คำเตือน : สปอยล์ทั้งเรื่องฝากไว้ในกายเธอ ลัดดาแลนด์ จนถึงบางส่วนใน Last Summer
บทเกริ่น : ก่อนหน้านี้ได้ร่วมขบวนตำหนิหนังเรื่องนี้ไว้พอสมควร ตำหนิทั้งในเรื่องคุณภาพของตัวหนังเองและเจตนาของผู้สร้าง แต่เมื่ออ่านดราม่ามากๆเข้า เลยลองคิดใหม่ในมุมอื่นบ้าง ก็ได้พบมุมมองที่น่าสนใจจากหนังเรื่องนี้ จนเกิดบทความนี้ขึ้นมา
งานหนังก่อนหน้าของผู้กำกับ “โสภณ ศักดาพิสิษฎ์” เรื่อง “ลัดดาแลนด์” ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงทางด้านรายได้และคำวิจารณ์ หนังเรื่องนั้นมีหน้าหนังเพื่อการตลาดว่าเป็นหนังผี แต่โดยเนื้อในกลับเป็นหนังแนวดราม่าบีบคั้นอารมณ์ที่มีเนื้อหาว่าด้วยการล่มสลายในการสร้างครอบครัว ความล้มเหลวของหัวหน้าครอบครัว-ผู้ชายที่เรียกว่า “พ่อ” ในสภาพสังคมทุนนิยม
ถ้าเราวิเคราะห์ถึงสาระของหนังแต่ละเรื่องโดยมองความเชื่อมโยงในงานของผู้กำกับ “ฝากไว้ในกายเธอ” หนังเรื่องใหม่ของผู้กำกับคนนี้ก็ยังคงกล่าวถึงการล่มสลายของครอบครัวสมัยใหม่เช่นเคย แต่ครั้งนี้เป็นในระดับ “วัยรุ่นวัยเรียน” เป็นการล่มสลายที่มาเร็วยิ่งกว่าในลัดดาแลนด์ ยังไม่ทันได้เป็นผู้ใหญ่ ชีวิตก็พังพินาศในด้านความสามารถที่จะสร้างครอบครัว เพราะเป็นการมีลูกโดยไม่พร้อมและต้องจบลงโดยการทำลายด้วยการทำแท้ง
หนังนำเสนอภาพวัยรุ่นไทยสมัยใหม่ที่ไม่ได้ใสอย่างยุค 80-90 อีกต่อไปแล้ว …..
ไม่มีอีกแล้ว…. ภาพหนังวัยรุ่นกระโปรงบานขาสั้นแบบธัญญ่า-ธรรม์ หรือละครเย็นของกันตนา “วัยซน” กับภาพนักเรียนใสๆ ดังเพลงนำละคร “ชีวิตแสนสดใส วัยนี้แสนสุขสม โลกนี้แสนสดสวยรื่นรมย์ ความทุกข์ตรมไม่มี” เพราะต่อไปนี้มันจะซับซ้อนและว้าวุ่นยิ่งขึ้น
ปี พ.ศ. 2557 ภาพวัยรุ่นไทยในสื่อซีรีส์ดังอย่าง “ฮอร์โมน” เริ่มกลายเป็นอย่างวัยรุ่นในหนังฝรั่ง มีการนำเสนอภาพการแสดงออกทางเพศอย่างเปิดเผย และตอกย้ำอย่างเด่นชัดอีกครั้งด้วยสื่อภาพยนตร์จากผู้ผลิตเดียวกัน เรื่อง “ฝากไว้ในกายเธอ” หนังที่ดูเหมือนจะจงใจขายเรือนร่างนักแสดงวัยรุ่นทั้งชายหญิงอย่างชัดเจนผ่านเรื่องราวที่มีฉากหลังเป็นเรื่องของนักว่ายน้ำ รวมถึงฉากเลิฟซีนที่วาบหวิว ฉากจูบที่เป็นการประกบปากกันจริงๆโดยไม่ใช้มุมกล้อง
ในหนังเรื่อง “ฝากไว้ในกายเธอ” ตัวละครมีพฤติกรรมทางเพศที่เสรีทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ในส่วนของวัยรุ่น เด็กสาวเป็นฝ่ายยั่วยวนและเสนอตัวให้ชาย ส่วนฝ่ายชายเองก็ไม่ได้ยึดติดกับสาวแค่คนเดียว ทั้งไม่คำนึงถึงศีลธรรมหรือความถูกผิด จะแฟนเพื่อน เพื่อนของเพื่อน พวกเขาก็พร้อมตอบสนอง “ฮอร์โมน”ของตัวเอง หรือจะในส่วนตัวละครแม่พระเอกซึ่งสุดท้ายท้องก่อนแต่ง หนังจึงเป็นภาพรวมส่วนหนึ่งของสังคมไทยสมัยใหม่ที่เริ่มไม่คำนึงถึงขนบประเพณีเก่าๆอีกต่อไป
ภาพรวมที่ว่านั้นคือ แม้หนังจะไม่ได้กล่าวถึงตัวละครแม่พระเอกในเรื่องสักเท่าไหร่ แต่ก็พอคาดเดาได้ว่าเธอคงไม่ได้ใส่ใจเลี้ยงดูอบรมลูกให้อยู่ในทางที่ถูกที่ควรในบทแม่เลี้ยงเดี่ยวเช่นนี้ อย่างฉากที่มีโน้ตทิ้งไว้ว่า “หาอะไรกินเองนะ แม่กลับค่ำ” (จำไม่ค่อยได้) น่ากลัวว่าเธอจะไปแอบกุ๊กกิ๊กกับครูสอนว่ายน้ำอีกหรือเปล่า เพราะในตอนท้ายก็ป่องก่อนแต่งจนได้ พฤติกรรมลูกก็แทบไม่ต่างกัน รวมถึงเด็กวัยรุ่นสาวในเรื่องที่เราก็ไม่ทราบภูมิหลังว่าถูกเลี้ยงดูมาอย่างไร
นี่คือภาพของการล่มสลายของสถาบันครอบครัว ทั้งระดับผู้นำและสมาชิก ในระดับผู้นำ “ลัดดาแลนด์” ผู้ชายหัวหน้าครอบครัวคือผู้ล้มเหลวและพ่ายแพ้ในการรับผิดชอบครอบครัว แต่ใน “ฝากไว้กายเธอ” ผู้หญิงเป็นฝ่ายล้มเหลว ทั้งแม่ของเพิร์ธที่เหมือนจะละเลยลูก และแม่ของไอซ์ที่การฆ่าตัวตายเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกล้มเหลวในการดูแลบุตรเช่นเดียวกับพ่อที่ยิงตัวตายใน “ลัดดาแลนด์” ส่วนในระดับสมาชิกอย่างคนเป็นลูก วัยรุ่นทั้งชายหญิงในเรื่องนี้ล้มเหลวในความเป็นพ่อเป็นแม่ตั้งแต่ยังไม่เริ่มมีครอบครัวด้วยการมีบุตรเมื่อไม่พร้อมจนต้องใช้ทางออกด้วยการทำแท้ง ความล้มเหลวใน “ลัดดาแลนด์” มาจากเรื่องเศรษฐกิจ แต่ความล้มเหลวใน “ฝากไว้ในกายเธอ” เป็นเรื่องของศีลธรรมและพฤติกรรมทางเพศ ถ้าลัดดาแลนด์โยนความผิดในการล่มสลายของครอบครัวให้กับระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ฝากไว้ในกายเธอก็เหมือนจะโดยความผิดให้กับการรับวัฒนธรรมทางเพศในแบบชาวตะวันตกมาอย่างขาดการเรียนรู้ซึ่งก็เป็นผลมาจากทุนนิยมของสื่อมวลชนที่มาพร้อมกับการตลาดในเรื่องเพศ
แก้ไขไม่ได้ อ่านต่อที่ความเห็นที่ 10 ครับ...
ฝากไว้ในกายเธอ : อวสานวัยซน กระโปรงบานขาสั้น : การล่มสลายของวัยรุ่นสมัยใหม่ (สปอยล์)
บทเกริ่น : ก่อนหน้านี้ได้ร่วมขบวนตำหนิหนังเรื่องนี้ไว้พอสมควร ตำหนิทั้งในเรื่องคุณภาพของตัวหนังเองและเจตนาของผู้สร้าง แต่เมื่ออ่านดราม่ามากๆเข้า เลยลองคิดใหม่ในมุมอื่นบ้าง ก็ได้พบมุมมองที่น่าสนใจจากหนังเรื่องนี้ จนเกิดบทความนี้ขึ้นมา
งานหนังก่อนหน้าของผู้กำกับ “โสภณ ศักดาพิสิษฎ์” เรื่อง “ลัดดาแลนด์” ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงทางด้านรายได้และคำวิจารณ์ หนังเรื่องนั้นมีหน้าหนังเพื่อการตลาดว่าเป็นหนังผี แต่โดยเนื้อในกลับเป็นหนังแนวดราม่าบีบคั้นอารมณ์ที่มีเนื้อหาว่าด้วยการล่มสลายในการสร้างครอบครัว ความล้มเหลวของหัวหน้าครอบครัว-ผู้ชายที่เรียกว่า “พ่อ” ในสภาพสังคมทุนนิยม
ถ้าเราวิเคราะห์ถึงสาระของหนังแต่ละเรื่องโดยมองความเชื่อมโยงในงานของผู้กำกับ “ฝากไว้ในกายเธอ” หนังเรื่องใหม่ของผู้กำกับคนนี้ก็ยังคงกล่าวถึงการล่มสลายของครอบครัวสมัยใหม่เช่นเคย แต่ครั้งนี้เป็นในระดับ “วัยรุ่นวัยเรียน” เป็นการล่มสลายที่มาเร็วยิ่งกว่าในลัดดาแลนด์ ยังไม่ทันได้เป็นผู้ใหญ่ ชีวิตก็พังพินาศในด้านความสามารถที่จะสร้างครอบครัว เพราะเป็นการมีลูกโดยไม่พร้อมและต้องจบลงโดยการทำลายด้วยการทำแท้ง
หนังนำเสนอภาพวัยรุ่นไทยสมัยใหม่ที่ไม่ได้ใสอย่างยุค 80-90 อีกต่อไปแล้ว …..
ไม่มีอีกแล้ว…. ภาพหนังวัยรุ่นกระโปรงบานขาสั้นแบบธัญญ่า-ธรรม์ หรือละครเย็นของกันตนา “วัยซน” กับภาพนักเรียนใสๆ ดังเพลงนำละคร “ชีวิตแสนสดใส วัยนี้แสนสุขสม โลกนี้แสนสดสวยรื่นรมย์ ความทุกข์ตรมไม่มี” เพราะต่อไปนี้มันจะซับซ้อนและว้าวุ่นยิ่งขึ้น
ปี พ.ศ. 2557 ภาพวัยรุ่นไทยในสื่อซีรีส์ดังอย่าง “ฮอร์โมน” เริ่มกลายเป็นอย่างวัยรุ่นในหนังฝรั่ง มีการนำเสนอภาพการแสดงออกทางเพศอย่างเปิดเผย และตอกย้ำอย่างเด่นชัดอีกครั้งด้วยสื่อภาพยนตร์จากผู้ผลิตเดียวกัน เรื่อง “ฝากไว้ในกายเธอ” หนังที่ดูเหมือนจะจงใจขายเรือนร่างนักแสดงวัยรุ่นทั้งชายหญิงอย่างชัดเจนผ่านเรื่องราวที่มีฉากหลังเป็นเรื่องของนักว่ายน้ำ รวมถึงฉากเลิฟซีนที่วาบหวิว ฉากจูบที่เป็นการประกบปากกันจริงๆโดยไม่ใช้มุมกล้อง
ในหนังเรื่อง “ฝากไว้ในกายเธอ” ตัวละครมีพฤติกรรมทางเพศที่เสรีทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ในส่วนของวัยรุ่น เด็กสาวเป็นฝ่ายยั่วยวนและเสนอตัวให้ชาย ส่วนฝ่ายชายเองก็ไม่ได้ยึดติดกับสาวแค่คนเดียว ทั้งไม่คำนึงถึงศีลธรรมหรือความถูกผิด จะแฟนเพื่อน เพื่อนของเพื่อน พวกเขาก็พร้อมตอบสนอง “ฮอร์โมน”ของตัวเอง หรือจะในส่วนตัวละครแม่พระเอกซึ่งสุดท้ายท้องก่อนแต่ง หนังจึงเป็นภาพรวมส่วนหนึ่งของสังคมไทยสมัยใหม่ที่เริ่มไม่คำนึงถึงขนบประเพณีเก่าๆอีกต่อไป
ภาพรวมที่ว่านั้นคือ แม้หนังจะไม่ได้กล่าวถึงตัวละครแม่พระเอกในเรื่องสักเท่าไหร่ แต่ก็พอคาดเดาได้ว่าเธอคงไม่ได้ใส่ใจเลี้ยงดูอบรมลูกให้อยู่ในทางที่ถูกที่ควรในบทแม่เลี้ยงเดี่ยวเช่นนี้ อย่างฉากที่มีโน้ตทิ้งไว้ว่า “หาอะไรกินเองนะ แม่กลับค่ำ” (จำไม่ค่อยได้) น่ากลัวว่าเธอจะไปแอบกุ๊กกิ๊กกับครูสอนว่ายน้ำอีกหรือเปล่า เพราะในตอนท้ายก็ป่องก่อนแต่งจนได้ พฤติกรรมลูกก็แทบไม่ต่างกัน รวมถึงเด็กวัยรุ่นสาวในเรื่องที่เราก็ไม่ทราบภูมิหลังว่าถูกเลี้ยงดูมาอย่างไร
นี่คือภาพของการล่มสลายของสถาบันครอบครัว ทั้งระดับผู้นำและสมาชิก ในระดับผู้นำ “ลัดดาแลนด์” ผู้ชายหัวหน้าครอบครัวคือผู้ล้มเหลวและพ่ายแพ้ในการรับผิดชอบครอบครัว แต่ใน “ฝากไว้กายเธอ” ผู้หญิงเป็นฝ่ายล้มเหลว ทั้งแม่ของเพิร์ธที่เหมือนจะละเลยลูก และแม่ของไอซ์ที่การฆ่าตัวตายเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกล้มเหลวในการดูแลบุตรเช่นเดียวกับพ่อที่ยิงตัวตายใน “ลัดดาแลนด์” ส่วนในระดับสมาชิกอย่างคนเป็นลูก วัยรุ่นทั้งชายหญิงในเรื่องนี้ล้มเหลวในความเป็นพ่อเป็นแม่ตั้งแต่ยังไม่เริ่มมีครอบครัวด้วยการมีบุตรเมื่อไม่พร้อมจนต้องใช้ทางออกด้วยการทำแท้ง ความล้มเหลวใน “ลัดดาแลนด์” มาจากเรื่องเศรษฐกิจ แต่ความล้มเหลวใน “ฝากไว้ในกายเธอ” เป็นเรื่องของศีลธรรมและพฤติกรรมทางเพศ ถ้าลัดดาแลนด์โยนความผิดในการล่มสลายของครอบครัวให้กับระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ฝากไว้ในกายเธอก็เหมือนจะโดยความผิดให้กับการรับวัฒนธรรมทางเพศในแบบชาวตะวันตกมาอย่างขาดการเรียนรู้ซึ่งก็เป็นผลมาจากทุนนิยมของสื่อมวลชนที่มาพร้อมกับการตลาดในเรื่องเพศ
แก้ไขไม่ได้ อ่านต่อที่ความเห็นที่ 10 ครับ...