คนนี้อาจจะมี transfer fee พอๆ หรือเท่ากัน แต่ถ้ารวมทุกอย่างแล้วหารด้วยอายุสัญญาแล้ว จะต่างกันชนิดหลายล้านหรือถึงสิบล้านปอนด์เลยทีเดียว
คนแรก 41.6 + 40 ล้าน = 81.6 ล้าน = 4 ปีๆ ละ 20.4 ล้านปอนด์
คนที่สอง 31.2 + 40 ล้าน = 71.2 ล้าน = 6 ปีๆ ละ 11.87 ล้านปอนด์
จะเห็นว่าตามตย.นี้ ค่าตัวหรือ transfer fee เท่ากันเด๊ะ แต่พอคิดเป็นรายจ่ายต่อไปที่สโมสรต้องรับภาระแล้วต่างกันเกือบครึ่งเลยทีเดียว
สโมสรต่างๆ กล้าๆ ทุ่มค่าตัวแพงๆ ให้นักเตะอายุน้อยๆ ได้ ก็เพราะมองว่าอายุการใช้งานนาน เมื่อนำมาหารค่าตัว คิดเป็นรายจ่ายต่อปีแล้ว ต่อให้ค่าตัวระดับ 50-60 ล้าน ถ้าเล่นได้ถึง 10 ปี ยังไงก็คุ้ม นี่คือการคะเนไว้ด้วยว่ามาตรฐานฝีเท้าของเจ้าตัวอยู่ในระดับเดิม (หรือพัฒนาขึ้นยิ่งดีใหญ่)
ท้ายที่สุด ไม่ว่าจะถูกจะแพง ก็คงต้องดูอีกว่า ทีมนั้นๆ มีกำลังทรัพย์แค่ไหน รายจ่ายคิดเป็นสัดส่วนของรายรับเท่าไหร่ ถ้าไม่มี Academy ดีๆ ที่ผลิตดางโรจน์มาให้ใช้งานสม่ำเสมอจริงๆ หรือมีทีม scout ที่สายตาแหลมคมกว้างไกลจริงๆ ถึงที่สุดจริงๆ ก็คงต้องต้องมานับเหรียญในกระเป๋าตังค์กันแบบนี้ล่ะนะครับ
ค่าตัวนักเตะ สำหรับสโมสรแล้วเค้ามองกันอย่างไร?
"ค่าตัว" ของนักฟุตบอลเป็นที่สนใจและเป็นสิ่งสำคัญในโลกฟุตบอลมาตลอดนั่นล่ะนะครับ สมัยก่อนนี่ ผมจำได้ว่าค่าตัวระดับ 15 ล้าน 20 ล้าน ก็ทำให้อื้ออึงได้ ว่าแล้วก็นึกถึงพวก คริสเตียน วิเอรี่, เฮอนัน เครสโป, กาเบรียล บาติสตูต้า ฯลฯ นะ ยุคโน้นนี่ เดนิลสัน ค่าตัว 22 ล้านกับเบติสฮือฮาแทบแย่
กลับมาก่อน
บางครั้งเราอาจจะสับสนเพราะคำว่า "ค่าตัว" หรือ "transfer fee" จนนำมาเปรียบเทียบและอาจทำให้มองค่าตัวของนักฟุตบอลผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง อ้าว แล้วจริงๆ ควรดูอย่างไร?
เริ่มแรกก่อนเลยสำหรับ "สโมสร" นั้น มีฐานะเป็นธุรกิจ เป็นกิจการ เป็น business ดังนั้นเวลามอง ต้องเริ่มปรับเป็น annual หรือคิดเป็นรายจ่าย "ต่อปี"
อย่างที่หลายๆ คนคุ้นๆ เวลาฝรั่งพูดเรื่องเงินเดือนเค้าจะพูดเป็น "ต่อปี" เช่นเดียวกับนักฟุตบอลในบางลีกบางประเทศ (เยอรมัน, สเปน ฯลฯ) ก็จะบอกว่า นักเตะคนนี้ๆ ได้ "ค่าเหนื่อยต่อปี" เป็นที่เท่าไหร่นั่นเอง
ต่อมา สิ่งที่สโมสรต้องนำมาคิดเวลาที่ซื้อนักเตะสักคน -ค่าตัว- เป็นแค่ส่วนเดียวอย่างที่บอก จริงๆ สโมสรต้องนำ ค่าเหนื่อย, ไซน์ออน-โบนัส (โบนัสตอนเซ็นสัญญา), agent fee, ค่าลิขสิทธิ์ และอื่นๆ จิปาถะมาคิดรวมด้วย แต่ เอาเป็นว่าหลักๆ ดูแค่ "transfer fee + wage" ก็พอ
วิธีที่สโมสรเค้าคำณวนก็คือ เอาทุกอย่างมาหารตาม "จำนวนปี" หรืออายุสัญญา ซึ่งโดยนัยก็คือ "อายุการใช้งาน" ของทรัพย์สินนั้นๆ นั่นเอง
เช่น นักเตะค่าตัว 64 ล้านปอนด์ ก็นำมาหารด้วยอายุสัญญา สมมุติ 5 ปีก็เป็น 64/5 = 12.8 ล้านปอนด์ต่อปี
เช่นเดียวกันกับ ค่าเหนื่อย สมมุติ 200,000 ปอนด์/สัปดาห์ ก็นำมาทำเป็นปี คือ 200,000 x 52 = 10.4 ล้านปอนด์ต่อปี
หาค่าตัวกลมๆ ต้องนำ ค่าเหนื่อยต่อปี x อายุสัญญา คือ 10.4 x 5 = 52 ล้านปอนด์ บวกกับค่าตัว 64 ล้านปอนด์ เท่ากับสโมสรมีภาระทางการเงินกับนักเตะนิรนามคนนี้ 116 ล้านปอนด์ตลอด 5 ปีของอายุการใช้งาน และคิดเป็นต่อปีคือปีละ 23.2 ล้านปอนด์ นั่นเอง
ดังนั้นแล้ว บางครั้ง เราจึงจะได้ยินอะไรแปลกๆ เพิ่มขึ้นในระยะหลังๆ เช่น ทีมเอ พร้อมทุ่มเงิน 100 ล้านเป็นค่าตัวนักเตะ แต่พ่วงมาด้วยว่านี่คือ "งบรวม" คือค่าตัวบวกค่าเหนื่อยตลอดอายุสัญญา ไม่ใช่ค่าฉีกสัญญาอย่างเดียวอย่างที่เราเคยชินกัน
หากจำไม่ผิด ก่อนหน้านี้ แมนฯยูไนเต็ด ก็เคยมีข่าวกับ เวสลีย์ ชไนเดอร์ ตามข่าวว่าล้มเหลวเพราะเกิน "งบที่ตั้งไว้" คือ ต้องลดอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ค่าตัวก็ค่าเหนื่อย คิดง่ายๆ เหมือนกับว่า กุให้งบรวมไปสมมุติ 70 ล้านปอนด์อายุสัญญา 4 ปีนะ ไปบริหารยังไงก็ได้ โดยรวมทั้ง "ค่าตัว" และ "ค่าเหนื่อย" อยู่ในนั้นเลย ปรับเอาตามใจชอบ
นี่คือ สิ่งที่สโมสรคิด
นอกจาก 2 ปัจจัยหลักข้างบน ที่เหลือก็อย่างที่เราๆ ทราบกัน ไม่ว่าโบนัส, ค่าต่อสัญญา, ค่านายหน้า ฯลฯ ซึ่งปกติก็ไม่ได้ถึงกับมากมายเท่าไหร่อยู่แล้ว เว้นในบางกรณีที่มหาศาลจริงๆ สื่อก็จะกระพือให้เอง
อีกเรื่องคือ นักเตะบางคนอาจจะหมดสัญญา ย้ายทีมฟรี เราก็นึกว่าสโมสรใหม่นี่หวานปากเลย ไม่ต้องจ่าย transfer fee แต่เอาเข้าจริงแล้ว ถ้านักเตะคนนั้นค่อนข้างดัง มีชื่อเสียง ค่า signon-fee ก็อาจจะสูงพอๆ กับการเซ็นสัญญาเล็กๆ ได้เลย ก็อาจเป็นล้านหรือหลายล้านยูโร
ดังนั้นการเซ็นสัญญาพวกฟรีเอเจ้นท์ก็ไม่ได้แปลว่าจะถูกกว่าการซื้อตัวเสมอไป ถ้าตัวที่ซื้อนั้นค่าตัวไม่แพง และค่าเหนื่อยก็ไม่แพง
สำคัญคือ เวลามองค่าตัวนักเตะในมุมมองของสโมสร มองแค่ค่าตัวอย่างเดียวไม่ได้ ดังนั้น สมมุติว่าเอานักเตะ 2 ที่ค่าตัวพอๆ กันมาเทียบเคียงกัน บางครั้งจึงทำไม่ได้
เช่นว่า สมมุติ นักเตะ 2 คนค่าตัวอาจจะ 40 ล้านปอนด์เท่ากันเด๊ะเลย
แต่คนนึงสัญญา 4 ปี อีกคน 6 ปี
คนนึงค่าเหนื่อย 2 แสน อีกคน 1 แสน
ต่างๆ เหล่านี้คงพอจะเห็นภาพได้ว่าสำหรับสโมสรนั้นถึงแม้นักเตะ 2 คนนี้อาจจะมี transfer fee พอๆ หรือเท่ากัน แต่ถ้ารวมทุกอย่างแล้วหารด้วยอายุสัญญาแล้ว จะต่างกันชนิดหลายล้านหรือถึงสิบล้านปอนด์เลยทีเดียว
คนแรก 41.6 + 40 ล้าน = 81.6 ล้าน = 4 ปีๆ ละ 20.4 ล้านปอนด์
คนที่สอง 31.2 + 40 ล้าน = 71.2 ล้าน = 6 ปีๆ ละ 11.87 ล้านปอนด์
จะเห็นว่าตามตย.นี้ ค่าตัวหรือ transfer fee เท่ากันเด๊ะ แต่พอคิดเป็นรายจ่ายต่อไปที่สโมสรต้องรับภาระแล้วต่างกันเกือบครึ่งเลยทีเดียว
สโมสรต่างๆ กล้าๆ ทุ่มค่าตัวแพงๆ ให้นักเตะอายุน้อยๆ ได้ ก็เพราะมองว่าอายุการใช้งานนาน เมื่อนำมาหารค่าตัว คิดเป็นรายจ่ายต่อปีแล้ว ต่อให้ค่าตัวระดับ 50-60 ล้าน ถ้าเล่นได้ถึง 10 ปี ยังไงก็คุ้ม นี่คือการคะเนไว้ด้วยว่ามาตรฐานฝีเท้าของเจ้าตัวอยู่ในระดับเดิม (หรือพัฒนาขึ้นยิ่งดีใหญ่)
ท้ายที่สุด ไม่ว่าจะถูกจะแพง ก็คงต้องดูอีกว่า ทีมนั้นๆ มีกำลังทรัพย์แค่ไหน รายจ่ายคิดเป็นสัดส่วนของรายรับเท่าไหร่ ถ้าไม่มี Academy ดีๆ ที่ผลิตดางโรจน์มาให้ใช้งานสม่ำเสมอจริงๆ หรือมีทีม scout ที่สายตาแหลมคมกว้างไกลจริงๆ ถึงที่สุดจริงๆ ก็คงต้องต้องมานับเหรียญในกระเป๋าตังค์กันแบบนี้ล่ะนะครับ