สวัสดีครับพี่ ๆ ทุกคน พาพันกลับมาแล้วคร้าบบบบบบบ
แต่คราวนี้พาพันไม่ได้มาคนเดียวครับ พาพันพาพี่ชายและพี่สาวสองคนมาทำความรู้จักกับพี่ ๆ ทุกคนด้วยครับ บอกเลยว่า วันที่พาพันนัดเจอกับพี่ ๆ ทั้งสองคนนี้ พาพันตื่นเต้นมาก ๆ เพราะทั้งคู่เป็นคนที่น่าสนใจมากเลย คนนึงเป็นทั้งพิธีกรรายการ นักแสดง และยังเป็นนักออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ส่วนอีกคนเราก็คุ้นหน้าคุ้นตาในวงการบันเทิงเช่นกัน การันตีรางวัลด้านการแสดง ทั้งรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี รางวัลโทรทัศน์ทองคำ และ รางวัลเมขลา ซึ่งล่าสุด พี่เค้าก็หันมาทำงานด้านสิ่งแวดล้อมบ้างแล้ว อยากรู้แล้วใช่มั้ยครับว่าพวกเค้าคือใคร????
ติ๊ก ต่อก ติ๊ก ต่อก ติ๊ก ต่อก ...
.
.
.
พี่ชายและพี่สาวของพาพันก็คือ พี่ท็อป พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร และ พี่นุ่น ศิรพันธ์ วัฒนจินดา นั่นเอง!!!!!
เรานัดคุยกันที่ ECOSHOP common ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้งานออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่พี่ท็อปทำร่วมกับพี่นุ่นครับ พาพันเดินทางไปสะดวกมาก ๆ เลย เพราะตั้งอยู่ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ใกล้ ๆ นี้เอง
เมื่อไปถึงพี่ ๆ ก็รออยู่ก่อนแล้วครับ พี่ ๆ พาพาพันชมภายในศูนย์ฯอย่างเป็นกันเองและกระฉับกระเฉง พาพันตื่นตาตื่นใจมาก ๆ เลยครับ พี่ท็อปบอกว่าก่อนจะมาเปิดที่นี่ พี่ท็อปมีร้าน ECOSHOP อยู่ที่สยามสแควร์มาตั้งแต่ปี 2009 แต่ตอนนี้ย้ายมาที่นี่แล้ว ซึ่งไม่ได้เป็นร้านขายผลิตภัณฑ์รักษ์โลกอย่างเดียวเหมือน ECOSHOP แต่ยังเป็นศูนย์ที่ให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแก่ทุกคนด้วยครับ อ้อ แม้ร้าน ECOSHOP common จะเป็นเพียงพื้นที่ขนาดเล็ก แต่ก็อัดแน่นไปด้วยองค์ความรู้ที่น่าสนุก ๆ มากมายเลยล่ะครับ
ฟังดูทั้งคู่มีทัศนคติแง่บวกมาก ๆ เลย ในการลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม พาพันก็ชักจะเริ่มสงสัยแล้วว่า จากคนที่เคยอยู่ในวงการบันเทิง และตอนนี้ก็ยังทำงานในด้านนั้นอยู่ ทำไมถึงหันมาสนใจการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมกันนะ?
พี่ท็อป: ด้วยความที่เรียนดีไซน์มาตั้งแต่ปริญญาตรี และมีความใฝ่ฝันว่าวันนึงอยากจะเป็นเจ้าของร้านขายของดีไซน์ แล้วจู่ ๆ วันหนึ่ง มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์เรื่อง
An Inconvenient Truth (2006) พอดูจบออกมาก็รู้สึกว่า มันน่าสนใจ เราเลยเอาไปทำเป็นวิทยานิพนธ์ตอนเรียนปริญญาโท หัวข้อ 'แนวโน้มพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อเฟอร์นิเจอร์เพื่อสิ่งแวดล้อม' ซึ่งเป็นการเอาสองเรื่องมาบวกกัน หนึ่งคือเรื่องดีไซน์ที่ตัวเองถนัด กับสอง เรื่องสิ่งแวดล้อมที่เราสนใจ อันนี้แหละที่เป็นจุดเริ่มต้น เพราะว่า ก่อนหน้านั้น เวลาพูดถึงการออกแบบหรือการผลิต เราก็ไม่เคยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม เราก็ทำมันอย่างเต็มที่ ทำให้มันใช้งานได้ดีที่สุด ทำให้มันน่าใช้ รูปลักษณ์ดี ทำให้มันแปลกแตกต่าง ทำให้มันลดราคาในเรื่องต้นทุน แต่ไม่ได้คำนึงว่าใช้ทรัพยากรไปมากมายขนาดไหน พอมาทำตรงนี้แล้วถึงเริ่มเข้าใจ และก็ทำให้ได้รู้จักกับคนที่อยู่ในวงการนี้ เลยคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากครับ
แล้วพี่นุ่นล่ะครับ?
พี่นุ่น: คือต้องบอกพื้นฐานก่อนนะคะ ว่านุ่นเรียนวิศวะด้านอุตสาหการ มีพื้นฐานเรียนด้านการบริหารมา พอมาทำงาน รู้จักกับท็อป แล้วเห็นสิ่งที่ท็อปทำตั้งแต่เราเริ่มคบกันก็คือเรื่องของงานดีไซน์ ซึ่งนุ่นเองก็ชอบงานดีไซน์อยู่แล้ว นุ่นถึงไปเรียนต่อด้านโปรดักดีไซน์เพิ่มเติม พอท็อปทำ ก็เลยเห็นว่ามันเป็นอีกหนึ่งโปรเจคที่น่าสนใจ คืองานดีไซน์นอกจากความชอบ ก็ยังสามารถทำเป็นธุรกิจได้ แต่ก็อาจเป็นเฉพาะนุ่นนะคะ นุ่นรู้สึกว่าธุรกิจมันไม่ได้จำเป็นจะต้องมีรายได้หรือประสบความสำเร็จมากมาย เพียงแต่ว่าแค่ธุรกิจมันสามารถขายด้วยตัวเองได้ เป็นธุรกิจที่เราชอบ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็น SE หรือ Social Enterprise ก็โอเคแล้ว มันเลยเป็นโปรเจคที่ตอบโจทย์ตัวนุ่นเองทั้งหมดเลย จึงตกลงใจกับท็อปว่าจะมาช่วยโปรเจคนี้ เพราะจริง ๆ แล้ว ท็อปเค้าจะชอบเรื่องของดีไซน์เป็นหลัก แต่เรื่องตัวเลข เรื่องการบริหารจัดการ นุ่นพอมีพื้นฐานมาบ้าง เลยนำมาช่วยกันค่ะ แต่ถ้าท็อปคาดหวังว่า เราต้องทำบริษัทยิ่งใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง รายได้เข้าบริษัทเท่านั้นเท่านี้ นุ่นก็คงรู้สึกว่าไม่ถนัด แต่บังเอิญว่าธุรกิจนี้ ท็อปสนับสนุนดีไซเนอร์คนไทย อยากจะทำเรื่องอีโค่ดีไซน์ให้มันประสบความสำเร็จจริง ๆ ไม่ใช่แค่เป็นกระแสเป็นเทรนด์เรื่องรักษ์โลก มาแล้วก็หายไป เราเลยสนใจค่ะ
ปกติแล้ว พี่นุ่นจะมีกิจกรรมทางด้านพุทธศาสนาด้วยใช่มั้ยครับ? แล้วพี่นุ่นทำงานหลายอย่างแบบนี้ มีวิธีบริหารจัดการชีวิตยังไงบ้างครับ?
พี่นุ่น: ก็เป็นอีกสิ่งนึงที่นุ่นชอบ เริ่มจากนุ่นทำรายการทางด้านนี้ค่ะ แล้วก็เลยอิน นุ่นไม่ได้เป็นคนดีมาก ไม่ได้เป็นคนนุ่งขาวห่มขาว ถือศีลแปดขนาดนั้น นุ่นก็เป็นคนปกติ แต่โดยส่วนตัวนุ่น นุ่นรู้สึกว่าพระพุทธเจ้าท่านเป็น genius ท่านรู้วิธีการดับทุกข์ที่ยั่งยืนและมันเป็นเหตุและผล เป็นตรรกะที่พิสูจน์ได้ นุ่นเลยชอบ แล้วพอทำรายการด้วยก็เลยอิน และคนได้เห็นสิ่งที่เราทำว่า เราอินกับการทำงานในสิ่งที่สอดคล้องกับความชอบ อย่างเช่น ที่นุ่นไปช่วยงานหอจดหมายเหตุท่านพุทธทาส มันก็เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่า ที่เราทำอยู่มันก็ไม่ได้ขัดแย้ง ไม่อยากไปโกหกใครว่า พี่คะ หนูเป็นคนดีค่ะ หนูจะมาสอนเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่นุ่นรู้ว่า สิ่งที่นุ่นเป็น เกิดจากข้างใน คือนุ่นก็ใช้วิธีการแก้ปัญหาชีวิตจากหลักธรรม แต่ก็ไม่ได้ธรรมะธรรมโมจ๋า คือแค่เป็นเหตุเป็นผลค่ะ คนก็เลยอาจจำภาพว่า นุ่น ศิรพันธ์ ทำงานด้านศาสนา ซึ่งนุ่นก็คิดว่า ก็เป็นโปรเจคที่น่าสนใจอีกโปรเจคที่นุ่นกำลังทำอยู่ด้วยค่ะ
พี่นุ่น: เรื่องการบริหารจัดการชีวิต บอกจากใจเลยว่า หนักมากกกก (หัวเราะ) คือนอกจากทำบริษัทฝ่ายบริหารการดูแลจัดการ นุ่นก็ยังทำร้านอาหาร และก็มีโปรเจค สกินแคร์ อันนี้ก็เป็นกิจการเพื่อสังคมเหมือนกัน เป็นการใช้งานดีไซน์ที่นุ่นชอบไปพัฒนา นอกจากนี้ก็มีละคร พิธีกร ช่วงนี้ก็โหดอยู่ แต่โชคดี เพราะทั้งหมดทั้งมวล นุ่นได้ทีมงานที่แข็งแรงมาก ทีมงานนุ่นมีสองสามคนเองนะ แต่ว่า เราอยู่กันแบบพี่น้อง เราจะเลือกคนที่แนวเดียวกัน คือไม่ใช่ทำงานแบบ office hour เข้าเก้าโมงเลิกหกโมง แต่จะเป็นอารมณ์แบบ
เฮ้ยน้อง!! ตอนนี้พี่มีโปรเจคอยู่ห้าตัวที่ต้องคุมนะ แล้วก็แบ่งให้คนนึงมาช่วยสองโปรเจคนี้ อีกคนมาช่วยอีกสองโปรเจค คือนุ่นจะใช้คำว่า ร่างทรง อ่ะค่ะ เรื่องที่พี่รู้ เธอต้องรู้เท่าพี่ ถ้าใครอยากได้อะไรจากพี่ แล้วพี่ถ่ายละครหรือติดอะไรก็ตาม เธอต้องจัดการต่อได้ และนุ่นก็จะดูแลน้องเหมือนคนในครอบครัว เช่น ถ้าจะไปไหนกับแฟน มีเวลาอยากไปกับครอบครัว บอกล่วงหน้าอาทิตย์นึง ไปสี่วัน ไปได้เลย ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าบริหารยากนะคะ มันก็นรกจริง ๆ แหละ แต่ก็ต้องบอกว่าโชคดีมากเลย ที่มีทีมงานที่แข็งแรงและเข้าใจธรรมชาติของกันและกัน มันก็เลยเอาตัวรอดได้
โอ้โห ฟังดูเหนื่อยแต่ก็น่าสนุกนะครับ พาพันถามพี่ท็อปบ้างดีกว่า จากที่พี่ท็อปบอกว่า การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากร งั้นก็แสดงว่ามันต่างกับการออกแบบปกติทั่ว ๆ ไป แค่เรื่องวัสดุที่ใช้หรือเปล่าครับ?
พี่ท็อป: อันนั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งครับ แต่ว่าแนวทางการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ผมใช้ เป็นหลักการที่เรียกว่า LCA หรือ Life Cycle Assessment ซึ่งต้องควบคุมตั้งแต่กระบวนการผลิต การได้มาซึ่งวัตถุดิบต่าง ๆ การขนส่ง การใช้งาน และการจัดการเศษซากวัสดุ คือเราต้องมองตั้งแต่ต้นจนจบ
โอ้ว เป็นหลักการที่น่านำไปใช้ทีเดียวครับ แล้วทำไมจู่ ๆ วันนึง พี่ท็อปถึงตัดสินใจเปิด ECOSHOP ล่ะครับ?
พี่ท็อป: พอเริ่มสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เราก็มีโอกาสได้เห็นงานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมอยู่ทั่ว ๆ ไป แต่ยังกระจัดกระจาย และเห็นงานดี ๆ ว่ามีตั้งเยอะ หรือพวกงานประกวดที่พอจบอีเว้นท์ไปแล้ว ไม่มีใครเอามาโชว์ เอามาทำอะไรต่อ ก็เลยเกิดคำถามว่า ทำไมไม่รวมให้มันมาอยู่ในที่เดียวกัน หรือร้านเดียวกันเลย เวลาคนที่สนใจก็จะได้ไปที่นี่ทีเดียว ดังนั้น ปี 2009 ก็เลยตัดสินใจเปิด ECOSHOP ซึ่งเป็นเวทีขายสินค้าอีโค่ที่แรกในประเทศไทยตอนนั้น
แล้วพี่ท็อปมีวิธีจัดการเวลายังไงครับ เพราะนอกจากจะต้องทำงานหลักในวงการ ยังต้องทำงานที่รักอีก?
พี่ท็อป: ปกติผมจะพยายามทำให้มันได้ 50:50 แต่บางจังหวะมันก็ไม่ได้ เช่นตอนนี้กำลังจะเปิดตัวที่นี่อย่างเป็นทางการวันเสาร์ นี้ ก็จะต้องทุ่มเวลาให้กับทางนี้เยอะหน่อย ช่วงนี้ก็เลยเกิน 50% ECOSHOP common นี่น่าจะประมาณ 80% ได้
แล้วจากประสบการณ์การทำร้าน ECOSHOP มากว่า 5 ปี พี่ท็อปคิดว่าการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมมีจุดเด่นอะไรบ้างครับ ทำไมคนถึงต้องสนใจ เพราะปกติสินค้าอีโค่มักราคาสูงกว่าสินค้าทั่ว ๆ ไป?
พี่ท็อป: ผมว่าจุดเด่นของมันอย่างแรกเลยอยู่ที่เรื่องราว อย่างเช่น การออกแบบโดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ออกแบบโดยใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ออกแบบด้วยการลดการใช้แพ็คเกจจิ้งลง ออกแบบให้มันถอดประกอบได้ ขนส่งแต่ละครั้งจะได้ปริมาณที่มาก เพื่อลดการใช้พลังงาน ไม่ต้องไปหลายเที่ยว ลดมลพิษที่เกิดขึ้นในอากาศ อันนี้เป็นตัวอย่างนึงที่เวลาเราอธิบายสินค้าแต่ละตัวที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แล้วทำให้คนรู้สึกว่า มันน่าสนใจ คือได้ของด้วย และยังได้ทำสิ่งดี ๆ ด้วย ไม่ทำลายโลกให้มันเลวร้ายไปกว่านี้ แต่เรื่องความชอบของคนมันก็แตกต่างกันนะ ผมชอบอย่างนึง พาพันชอบอย่างนึง อีกคนนึงอาจจะชอบอีกอย่าง รสนิยมมันต่าง
อย่างนี้นี่เองครับ ถ้าอย่างนั้นพี่ท็อปก็น่าจะมีการวางแผนหรือกลยุทธ์ในการสื่อสารให้คนรู้สึกว่าสินค้าอีโค่เป็นสิ่งที่ดีใช่ไหมครับ?
พี่ท็อป: ใช่ครับ คือต้องเริ่มที่การพยายามอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ก่อน ผมใช้วิธีการ 2 อย่าง อันดับแรก ผมทำสัญลักษณ์ง่าย ๆ ให้จดจำได้ขึ้นมา 4 ตัว Production, Logistics, Human Center และ Disposal ซึ่งก็คือหลักของ LCA ส่วนอีกอย่าง เวลาเราจะอธิบายแต่ละเรื่องราว เราก็จะพยายามทำให้สั้นที่สุด เพราะเราเชื่อว่าคนที่มาเห็น เค้าอาจจะมีเวลาน้อย เค้าก็ดูแบบผ่าน ๆ เราจึงดึงไฮไลต์มาอธิบาย แต่ถ้าเกิดอยากจะรู้รายละเอียดเพิ่มเติม ก็ค่อยมาดูในคอมพิวเตอร์ของเรา หรือค่อยไปดูต่อในเว็บไซต์ของเราก็ได้ครับ
บันทึกของพาพัน@pantip เมื่อนักแสดง นุ่น ศิรพันธ์ และท็อป พิพัฒน์ ก้าวเข้ามาทำกิจการเล็กๆเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ECOSHOP
แต่คราวนี้พาพันไม่ได้มาคนเดียวครับ พาพันพาพี่ชายและพี่สาวสองคนมาทำความรู้จักกับพี่ ๆ ทุกคนด้วยครับ บอกเลยว่า วันที่พาพันนัดเจอกับพี่ ๆ ทั้งสองคนนี้ พาพันตื่นเต้นมาก ๆ เพราะทั้งคู่เป็นคนที่น่าสนใจมากเลย คนนึงเป็นทั้งพิธีกรรายการ นักแสดง และยังเป็นนักออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ส่วนอีกคนเราก็คุ้นหน้าคุ้นตาในวงการบันเทิงเช่นกัน การันตีรางวัลด้านการแสดง ทั้งรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี รางวัลโทรทัศน์ทองคำ และ รางวัลเมขลา ซึ่งล่าสุด พี่เค้าก็หันมาทำงานด้านสิ่งแวดล้อมบ้างแล้ว อยากรู้แล้วใช่มั้ยครับว่าพวกเค้าคือใคร????
ติ๊ก ต่อก ติ๊ก ต่อก ติ๊ก ต่อก ...
.
.
.
พี่ชายและพี่สาวของพาพันก็คือ พี่ท็อป พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร และ พี่นุ่น ศิรพันธ์ วัฒนจินดา นั่นเอง!!!!!
เรานัดคุยกันที่ ECOSHOP common ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้งานออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่พี่ท็อปทำร่วมกับพี่นุ่นครับ พาพันเดินทางไปสะดวกมาก ๆ เลย เพราะตั้งอยู่ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ใกล้ ๆ นี้เอง
เมื่อไปถึงพี่ ๆ ก็รออยู่ก่อนแล้วครับ พี่ ๆ พาพาพันชมภายในศูนย์ฯอย่างเป็นกันเองและกระฉับกระเฉง พาพันตื่นตาตื่นใจมาก ๆ เลยครับ พี่ท็อปบอกว่าก่อนจะมาเปิดที่นี่ พี่ท็อปมีร้าน ECOSHOP อยู่ที่สยามสแควร์มาตั้งแต่ปี 2009 แต่ตอนนี้ย้ายมาที่นี่แล้ว ซึ่งไม่ได้เป็นร้านขายผลิตภัณฑ์รักษ์โลกอย่างเดียวเหมือน ECOSHOP แต่ยังเป็นศูนย์ที่ให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแก่ทุกคนด้วยครับ อ้อ แม้ร้าน ECOSHOP common จะเป็นเพียงพื้นที่ขนาดเล็ก แต่ก็อัดแน่นไปด้วยองค์ความรู้ที่น่าสนุก ๆ มากมายเลยล่ะครับ
ฟังดูทั้งคู่มีทัศนคติแง่บวกมาก ๆ เลย ในการลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม พาพันก็ชักจะเริ่มสงสัยแล้วว่า จากคนที่เคยอยู่ในวงการบันเทิง และตอนนี้ก็ยังทำงานในด้านนั้นอยู่ ทำไมถึงหันมาสนใจการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมกันนะ?
พี่ท็อป: ด้วยความที่เรียนดีไซน์มาตั้งแต่ปริญญาตรี และมีความใฝ่ฝันว่าวันนึงอยากจะเป็นเจ้าของร้านขายของดีไซน์ แล้วจู่ ๆ วันหนึ่ง มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์เรื่อง An Inconvenient Truth (2006) พอดูจบออกมาก็รู้สึกว่า มันน่าสนใจ เราเลยเอาไปทำเป็นวิทยานิพนธ์ตอนเรียนปริญญาโท หัวข้อ 'แนวโน้มพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อเฟอร์นิเจอร์เพื่อสิ่งแวดล้อม' ซึ่งเป็นการเอาสองเรื่องมาบวกกัน หนึ่งคือเรื่องดีไซน์ที่ตัวเองถนัด กับสอง เรื่องสิ่งแวดล้อมที่เราสนใจ อันนี้แหละที่เป็นจุดเริ่มต้น เพราะว่า ก่อนหน้านั้น เวลาพูดถึงการออกแบบหรือการผลิต เราก็ไม่เคยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม เราก็ทำมันอย่างเต็มที่ ทำให้มันใช้งานได้ดีที่สุด ทำให้มันน่าใช้ รูปลักษณ์ดี ทำให้มันแปลกแตกต่าง ทำให้มันลดราคาในเรื่องต้นทุน แต่ไม่ได้คำนึงว่าใช้ทรัพยากรไปมากมายขนาดไหน พอมาทำตรงนี้แล้วถึงเริ่มเข้าใจ และก็ทำให้ได้รู้จักกับคนที่อยู่ในวงการนี้ เลยคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากครับ
แล้วพี่นุ่นล่ะครับ?
พี่นุ่น: คือต้องบอกพื้นฐานก่อนนะคะ ว่านุ่นเรียนวิศวะด้านอุตสาหการ มีพื้นฐานเรียนด้านการบริหารมา พอมาทำงาน รู้จักกับท็อป แล้วเห็นสิ่งที่ท็อปทำตั้งแต่เราเริ่มคบกันก็คือเรื่องของงานดีไซน์ ซึ่งนุ่นเองก็ชอบงานดีไซน์อยู่แล้ว นุ่นถึงไปเรียนต่อด้านโปรดักดีไซน์เพิ่มเติม พอท็อปทำ ก็เลยเห็นว่ามันเป็นอีกหนึ่งโปรเจคที่น่าสนใจ คืองานดีไซน์นอกจากความชอบ ก็ยังสามารถทำเป็นธุรกิจได้ แต่ก็อาจเป็นเฉพาะนุ่นนะคะ นุ่นรู้สึกว่าธุรกิจมันไม่ได้จำเป็นจะต้องมีรายได้หรือประสบความสำเร็จมากมาย เพียงแต่ว่าแค่ธุรกิจมันสามารถขายด้วยตัวเองได้ เป็นธุรกิจที่เราชอบ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็น SE หรือ Social Enterprise ก็โอเคแล้ว มันเลยเป็นโปรเจคที่ตอบโจทย์ตัวนุ่นเองทั้งหมดเลย จึงตกลงใจกับท็อปว่าจะมาช่วยโปรเจคนี้ เพราะจริง ๆ แล้ว ท็อปเค้าจะชอบเรื่องของดีไซน์เป็นหลัก แต่เรื่องตัวเลข เรื่องการบริหารจัดการ นุ่นพอมีพื้นฐานมาบ้าง เลยนำมาช่วยกันค่ะ แต่ถ้าท็อปคาดหวังว่า เราต้องทำบริษัทยิ่งใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง รายได้เข้าบริษัทเท่านั้นเท่านี้ นุ่นก็คงรู้สึกว่าไม่ถนัด แต่บังเอิญว่าธุรกิจนี้ ท็อปสนับสนุนดีไซเนอร์คนไทย อยากจะทำเรื่องอีโค่ดีไซน์ให้มันประสบความสำเร็จจริง ๆ ไม่ใช่แค่เป็นกระแสเป็นเทรนด์เรื่องรักษ์โลก มาแล้วก็หายไป เราเลยสนใจค่ะ
ปกติแล้ว พี่นุ่นจะมีกิจกรรมทางด้านพุทธศาสนาด้วยใช่มั้ยครับ? แล้วพี่นุ่นทำงานหลายอย่างแบบนี้ มีวิธีบริหารจัดการชีวิตยังไงบ้างครับ?
พี่นุ่น: ก็เป็นอีกสิ่งนึงที่นุ่นชอบ เริ่มจากนุ่นทำรายการทางด้านนี้ค่ะ แล้วก็เลยอิน นุ่นไม่ได้เป็นคนดีมาก ไม่ได้เป็นคนนุ่งขาวห่มขาว ถือศีลแปดขนาดนั้น นุ่นก็เป็นคนปกติ แต่โดยส่วนตัวนุ่น นุ่นรู้สึกว่าพระพุทธเจ้าท่านเป็น genius ท่านรู้วิธีการดับทุกข์ที่ยั่งยืนและมันเป็นเหตุและผล เป็นตรรกะที่พิสูจน์ได้ นุ่นเลยชอบ แล้วพอทำรายการด้วยก็เลยอิน และคนได้เห็นสิ่งที่เราทำว่า เราอินกับการทำงานในสิ่งที่สอดคล้องกับความชอบ อย่างเช่น ที่นุ่นไปช่วยงานหอจดหมายเหตุท่านพุทธทาส มันก็เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่า ที่เราทำอยู่มันก็ไม่ได้ขัดแย้ง ไม่อยากไปโกหกใครว่า พี่คะ หนูเป็นคนดีค่ะ หนูจะมาสอนเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่นุ่นรู้ว่า สิ่งที่นุ่นเป็น เกิดจากข้างใน คือนุ่นก็ใช้วิธีการแก้ปัญหาชีวิตจากหลักธรรม แต่ก็ไม่ได้ธรรมะธรรมโมจ๋า คือแค่เป็นเหตุเป็นผลค่ะ คนก็เลยอาจจำภาพว่า นุ่น ศิรพันธ์ ทำงานด้านศาสนา ซึ่งนุ่นก็คิดว่า ก็เป็นโปรเจคที่น่าสนใจอีกโปรเจคที่นุ่นกำลังทำอยู่ด้วยค่ะ
พี่นุ่น: เรื่องการบริหารจัดการชีวิต บอกจากใจเลยว่า หนักมากกกก (หัวเราะ) คือนอกจากทำบริษัทฝ่ายบริหารการดูแลจัดการ นุ่นก็ยังทำร้านอาหาร และก็มีโปรเจค สกินแคร์ อันนี้ก็เป็นกิจการเพื่อสังคมเหมือนกัน เป็นการใช้งานดีไซน์ที่นุ่นชอบไปพัฒนา นอกจากนี้ก็มีละคร พิธีกร ช่วงนี้ก็โหดอยู่ แต่โชคดี เพราะทั้งหมดทั้งมวล นุ่นได้ทีมงานที่แข็งแรงมาก ทีมงานนุ่นมีสองสามคนเองนะ แต่ว่า เราอยู่กันแบบพี่น้อง เราจะเลือกคนที่แนวเดียวกัน คือไม่ใช่ทำงานแบบ office hour เข้าเก้าโมงเลิกหกโมง แต่จะเป็นอารมณ์แบบ เฮ้ยน้อง!! ตอนนี้พี่มีโปรเจคอยู่ห้าตัวที่ต้องคุมนะ แล้วก็แบ่งให้คนนึงมาช่วยสองโปรเจคนี้ อีกคนมาช่วยอีกสองโปรเจค คือนุ่นจะใช้คำว่า ร่างทรง อ่ะค่ะ เรื่องที่พี่รู้ เธอต้องรู้เท่าพี่ ถ้าใครอยากได้อะไรจากพี่ แล้วพี่ถ่ายละครหรือติดอะไรก็ตาม เธอต้องจัดการต่อได้ และนุ่นก็จะดูแลน้องเหมือนคนในครอบครัว เช่น ถ้าจะไปไหนกับแฟน มีเวลาอยากไปกับครอบครัว บอกล่วงหน้าอาทิตย์นึง ไปสี่วัน ไปได้เลย ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าบริหารยากนะคะ มันก็นรกจริง ๆ แหละ แต่ก็ต้องบอกว่าโชคดีมากเลย ที่มีทีมงานที่แข็งแรงและเข้าใจธรรมชาติของกันและกัน มันก็เลยเอาตัวรอดได้
โอ้โห ฟังดูเหนื่อยแต่ก็น่าสนุกนะครับ พาพันถามพี่ท็อปบ้างดีกว่า จากที่พี่ท็อปบอกว่า การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากร งั้นก็แสดงว่ามันต่างกับการออกแบบปกติทั่ว ๆ ไป แค่เรื่องวัสดุที่ใช้หรือเปล่าครับ?
พี่ท็อป: อันนั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งครับ แต่ว่าแนวทางการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ผมใช้ เป็นหลักการที่เรียกว่า LCA หรือ Life Cycle Assessment ซึ่งต้องควบคุมตั้งแต่กระบวนการผลิต การได้มาซึ่งวัตถุดิบต่าง ๆ การขนส่ง การใช้งาน และการจัดการเศษซากวัสดุ คือเราต้องมองตั้งแต่ต้นจนจบ
โอ้ว เป็นหลักการที่น่านำไปใช้ทีเดียวครับ แล้วทำไมจู่ ๆ วันนึง พี่ท็อปถึงตัดสินใจเปิด ECOSHOP ล่ะครับ?
พี่ท็อป: พอเริ่มสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เราก็มีโอกาสได้เห็นงานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมอยู่ทั่ว ๆ ไป แต่ยังกระจัดกระจาย และเห็นงานดี ๆ ว่ามีตั้งเยอะ หรือพวกงานประกวดที่พอจบอีเว้นท์ไปแล้ว ไม่มีใครเอามาโชว์ เอามาทำอะไรต่อ ก็เลยเกิดคำถามว่า ทำไมไม่รวมให้มันมาอยู่ในที่เดียวกัน หรือร้านเดียวกันเลย เวลาคนที่สนใจก็จะได้ไปที่นี่ทีเดียว ดังนั้น ปี 2009 ก็เลยตัดสินใจเปิด ECOSHOP ซึ่งเป็นเวทีขายสินค้าอีโค่ที่แรกในประเทศไทยตอนนั้น
แล้วพี่ท็อปมีวิธีจัดการเวลายังไงครับ เพราะนอกจากจะต้องทำงานหลักในวงการ ยังต้องทำงานที่รักอีก?
พี่ท็อป: ปกติผมจะพยายามทำให้มันได้ 50:50 แต่บางจังหวะมันก็ไม่ได้ เช่นตอนนี้กำลังจะเปิดตัวที่นี่อย่างเป็นทางการวันเสาร์ นี้ ก็จะต้องทุ่มเวลาให้กับทางนี้เยอะหน่อย ช่วงนี้ก็เลยเกิน 50% ECOSHOP common นี่น่าจะประมาณ 80% ได้
แล้วจากประสบการณ์การทำร้าน ECOSHOP มากว่า 5 ปี พี่ท็อปคิดว่าการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมมีจุดเด่นอะไรบ้างครับ ทำไมคนถึงต้องสนใจ เพราะปกติสินค้าอีโค่มักราคาสูงกว่าสินค้าทั่ว ๆ ไป?
พี่ท็อป: ผมว่าจุดเด่นของมันอย่างแรกเลยอยู่ที่เรื่องราว อย่างเช่น การออกแบบโดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ออกแบบโดยใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ออกแบบด้วยการลดการใช้แพ็คเกจจิ้งลง ออกแบบให้มันถอดประกอบได้ ขนส่งแต่ละครั้งจะได้ปริมาณที่มาก เพื่อลดการใช้พลังงาน ไม่ต้องไปหลายเที่ยว ลดมลพิษที่เกิดขึ้นในอากาศ อันนี้เป็นตัวอย่างนึงที่เวลาเราอธิบายสินค้าแต่ละตัวที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แล้วทำให้คนรู้สึกว่า มันน่าสนใจ คือได้ของด้วย และยังได้ทำสิ่งดี ๆ ด้วย ไม่ทำลายโลกให้มันเลวร้ายไปกว่านี้ แต่เรื่องความชอบของคนมันก็แตกต่างกันนะ ผมชอบอย่างนึง พาพันชอบอย่างนึง อีกคนนึงอาจจะชอบอีกอย่าง รสนิยมมันต่าง
อย่างนี้นี่เองครับ ถ้าอย่างนั้นพี่ท็อปก็น่าจะมีการวางแผนหรือกลยุทธ์ในการสื่อสารให้คนรู้สึกว่าสินค้าอีโค่เป็นสิ่งที่ดีใช่ไหมครับ?
พี่ท็อป: ใช่ครับ คือต้องเริ่มที่การพยายามอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ก่อน ผมใช้วิธีการ 2 อย่าง อันดับแรก ผมทำสัญลักษณ์ง่าย ๆ ให้จดจำได้ขึ้นมา 4 ตัว Production, Logistics, Human Center และ Disposal ซึ่งก็คือหลักของ LCA ส่วนอีกอย่าง เวลาเราจะอธิบายแต่ละเรื่องราว เราก็จะพยายามทำให้สั้นที่สุด เพราะเราเชื่อว่าคนที่มาเห็น เค้าอาจจะมีเวลาน้อย เค้าก็ดูแบบผ่าน ๆ เราจึงดึงไฮไลต์มาอธิบาย แต่ถ้าเกิดอยากจะรู้รายละเอียดเพิ่มเติม ก็ค่อยมาดูในคอมพิวเตอร์ของเรา หรือค่อยไปดูต่อในเว็บไซต์ของเราก็ได้ครับ