วรวีร์ มะกูดี (ชื่อเล่น: ยี; 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 — ) นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 15 ที่เป็นชาวไทยมุสลิมคนแรก โดยดำรงตำแหน่งต่อเนื่องเป็นวาระที่ 4 และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
ประวัติ
วรวีร์จบการศึกษาชั้นมัธยม จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และเริ่มสนใจการแข่งขันฟุตบอล โดยตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนักเรียน ได้รับคัดเลือกเข้าสู่ทีมของโรงเรียน รวมถึงผ่านการคัดเลือก เป็นนักฟุตบอลของสโมสรมุสลิม ตั้งแต่ชุดเยาวชนจนถึงชุดใหญ่ และลงแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ง และ ค ตามลำดับ ต่อมาย้ายสังกัดไปยังสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ และได้เลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งในฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ข และ ก ตามลำดับ
จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อ ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติคูเวต โดยทุนของรัฐบาลคูเวต และได้รับคัดเลือกเข้าร่วมทีมฟุตบอลของมหาวิทยาลัย จนกระทั่งจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี จึงเลิกเล่นฟุตบอล สำหรับชีวิตครอบครัว วรวีร์สมรสกับสุมิตรา (นามสกุลเดิม: มาเรียม) เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2526 มีบุตรชายด้วยกัน 2 คนคือ สุรวุฒิ (ป้อง) และ ศศินทร์ (ปอม)
การทำงาน
วงการฟุตบอล วรวีร์กลับมาเกี่ยวข้องกับฟุตบอลอีกครั้ง[ไม่แน่ใจ – พูดคุย] เมื่อเข้าไปเป็นผู้จัดการสโมสรฟุตบอลตำรวจดับเพลิง ในระดับถ้วยพระราชทานประเภท ข ประมาณ 2 ปี ก่อนจะทำการก่อตั้ง รวมถึงเป็นผู้จัดการสโมสรฟุตบอลโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ (เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2532) และสโมสรฟุตบอลโรงเรียนศาสนวิทยา (เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2535) จนกระทั่งเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งในฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก
ในสมัยที่ พลตำรวจโท ชลอ เกิดเทศ เป็นนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีการติดต่อทาบทามวรวีร์ ให้เข้ามาเป็นรองเลขาธิการสมาคมฯ เป็นตำแหน่งแรก เพื่อช่วยเหลืองานกับวิจิตร เกตุแก้ว เลขาธิการสมาคมฯ ในชุดนั้น หลังจาก พลตำรวจโท ชลอ พ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมฯ เมื่อปี พ.ศ. 2538 วิจิตรก็ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน พร้อมกันนั้น วรวีร์ก็เลื่อนขึ้นเป็นเลขาธิการสมาคมฯ โดยอยู่ในตำแหน่งดังกล่าว เป็นเวลา 12 ปี ก่อนที่วิจิตรจะลาออกเมื่อปี พ.ศ. 2550 และจากนั้น สภากรรมการสมาคมฟุตบอลฯ ลงมติเลือกวรวีร์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ เป็นคนที่ 15 และต่อเนื่องเป็นวาระที่ 3 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน
สำหรับการดำรงตำแหน่งระดับนานาชาตินั้น วรวีร์เป็นสมาชิกผู้บริหาร (Executive member) ของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (FIFA)[4] และกรรมการบริหารชาติสมาชิก (Executive committee member) ของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) โดยตำแหน่ง[5] โดยทั้งสองนั้น เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน[6] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 วรวีร์ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นประธานสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) โดยมีการประชุมสมาชิกของสมาพันธ์ เพื่อลงคะแนนเลือกตั้งที่ประเทศมาเลเซีย[7] แต่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า เชค ซัลมาน บิน อิบราฮิม อัล-คอลิฟะห์ จากประเทศบาห์เรนชนะ ซึ่งมีกระแสข่าวว่า เชค อะห์หมัด อัล-ฟาฮัด อัล-อะห์เหม็ด อัล-ซาบะห์ ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ให้การสนับสนุน ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด จึงเข้าเป็นประธานเอเอฟซีดังกล่าว
ทั้งนี้ ในวาระการดำรงตำแหน่งของวรวีร์ ทีมชาติไทยได้รับการจัดอันดับโลกฟีฟ่ามีอันดับต่ำสุดในประวัติฟุตบอลไทย[ต้องการอ้างอิง] โดยต่ำสุดที่อันดับ 157 ของโลก (ก.ค. 2557)
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2543
ผู้แทนสันถวไมตรีด้านกีฬาของประเทศไทย จากกระทรวงการต่างประเทศ[1]
พ.ศ. 2545
1 พฤษภาคม –ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย[10]
พ.ศ. 2551
1 มกราคม - ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 13 บุคคลกีฬาแห่งปี[11]
4 พฤศจิกายน ลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย[1]
7 ธันวาคม รับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย[1]
พ.ศ. 2552
1 มกราคม - สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย เลือก นายวรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ใน 10 บุคคลกีฬาที่น่าสนใจ ประจำปี 2551 พร้อมตั้งฉายา “นักรบสิบทิศ”[12]
พ.ศ. 2553
1 มกราคม - สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย เลือก นายวรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ใน 10 บุคคลกีฬาที่น่าสนใจ ประจำปี 2552 พร้อมตั้งฉายา “9 ที่พลาด”[13]
14 กันยายน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย[1]
พ.ศ. 2554
1 มกราคม - สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย เลือก นายวรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ใน 10 บุคคลกีฬาที่น่าสนใจ ประจำปี 2553 พร้อมตั้งฉายา “ฟีฟ่าฝ่ามรสุม”[14]
พ.ศ. 2555
1 มกราคม - สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย เลือก นายวรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ใน 10 บุคคลกีฬาที่น่าสนใจ ประจำปี 2554 พร้อมตั้งฉายา “ยีเอาอยู่”[15]
พ.ศ. 2556
1 มกราคม - สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย เลือก นายวรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ใน 10 บุคคลกีฬาที่น่าสนใจ ประจำปี 2555 พร้อมตั้งฉายา “อะไรๆ ก็ยี”[16]
ข้อวิพากษ์วิจารณ์ในตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลฯ
พ.ศ. 2550
18 มีนาคม – ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นลำดับที่ 16
พ.ศ. 2551
6 กุมภาพันธ์ - ทีมชาติไทยชุดใหญ่ นำผู้เล่นติดโทษแบน 2 คนเดินทางไปแข่งนัดเจอกับญี่ปุ่นในนัดเยือน[17]
พ.ศ. 2554
6 พฤษภาคม - ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งมีการเลือกตั้งนายกสมาคม แต่วรวีร์ มะกูดี รักษาการนายกสมาคมฯ ประกาศว่า สภากรรมการมีมติให้เลื่อนการประชุมออกไป และจัดให้มีการประชุมสภากรรมการวาระเร่งด่วน ซึ่งวรวีร์ระบุว่า พบปัญหาเรื่องหนังสือมอบอำนาจที่มีซ้ำซ้อน[18]
10 พฤษภาคม - อดีตประธาน เอฟเอ อังกฤษ ออกมาแฉว่า วรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ในคณะกรรมการบริหารฟีฟ่าที่ขายเสียงในการโหวตเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 โดยเบื้องหน้าคือให้อังกฤษมาเตะอุ่นเครื่องกับทีมชาติไทย แต่เบื้องหลังคือขอลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดเกมอุ่นเครื่องนัดนี้ไปทั่วโลก แลกกับการโหวตให้ประเทศอังกฤษเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก[19]
12 พฤษภาคม บังยี แจงปมพัวพันรับสินบนโหวตเจ้าภาพบอลโลก พ้นข้อกล่าวหา ทั่วโลกยอมรับโปร่งใส[20]
พ.ศ. 2555
29 กุมภาพันธ์ - วรวีร์ได้เคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเงื่อนไขการดำรงตำแหน่งและการตกรอบฟุตบอลโลก 2014 ไว้ เมื่อดำรงตำแหน่งครบสามเดือน ความส่วนหนึ่งว่า "จริง ๆ แล้วผมไม่ใช่คนที่ยึดติดกับตำแหน่ง และไม่เคยคิดจะอยู่ตรงนี้ยาว แต่มีความมุ่งมั่นและเป้าหมายที่วางไว้ในฟุตบอลโลกซึ่งถือเป็นความฝันสูงสุด และหากถึงปี 2014 ยังไม่สามารถจะพาทีมไทยไปบอลโลกได้ ก็จะขอลงจากเก้าอี้เพื่อเปิดทางให้คนอื่นที่มีความสามารถเข้ามาทำงานแทน"[21] แต่ได้ปฏิเสธการลาออกในเวลาต่อมา [22]
พ.ศ. 2556
18 ตุลาคม - กรรมการการเลือกตั้ง นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ. 2556 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม จำนวน 3 ใน 5 คนซึ่งเป็นส่วนที่วิรัช ชาญพานิชย์เสนอชื่อ ประกาศว่าไม่รับรองผลการเลือกตั้ง ที่วรวีร์ชนะวิรัช 42 ต่อ 28 เสียง เนื่องจากฝ่ายวิรัชร้องคัดค้าน ว่ามีการใช้สิทธิแทนสโมสรที่มีสิทธิเลือกตั้ง[23]
เครดิต
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B5
ปอลิง ... รักยีน้อยๆ เเต่ขอให้รักนานๆนะครับ...
ประวัตินายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย คนปัจจุบันครับ
ประวัติ
วรวีร์จบการศึกษาชั้นมัธยม จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และเริ่มสนใจการแข่งขันฟุตบอล โดยตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนักเรียน ได้รับคัดเลือกเข้าสู่ทีมของโรงเรียน รวมถึงผ่านการคัดเลือก เป็นนักฟุตบอลของสโมสรมุสลิม ตั้งแต่ชุดเยาวชนจนถึงชุดใหญ่ และลงแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ง และ ค ตามลำดับ ต่อมาย้ายสังกัดไปยังสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ และได้เลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งในฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ข และ ก ตามลำดับ
จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อ ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติคูเวต โดยทุนของรัฐบาลคูเวต และได้รับคัดเลือกเข้าร่วมทีมฟุตบอลของมหาวิทยาลัย จนกระทั่งจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี จึงเลิกเล่นฟุตบอล สำหรับชีวิตครอบครัว วรวีร์สมรสกับสุมิตรา (นามสกุลเดิม: มาเรียม) เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2526 มีบุตรชายด้วยกัน 2 คนคือ สุรวุฒิ (ป้อง) และ ศศินทร์ (ปอม)
การทำงาน
วงการฟุตบอล วรวีร์กลับมาเกี่ยวข้องกับฟุตบอลอีกครั้ง[ไม่แน่ใจ – พูดคุย] เมื่อเข้าไปเป็นผู้จัดการสโมสรฟุตบอลตำรวจดับเพลิง ในระดับถ้วยพระราชทานประเภท ข ประมาณ 2 ปี ก่อนจะทำการก่อตั้ง รวมถึงเป็นผู้จัดการสโมสรฟุตบอลโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ (เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2532) และสโมสรฟุตบอลโรงเรียนศาสนวิทยา (เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2535) จนกระทั่งเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งในฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก
ในสมัยที่ พลตำรวจโท ชลอ เกิดเทศ เป็นนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีการติดต่อทาบทามวรวีร์ ให้เข้ามาเป็นรองเลขาธิการสมาคมฯ เป็นตำแหน่งแรก เพื่อช่วยเหลืองานกับวิจิตร เกตุแก้ว เลขาธิการสมาคมฯ ในชุดนั้น หลังจาก พลตำรวจโท ชลอ พ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมฯ เมื่อปี พ.ศ. 2538 วิจิตรก็ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน พร้อมกันนั้น วรวีร์ก็เลื่อนขึ้นเป็นเลขาธิการสมาคมฯ โดยอยู่ในตำแหน่งดังกล่าว เป็นเวลา 12 ปี ก่อนที่วิจิตรจะลาออกเมื่อปี พ.ศ. 2550 และจากนั้น สภากรรมการสมาคมฟุตบอลฯ ลงมติเลือกวรวีร์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ เป็นคนที่ 15 และต่อเนื่องเป็นวาระที่ 3 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน
สำหรับการดำรงตำแหน่งระดับนานาชาตินั้น วรวีร์เป็นสมาชิกผู้บริหาร (Executive member) ของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (FIFA)[4] และกรรมการบริหารชาติสมาชิก (Executive committee member) ของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) โดยตำแหน่ง[5] โดยทั้งสองนั้น เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน[6] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 วรวีร์ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นประธานสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) โดยมีการประชุมสมาชิกของสมาพันธ์ เพื่อลงคะแนนเลือกตั้งที่ประเทศมาเลเซีย[7] แต่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า เชค ซัลมาน บิน อิบราฮิม อัล-คอลิฟะห์ จากประเทศบาห์เรนชนะ ซึ่งมีกระแสข่าวว่า เชค อะห์หมัด อัล-ฟาฮัด อัล-อะห์เหม็ด อัล-ซาบะห์ ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ให้การสนับสนุน ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด จึงเข้าเป็นประธานเอเอฟซีดังกล่าว
ทั้งนี้ ในวาระการดำรงตำแหน่งของวรวีร์ ทีมชาติไทยได้รับการจัดอันดับโลกฟีฟ่ามีอันดับต่ำสุดในประวัติฟุตบอลไทย[ต้องการอ้างอิง] โดยต่ำสุดที่อันดับ 157 ของโลก (ก.ค. 2557)
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2543
ผู้แทนสันถวไมตรีด้านกีฬาของประเทศไทย จากกระทรวงการต่างประเทศ[1]
พ.ศ. 2545
1 พฤษภาคม –ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย[10]
พ.ศ. 2551
1 มกราคม - ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 13 บุคคลกีฬาแห่งปี[11]
4 พฤศจิกายน ลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย[1]
7 ธันวาคม รับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย[1]
พ.ศ. 2552
1 มกราคม - สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย เลือก นายวรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ใน 10 บุคคลกีฬาที่น่าสนใจ ประจำปี 2551 พร้อมตั้งฉายา “นักรบสิบทิศ”[12]
พ.ศ. 2553
1 มกราคม - สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย เลือก นายวรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ใน 10 บุคคลกีฬาที่น่าสนใจ ประจำปี 2552 พร้อมตั้งฉายา “9 ที่พลาด”[13]
14 กันยายน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย[1]
พ.ศ. 2554
1 มกราคม - สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย เลือก นายวรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ใน 10 บุคคลกีฬาที่น่าสนใจ ประจำปี 2553 พร้อมตั้งฉายา “ฟีฟ่าฝ่ามรสุม”[14]
พ.ศ. 2555
1 มกราคม - สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย เลือก นายวรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ใน 10 บุคคลกีฬาที่น่าสนใจ ประจำปี 2554 พร้อมตั้งฉายา “ยีเอาอยู่”[15]
พ.ศ. 2556
1 มกราคม - สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย เลือก นายวรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ใน 10 บุคคลกีฬาที่น่าสนใจ ประจำปี 2555 พร้อมตั้งฉายา “อะไรๆ ก็ยี”[16]
ข้อวิพากษ์วิจารณ์ในตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลฯ
พ.ศ. 2550
18 มีนาคม – ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นลำดับที่ 16
พ.ศ. 2551
6 กุมภาพันธ์ - ทีมชาติไทยชุดใหญ่ นำผู้เล่นติดโทษแบน 2 คนเดินทางไปแข่งนัดเจอกับญี่ปุ่นในนัดเยือน[17]
พ.ศ. 2554
6 พฤษภาคม - ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งมีการเลือกตั้งนายกสมาคม แต่วรวีร์ มะกูดี รักษาการนายกสมาคมฯ ประกาศว่า สภากรรมการมีมติให้เลื่อนการประชุมออกไป และจัดให้มีการประชุมสภากรรมการวาระเร่งด่วน ซึ่งวรวีร์ระบุว่า พบปัญหาเรื่องหนังสือมอบอำนาจที่มีซ้ำซ้อน[18]
10 พฤษภาคม - อดีตประธาน เอฟเอ อังกฤษ ออกมาแฉว่า วรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ในคณะกรรมการบริหารฟีฟ่าที่ขายเสียงในการโหวตเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 โดยเบื้องหน้าคือให้อังกฤษมาเตะอุ่นเครื่องกับทีมชาติไทย แต่เบื้องหลังคือขอลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดเกมอุ่นเครื่องนัดนี้ไปทั่วโลก แลกกับการโหวตให้ประเทศอังกฤษเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก[19]
12 พฤษภาคม บังยี แจงปมพัวพันรับสินบนโหวตเจ้าภาพบอลโลก พ้นข้อกล่าวหา ทั่วโลกยอมรับโปร่งใส[20]
พ.ศ. 2555
29 กุมภาพันธ์ - วรวีร์ได้เคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเงื่อนไขการดำรงตำแหน่งและการตกรอบฟุตบอลโลก 2014 ไว้ เมื่อดำรงตำแหน่งครบสามเดือน ความส่วนหนึ่งว่า "จริง ๆ แล้วผมไม่ใช่คนที่ยึดติดกับตำแหน่ง และไม่เคยคิดจะอยู่ตรงนี้ยาว แต่มีความมุ่งมั่นและเป้าหมายที่วางไว้ในฟุตบอลโลกซึ่งถือเป็นความฝันสูงสุด และหากถึงปี 2014 ยังไม่สามารถจะพาทีมไทยไปบอลโลกได้ ก็จะขอลงจากเก้าอี้เพื่อเปิดทางให้คนอื่นที่มีความสามารถเข้ามาทำงานแทน"[21] แต่ได้ปฏิเสธการลาออกในเวลาต่อมา [22]
พ.ศ. 2556
18 ตุลาคม - กรรมการการเลือกตั้ง นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ. 2556 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม จำนวน 3 ใน 5 คนซึ่งเป็นส่วนที่วิรัช ชาญพานิชย์เสนอชื่อ ประกาศว่าไม่รับรองผลการเลือกตั้ง ที่วรวีร์ชนะวิรัช 42 ต่อ 28 เสียง เนื่องจากฝ่ายวิรัชร้องคัดค้าน ว่ามีการใช้สิทธิแทนสโมสรที่มีสิทธิเลือกตั้ง[23]
เครดิต http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B5
ปอลิง ... รักยีน้อยๆ เเต่ขอให้รักนานๆนะครับ...