DTAC.ชัยยศ เตือน!! ที่ผ่านมาปัญหาการขโมยเบอร์มักเกิดกับกลุ่มเบอร์สวย++ ชี้..ได้จับ จับผู้กระทำผิดและนำเบอร์กลับมาคืน

DTAC.ชัยยศ เตือน!! ที่ผ่านมาปัญหาการขโมยเบอร์มักเกิดกับกลุ่มเบอร์สวย จึงต้องมีมาตรการดูแลการออกซิมใหม่ ชี้..ได้จับ จับผู้กระทำผิดและนำเบอร์กลับมาคืนผู้เสียหายได้แล้วเมื่อต้น ส.ค.ที่ผ่านมา
ประเด็นหลัก



ด้าน นายชัยยศ จิรบวรกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มลูกค้า บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมาปัญหาการขโมยเบอร์มักเกิดกับกลุ่มเบอร์สวย จึงต้องมีมาตรการดูแลการออกซิมใหม่ อาทิ ให้เจ้าของเบอร์ที่ลงทะเบียนเป็นผู้แจ้งขอออกซิมใหม่ด้วยตนเอง และมีหลักฐานการแจ้งความ รวมถึงการตรวจสถานะการเติมเงินย้อนหลัง และหมายเลขที่โทร.เข้าออก แต่ยอมรับว่ามิจฉาชีพมีเทคนิคในการปลอมแปลงหรือเตรียมข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งบริษัทจะพยายามปรับปรุงวิธีการตรวจสอบมากขึ้นเพื่อลดข้อผิดพลาดให้มาก ที่สุด

"กรณีที่สงสัยว่าพนักงานร่วมมือกับมิจฉาชีพเพื่อขโมยเบอร์ ลูกค้า หากตรวจสอบพบว่าจริงจะให้ออกหรือดำเนินคดีตามกฎหมายแน่ และเพื่อป้องกันปัญหานี้ ลูกค้าควรจดทะเบียนซิมเพื่อยืนยันตัวตน รวมทั้งเช็กสถานะการใช้งานบ่อย ๆ โดยดีแทคจะเร่งโปรโมตให้ผู้ใช้มาลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น 2 แชะของ กสทช.เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้"

ล่าสุด ผู้ให้บริการที่ปรากฏในกระทู้ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค)เปิดเผยว่า จับผู้กระทำผิดและนำเบอร์กลับมาคืนผู้เสียหายได้แล้วเมื่อต้น ส.ค.ที่ผ่านมา ตั้งแต่ร้องเรียนว่าซิมโดนขโมยไปเมื่อ ก.ย. 2556ในเว็บบอร์ด "พันทิป" ยังมีการแนะนำเจ้าของเบอร์สวย-เบอร์มงคลให้ย้ายไปใช้บริการ "my by CAT" ของ กสท โทรคมนาคม เพราะมีระบบการจดทะเบียนซิมที่รัดกุมเข้มงวดตามระเบียบราชการ ถึงกับไม่สามารถเปลี่ยนโปรโมชั่นได้หากไม่ใช่ผู้ที่จดทะเบียนซิมไว้



______________________________




"เบอร์มงคล"ฮอตทำดีแทคป่วน สวมรอยแจ้งหายออก"ซิม"ใหม่



"เบอร์ สวย-เบอร์มงคล" ป่วน ยอดขโมย-สวมรอยใช้งานพุ่ง "ผู้ค้า" เผยเปิด "ซิม" รักษาเบอร์ยังไม่รอด ตั้งข้อสังเกต "เกลือเป็นหนอน" "ดีแทค" เร่งตรวจสอบ-ปรับปรุงระบบก่อนออกซิมใหม่

ผู้ค้าเบอร์สวย-เบอร์ มงคลรายหนึ่งเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตั้งแต่การซื้อขายเบอร์โทรศัพท์มือถือในกลุ่มที่เรียกว่า "เบอร์มงคล" ได้รับความนิยมต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาเรื่องการขโมยเบอร์เพิ่มขึ้นด้วย เพราะเบอร์มีราคาตั้งแต่หลักร้อย หลักพันถึงหลักหมื่นและแสนบาท แต่ที่ผ่านมามักเกิดกับเลขหมายพรีเพดที่ไม่ได้มีการลงทะเบียนซิมไว้ ทำให้ผู้ค้าที่เก็บสต๊อกเบอร์สวยเบอร์มงคลเป็นจำนวนมากต้องเก็บหลักฐานการ รักษาเบอร์ไว้ เช่น ซองใส่ซิม, สลิปการเติมเงิน เป็นต้น เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของในกรณีที่มีคนไปแจ้งออกซิมใหม่เบอร์ซ้ำกัน ซึ่งแตกต่างจากกรณีล่าสุดที่เกิดกับเบอร์ที่มีการลงทะเบียนไว้แล้ว

"ที่ ผ่านมาตลาดเบอร์มงคลแข่งกันรุนแรง ผู้ค้าเบอร์ใช้วิธีเร่หาเบอร์ดี ๆ เบอร์สวยตามร้านค้าบ้าง กว้านซื้อเบอร์เก่ามาเก็บไว้ บางรายมีสต๊อกหลักร้อยหลักพันเบอร์ ปกติจะใช้วิธีจดทะเบียนซิมเพื่อรักษาเบอร์ ส่วนเบอร์ที่ไม่แพงมากก็แค่เปิดซิมใช้ หลายครั้งพบว่ามีคนนำเบอร์ไปออกซิมใหม่ทั้งที่ซิมเดิมยังอยู่กับผู้ค้า ทำให้ต้องหาวิธีและหลักฐานโต้แย้งเพื่อดึงเบอร์คืน บางกรณีได้คืน บางกรณีต้องแจ้งความแต่ไม่สามารถเอาผิดใครได้ ค่ายมือถือมักไม่เปิดเผยว่าพนักงานคนไหนเป็นผู้จดทะเบียนซ้ำซ้อนและออกซิ มให้คนที่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ"

ปกติการออกซิมใหม่ กรณีซิมหายต้องมีสำเนาบัตรประชาชนมายืนยัน รวมถึงใบแจ้งความ โดยเฉพาะเบอร์ที่มีการลงทะเบียนผู้ใช้งานไว้แล้ว ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่า อาจมีคนในบริษัทผู้ให้บริการร่วมมือด้วย มีการช่วยปกปิดความผิดและทำเป็นขบวนการ ซึ่งตนต้องการให้โอเปอเรเตอร์เข้มงวดและดูแลพนักงานเพื่อไม่ให้มีปัญหาดัง กล่าว กรณีการขโมยเบอร์เป็นเรื่องที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กว้างขวางในเว็บบอร์ด "พันทิป" จนกลายเป็นกระทู้แนะนำ โดยผู้เสียหายระบุว่า จดทะเบียนซิมกับผู้ให้บริการเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแล้ว แต่จู่ ๆ ใช้งานไม่ได้ เมื่อแจ้งไปคอลเซ็นเตอร์ใช้เวลาตรวจสอบเป็นเดือน กระทั่งมีการขายต่อเบอร์ไปให้ผู้บริโภครายอื่น โดยค่ายมือถือแจ้งว่าไม่สามารถนำเบอร์กลับมาคืนเจ้าของได้

ล่าสุด ผู้ให้บริการที่ปรากฏในกระทู้ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค)เปิดเผยว่า จับผู้กระทำผิดและนำเบอร์กลับมาคืนผู้เสียหายได้แล้วเมื่อต้น ส.ค.ที่ผ่านมา ตั้งแต่ร้องเรียนว่าซิมโดนขโมยไปเมื่อ ก.ย. 2556ในเว็บบอร์ด "พันทิป" ยังมีการแนะนำเจ้าของเบอร์สวย-เบอร์มงคลให้ย้ายไปใช้บริการ "my by CAT" ของ กสท โทรคมนาคม เพราะมีระบบการจดทะเบียนซิมที่รัดกุมเข้มงวดตามระเบียบราชการ ถึงกับไม่สามารถเปลี่ยนโปรโมชั่นได้หากไม่ใช่ผู้ที่จดทะเบียนซิมไว้

ด้าน นายชัยยศ จิรบวรกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มลูกค้า บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมาปัญหาการขโมยเบอร์มักเกิดกับกลุ่มเบอร์สวย จึงต้องมีมาตรการดูแลการออกซิมใหม่ อาทิ ให้เจ้าของเบอร์ที่ลงทะเบียนเป็นผู้แจ้งขอออกซิมใหม่ด้วยตนเอง และมีหลักฐานการแจ้งความ รวมถึงการตรวจสถานะการเติมเงินย้อนหลัง และหมายเลขที่โทร.เข้าออก แต่ยอมรับว่ามิจฉาชีพมีเทคนิคในการปลอมแปลงหรือเตรียมข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งบริษัทจะพยายามปรับปรุงวิธีการตรวจสอบมากขึ้นเพื่อลดข้อผิดพลาดให้มาก ที่สุด

"กรณีที่สงสัยว่าพนักงานร่วมมือกับมิจฉาชีพเพื่อขโมยเบอร์ ลูกค้า หากตรวจสอบพบว่าจริงจะให้ออกหรือดำเนินคดีตามกฎหมายแน่ และเพื่อป้องกันปัญหานี้ ลูกค้าควรจดทะเบียนซิมเพื่อยืนยันตัวตน รวมทั้งเช็กสถานะการใช้งานบ่อย ๆ โดยดีแทคจะเร่งโปรโมตให้ผู้ใช้มาลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น 2 แชะของ กสทช.เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้"

นางบุษยา สถิรพิพัฒน์กุล รองกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริหารและบริการลูกค้า บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า เอไอเอสมีมาตรการเข้มงวดในการออกซิมใหม่ กรณีที่ทำหาย โดยเบอร์ทั่วไปหรือเบอร์มงคลที่ไม่เข้าข่ายเบอร์สวย หากไม่ได้ลงทะเบียนซิมไว้ต้องมีหลักฐานการแจ้งความจากตำรวจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนประกอบการขอออกซิมใหม่ ขณะที่พนักงานต้องตรวจสอบข้อมูล อาทิ ข้อมูลการเติมเงิน, วิธีเติมเงิน, สถานที่เติม และเบอร์ที่โทร.ติดต่อบ่อย ๆ เป็นต้น

กรณีเบอร์สวยเพิ่ม ขั้นตอนการตรวจสอบโดยฝ่ายกฎหมาย ซึ่งจะใช้เวลาราว 2 วัน ซิมใหม่ถึงจะใช้งานได้ โดยพนักงานหน้าร้านไม่สามารถออกซิมใหม่ให้ลูกค้าได้ ถ้าไม่มีใบแจ้งความ

"ที่บอกว่าการขโมยเบอร์อาจมีพนักงานรู้เห็นเป็น ใจ คิดว่าไม่น่ามี เพราะการเข้าถึงข้อมูลลูกค้าต้องใช้รหัสพนักงาน หากพบว่ามีการนำข้อมูลไปใช้อย่างไม่ถูกต้องถือเป็นความผิดร้ายแรง"

ข้อมูล จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่เปิดให้บริการลงทะเบียนซิมผ่านแอปพลิเคชั่น "2 แชะ" วันที่ 27 มิ.ย.-27 ก.ค. 2557มีผู้ลงทะเบียนซิมผ่านแอป 43,000 เลขหมาย ขณะที่มีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือระบบเติมเงินกว่า 90 ล้านเลขหมาย


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1408081375
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่