==มารู้จักกับ ทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) และสงครามโลกครั้งที่ 3 กันเถอะ==



ผมรู้สึกว่าทำไมปัจจุบันโลกนี้มีสงครามเกิดขึ้นเยอะจังเลย

และแปลกใจถามกับตนเองว่า

ทำไมในปี 2014 มนุษย์ยังคงทำสงครามกันอยู่เลย

ณ ปัจจุบันที่เขียนกระทู้นี้อยู่ก็เช่นความขัดแย้งที่ ยูเครน ซีเรีย อิรัก อัฟกานิสถาน อิสราเอล และอีกเยอะแยะตาแป๊ะ
ลองไปดูได้ที่นี่ครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_ongoing_armed_conflicts

ทำไมบทเรียนจากอดีตไม่เคยสอนพวกเรา

หรือการทำสงคราม เป็นธรรมชาติของมนุษย์ (Human Nature)กันนะ









เอแล้วทฤษฎีความอลวนมันเกี่ยวข้องอะไรกับสงคราม

กระทู้นี้ผมจะลองหยิบแนวคิดทางคณิตศาสตร์คือทฤษฎีความอลวน มาพยายามอธิบายปรากฎการณ์ในปัจจุบัน
และพยายามทำนายอนาคตโดยใช้เหตุและผลกันครับ

เพราะคณิตศาสตร์นั้นแสนจะทรงพลังยิ่งนัก 555+



-------------------------------------------

ก่อนจะเข้าเนื้อหามาฟังเพลงกันก่อนก็ได้ครับ เปิดเพลงไป อ่านกระทู้ไป ได้อรรถรสยิ่งนัก

ขอแนะนำเพลง  Step และเพลง Diplomat's Son จากศิลปินวง Vampire Weekend

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

เนื้อร้องเพลง Step
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

เนื้อร้องเพลง Diplomat's Son
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้



วง Vampire Weekend


-----------------------------
มาเริ่มเรื่องกันเลยครับ

ชาวอินดี้รอคคงรู้จักวงอินดี้รอคชื่อดังวงหนึ่ง วงนั้นคือวง Franz Ferdinand

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
วง Franz Ferdinand

แน่นอน วงนี้เขาได้ชื่อมาจากอาร์คดยุคแห่งออสเตรีย-เอสต์ ประมุขแห่งพระราชอิสริยยศออสเตรีย-เอสต์  ทรงเป็นเจ้าฟ้าชายแห่งฮังการีและโบฮีเมีย และองค์รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีอีกด้วย โดยพระองค์ทรงเป็นองค์รัชทายาททางพฤตินัย ไม่มีการสถาปนาอย่างเป็นทางการ พระองค์ทรงเป็นองค์รัชทายาทจวบจนกระทั่งสิ้นพระชนม์กระทันหัน โดยถูกลอบปลงพระชนม์โดยนักอนุรักษ์ชาติชาวเซอร์เบีย ที่เมืองซาราเยโว ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาซึ่งขณะนั้น ยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีอยู่ หลังจากพระองค์และพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์นั้น ทำให้ออสเตรีย-ฮังการี ประกาศสงครามกับเซอร์เบียในสงครามโลกครั้งที่ 1ทันที



Franz Ferdinand เจ้าฟ้าชายแห่งฮังการีและโบฮีเมีย

จากเหตุการณ์การลอบสังหารนี้นำไปสู่สงครามที่รบกันไปทั่วทวีปยุโรปและขยายวงกว้างไปทั่วโลก จนกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามที่ผู้คนเสียชีวิตไปมากกว่า 16 ล้านคน เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ความขัดแย้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์










ทำไมการลอบสังหารในเหตุการณ์นี้กลับส่งผลกระทบต่อยิ่งใหญ่ทำให้เกิดสงครามที่คร่าชีวิตมนุษย์จำนวนมาก และเปลี่ยนพลิกโฉมประวัติศาสตร์โลกได้ถึงเพียงนี้ !

เรื่องราวย้อนกลับไปในปี 1812 ขณะที่นโปเลียนบุกไปสู่เมืองมอสโคว เพื่อนร่วมชาติของเขา Marquis Pierre-Simon de Laplace ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ เอกภพแบบนิยัตินิยม ประมาณว่า ถ้า ณ เวลาใดๆ ตำแหน่งและความเร็วของทุกวัตถุในเอกภพถูกทราบ และมีแรงกระทำต่อมัน ดังนั้นปริมาณแรงนี้จะถูกคำนวณได้อย่างแม่นยำ และคำนวณได้อย่างถูกต้องแม่นยำสำหรับเวลาในอนาคตทั้งหมดเลยทีเดียว ดังนั้นเอกภพและทุกวัตถุสามารถทราบค่าได้อย่างสมบูรณ์  แต่ ทฤษฎีความอลวนแสดงให้เราเห็นว่าโลกนี้มันซับซ้อนกว่านั้นมาก !


Pierre-Simon de Laplace  ท่านลาปาซนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่

ในโลกแห่งความเป็นจริง เราไม่สามารถรู้ตำแหน่ง ความเร็วและแรงได้อย่างแม่นยำสมบูรณ์ แต่จากในความเชื่อของลาปาซ ถ้าเรารู้ค่าประมาณที่ ณ เวลาใดๆ เอกภพก็คงไม่ต่างไปจากเดิมเท่าไหร่หรอก นี่มันสมเหตุผล เช่น ถ้านักวิ่งวิ่งช้าหลังจากได้ยินเสียงปืนไปหนึ่งในสิบวินาที ตอนเข้าเส้นชัยนักวิ่งก็คงถึงช้ากว่าเวลาปกติที่ทำได้ไปประมาณ หนึ่งในสิบวินาที ความเชื่อนี้เชื่อว่า ข้อแตกต่างเล็กๆในเงื่อนไขเริ่มต้นหมายถึงข้อแตกต่างที่เล็กๆในผลลัพธ์ แต่ทฤษฎีความอลวนบอกว่ามันไม่ใช่ !


ในโลกแห่งความเป็นจริง




The butterfly effect

ทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีก




The butterfly effect แสดงให้เห็นว่าเงื่อนไขเริ่มต้นที่ต่างจากเดิมไปนิดเดียว สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างจากเดิมอย่างมหาศาลจากการทำนาย เช่นถ้าสภาพอากาศวันหนึ่งในยุโรปถูกทำนายว่าอากาศจะดี แต่เพราะมีผีเสื้อเกิดกระพือปีกในทวีปอเมริกาเหนือ การกระพือปีกนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความดันอากาศเล็กน้อย แต่ดันไปส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างมากมายจากที่ได้คาดการณ์ไว้กลายเป็นพายุใหญ่




"ขอตัดเข้าโฆษณาก่อนเดี๋ยวมาต่อนะคะ ถ้าชอบอย่าลืมกดบวกน๊าาา"
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่