นายโธมัส รุสโซ สถาบันแห่งชาติเพื่อคนพิการและการประกันสุขภาพประเทศเบลเยี่ยม (National Institute for Disability and Health Insurance, Belgium) กล่าวถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย ซึ่งมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำหน้าที่บริหารจัดการเพื่อให้คนไทยเข้าถึงการรักษา ในระหว่างการเดินทางเยี่ยมดูงานการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย เมื่อเร็วๆนี้ ว่า ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นระบบที่ดี เนื่องจากคนไทยทุกคนมีระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อดูแลด้านการรักษาพยาบาล นับเป็นแบบอย่างการดำเนินงานให้กับประเทศอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะการเรียนรู้การดำเนินงานภายใต้งบประมาณที่จำกัด
นายโธมัส กล่าวว่า ทั้งนี้ในประเทศเบลเยี่ยมมีการจัดทำระบบหลักประกันสุขภาพเช่นกัน แต่เป็นการดำเนินงานภายใต้กองทุนเดียว ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่มีการแยกเป็น 3 กองทุน แม้ว่าประชาชนทุกคนจะมีสิทธิในการรักษาพยาบาล แต่ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องความเหลื่อมล้ำของสิทธิประโยชน์ของแต่ละกองทุน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหาร ซึ่งเป็นไปได้ควรที่จะรวมและบริหารภายใต้กองทุนเดียวกัน ซึ่งหลายประเทศต่างพยายามทำเรื่องนี้เช่นกัน
นายโธมัส กล่าวอีกว่า จากการดูการดำเนินงานทั้ง 3 กองทุนรักษาพยาบาล ต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน ในส่วนของกองทุนรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการพบว่ามีปัญหางบประมาณการเบิกจ่าย เนื่องจากเป็นระบบตามจ่ายตามราคาที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ (Fee for service) ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ขณะที่ระบบประกันสังคมมีจุดอ่อนคือข้อจำกัดของสถานพยาบาล ซึ่งให้เข้ารับบริการในเฉพาะสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับทางสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เท่านั้น ส่งผลต่อการเข้าถึงการรักษา
“ส่วนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แม้ว่าผู้มีสิทธิในระบบราว 48 ล้านคน จะได้รับการดูแลที่ดี และไม่มีค่าใช้จ่ายในการรับบริการ แต่ส่วนตัวเห็นว่ายังมีประเด็นที่สงสัยและน่าติดตาม คือ มีผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวนเท่าไหร่ที่ไปใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชน และอะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้คนกลุ่มนี้เลือกจ่ายเงินเพื่อรักษาในโรงพยาบาลเอกชน อย่างเช่นเรื่องคุณภาพการบริการของโรงพยาบาล การรอคิว หรือมีเหตุผลอื่นๆ รวมไปถึงเรื่องสิทธิประโยชน์” นายโธมัส กล่าว
มติชน
นักวิชาการเบลเยี่ยม ชี้ปัญหาหลักประสุขภาพไทย เหลื่อมล้ำ
นายโธมัส กล่าวว่า ทั้งนี้ในประเทศเบลเยี่ยมมีการจัดทำระบบหลักประกันสุขภาพเช่นกัน แต่เป็นการดำเนินงานภายใต้กองทุนเดียว ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่มีการแยกเป็น 3 กองทุน แม้ว่าประชาชนทุกคนจะมีสิทธิในการรักษาพยาบาล แต่ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องความเหลื่อมล้ำของสิทธิประโยชน์ของแต่ละกองทุน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหาร ซึ่งเป็นไปได้ควรที่จะรวมและบริหารภายใต้กองทุนเดียวกัน ซึ่งหลายประเทศต่างพยายามทำเรื่องนี้เช่นกัน
นายโธมัส กล่าวอีกว่า จากการดูการดำเนินงานทั้ง 3 กองทุนรักษาพยาบาล ต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน ในส่วนของกองทุนรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการพบว่ามีปัญหางบประมาณการเบิกจ่าย เนื่องจากเป็นระบบตามจ่ายตามราคาที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ (Fee for service) ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ขณะที่ระบบประกันสังคมมีจุดอ่อนคือข้อจำกัดของสถานพยาบาล ซึ่งให้เข้ารับบริการในเฉพาะสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับทางสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เท่านั้น ส่งผลต่อการเข้าถึงการรักษา
“ส่วนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แม้ว่าผู้มีสิทธิในระบบราว 48 ล้านคน จะได้รับการดูแลที่ดี และไม่มีค่าใช้จ่ายในการรับบริการ แต่ส่วนตัวเห็นว่ายังมีประเด็นที่สงสัยและน่าติดตาม คือ มีผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวนเท่าไหร่ที่ไปใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชน และอะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้คนกลุ่มนี้เลือกจ่ายเงินเพื่อรักษาในโรงพยาบาลเอกชน อย่างเช่นเรื่องคุณภาพการบริการของโรงพยาบาล การรอคิว หรือมีเหตุผลอื่นๆ รวมไปถึงเรื่องสิทธิประโยชน์” นายโธมัส กล่าว
มติชน