เมื่อกรุงศรีอยุทธยาแตก พระปลัด(หนู)เมืองนครศรีธรรมราชตั้งตัวเป็นเจ้า แต่ก็ถูกพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบลงแล้วทรงตั้งพระเจ้าหลานเธอเจ้านราสุริยวงศ์มาครองเมืองนครศรีธรรมราชแทนใน พ.ศ.๒๓๑๒
เมื่อเจ้านราสุริยวงศ์สิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ.๒๓๑๙ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งเจ้านครให้กลับไปครองเมืองนครดังเดิม แต่เป็นในฐานะ 'พระเจ้านครศรีธรรมราช' ให้เป็นเจ้าขัณฑสีมาเสมอเจ้าประเทศราช มีเสนาบดีจตุสดมภ์ มหาดเล็กเป็นของตนเอง มีเครื่องยศเสมอเจ้า
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้เหตุผลว่า
"ครั้งพระนครศรีอยุทธยาเสียแก่พม่าข้าศึกแต่ก่อน ฝ่ายกรมการพลเมือง ๆ นครหาที่พึ่งไม่ ยกปลัดเมืองขึ้นผ่านแผ่นดินเปนเจ้าขัณฑสิมาก็ได้พึ่งพาอาไศรยสัปยุทธชิงไชยชนะแขกข้าศึก ถ้าหาไม่ขัณฑสิมาก็จะระส่ำระสายเปนไป ความชอบมีอยู่กับแผ่นดิน ฝ่ายศักดิกฤษฎานุภาพคงขัติยราชผู้หนึ่ง ครั้งนี้ราชธิดาก็ได้ราชโอรส ฝ่ายพระยานครก็ได้ไปตามเสด็จพระราชดำเนิน ช่วยทำการยุทธชิงไชยเหมมันพม่าข้าศึก ครั้นจะเอาไว้ให้บังคับพลช่วยการแผ่นดินพระนครศรีอยุทธยาก็เปนฝาเปนตัวอยู่เสร็จสิ้น ประการหนึ่งก็มีทาษกรรมกรแต่ ๒๐-๓๐ หาต้องการที่อยู่ไม่ ฝ่ายเจ้านราสุริวงษ์สวรรค์ครรไล ควรให้ไปบำรุงพระเกียรติยศสนองพระเดชพระคุณแทนเจ้านราสุริวงษ์สืบไป แลซึ่งจะบำรุงพระเกียรติยศนั้น ฝ่ายพระยานครเคยผ่านแผ่นดินเปนเจ้าขัณฑสิมาอยู่แล้ว ก็ให้ผ่านแผ่นดินเปนเจ้าขัณฑสิมา ฝ่ายซึ่งผู้ผ่านแผ่นดินเปนเจ้าขัณฑสิมาสืบมาแต่ก่อนนั้น เหมือนกันกับพระยาประเทศราช ประเวณีดุจเดียวกัน "
เรื่องนี้เป็นเรื่องผิดธรรมเนียม ดังที่มีกล่าวในสารตราเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาบดีส่งถึงกรมการเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยรัชกาลที่ ๑ ว่า
"เมืองนครศรีธรรมราชขึ้นแก่กรุงศรีอยุทยาแต่ก่อนนั้นถ้าเสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่มีบำเหน็จความชอบในราชกิจ สมเด็จบรมบพิตรปลูกเลี้ยงให้ออกไปรั้งเมืองครองเมือง มีแต่ปลัดยกรบัตรกรมการรับราชการตามขนบธรรมเนียมบุราณราชประเพณี พระยาตากสินได้ว่าราชการแผ่นดินครั้งนั้น กอบไปด้วยโมหะโลภะ มิได้ประพฤติการให้ชอบโดยขนบบุราณ ตั้งให้เปนถึงเจ้านคร มีอรรคมหาเสนาจัตุสดมภ์ มหาดเล็ก ต้องชื่อข้าเฝ้าเทียมพระเจ้าอยู่หัว จะสั่งกิจราชการบัตรหมายประการใดกว่ารับสั่ง ดุจดังอนุวงษ์ราชวงษ์ถึงอนุวงษ์ราชวงษ์ก็ดี มีแต่รับสั่ง ตั้งแต่เจ้ากรมปลัดกรมหลวงขุนหมื่นนายเวรปลัดเวร หามีเสนาบดีเหมือนดังนี้ไม่ ซึ่งตั้งให้พระปลัดเปนเจ้านั้นผิดประเพณีแต่ปางก่อน" ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ก็ทรงปลดเจ้านครแล้วตั้งเจ้าพระยานคร(พัฒน์)มาครองเมืองนครในฐานะเจ้าเมือง
อยากรู้ว่าจะมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากความชอบของเจ้านครหรือความจำเป็นที่พระเจ้ากรุงธนบุรีจะตั้งให้นครศรีธรรมราชเป็นเมืองประเทศราชครับ ถ้าจะบอกว่าแค่ความชอบของเจ้านครก็ดูจะไม่มีความจำเป็นถึงขั้นต้องตั้งเป็นเจ้า ถ้าจะบอกว่าเพื่อป้องกันหัวเมืองปักษ์ใต้จากเมืองมลายู สมัยรัตนโกสินทร์ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องตั้งเจ้าประเทศราชมาเป็นเจ้าเมือง แต่สามารถใช้นโยบายอื่นๆมาควบคุมความสงบเรียบร้อยได้
เท่าที่สังเกต พระเจ้ากรุงธนบุรีมักจะแต่งตั้งเจ้าไปปกครองเมือง เช่นเจ้านราสุริยวงศ์เป็นต้น เมื่อยกทัพไปตีกัมพูชาในปลายรัชกาลก็ทรงตั้งใจให้เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ครองเมืองกัมพูชาต่อไป ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจปกครองที่กษัตริย์สมัยอยุทธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ไม่ทำกัน อยากทราบอีกข้อว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีแนวพระราชดำริแบบนี้ หรือพระองค์ต้องการให้คนที่พระองค์ทรงไว้วางพระทัยจริงๆคอยดูแลหัวเมือง ใกล้เคียงกับการที่เจ้าเมืองฝ่ายเหนือล้วนเป็นข้าหลวงเดิมที่ทรงใช้สอยมาแต่แรก ต่างกันที่ไม่ได้เป็นเจ้า
ถามเรื่องพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งเจ้านครเป็นเจ้าประเทศราชครับ
เมื่อเจ้านราสุริยวงศ์สิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ.๒๓๑๙ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งเจ้านครให้กลับไปครองเมืองนครดังเดิม แต่เป็นในฐานะ 'พระเจ้านครศรีธรรมราช' ให้เป็นเจ้าขัณฑสีมาเสมอเจ้าประเทศราช มีเสนาบดีจตุสดมภ์ มหาดเล็กเป็นของตนเอง มีเครื่องยศเสมอเจ้า
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้เหตุผลว่า "ครั้งพระนครศรีอยุทธยาเสียแก่พม่าข้าศึกแต่ก่อน ฝ่ายกรมการพลเมือง ๆ นครหาที่พึ่งไม่ ยกปลัดเมืองขึ้นผ่านแผ่นดินเปนเจ้าขัณฑสิมาก็ได้พึ่งพาอาไศรยสัปยุทธชิงไชยชนะแขกข้าศึก ถ้าหาไม่ขัณฑสิมาก็จะระส่ำระสายเปนไป ความชอบมีอยู่กับแผ่นดิน ฝ่ายศักดิกฤษฎานุภาพคงขัติยราชผู้หนึ่ง ครั้งนี้ราชธิดาก็ได้ราชโอรส ฝ่ายพระยานครก็ได้ไปตามเสด็จพระราชดำเนิน ช่วยทำการยุทธชิงไชยเหมมันพม่าข้าศึก ครั้นจะเอาไว้ให้บังคับพลช่วยการแผ่นดินพระนครศรีอยุทธยาก็เปนฝาเปนตัวอยู่เสร็จสิ้น ประการหนึ่งก็มีทาษกรรมกรแต่ ๒๐-๓๐ หาต้องการที่อยู่ไม่ ฝ่ายเจ้านราสุริวงษ์สวรรค์ครรไล ควรให้ไปบำรุงพระเกียรติยศสนองพระเดชพระคุณแทนเจ้านราสุริวงษ์สืบไป แลซึ่งจะบำรุงพระเกียรติยศนั้น ฝ่ายพระยานครเคยผ่านแผ่นดินเปนเจ้าขัณฑสิมาอยู่แล้ว ก็ให้ผ่านแผ่นดินเปนเจ้าขัณฑสิมา ฝ่ายซึ่งผู้ผ่านแผ่นดินเปนเจ้าขัณฑสิมาสืบมาแต่ก่อนนั้น เหมือนกันกับพระยาประเทศราช ประเวณีดุจเดียวกัน "
เรื่องนี้เป็นเรื่องผิดธรรมเนียม ดังที่มีกล่าวในสารตราเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาบดีส่งถึงกรมการเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยรัชกาลที่ ๑ ว่า "เมืองนครศรีธรรมราชขึ้นแก่กรุงศรีอยุทยาแต่ก่อนนั้นถ้าเสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่มีบำเหน็จความชอบในราชกิจ สมเด็จบรมบพิตรปลูกเลี้ยงให้ออกไปรั้งเมืองครองเมือง มีแต่ปลัดยกรบัตรกรมการรับราชการตามขนบธรรมเนียมบุราณราชประเพณี พระยาตากสินได้ว่าราชการแผ่นดินครั้งนั้น กอบไปด้วยโมหะโลภะ มิได้ประพฤติการให้ชอบโดยขนบบุราณ ตั้งให้เปนถึงเจ้านคร มีอรรคมหาเสนาจัตุสดมภ์ มหาดเล็ก ต้องชื่อข้าเฝ้าเทียมพระเจ้าอยู่หัว จะสั่งกิจราชการบัตรหมายประการใดกว่ารับสั่ง ดุจดังอนุวงษ์ราชวงษ์ถึงอนุวงษ์ราชวงษ์ก็ดี มีแต่รับสั่ง ตั้งแต่เจ้ากรมปลัดกรมหลวงขุนหมื่นนายเวรปลัดเวร หามีเสนาบดีเหมือนดังนี้ไม่ ซึ่งตั้งให้พระปลัดเปนเจ้านั้นผิดประเพณีแต่ปางก่อน" ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ก็ทรงปลดเจ้านครแล้วตั้งเจ้าพระยานคร(พัฒน์)มาครองเมืองนครในฐานะเจ้าเมือง
อยากรู้ว่าจะมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากความชอบของเจ้านครหรือความจำเป็นที่พระเจ้ากรุงธนบุรีจะตั้งให้นครศรีธรรมราชเป็นเมืองประเทศราชครับ ถ้าจะบอกว่าแค่ความชอบของเจ้านครก็ดูจะไม่มีความจำเป็นถึงขั้นต้องตั้งเป็นเจ้า ถ้าจะบอกว่าเพื่อป้องกันหัวเมืองปักษ์ใต้จากเมืองมลายู สมัยรัตนโกสินทร์ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องตั้งเจ้าประเทศราชมาเป็นเจ้าเมือง แต่สามารถใช้นโยบายอื่นๆมาควบคุมความสงบเรียบร้อยได้
เท่าที่สังเกต พระเจ้ากรุงธนบุรีมักจะแต่งตั้งเจ้าไปปกครองเมือง เช่นเจ้านราสุริยวงศ์เป็นต้น เมื่อยกทัพไปตีกัมพูชาในปลายรัชกาลก็ทรงตั้งใจให้เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ครองเมืองกัมพูชาต่อไป ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจปกครองที่กษัตริย์สมัยอยุทธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ไม่ทำกัน อยากทราบอีกข้อว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีแนวพระราชดำริแบบนี้ หรือพระองค์ต้องการให้คนที่พระองค์ทรงไว้วางพระทัยจริงๆคอยดูแลหัวเมือง ใกล้เคียงกับการที่เจ้าเมืองฝ่ายเหนือล้วนเป็นข้าหลวงเดิมที่ทรงใช้สอยมาแต่แรก ต่างกันที่ไม่ได้เป็นเจ้า