พ.ศ. 2363 ยอร์จ สตีเวนสัน สร้างทางรถไฟระยะทาง 13 กม. ระหว่างบ่อถ่านหินที่เมืองเฮตตันถึงซันเดอร์แลนด์
ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ใช้รถไอน้ำลากขบวนรถไฟแทนแรงงานสัตว์
พ.ศ. 2364 รัฐสภาอังกฤษอนุมัติให้สร้างทางรถไฟความยาว 40 กม. ระหว่าง สต็อคตัน ถึง ดาร์ลิงตัน ซึ่งเปิดการเดินรถเมื่อ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2368 โดย ยอร์จ สตีเวนสัน เป็นผู้ขับรถจักรที่เขาสร้างขึ้น ชื่อ “โลโคโมชั่น” ทำการลากจูงถ่านหินหนัก 80 ตัน ด้วยความเร็ว 39 กม./ชม. ใช้เวลาเดินทาง 2 ชม. ระยะทาง 15 กม. ขบวนรถนี้ยังพ่วงตู้รถโดยสารสำหรับแขกที่มาร่วมพิธีเปิดซึ่งถือเป็นครั้งแรกของโลกที่มีผู้โดยสารนั่งอยู่บนขบวนรถไฟที่ลากจูงด้วยรถจักรไอน้ำ แต่หลังจากการเปิดตัวดังกล่าวแล้ว ก็ยังไม่มีการเดินรถไฟโดยสารเป็นทางการ ประชาชนยังคงเดินทางด้วยรถม้าต่อไปตามเดิม
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2373 มีพิธีเปิดการเดินรถไฟสาย ลิเวอร์พูล ถึง แมนเชสเตอร์ ระยะทาง 97 กม.
โดยมีการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ทางด้านวิศวกรรมจากประสบการณ์ อาทิ การลดความลาดชันของทางให้เหลือน้อยที่สุด และกำหนดใช้ทางโค้งรัศมีกว้างที่สุดเพื่อให้เหมาะกับรถจักรที่มีกำลังนอ้ย การปรับปรุงแก้ไขนี้ก่อปัญหาความยุ่งยากในการก่อสร้างเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะเรื่องการดำเนินการให้ได้ที่ดินมาสร้างทาง นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงรถจักรไอน้ำเสียใหม่ โดยใช้แบบของ โรเบิร์ต สตีเวนสัน บุตรชายของ ยอร์จ สตีเวนสัน รถจักรไอน้ำดังกล่าว ใช้หม้อต้มน้ำแบบ “ท่อไฟในหม้อต้มน้ำ” (Fire-tube) เป็นครั้งแรก หม้อต้มน้ำแบบนี้สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่า รถจักรไอน้ำที่ลากจูงขบวนรถไฟในพิธีเปิดชื่อ “ร็อคเกต” ในวันดังกล่าว นายกรัฐมนตรี ดุ๊ค ออฟ เวลลิงตัน เป็นหนึ่งในบรรดาแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมเป็นสักขีพยานด้วย และแม้ว่าจะเกิดเรื่องเศร้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมืองลิเวอร์พูล นายวิลเลียม ฮัดกินสัน ถูกรถจักรร็อคเกตชนเสียชีวิตซึ่งนับเป็นมนุษย์คนแรกที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถไฟ แต่ก็ถือว่าเป็นวันที่เปิดการเดินรถไฟขนส่งผู้โดยสารอย่างเป็นทางการสายแรกของโลก
ทางรถไฟสายแรกของไทย คือเส้นทางรถไฟของเอกชนที่เชื่อมระหว่างพระนครกับเมืองปากน้ำ (จังหวัดสมุทรปราการ
ในปัจจุบัน) ที่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 21 กิโลเมตร ในขณะนั้นเมืองปากน้ำเป็นที่พักทอดสมอของเรือเดินสมุทร ซึ่งเรือดังกล่าวไม่สามารถแล่นเข้าไปถึงพระนครได้โดยการก่อสร้างได้เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.2430 (ค.ศ.1887) และเปิดดำเนินการในปี พ.ศ.2436 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิด ในวันที่ 11 เมษายน ปีเดียวกัน
ตลอดเส้นทางรถไฟจากพระนครจนถึงปากน้ำมีสถานีรถไฟทั้งหมดจำนวน 10 สถานี แต่ละสถานีจะมีรางเหล็กต่างหาก ตัวสถานีจะมีหลังคาไม้ความยาว 40 เมตร ครอบคลุมรางรถไฟทั้งสอง ตลอดจนถึงตัวอาคารสถานีและสำนักงาน ด้วยค่ารถไฟในสมัยนั้นไปกลับ 1 บาท มี 10 สถานี คิดค่าโดยสารระยะสถานีละ 1 เฟื้อง สถานีต้นทางคือสถานีหัวลำโพง รถไฟจะหยุดรับส่งผู้โดยสารที่ศาลาแดง บ้านกล้วย พระโขนง บางนา สำโรง ศีรษะจระเข้(หัวตะข้) บ้านนางเกรง มหาวงษ์ แล้วก็ถึงปากน้ำ ที่เป็นสถานีโรงสังกะสีขนาดใหญ่
ในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร เส้นทางสายนี้ใช้ความกว้างของทางรถไฟ คือ ขนาด 1.00 เมตร (Metre-Guage) โดยรถโดยสารหนึ่งขบวนจะประกอบไปด้วย โบกี้โดยสารสี่โบกี้ และโปกี้ห้ามล้ออีกหนึ่งโบกี้ โดยมีชั้นที่นั่งให้เลือกอยู่สองระดับคือ ชั้นสองและชั้นสาม ตลอดระยะทางทั้งหมด ใช้เวลาในการเดินทางหนึ่งชั่วโมง จะต้องข้ามคลองและคูน้ำเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นสะพานไม้ แต่ก็มีบางส่วนที่สร้างจากไม้และเหล็กผสมกัน เส้นทางนี้รองรับความต้องการของผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างมาก และสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้เป็ฯอย่างดี
-- ในข้อมูลบอกว่า เป็น รถรางไฟฟ้า ---
งานวันวิทยาศาสตร์ ที่ ร ร. ผมจะโชว์รถไฟ กับ กันดั้ม ก็เลยลองมาหาข้อมูลเพิ่มเตรียมติดบอร์ด มาลองดูกัน
ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ใช้รถไอน้ำลากขบวนรถไฟแทนแรงงานสัตว์
พ.ศ. 2364 รัฐสภาอังกฤษอนุมัติให้สร้างทางรถไฟความยาว 40 กม. ระหว่าง สต็อคตัน ถึง ดาร์ลิงตัน ซึ่งเปิดการเดินรถเมื่อ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2368 โดย ยอร์จ สตีเวนสัน เป็นผู้ขับรถจักรที่เขาสร้างขึ้น ชื่อ “โลโคโมชั่น” ทำการลากจูงถ่านหินหนัก 80 ตัน ด้วยความเร็ว 39 กม./ชม. ใช้เวลาเดินทาง 2 ชม. ระยะทาง 15 กม. ขบวนรถนี้ยังพ่วงตู้รถโดยสารสำหรับแขกที่มาร่วมพิธีเปิดซึ่งถือเป็นครั้งแรกของโลกที่มีผู้โดยสารนั่งอยู่บนขบวนรถไฟที่ลากจูงด้วยรถจักรไอน้ำ แต่หลังจากการเปิดตัวดังกล่าวแล้ว ก็ยังไม่มีการเดินรถไฟโดยสารเป็นทางการ ประชาชนยังคงเดินทางด้วยรถม้าต่อไปตามเดิม
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2373 มีพิธีเปิดการเดินรถไฟสาย ลิเวอร์พูล ถึง แมนเชสเตอร์ ระยะทาง 97 กม.
โดยมีการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ทางด้านวิศวกรรมจากประสบการณ์ อาทิ การลดความลาดชันของทางให้เหลือน้อยที่สุด และกำหนดใช้ทางโค้งรัศมีกว้างที่สุดเพื่อให้เหมาะกับรถจักรที่มีกำลังนอ้ย การปรับปรุงแก้ไขนี้ก่อปัญหาความยุ่งยากในการก่อสร้างเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะเรื่องการดำเนินการให้ได้ที่ดินมาสร้างทาง นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงรถจักรไอน้ำเสียใหม่ โดยใช้แบบของ โรเบิร์ต สตีเวนสัน บุตรชายของ ยอร์จ สตีเวนสัน รถจักรไอน้ำดังกล่าว ใช้หม้อต้มน้ำแบบ “ท่อไฟในหม้อต้มน้ำ” (Fire-tube) เป็นครั้งแรก หม้อต้มน้ำแบบนี้สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่า รถจักรไอน้ำที่ลากจูงขบวนรถไฟในพิธีเปิดชื่อ “ร็อคเกต” ในวันดังกล่าว นายกรัฐมนตรี ดุ๊ค ออฟ เวลลิงตัน เป็นหนึ่งในบรรดาแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมเป็นสักขีพยานด้วย และแม้ว่าจะเกิดเรื่องเศร้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมืองลิเวอร์พูล นายวิลเลียม ฮัดกินสัน ถูกรถจักรร็อคเกตชนเสียชีวิตซึ่งนับเป็นมนุษย์คนแรกที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถไฟ แต่ก็ถือว่าเป็นวันที่เปิดการเดินรถไฟขนส่งผู้โดยสารอย่างเป็นทางการสายแรกของโลก
ทางรถไฟสายแรกของไทย คือเส้นทางรถไฟของเอกชนที่เชื่อมระหว่างพระนครกับเมืองปากน้ำ (จังหวัดสมุทรปราการ
ในปัจจุบัน) ที่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 21 กิโลเมตร ในขณะนั้นเมืองปากน้ำเป็นที่พักทอดสมอของเรือเดินสมุทร ซึ่งเรือดังกล่าวไม่สามารถแล่นเข้าไปถึงพระนครได้โดยการก่อสร้างได้เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.2430 (ค.ศ.1887) และเปิดดำเนินการในปี พ.ศ.2436 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิด ในวันที่ 11 เมษายน ปีเดียวกัน
ตลอดเส้นทางรถไฟจากพระนครจนถึงปากน้ำมีสถานีรถไฟทั้งหมดจำนวน 10 สถานี แต่ละสถานีจะมีรางเหล็กต่างหาก ตัวสถานีจะมีหลังคาไม้ความยาว 40 เมตร ครอบคลุมรางรถไฟทั้งสอง ตลอดจนถึงตัวอาคารสถานีและสำนักงาน ด้วยค่ารถไฟในสมัยนั้นไปกลับ 1 บาท มี 10 สถานี คิดค่าโดยสารระยะสถานีละ 1 เฟื้อง สถานีต้นทางคือสถานีหัวลำโพง รถไฟจะหยุดรับส่งผู้โดยสารที่ศาลาแดง บ้านกล้วย พระโขนง บางนา สำโรง ศีรษะจระเข้(หัวตะข้) บ้านนางเกรง มหาวงษ์ แล้วก็ถึงปากน้ำ ที่เป็นสถานีโรงสังกะสีขนาดใหญ่
ในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร เส้นทางสายนี้ใช้ความกว้างของทางรถไฟ คือ ขนาด 1.00 เมตร (Metre-Guage) โดยรถโดยสารหนึ่งขบวนจะประกอบไปด้วย โบกี้โดยสารสี่โบกี้ และโปกี้ห้ามล้ออีกหนึ่งโบกี้ โดยมีชั้นที่นั่งให้เลือกอยู่สองระดับคือ ชั้นสองและชั้นสาม ตลอดระยะทางทั้งหมด ใช้เวลาในการเดินทางหนึ่งชั่วโมง จะต้องข้ามคลองและคูน้ำเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นสะพานไม้ แต่ก็มีบางส่วนที่สร้างจากไม้และเหล็กผสมกัน เส้นทางนี้รองรับความต้องการของผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างมาก และสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้เป็ฯอย่างดี
-- ในข้อมูลบอกว่า เป็น รถรางไฟฟ้า ---