คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ตามในฐานะนักกฎหมายนะครับ
1. ที่สาธารณะประโยชน์ ตรงนี้หมายถึงที่ดินที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยกให้คนทั่วไปใช้ได้ โดยไม่ต้องมีค่าผ่านทาง กทม. จะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลรักษา ตามนิยามนี้ "ที่สาธารณประโยชน์" หมายถึงที่ดินที่ทางราชการได้จัดให้หรือสงวนไว้เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันตามสภาพแห่งพื้นที่นั้น หรือที่ดินที่ประชาชนได้ใช้หรือเคยใช้ประโยชน์ร่วมกันมาก่อนไม่ว่าปัจจุบันจะยังใช้อยู่หรือเลิกใช้แล้วก็ตาม เช่น ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ ป่าช้าฝังและเผาศพ ห้วย หนอง ที่ชายตลิ่ง ทางหลวง ทะเลสาบเป็นต้น ตามกฎหมายถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ผู้ใดจะเข้ายึดถือครอบครองเพื่อประโยชน์แต่เฉพาะตนนั้นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่ระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดและได้รับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ
2.ภาระจำยอม คือที่อสังหาริมทรัพย์ในกรรมสิทธิ์ของผู้รับภาระจำยอม (ภารยทรัพย์) ยินยอมเสียสิทธิ์ให้ที่ผู้ใช้ที่ภาระจำยอม(สามานยทรัพย์)ในการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ของตนได้ ในกรณีโครงการนี้ ภาระจำยอมน่าจะเกิดจากการทำสัญญาระหว่างกัน โดยที่เจ้าของที่ภาระจำยอมยอมให้หมู่บ้านใช้เป็นทางผ่านเข้า-ออกได้ มีค่าใช้จ่าย รายละเอียด และเวลากำหนดไว้ในนิติกรรม(ต้องขอดู)
ส่วนตัวเข้าไปเล็งๆหมู่บ้านนี้เหมือนกัน ไม่กล้าฟันธงเพราะยังไม่เห็นสัญญาภาระจำยอม แต่คิดว่าในอนาคตน่าจะเกิดประเด็นให้ถกแน่ เนื่องจาก 1.ที่ดิน เป็นที่ดินของใคร ซึ่งเค้าจะได้ประโยชน์มากถ้าเก็บที่ดินนี้ไว้แลัวรับเงินรายเดือน 5บาท/ตรว. จากบ้าน2-3พันหลัง โดยที่การบำรุงรักษาทางในอนาคตจะทำหรือไม่ก็แลัวแต่ใจเจ้าของ ถ้าคุณเป็นเจ้าของที่ดินนี้คุณคงเลือกนอนรับเงินรายเดือนชิวๆ ไม่ยกที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ง่ายๆแน่นอน ลองจินตนาการสภาพทางอีก 5-10 ปีข้างหน้าสิ ถ้าทางพัง แล้วคุณต้องการให้ทางดีขึ้น คุณต้องหาเงินนอกเหนือจาก 5 บาทนี้มาซ่อมกันเอง
3.คนนอกจะมาใช้ที่ภารจำยอมนั้นวันหน้า จะห้ามได้หรือไม่ บอกตรงๆ ว่ายากที่จะควบคุม เพราะเจ้าของที่คงไม่มาเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการจัดการแน่นอน เว้นแต่คุณลูกบัานรวมกันภายใต้ความยินยอมของเจ้าของที่ในการทำรั้วกั้น แล้วหาเงินเพิ่มมาจ้าง รปภ. ทำรั้วกั้นทางเข้า-ออก และให้เฉพาะผู้ได้รับความยินยอมเท่านั้นผ่านเข้าออกได้
4.ที่ดินบุคคลอื่น หมายความว่าที่ดินที่มีผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ครอบครองอยู่ โดยที่ยังไม่ได้เป็นภาระจำยอม, ไม่ใช่ทางจำเป็น(จะมาอ้างว่าไม่มีทางออกแลัวมาขอผ่านก็ไม่ได้เพราะคุณออกตรงซอย 38 ได้อยู่) ปัญหาที่จะเกิดในวันหน้าคือ เจ้าของที่อาจจดภาระจำยอมกับโครงการหมู่บ้าน แล้วจะเรียกเก็บค่าภาระจำยอมสัก 5บาท 10 บาท ต่อ ตรว. ก็แล้วแต่ตกลงกันได้ ถ้าตกลงกันไม่ได้เจ้าของที่จะปิดทางเข้า-ออก ก็เป็นสิทธิของเขา
เมื่อเข้าใจทางต่างๆ ของหมู่บ้านแล้ว ก็มาถึงขัอกังวลที่ผมเล็งเห็นจากการซื้อหมู่บ้านนี้ในอนาคตก็คือ
1. ทางภาระจำยอมเข้าออกซอย 38 วันหน้าถ้ามันโทรม นิติของหมู่บ้านไหนจะมารับผิดชอบ จะเฉลี่ยเงินลูกบ้านมาซ่อมแซมอย่างไร
2. ต้องไปดูสัญญาภาระจำยอมว่ากำหนดกี่ปี ถ้าอายุสัญญาหมด เกิดเจ้าของที่ขอเพิ่มร่าภาระจำยอมเป็น 10 บาท 15 บาท จะเป็นอย่างไร (ใครเป็นเจ้าของที่ผมสงสัยมากๆ แต่ผมเดาว่าบริษัทลูกของพฤกษานั่นแหละ หมกเม็ดไว้เก็บกินยาวๆ)
3. ที่ดินบุคคลอื่น ผมได้ข่าวว่าพฤกษาพยายามขอซื้อ แต่เขาไม่ขาย ผมสันนิษฐานว่าเจ้าของที่ต้องมีการเก็บไว้รอหาผลประโยชน์อะไรสักอย่างในวันหน้าแน่ เขาคงไม่ปล่อยให้ใช้ฟรีๆ ไม่งั้นคงขาย หรือยกให้เป็นที่สาธารณะประโยชน์ไปแล้ว
4. จากข้อ 3. ถ้าเขาปิดทาง ทางออกทางเดียวตรงซอย 38 รถติดกระอักแน่ เพราะบ้าน 2-3000 หน่วย แค่ทุกวันนี้มาอยู่ไม่ถึงครึ่ง ก็เข้าออกค่อนข้างลำบากแล้ว
หวังว่าความรู้ในทางต่างๆคงมีประโยชน์นะครับ ถูกต้องตามกฎหมายแพ่งทุกประการ ส่วนขัอสันนิษฐานนั้นเป็นความคิดส่วนตัว อ่านแล้วลองพิจารณากันครับ ผมอาจสันนิษฐานผิดก็ได้ ส่วนตัวไปดูหมู่บ้านมาบ่อยพอควร แต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อแต่อย่างใด
1. ที่สาธารณะประโยชน์ ตรงนี้หมายถึงที่ดินที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยกให้คนทั่วไปใช้ได้ โดยไม่ต้องมีค่าผ่านทาง กทม. จะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลรักษา ตามนิยามนี้ "ที่สาธารณประโยชน์" หมายถึงที่ดินที่ทางราชการได้จัดให้หรือสงวนไว้เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันตามสภาพแห่งพื้นที่นั้น หรือที่ดินที่ประชาชนได้ใช้หรือเคยใช้ประโยชน์ร่วมกันมาก่อนไม่ว่าปัจจุบันจะยังใช้อยู่หรือเลิกใช้แล้วก็ตาม เช่น ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ ป่าช้าฝังและเผาศพ ห้วย หนอง ที่ชายตลิ่ง ทางหลวง ทะเลสาบเป็นต้น ตามกฎหมายถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ผู้ใดจะเข้ายึดถือครอบครองเพื่อประโยชน์แต่เฉพาะตนนั้นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่ระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดและได้รับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ
2.ภาระจำยอม คือที่อสังหาริมทรัพย์ในกรรมสิทธิ์ของผู้รับภาระจำยอม (ภารยทรัพย์) ยินยอมเสียสิทธิ์ให้ที่ผู้ใช้ที่ภาระจำยอม(สามานยทรัพย์)ในการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ของตนได้ ในกรณีโครงการนี้ ภาระจำยอมน่าจะเกิดจากการทำสัญญาระหว่างกัน โดยที่เจ้าของที่ภาระจำยอมยอมให้หมู่บ้านใช้เป็นทางผ่านเข้า-ออกได้ มีค่าใช้จ่าย รายละเอียด และเวลากำหนดไว้ในนิติกรรม(ต้องขอดู)
ส่วนตัวเข้าไปเล็งๆหมู่บ้านนี้เหมือนกัน ไม่กล้าฟันธงเพราะยังไม่เห็นสัญญาภาระจำยอม แต่คิดว่าในอนาคตน่าจะเกิดประเด็นให้ถกแน่ เนื่องจาก 1.ที่ดิน เป็นที่ดินของใคร ซึ่งเค้าจะได้ประโยชน์มากถ้าเก็บที่ดินนี้ไว้แลัวรับเงินรายเดือน 5บาท/ตรว. จากบ้าน2-3พันหลัง โดยที่การบำรุงรักษาทางในอนาคตจะทำหรือไม่ก็แลัวแต่ใจเจ้าของ ถ้าคุณเป็นเจ้าของที่ดินนี้คุณคงเลือกนอนรับเงินรายเดือนชิวๆ ไม่ยกที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ง่ายๆแน่นอน ลองจินตนาการสภาพทางอีก 5-10 ปีข้างหน้าสิ ถ้าทางพัง แล้วคุณต้องการให้ทางดีขึ้น คุณต้องหาเงินนอกเหนือจาก 5 บาทนี้มาซ่อมกันเอง
3.คนนอกจะมาใช้ที่ภารจำยอมนั้นวันหน้า จะห้ามได้หรือไม่ บอกตรงๆ ว่ายากที่จะควบคุม เพราะเจ้าของที่คงไม่มาเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการจัดการแน่นอน เว้นแต่คุณลูกบัานรวมกันภายใต้ความยินยอมของเจ้าของที่ในการทำรั้วกั้น แล้วหาเงินเพิ่มมาจ้าง รปภ. ทำรั้วกั้นทางเข้า-ออก และให้เฉพาะผู้ได้รับความยินยอมเท่านั้นผ่านเข้าออกได้
4.ที่ดินบุคคลอื่น หมายความว่าที่ดินที่มีผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ครอบครองอยู่ โดยที่ยังไม่ได้เป็นภาระจำยอม, ไม่ใช่ทางจำเป็น(จะมาอ้างว่าไม่มีทางออกแลัวมาขอผ่านก็ไม่ได้เพราะคุณออกตรงซอย 38 ได้อยู่) ปัญหาที่จะเกิดในวันหน้าคือ เจ้าของที่อาจจดภาระจำยอมกับโครงการหมู่บ้าน แล้วจะเรียกเก็บค่าภาระจำยอมสัก 5บาท 10 บาท ต่อ ตรว. ก็แล้วแต่ตกลงกันได้ ถ้าตกลงกันไม่ได้เจ้าของที่จะปิดทางเข้า-ออก ก็เป็นสิทธิของเขา
เมื่อเข้าใจทางต่างๆ ของหมู่บ้านแล้ว ก็มาถึงขัอกังวลที่ผมเล็งเห็นจากการซื้อหมู่บ้านนี้ในอนาคตก็คือ
1. ทางภาระจำยอมเข้าออกซอย 38 วันหน้าถ้ามันโทรม นิติของหมู่บ้านไหนจะมารับผิดชอบ จะเฉลี่ยเงินลูกบ้านมาซ่อมแซมอย่างไร
2. ต้องไปดูสัญญาภาระจำยอมว่ากำหนดกี่ปี ถ้าอายุสัญญาหมด เกิดเจ้าของที่ขอเพิ่มร่าภาระจำยอมเป็น 10 บาท 15 บาท จะเป็นอย่างไร (ใครเป็นเจ้าของที่ผมสงสัยมากๆ แต่ผมเดาว่าบริษัทลูกของพฤกษานั่นแหละ หมกเม็ดไว้เก็บกินยาวๆ)
3. ที่ดินบุคคลอื่น ผมได้ข่าวว่าพฤกษาพยายามขอซื้อ แต่เขาไม่ขาย ผมสันนิษฐานว่าเจ้าของที่ต้องมีการเก็บไว้รอหาผลประโยชน์อะไรสักอย่างในวันหน้าแน่ เขาคงไม่ปล่อยให้ใช้ฟรีๆ ไม่งั้นคงขาย หรือยกให้เป็นที่สาธารณะประโยชน์ไปแล้ว
4. จากข้อ 3. ถ้าเขาปิดทาง ทางออกทางเดียวตรงซอย 38 รถติดกระอักแน่ เพราะบ้าน 2-3000 หน่วย แค่ทุกวันนี้มาอยู่ไม่ถึงครึ่ง ก็เข้าออกค่อนข้างลำบากแล้ว
หวังว่าความรู้ในทางต่างๆคงมีประโยชน์นะครับ ถูกต้องตามกฎหมายแพ่งทุกประการ ส่วนขัอสันนิษฐานนั้นเป็นความคิดส่วนตัว อ่านแล้วลองพิจารณากันครับ ผมอาจสันนิษฐานผิดก็ได้ ส่วนตัวไปดูหมู่บ้านมาบ่อยพอควร แต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อแต่อย่างใด
แสดงความคิดเห็น
คำถามเกี่ยวกับ พฤกษา Avenue พัฒนาการ 38 และทางแก้ไข