การค้ำประกัน อย่าทำเพราะเกรงใจ

สวัสดีครับ สบายดีกันนะครับ หวังว่าทุกท่านคงมีความสุขในวันหยุดยาวนะครับ

วันนี้ผมอยากจะพูดคุยเรื่องเกี่ยวกับการ "ค้ำประกัน" สินค้า หรือ สิ่งของต่างๆที่เรา อยากได้ แต่ต้องใช้การผ่อนจ่าย

เนื่องจากไม่มีเงินก้อน ซึ่งผู้ขายก็มีบริการให้จัดผ่อนได้ และมีดอกเบี้ยคิดไปในตัวให้เสร็จ สินค้าอาจจะมีเงินดาว์น จ่ายไปก่อน

อาจจะเป็น 5-50 % ของราคาสินค้า ซึ่งการผ่อนจ่ายจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเงินดาว์นด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากผู้ให้บริการต้องการ

ความมั่นใจของผู้ซื้อว่าจะไม่เบี้ยวหรือเชิดของหนี หรือไม่จ่า ฉะนั้นจึงต้องมี "ผู้ค้ำประกัน" ซึ่งผู้ค้ำโดยทั่วไปก็เป็นคนที่มีรายได้

เป็นหลักเป็นแหล่ง ตรวจสอบได้ มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์สามารถติดต่อ และติดตามได้ เมื่อผู้ซื้อหรือคนที่เราค้ำให้นั้นขาดส่ง หรือติดต่อไม่ได้

ในกรณีนี่ส่วนมากสินค้าที่ต้องมีคนค้ำมักจะเป็นสินค้าที่มีราคาสูง เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ทองคำ หรือว่าได้คือ

อาจจะแทบทุกอ่าง (เขียนตามความเข้าใจ)

วันนี้ผมอยากจะบอกเล่าถึงประสบการณ์การค้ำประกันของคนในครอบครัวผม ไว้ให้เป็นตัวอย่างกันนะครับ

พ่อผมได้ค้ำประกันการซื้อรถยนต์ให้กับน้องชายแม่ผม(น้า) ในการซื้อรถยนต์ค่ายฟันหนู เมื่อประมาณปี 37 แต่น้าผมส่งไม่ไหว

รถโดนยึด โดนไฟแนนซ์ฟ่องศาล พ่อผมก็ต้องไปขึ้นศาลด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน ซึ่งตามที่เคยได้ยินมา

ไม่แน่ใจว่ากฎนี้แน่นอนแค่ไหนที่ว่า "สามีภรรยาเป็นผู้ค้ำร่วม" ตั้งแต่ครั้งนั้นมาทั้งพ่อและแม่ผมก็ติดบัญชีดำ หรือที่เราเคยได้ยินกันคือ

"แบล็คลิส" จากสถาบันการเงินทุกที่ เกิดจากสิ่งที่เราไม่ได้ก่อ แต่เราเป็นคนค้ำโดนไปด้วย

เหมือนจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นครอบครัวผมยังใช้ชีวิตตามปกติ แต่พอถึงเวลาที่ครอบครัวของเราต้องการอยากจะซื้อรถคันใหม่สักคัน

ตอนนั้นไปถามอยู่ สองค่าย ขออนุญาติออกชื่อคือ Toyota และ Ford ซึ่งเราได้ตกลงการทำสัญญาเรียบร้อย เซลล์ก็อยากขายให้เราเต็มที่

แต่ก็ต้องผิดหวังจากทั้งสองที่ ซึ่งทางบริษัทนั้นได้ให้ลองจัดไฟแนนซ์กับของค่ายเขาก่อนคือ Toyota Leasing และ Tisco ปรากฏว่าไม่ผ่านครับ

พ่อผมก็เลยถามว่า ทำไมไม่ผ่านมีอะไรเกิดขึ้น ทางบริษัทบอกเหมือนกันครับว่า "พี่ติดแบล็คลิสจากการค้ำประกันรถเมื่อปี 37 ใช่มั้ยครับ??"

พ่อผมถึงกับอึ้งเนื่องจากเหตุการณ์นี้ผ่านมาสิบกว่าปีแล้ว แต่ชื่อเรายังอยู่ในบัญชีดำของสถาบันการเงินอยู่ เลยคุยกับบริษัทว่า

"งั้นขอเปลี่ยนคนซื้อเป็น ภรรยาผมแทนได้มั้ยครับ?" บริษัทก็บอกว่า "ไม่ได้ครับเนื่องจาก สามีภรรยาเป็นผู้ค้ำร่วม ฉะนั้นภรรยาคุณก็ติดเหมือนกัน"

แต่ทางเราก็มีอีกทางให้เลือกนะครับ คือ ให้คนอื่นซื้อเป็นญาติพี่น้องของเราก็ได้ พ่อผมก็ลองคิดดู ซึ่งญาติทางฝ่ายพ่อผมแทบจะทุกคนนั้น

เป็นเกษตรกรหมดครับ ไม่มีรายได้หรือเครดิตทางการเงินที่จะสามารถซื้อรถได้เลย จึงบอกกับทางบริษัทไป แต่บริษัทก็ยังอยากจะให้เราซื้อนะครับ

จึงเสนออีกทางเลือกว่า "งั้นพี่ดาว์นให้ผม 50% นะครับ จะไม่มีการตรวจสอบเครติด และไม่ต้องใช้คนค้ำด้วย"

แต่ทว่าดาว์น 50 % แหม รถคาตอนนั้นตกอยู่ ประมาณ 620000 ดาว์น 50 % ก็ 310000 บาท "โอผมไม่มีเงินขนาดนั้นหรอกครับ" พ่อผมบอก

ถ้าเรามีเงินขนาดนี้คงซื้อรถมือสองใช้ดีกว่าจะได้ไม่ต้องเป็นหนี้ จากนั้นก็ บ๊าย บายครับ แต่ทั้งสองบริษัทก็ยังโทรมาเรื่อยๆ เพราะเขาอยากขายจริงๆ

เนื่องจากเงินเดือนพ่อกับแม่ผมนั้น สามารถผ่อนรถได้ แต่เราดันติดแบล็คลิส

นี่แหล่ะครับบทเรียนจากการค้ำประกัน

ต่อมาอีกเรื่องครับ

หลังจากนั้นไม่กี่เดือน หลานของพ่อผม (ลูกของพี่สาวแก) ได้ทำการซื้อรถ และขอให้พ่อผมเป็นคนค้ำ แน่ะ ยังไม่เข็ด พ่อผมก็เห็นว่าเป็นหลาน

เพราะแกเป็นคนเดียวในบรรดาญาติพี่น้องที่มีเงินเดือนประจำ ก็เลยช่วยๆไป แต่ก็อีหรอบเดิมครับ ไปไม่รอดหลานแกผ่อนไม่ไหว

ไฟแนนซ์ก็ยึดไป ขายทอดตลาดแล้วปรากฏว่ายังเหลือเงินที่ต้องจ่ายอีกราว 7 หมื่นบาท ไฟแนนซ์ก็มาเล่นพ่อผมครับ ขู่จะฟ้องร้องอย่างเดียว

พ่อผมก็บอกไปว่า "ทำไมไม่ไปทวงกับหลานผมละ" ไฟแนนซ์ก็ขู่อีกว่า "ถ้าพี่ไม่นำเงินมาให้ตามนั้นผมจะฟ้อง" พ่อผมบอก

"จะทำอะไรก็ทำลุงไม่มีหรอกเงินน่ะ" ไฟแนนซ์ก็ยังโทรมาอีกพักใหญ่ แต่ไม่มีการฟ้องเกิดขึ้น เพราะเขาขายรถได้แล้ว แถมได้เงินจากค่างวดมาก็ไม่น้อย

แต่ยังมาทวงอีก แต่สัญญาก็ต้องเป็นสัญญาครับ เซ็นอะไรไว้เค้าก็มาทวงตามสัญญา

ประเด็นที่ผมอยากจะพูดคือ การค้ำประกันของเรานั้นควรดูและพิจราณาก่อนครับ

1.คนนั้น มีวินัยทางการเงินที่ดีหรือไม่?
2.คนนั้นเป็นคนไว้ใจได้หรือไม่?
3.คนนั้นมีภาระทางการเงินที่ต้องจ่ายเยอะหรือไม่ (นั่งคุยกันครับ)

เพราะส่วนมาก จากที่ผมเห็นทั่วไปคือ อย่างพ่อผมการค้ำประกันให้ใครนั้นง่ายมากๆ แค่โทรศัพท์มาบอกจะขอให้ช่วยค้ำ

และเอาหนังสือสัญญาค้ำประกันมาให้เซ็นกันเลย คนที่มีให้เราค้ำก็ดีกับเราแรกๆ พอมีเรื่องมาจะโยนให้เราอย่างเดียว

อยากจะฝากไว้เป็นข้อคิดนะครับ

1.อย่าค้ำประกันให้ใครง่าย ถ้าจะต้องเสียเพื่อนพี่น้องไปแค่เพราะเรื่องเงินก็คงไม่ใช่ครับ เพราะสุดท้ายมันเดือนร้อนกันทุกคน
2.เมื่อเราอยากได้อยากซื้ออะไรบ้างเหมือนครอบครัวผม ซื้อไม่ได้ครับ เพราะเราติดบัญชีดำไปแล้ว
3.ถ้าจะค้ำจริงๆให้ปรึกษากับคนในครอบครัวเราดีๆก่อน เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นจะได้เข้าใจกัน

เงินทองนั้นหายากต้องลำบากออกเรือไป เย้ย ไม่ใช่

อยากจะฝากเรื่องของผมไว้ให้ทุกคนเป็นข้อคิด และเตือนใจกันนะครับ

ขอให้ทุกท่านมีความสุขในวันหยุดยาวกันนะครับ

ขอบคุณครับ

(ผมเขียนขึ้นจากประสบการณ์และความเข้าใจส่วนตัว ถ้าผิดพลาดตรงไหนอย่างไร ขอทุกท่านเสริม และแนะนำด้วยนะครับ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่