สืบเนื่องจากไม่กี่วันที่ผ่านมา ในสังคมออนไลน์ได้แชร์เรื่องราวของชายชาวสวีเดนรายหนึ่งต้องใช้ชีวิตอย่างเร่ร่อนอยู่ข้างถนนในย่ายนานา ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ โดยเจ้าตัวระบุว่าเป็นเพราะถูกหญิงสาวชาวไทยหลอกเงินไปจนหมดตัว ไม่มีแม้กระทั่งพาสปอร์ตนั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2557 ทางมูลนิธิกระจกเงา โพสต์ถึงเรื่องนี้ลงในเฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา The Mirror Foundation ระบุว่า เคยเข้าไปพูดคุยกับชายคนดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยชายคนนี้ชื่อ Leif Christer อายุ 45 ปี เป็นชาวสวีเดน เคยประกอบอาชีพพ่อครัว ปัจจุบันมีปัญหาสุขภาพคือ มีอาการซึมเศร้า ติดสุรา และมีอาการป่วยที่ต้องอาศัยสายสวนปัจจุบัน ก่อนหน้านี้ถูกหญิงชาวไทยที่ทำงานในบาร์ที่ซอยสุขุมวิท 4 หลอกถึง 3 ครั้งจนหมดตัว ไม่สามารถเดินทางกลับสวีเดนได้ จึงต้องหารายได้ด้วยการรับจ้างทำงานทั่วไป ขณะที่บางครั้งต้องมานั่งขอทาน
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ นาย Leif Christer เคยติดต่อไปยังสถานทูตสวีเดนเพื่อขอความช่วยเหลือแล้ว แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ เพราะนาย Leif Christer ไม่มีญาติที่จะให้เก็บเงนปลายทางได้ ขณะที่ นาย Leif Christer ก็ไม่ประสงค์จะถูกผลักดันกลับโดยกระบวนการของสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เพราะจะทำให้ติดแบล็กลิสต์ ไม่สามารถกลับเข้ามาเที่ยวประเทศไทยได้อีก อีกทั้งยังเกรงว่าหากเข้ากระบวนการผลักดันกลับประเทศจะต้องถูกนำตัวเข้าไปอยู่ในห้องขังของทางสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งตัวเองคงทนสภาพแออัดและความล่าช้าในการดำเนินการไม่ได้
หลังจากทราบเรื่อง ทางมูลนิธิกระจกเงาก็มองว่า หน่วยงานราชการของประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาจนตกอยู่ในสภาพไร้ที่พึ่งน่าจะเข้ามาประสานงานกับสถานทูตสวีเดน เพื่อขอให้ช่วยเหลือ เพราะชายคนดังกล่าวไม่มีเจตนาหลบหนีเข้าเมือง แต่ถูกคนไทยล่อลวงให้เสียทรัพย์ อีกทั้งยังมีปัญหาป่วยทางร่างกายและติดสุรา ซึ่งหากเข้ากระบวนการผลักดันกลับโดย ตม. อาจเป็นปัญหาต่อสุขภาพได้ ดังนั้น ควรจะมีการส่งกับประเทศในกรณีพิเศษ เพื่อเป็นการช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมดีกว่าดำเนินการตามกฎหมายแบบขึงตึง
สำหรับข้อความทั้งหมดที่มูลนิธิกระจกเงาโพสต์ไว้มีดังนี้
"เนื่องจากในขณะนี้มีการแชร์เรื่องราวที่เกี่ยวกับชาวต่างประเทศเร่ร่อนคนหนึ่งชาวสวีเดนใน social network กันอย่างแพร่หลาย และทั้งมีการแชร์ต่อมาแจ้งในเพจต่า งๆ ของมูลนิธิกระจกเงา รวมถึงเพจโครงการผู้ป่วยข้างถนน ซึ่งในข้อเท็จจริงทางทีมงานของโครงการผู้ป่วยข้างถนน ได้เคยทำการลงพื้นที่และได้พูดคุยกับชาวต่างประเทศเร่ร่อนคนนี้ตามการแจ้งของผู้แจ้งที่ประกอบอาชีพในบริเวณพื้นที่ของซอยนานา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2557
ซึ่งข้อมูลจากการพูดคุยและรวมถึงข้อมูลจากทางผู้แจ้งและข้อมูลจากบุคคลแวดล้อมที่เคยได้พูดคุยมาก่อนหน้านั้นมีดังนี้
ชื่อ Leif Christer เกิดเมื่อ 1969 อายุ 45 ปี
เป็นชาวสวีเดน
มาประเทศไทยรวมทั้งหมด 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 2 เดือนมกราคม 2557
ครั้งที่ 3 เดือนพฤษภาคม 2557 (ข้อมูลตามการประทับตราวีซ่า)
งานที่สวีเดนเป็นเชฟทำอาหาร (ข้อมูลจากเคสให้สัมภาษณ์)
ไม่มีญาติพี่น้องที่สวีเดน
มีอาการป่วยที่ตัองอาศัยสายสวนปัสสาวะ
มีอาการติดสุรา
มีอาการซึมเศร้า มีพฤติกรรมนั่งร้องไห้ (ในช่วงกลางวัน)
ช่วงกลางวันมีการหารายได้โดยช่วยรับจ้างทั่วไป และบางครั้งนั่งขอทาน
ถูกหญิงไทยคนเดียวกันที่ทำงานในบาร์ที่ซอยสุขุมวิท 4 หลอกถึง 3 ครั้งที่เข้ามาในประเทศไทยครั้งหลังสุดคือครั้งที่ 3 ถูกหลอกจนหมดตัวซึ่งทำให้ไม่สามารถกลับสวีเดนได้
เคยเข้าติดต่อกับสถานทูตสวีเดนหลายครั้งแต่ทางสถานทูตสวีเดนปฎิเสธการให้ความช่วยเหลือเนื่องจากไม่มีญาติที่ทางสถานทูตจะสามารถเก็บค่าเดินทางจากปลายทางที่ประเทศสวีเดนได้
ทางผู้แจ้งก็ได้เคยติดต่อสอบถามไปที่สถานทูตสวีเดนก็ได้รับขัอมูลในขัอข้างต้นเช่นเดียวกันและทางสถานทูตฯ ก็รู้จักเคสนี้เช่นเดียวกัน
ชายชาวสวีเดนผู้นี้ไม่ประสงค์ที่จะถูกผลักดันกลับโดยกระบวนการของสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เนื่องจากเหตุผลสองประการ คือ
1. จะทำให้ตนติดแบล็กลิสต์และไม่สามารถกลับเข้ามาเที่ยวที่ประเทศไทยได้อีก
2. ตัวเขามีความเข้าใจว่ากระบวนการก่อนที่จะถูกผลักดันกลับตัองไปอยู่ในห้องขังของทาง ตม. ซึ่งตัวเขารับความเป็นอยู่ลักษณะนั้นไม่ได้ เนื่องจากความแออัด ความล่าช้าในการผลักดันรวมถึงอาการป่วยและอาการติดเหล้าของเขาเอง
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศสวีเดน จะมีทั้งค่าปรับจากวีซ่าเกินกำหนดวันอนุญาตให้อยู่ในประเทศและค่าเครื่องบินซึ่งรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท จึงทำให้เขาไม่สามารถเดินทางกลับได้ (ข้อมูลตัวเลขค่าเดินทางนี้ไม่ชัวร์ เป็นการประเมินของทางเคสและผู้แจ้ง)
ชาวชาวสวีเดนคนนี้มี "ความประสงค์" ที่จะกลับแต่ขาดซึ่งค่าใช้จ่ายที่จะสามารถเดินทางกลับได้
ในแนวทางการแก้ไขปัญหาซึ่งทางโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา มองว่า "ชายชาวต่างประเทศผู้นี้ประสบกับปัญหาการถูกล่อลวงให้เสียทรัพย์โดยคนไทย (ซึ่งมีปากคำการให้ข้อมูลเรื่องนี้ตรงกันของคนในละแวกสุขุมวิทซอย 4 ) มากกว่ามีเจตนาการหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย และมีอาการป่วยทางร่างกายและมีปัญหาการติดสุราซึ่งอาจเกิดปัญหาทางด้านความไม่ปลอดภัยด้านสุขภาพขึ้นได้ในกระบวนการการผลักดันกลับโดย ตม.
ดังนั้นหน่วยงานราชการของประเทศไทยที่มีภารกิจโดยตรงในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาจนตกอยู่ในสภาพไร้ที่พึ่ง เช่น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือสำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร อาจจะต้องเข้ามาเป็นหน่วยงานประสานงานกับสถานทูตสวีเดน รวมถึงสร้างแนวทางความช่วยเหลือเฉพาะกิจขึ้นมาโดยร่วมกันแก้ไขปัญหาจากพื้นฐานหลักการของการช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งให้ได้รับการดูแลในด้านคุณภาพชีวิตที่ดี
เช่น การส่งกลับประเทศในกรณีพิเศษ ตามข้อมูลที่บ่งบอกว่าไม่ได้มีเจตนาจะกระทำผิดในฐานลักลอบเข้าเมืองแต่เป็นการประสบปัญหาจากการถูกล่อลวงจนไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ซึ่งจะเป็นการดำเนินการช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมตรงตามข้อมูลสภาพข้อเท็จจริง ซึ่งดีกว่าการดำเนินการตามกฎหมายแบบขึงตึง และสุดท้ายเพื่อจะเป็นการสร้างกระบวนการรองรับปัญหาอย่างในกรณีนี้ในอนาคตได้อีกด้วย
ซึ่งเคสนี้ทางโครงการผู้ป่วยเคยลงพื้นที่และนำมาสะท้อนปัญหาแล้วในเพจของโครงการฯ เฟซบุ๊ก โครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา
โครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา
23 สิงหาคม 2557"
http://hilight.kapook.com/view/106998
ใครผ่าน ซอย นานา 4 ช่วยต่อชีวิต ฝรั่ง ชาวสวีเดน ด้วย นอนเร่ร่อนขอทานย่านนานา
ชายชาวสวีเดนนอนเร่ร่อนขอทานย่านนานา เผย ถูกหญิงไทยหลอกเงินจนหมดเนื้อหมดตัว กลับประเทศไม่ได้
ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2557 ทางมูลนิธิกระจกเงา โพสต์ถึงเรื่องนี้ลงในเฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา The Mirror Foundation ระบุว่า เคยเข้าไปพูดคุยกับชายคนดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยชายคนนี้ชื่อ Leif Christer อายุ 45 ปี เป็นชาวสวีเดน เคยประกอบอาชีพพ่อครัว ปัจจุบันมีปัญหาสุขภาพคือ มีอาการซึมเศร้า ติดสุรา และมีอาการป่วยที่ต้องอาศัยสายสวนปัจจุบัน ก่อนหน้านี้ถูกหญิงชาวไทยที่ทำงานในบาร์ที่ซอยสุขุมวิท 4 หลอกถึง 3 ครั้งจนหมดตัว ไม่สามารถเดินทางกลับสวีเดนได้ จึงต้องหารายได้ด้วยการรับจ้างทำงานทั่วไป ขณะที่บางครั้งต้องมานั่งขอทาน
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ นาย Leif Christer เคยติดต่อไปยังสถานทูตสวีเดนเพื่อขอความช่วยเหลือแล้ว แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ เพราะนาย Leif Christer ไม่มีญาติที่จะให้เก็บเงนปลายทางได้ ขณะที่ นาย Leif Christer ก็ไม่ประสงค์จะถูกผลักดันกลับโดยกระบวนการของสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เพราะจะทำให้ติดแบล็กลิสต์ ไม่สามารถกลับเข้ามาเที่ยวประเทศไทยได้อีก อีกทั้งยังเกรงว่าหากเข้ากระบวนการผลักดันกลับประเทศจะต้องถูกนำตัวเข้าไปอยู่ในห้องขังของทางสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งตัวเองคงทนสภาพแออัดและความล่าช้าในการดำเนินการไม่ได้
หลังจากทราบเรื่อง ทางมูลนิธิกระจกเงาก็มองว่า หน่วยงานราชการของประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาจนตกอยู่ในสภาพไร้ที่พึ่งน่าจะเข้ามาประสานงานกับสถานทูตสวีเดน เพื่อขอให้ช่วยเหลือ เพราะชายคนดังกล่าวไม่มีเจตนาหลบหนีเข้าเมือง แต่ถูกคนไทยล่อลวงให้เสียทรัพย์ อีกทั้งยังมีปัญหาป่วยทางร่างกายและติดสุรา ซึ่งหากเข้ากระบวนการผลักดันกลับโดย ตม. อาจเป็นปัญหาต่อสุขภาพได้ ดังนั้น ควรจะมีการส่งกับประเทศในกรณีพิเศษ เพื่อเป็นการช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมดีกว่าดำเนินการตามกฎหมายแบบขึงตึง
สำหรับข้อความทั้งหมดที่มูลนิธิกระจกเงาโพสต์ไว้มีดังนี้
"เนื่องจากในขณะนี้มีการแชร์เรื่องราวที่เกี่ยวกับชาวต่างประเทศเร่ร่อนคนหนึ่งชาวสวีเดนใน social network กันอย่างแพร่หลาย และทั้งมีการแชร์ต่อมาแจ้งในเพจต่า งๆ ของมูลนิธิกระจกเงา รวมถึงเพจโครงการผู้ป่วยข้างถนน ซึ่งในข้อเท็จจริงทางทีมงานของโครงการผู้ป่วยข้างถนน ได้เคยทำการลงพื้นที่และได้พูดคุยกับชาวต่างประเทศเร่ร่อนคนนี้ตามการแจ้งของผู้แจ้งที่ประกอบอาชีพในบริเวณพื้นที่ของซอยนานา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2557
ซึ่งข้อมูลจากการพูดคุยและรวมถึงข้อมูลจากทางผู้แจ้งและข้อมูลจากบุคคลแวดล้อมที่เคยได้พูดคุยมาก่อนหน้านั้นมีดังนี้
ชื่อ Leif Christer เกิดเมื่อ 1969 อายุ 45 ปี
เป็นชาวสวีเดน
มาประเทศไทยรวมทั้งหมด 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 2 เดือนมกราคม 2557
ครั้งที่ 3 เดือนพฤษภาคม 2557 (ข้อมูลตามการประทับตราวีซ่า)
งานที่สวีเดนเป็นเชฟทำอาหาร (ข้อมูลจากเคสให้สัมภาษณ์)
ไม่มีญาติพี่น้องที่สวีเดน
มีอาการป่วยที่ตัองอาศัยสายสวนปัสสาวะ
มีอาการติดสุรา
มีอาการซึมเศร้า มีพฤติกรรมนั่งร้องไห้ (ในช่วงกลางวัน)
ช่วงกลางวันมีการหารายได้โดยช่วยรับจ้างทั่วไป และบางครั้งนั่งขอทาน
ถูกหญิงไทยคนเดียวกันที่ทำงานในบาร์ที่ซอยสุขุมวิท 4 หลอกถึง 3 ครั้งที่เข้ามาในประเทศไทยครั้งหลังสุดคือครั้งที่ 3 ถูกหลอกจนหมดตัวซึ่งทำให้ไม่สามารถกลับสวีเดนได้
เคยเข้าติดต่อกับสถานทูตสวีเดนหลายครั้งแต่ทางสถานทูตสวีเดนปฎิเสธการให้ความช่วยเหลือเนื่องจากไม่มีญาติที่ทางสถานทูตจะสามารถเก็บค่าเดินทางจากปลายทางที่ประเทศสวีเดนได้
ทางผู้แจ้งก็ได้เคยติดต่อสอบถามไปที่สถานทูตสวีเดนก็ได้รับขัอมูลในขัอข้างต้นเช่นเดียวกันและทางสถานทูตฯ ก็รู้จักเคสนี้เช่นเดียวกัน
ชายชาวสวีเดนผู้นี้ไม่ประสงค์ที่จะถูกผลักดันกลับโดยกระบวนการของสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เนื่องจากเหตุผลสองประการ คือ
1. จะทำให้ตนติดแบล็กลิสต์และไม่สามารถกลับเข้ามาเที่ยวที่ประเทศไทยได้อีก
2. ตัวเขามีความเข้าใจว่ากระบวนการก่อนที่จะถูกผลักดันกลับตัองไปอยู่ในห้องขังของทาง ตม. ซึ่งตัวเขารับความเป็นอยู่ลักษณะนั้นไม่ได้ เนื่องจากความแออัด ความล่าช้าในการผลักดันรวมถึงอาการป่วยและอาการติดเหล้าของเขาเอง
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศสวีเดน จะมีทั้งค่าปรับจากวีซ่าเกินกำหนดวันอนุญาตให้อยู่ในประเทศและค่าเครื่องบินซึ่งรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท จึงทำให้เขาไม่สามารถเดินทางกลับได้ (ข้อมูลตัวเลขค่าเดินทางนี้ไม่ชัวร์ เป็นการประเมินของทางเคสและผู้แจ้ง)
ชาวชาวสวีเดนคนนี้มี "ความประสงค์" ที่จะกลับแต่ขาดซึ่งค่าใช้จ่ายที่จะสามารถเดินทางกลับได้
ในแนวทางการแก้ไขปัญหาซึ่งทางโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา มองว่า "ชายชาวต่างประเทศผู้นี้ประสบกับปัญหาการถูกล่อลวงให้เสียทรัพย์โดยคนไทย (ซึ่งมีปากคำการให้ข้อมูลเรื่องนี้ตรงกันของคนในละแวกสุขุมวิทซอย 4 ) มากกว่ามีเจตนาการหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย และมีอาการป่วยทางร่างกายและมีปัญหาการติดสุราซึ่งอาจเกิดปัญหาทางด้านความไม่ปลอดภัยด้านสุขภาพขึ้นได้ในกระบวนการการผลักดันกลับโดย ตม.
ดังนั้นหน่วยงานราชการของประเทศไทยที่มีภารกิจโดยตรงในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาจนตกอยู่ในสภาพไร้ที่พึ่ง เช่น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือสำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร อาจจะต้องเข้ามาเป็นหน่วยงานประสานงานกับสถานทูตสวีเดน รวมถึงสร้างแนวทางความช่วยเหลือเฉพาะกิจขึ้นมาโดยร่วมกันแก้ไขปัญหาจากพื้นฐานหลักการของการช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งให้ได้รับการดูแลในด้านคุณภาพชีวิตที่ดี
เช่น การส่งกลับประเทศในกรณีพิเศษ ตามข้อมูลที่บ่งบอกว่าไม่ได้มีเจตนาจะกระทำผิดในฐานลักลอบเข้าเมืองแต่เป็นการประสบปัญหาจากการถูกล่อลวงจนไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ซึ่งจะเป็นการดำเนินการช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมตรงตามข้อมูลสภาพข้อเท็จจริง ซึ่งดีกว่าการดำเนินการตามกฎหมายแบบขึงตึง และสุดท้ายเพื่อจะเป็นการสร้างกระบวนการรองรับปัญหาอย่างในกรณีนี้ในอนาคตได้อีกด้วย
ซึ่งเคสนี้ทางโครงการผู้ป่วยเคยลงพื้นที่และนำมาสะท้อนปัญหาแล้วในเพจของโครงการฯ เฟซบุ๊ก โครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา
โครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา
23 สิงหาคม 2557"
http://hilight.kapook.com/view/106998
ใครผ่าน ซอย นานา 4 ช่วยต่อชีวิต ฝรั่ง ชาวสวีเดน ด้วย นอนเร่ร่อนขอทานย่านนานา