สินสอดทองหมั้น แต่งงาน จดทะเบียนสมรส แท้จริงยังไง?

กระทู้คำถาม
ข้อมูลเบื้องต้น ผมเจอคนที่ผมว่าใช่แล้ว เพราะคบหาดูใจกันนาน เลิกราหลายหน รู้จักตัวตนที่แท้จริงของกันและกันดี ทั้งข้อดีข้อเสีย
ผมและเธอ การศึกษาดีมาก ครอบครัวดีมาก การงานดีมาก
ประเด็นคือ ครอบครัวฝ่ายหญิง ต้องการให้จัดงานแต่งงาน จดทะเบียนสมรส และขอสินสอดหลักล้าน(s) และขอเก็บสินสอดทั้งหมด

คำถามของผมคือ
1. ประเพณีของไทยจริงๆ ที่แท้จริงเป็นอย่างไรครับ ผมเคยคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ท่านหนึ่ง ท่านบอกว่าแค่ทำบุญตักบาตร นิมนต์พระสวดอวยพรบ่าวสาวก็ถือว่าแต่งงานเรียบร้อยแล้ว ไม่ทราบว่าถูกต้องไหมครับถามผู้รู้ด้วยครับ จริงๆผมอยากทำแค่นี้ครับ
2. จดทะเบียนสมรส และงานแต่งงาน ไม่ทราบว่าเหตุผลที่แท้จริงเพื่ออะไรครับ ถ้าไม่นับประเด็นเรื่องบุตรและภาษีและสังคม เพราะส่วนตัวเห็นว่าพิธีแต่งงานใหญ่โตที่เชิญแขกที่ไม่รู้จัก และไม่สนิทกันจริงๆ มาร่วมงานเป็นเรื่องที่สิ้นเปลืองและไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ยกเว้นประโยชน์ทางสังคม ส่วนเรื่องจดทะเบียนสมรสอันนี้ผมไม่ทราบจริงๆ แต่ถ้าจะให้จดก็ยินดีครับ
3. สินสอดทองหมั้น อันนี้เป็นประเด็นที่สงสัยมากครับ ว่าจริงๆประเพณีไทย เงินนี้มาจากฝ่ายชาย เพื่อให้ฝ่ายหญิง เพื่ออะไรครับ สงสัย ส่วนตัวมองว่าถ้าเพื่อเป็นหลักประกันให้ครอบครัวฝ่ายหญิงมั่นใจในการสร้างครอบครัวใหม่ก็จะเข้าใจได้ง่ายในมิติส่วนตัว แต่ถ้าเพื่อเป็นค่าน้ำนม ค่าดูแล อันนี้ผมเรียนถามผู้รู้และความเห็นที่หลากหลายและสร้างสรรค์ด้วยครับว่าเหตุผลคืออะไร

ปล.หากถ้าผมมีลูกสาวที่มีวุฒิภาวะทุกด้านดีพอ แล้วมีคนรัก ผมยินดีให้เค้าอยู่กับคนที่เค้าตัดสินใจได้ เรื่องงานแต่ง ทะเบียนสมรส เป็นเรื่องของเค้า 2 คน(ไปคุยกันเอง) แต่เรื่องสินสอดทองหมั้นไม่ต้อง แต่จะเอามาเป็นพิธีหากจัดงานก็ตามสะดวก และถ้ามันน้อยเดี๋ยวผมเติมให้ด้วย อันนี้เป็นความคิดของผมจริงๆ เผื่อมีคำถามว่าแล้วถ้าคุณมีลูกสาวคุณจะคิดเห็นอย่างไร ก็ขอตอบไว้ก่อนเลยนะครับ

ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่