ทำไมแค่ใช้เสียงเพลงแลกเศษเงิน สังคมไทยยังเลือกปฏิบัติ?

กระแสวัยรุ่นไทยเล่นดนตรีเปิดหมวกเพื่อหาเงินดำรงชีพนี่ค่อนข้างมาแรงนะครับช่วงนี้
ที่เห็นกันได้ชัดๆ ก็คงจะเป็นในหนังโฆษณาที่ทำมาจากเรื่องจริงของนักร้องรายการล่าฝันนั้นแหละครับ หาเงินรักษาแม่ที่ป่วยเป็นมะเร็งด้วยการเปิดหมวก ทำเอาผมซึ้งในความกตัญญูที่มีต่อบุพการีแทบกลั้นน้ำตาไม่อยู่เลยครับ

  สังเกตกันมั้ยครับว่า น้องๆ นักเรียนนักศึกษาที่รู้จักใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียน ทำมาหากินด้วยความสามารถพิเศษทางดนตรี เอาไว้ใช้เป็นทุนการศึกษา ช่วยเหลือทางบ้าน หรือแม้แต่กระทั่งนำไปบริจาคเพื่อมูลนิธิต่างๆ เพื่อการออกค่ายอาสา ดูน่ายกย่องนะครับ เรียกคะแนนความสงสารจากผู้คนได้ดีทีเดียว



Cr.http://music.mthai.com/news/newsmusic/178879.html



  แต่ในทางกลับกัน สังคมเรากำลังมองข้ามกลุ่มคนที่ใช้เสียงเพลงแลกเงินบางกลุ่มอย่างผู้พิการ ไปหรือเปล่าครับ?
  ผมแค่รู้สึกว่า สิ่งที่สังคมกำลังปฏิบัติต่อกลุ่มคนเหล่านี้มีความแตกต่าง อย่างมีนัยยะสำคัญ เอาง่ายๆครับ กลุ่มหนึ่งยึดคำว่า “วณิพก” เป็นงานพาร์ทไทม์ ซึ่งผู้คนให้ความสนใจเป็นพิเศษ ยืนชื่นชมอวยพร ล้อมหน้าล้อมหลัง ปรบมือให้กับทุกการแสดงที่จบลง พร้อมกับหยิบยื่นเงินให้อย่างไม่ขาดสาย

Cr.ภาพจาก http://kts-studio-media.blogspot.com/2012_02_26_archive.html

  สำหรับอีกกลุ่ม ด้วยการที่เขาไม่ครบ 32 เหมือนคนปกติ ทำให้เค้าต้องยึดอาชีพนี้เป็นอาชีพหลักอย่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ผลตอบแทนและการปฏิบัติที่ได้จากสังคมกลับกลายเป็นว่า ตรงข้ามกับน้องๆ เหล่านั้นอย่างสิ้นเชิง และไม่ต่างอะไรกับขอทานคนหนึ่ง

Cr.www.oknation.net

เล่นดนตรีหาเงินเหมือนกัน แต่ทำไมสังคมถึงปฎิบัติกับพวกเขาต่างกันละครับ?

ปล.ภาพที่นำมาใช้ นำมาประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้เห็นภาพเท่านั้นครับ ไม่ได้มีเจตนาดูหมิ่นแต่อย่างใด
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
เรามองว่าการให้ มาจากความพอใจของผู้ให้ ความพอใจมาจากหลายองค์ประกอบ
นศ ที่มาเปิดหมวก บางคนหน้าตาดี ยังมีคนขอถ่ายรูปเลย เป็นที่น่าสนใจของคนอื่น
บางคนมีเรื่องราวมาเสนอ สดใหม่ ทำให้คนเห็นใจ ชอบใจ เขาก็มีรายได้ไป เหมือนนักร้อง
แต่คนพิการ ด้วยสภาพร่างกาย การแต่งกาย ไม่มีวัยรุ่นมากรี๊ดหรือมาสนใจ คนทั่วไปเฉยๆ
มีเยอะเห็นจนชิน รายได้ก็เลยน้อยตามมา ประมาณว่า ขายสิ่งที่คนไม่สนใจ ไม่มีจุดขาย
การจะไปบอกว่า ควรให้คนนี้มาก ให้คนนี้น้อย มันก็บอกไม่ได้ อยู่ที่ความพอใจของคนให้

เหมือนวัดไง บางวัดดังม๊ากกกกก ก็ยังมีคนมาแห่บริจาคจนล้นวัด ทั้งที่เป็นวัดร่ำรวย
แต่บางวัดจนแสน ศาลาวัดเก่าผุจะพัง ก็ไม่มีคนมาบริจาคมากเท่าวัดดังๆดีๆรวยๆ
เรามองว่ามันอยู่ที่จุดขายนะ
ความคิดเห็นที่ 7
วณิพก นั้นขายเสียงเพลง เสียงดนตรี เพื่อแลกเศษเงิน เขาไม่ได้ขายความน่าสงสาร
ขอทาน นั้นขายความน่าสงสาร เพื่อแลกเศษเงิน

ถ้าจะเป็นวิณพก แต่เน้นความน่าสงสาร มากกว่าเสียงเพลง เสียงดนตรี นั้นไม่ใช่วิณพก นั้นคือขอทาน

ตัวอย่าง เขาพิการ เขาร้องเพลงข้างถนน แต่เขาไม่ได้ดูเป็นขอทาน แต่เขาดูเป็นวณิพก

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ป.ล. และ นึกภาพ คนพิการขอเศษเงินบนสะพานลอย เขามีขลุ่ยแต่เป่าไม่เป็นเพลง หรือ เขามีกลองแต่ตีไม่เป็นจังหวะ
นั้นเขากำลังขายอะไร เสียงเพลง เสียงดนตรี หรือ ความน่าสงสาร นั้นแหละเป็นตัวตัดสินว่า คนอื่นเห็นเขาเป็น วิณพก หรือ ขอทาน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่