สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
มันมาจากระบบต่างประเทศ แล้วเรามาแปลเป็นไทยเป็นคำเหล่านั้น ที่ต่างประเทศบรรดาอาจารย์ในแต่ละสาขาวิชาเฉพาะของตัวเองจะมีตำแหน่ง "ศาสตราจารย์" ซึ่งเหมือนเป็นหัวหน้าของแต่ละห้องปฏิบัติการต่าง ๆ รับลูกศิษย์และมีหน้าที่สอนและทำวิจัย ซึ่งศาสตราจารย์เหล่านี้สามารถรับผู้ช่วยเข้ามาทำงานกับตนได้ เลยมีตำแหน่ง "รองศาสตราจารย์" เหมือนเป็นตำแหน่งมือขวา และตำแหน่ง "ผู้ช่วยศาสตราจารย์" เหมือนเป็นตำแหน่งมือซ้าย พอไทยเราเอามาใช้ก็แปลเป็นไทยตรงตัว ที่ต่างประเทศตำแหน่งศาสตราจารย์จะมีจำกัด เช่น ห้องปฏิบัติการหนึ่ง ๆ จะมีศาสตราจารย์เพียงคนเดียว นอกนั้นอาจจะเป็นรองศาสตราจารย์หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ แล้วพอศาสตราจารย์เกษียณออกไป รองศาสตราจารย์จะเลื่อนขึ้นมาแทนที่ และมีการรับผู้ช่วยศาสตราจารย์คนใหม่เข้ามา เท่าที่เคยถาม ตำแหน่งศาสตราจารย์นั้นไม่ใช่แค่ว่าพอคนเก่าออก คนที่เป็นรศ.จะได้ขึ้นเป็นศ.แทนทันที เพราะถ้าผลงานไม่เข้าเงื่อนไข จะมีการรับรศ.จากที่อื่นเข้ามารับตำแหน่งแทนได้ ผมเคยถามอาจารย์ของผมเองว่าเงื่อนไขที่แกจะขึ้นเป็นศ.ได้ต้องทำยังไง แกบอกว่าต้องตีพิมพ์วารสารนานาชาติได้ 15 ฉบับในรอบ 5 ปี และต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมพิจารณาคุณสมบัติด้วย
ส่วนของไทย เรารับแค่ชื่อตำแหน่งมา แต่ระบบการแต่งตั้งตำแหน่งเป็นอีกแบบ เมื่อเข้าเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไทย ตำแหน่งแรกที่จะได้คือ "อาจารย์" และจะมีเงื่อนไขกำหนดหลักการขอตำแหน่ง ผศ.ของแต่ละมหาวิทยาลัยออกมา โดยคร่าว ๆ มักจะกำหนดว่าต้องมีผลงานตีพิมพ์หรือผลงานการเขียนเอกสารประกอบการสอบ รวมเครดิตได้ 100% เช่น ถ้าตีพิมพ์ผลงานวิชาการมีคนทำร่วมกัน 4 คน ต้องให้ทุกคนยินยอมเซ็นต์รับรองว่าผลงานนั้นเรามีส่วนกี่ % เช่น ชื่อแรกอาจจะทำ 50% ชื่อต่อมา 20%, 20%, และ 10% อะไรก็ว่ากันไป ผลงานแต่งตำราก็เช่นกัน ถ้าแต่งคนเดียวก็นับเลย 100% นี่คือการขอตำแหน่งผศ. ส่วนรศ.ก็จะมีกำหนดเพิ่มเงื่อนไขเข้าไปอีกว่าไอ้ทั้งผลงานและตำราต้องเป็นงานคุณภาพแค่ไหน และศ.ก็จะยิ่งยากเข้าไปอีก ดังนั้นในประเทศไทยจึงหาศ.ค่อนข้างยากหน่อย เพราะต้องทำผลงานให้เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ
ขอ ผศ.นั้นอาจจะง่ายสุด ในสายวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์กันยากเย็นนั้นมักจะขอระดับนี้ได้ แต่จะไปตันที่ระดับต่อไป เพราะผลงานอาจารย์ในประเทศไทย หลาย ๆ งานวิจัยมันตีพิมพ์ระดับนานาชาติได้ยาก เพราะถ้าหากทำงานวิจัยเหลาย ๆ อย่างเพื่อพัฒนาชุมชน มันจะไม่ค่อยมีอิมแพ็คพอที่จะตีพิมพ์ระดับนานาชาติได้ ดังนั้นส่วนใหญ่อาจารย์ที่อยากก้าวหน้าในสายวิทยาศาสตร์จะเน้นไปโคงานกับต่างประเทศ เพื่อยกระดับงานวิจัยซึ่งจะทำให้ตีพิมพ์ง่ายขึ้น
ส่วนของไทย เรารับแค่ชื่อตำแหน่งมา แต่ระบบการแต่งตั้งตำแหน่งเป็นอีกแบบ เมื่อเข้าเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไทย ตำแหน่งแรกที่จะได้คือ "อาจารย์" และจะมีเงื่อนไขกำหนดหลักการขอตำแหน่ง ผศ.ของแต่ละมหาวิทยาลัยออกมา โดยคร่าว ๆ มักจะกำหนดว่าต้องมีผลงานตีพิมพ์หรือผลงานการเขียนเอกสารประกอบการสอบ รวมเครดิตได้ 100% เช่น ถ้าตีพิมพ์ผลงานวิชาการมีคนทำร่วมกัน 4 คน ต้องให้ทุกคนยินยอมเซ็นต์รับรองว่าผลงานนั้นเรามีส่วนกี่ % เช่น ชื่อแรกอาจจะทำ 50% ชื่อต่อมา 20%, 20%, และ 10% อะไรก็ว่ากันไป ผลงานแต่งตำราก็เช่นกัน ถ้าแต่งคนเดียวก็นับเลย 100% นี่คือการขอตำแหน่งผศ. ส่วนรศ.ก็จะมีกำหนดเพิ่มเงื่อนไขเข้าไปอีกว่าไอ้ทั้งผลงานและตำราต้องเป็นงานคุณภาพแค่ไหน และศ.ก็จะยิ่งยากเข้าไปอีก ดังนั้นในประเทศไทยจึงหาศ.ค่อนข้างยากหน่อย เพราะต้องทำผลงานให้เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ
ขอ ผศ.นั้นอาจจะง่ายสุด ในสายวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์กันยากเย็นนั้นมักจะขอระดับนี้ได้ แต่จะไปตันที่ระดับต่อไป เพราะผลงานอาจารย์ในประเทศไทย หลาย ๆ งานวิจัยมันตีพิมพ์ระดับนานาชาติได้ยาก เพราะถ้าหากทำงานวิจัยเหลาย ๆ อย่างเพื่อพัฒนาชุมชน มันจะไม่ค่อยมีอิมแพ็คพอที่จะตีพิมพ์ระดับนานาชาติได้ ดังนั้นส่วนใหญ่อาจารย์ที่อยากก้าวหน้าในสายวิทยาศาสตร์จะเน้นไปโคงานกับต่างประเทศ เพื่อยกระดับงานวิจัยซึ่งจะทำให้ตีพิมพ์ง่ายขึ้น
แสดงความคิดเห็น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ , รองศาสตราจารย์ , ศาสตราจารย์ ต่างกันยังไง !!!
สงสัยมากๆ ว่ามันต่างกันตรงไหน เเล้วทำไมต้องมีรองเเละผู้ช่วย