ผมเห็นกระทู้ที่มาแก้ต่างว่าม.เอกชนกับม.เปิดมาแก้ต่างโน่นๆนี่ๆว่าเด็กตัวเองก็เก่ง ไม่แพ้ม.รัฐระดับ top และก็เห็นดราม่ากันในนี้
ผมเลยจะลองเอามาวิเคราะห์"เท่าที่ผมเคยเห็นจากเพื่อนๆของผมที่จบม.เอกชน, ม.เปิด, ม.รัฐคะแนนน้อย, และม,รัฐระดับ top นะครับ
ทั้งนี้ด้วยความที่ผมจบม.รัฐและประสบการณ์ส่วนตัว ผมจะไม่ขอเคลมว่าตัวเองไม่มี bias ในการตั้งกระทู้นี้ แต่จะเขียนด้วยเหตุผลให้มากที่สุดครับ
ทุกมหาวิทยาลัยมีทั้งคนเก่งระดับเก่งมากยันเรียนรอดมิรอดแหล่โดนไทร์ แต่จุดที่ต่างที่ผมเจอจะมีดังนี้
1. สัดส่วนเด็ก"เอาถ่าน": ผมนิยามเด็ก"เอาถ่าน"ไว้เป็นนศ./นิสิตที่มีคุณสมบัติหัวดีหรือไม่ก็ขยัน (แบบทั้งหัวดีทั้งขยันยิ่งเก่งน่ากลัว) พวกนี้จะสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐระดับ top ได้ด้วยคุณสมบัติข้างต้น ส่วนที่เลือกมาม.ประเภทอื่นเองทั้งที่คะแนนถึงคณะที่ต้องการในมหาลัยที่อยากได้ก็คงมีแต่น้อย และเท่าที่เห็น ตอนผมเรียนป.ตรีผมเจอกลุ่มเพื่อนที่ถกกันเป็นปกติเกี่ยวกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์, คณิตศาสตร์, ตรรกะ, ปรัชญา, การเงิน ,การเมืองเชิงวิชาการ (ผมเรียนจบป.ตรี-โทเศรษฐศาสตร์มา) ฯลฯ แต่ผมถามเพื่อนๆในมหาวิทยาลัยอื่น เพื่อนผมที่อยู่มหาวิทยาลัยอื่นเกือบทุกมหาวิทยาลัยไม่ค่อยมีวงสนทนาเช่นนี้เท่าไหร่ เท่าที่ผมรู้ก็มีกับม.รัฐชั้นนำสายเศรษฐศาสตร์ไม่กี่ที่ และม.เอกชนกลับไม่ได้ข่าวเรื่องบรรยากาศแบบนี้
2. จำนวนคนไปทำงานเชิงวิชาการต่อ: ผมมองว่าส่วนใหญ่นักเศรษฐศาสตร์ไทยดังๆที่ผมรู้จักก็มักจะจบจากมหาวิทยาลัยรัฐแข็งๆไม่กี่ที่ ไม่ค่อยมีอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงในวงวิชาการระดับประเทศ และส่วนใหญ่อาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐแข็งๆส่วนใหญ่ก็จบจากม.รัฐ อ.จบม.เอกชนและมาเป็นอ.มหาลัยรัฐก็มี แต่สัดส่วนน้อยกว่า (และเอาจริงๆส่วนใหญ่ก็ตรีม.เอกชน แต่ก็เป็นตัวแข็งของรุ่นที่เข้ามาต่อโทม.รัฐและต่อเอกนอกด้วยซ้ำ)
3. ประสบการณ์ส่วนตัวที่เจอ: เท่าที่ผมเคยคุยกับเพื่อนที่จบเศรษฐศาสตร์มหาลัยเอกชนส่วนใหญ่ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไม่แข็งแรงเท่าไหร่ เช่น เรียนเศรษฐศาสตร์จุลภาคแต่ไม่แม่นทฤษฎีเกม ไม่แม่นพวก consumer theory เลย หรือเรียนเศรษฐศาสตร์มหภาคแต่ไม่รู้จัก Phillips Curve ไม่รู้จัก Rational Expectation ไม่รู้จัก Solow Growth model ทั้งที่ของพวกนี้เป็นกรอบคิดที่สำคัญสำหรับมากการเรียนเศรษฐศาสตร์ ถ้าทฤษฎีไม่แม่นผมก็กลัวว่าเวลาไปประยุกต์มันจะรู้ไหมว่าข้อจำกัดของทฤษฎีอยู่ที่ตรงไหน? ทฤษฎีนี้อธิบายอะไรได้แค่ไหน? และถ้าไปเรียนต่อระดับป.โทหรือเอกจะมีปัญหาหรือเปล่า ยิ่งพื้นฐานคณิตศาสตร์สถิติยิ่งไม่แม่น หลายคนหาอนุพันธ์ของฟังก์ชั่นง่ายๆยังไม่ได้ ยังแยกความแตกต่างไม่ออกว่า sample mean กับ population mean ต่างกันยังไง ทำไมกลุ่มตัวอย่างเยอะแล้วดียังไง Gauss-Markov Theorem คืออะไร? ผมถือว่าน่าเป็นห่วงถ้าไปเรียนต่อในทางเศรษฐศาสตร์เพียวๆ
แต่เรื่องการทำงานมันก็แล้วแต่งาน ถ้างานเน้นสายธุรกิจแบบไม่ต้องแน่นทฤษฎีมากก็คงไม่ต่างมาก แต่เท่าที่ผมเห็น สถานที่ทำงานที่ต้องการพื้นฐานทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในระดับที่แข็งแรงเพื่อทำงานวิจัยอย่างแบงค์ชาติ, สถาบันวิจัยอย่าง TDRI ผมเคยลองอ่านก็ส่วนใหญ่จบม.รัฐแข็งๆทั้งนั้น
ผมเลยขอบอกว่าการเรียนม.รัฐแข็งๆกับม.อื่นๆถ้าสำหรับผมมันก็ต่าง เพราะอย่างน้อยในระดับวิชาการจริงๆม.แข็งๆก็ดูยังภาษีดีกว่า แต่สิ่งที่คนเรียนม.ประเภทอื่นทำได้ก็คือพึ่งตัวเองครับ ถึงเราไม่มีก๊วนหรือกลุ่มนั่งคุยวิชาการก็สร้างสังคมวิชาการเองเลยครับ เริ่มอ่านเริ่มทำอะไรบ้าง สงสัยก็ถามอาจารย์ ผมก็เชื่อว่าอย่างน้อยคนจากม.อื่นๆมาสายวิชาการไหวก็น่าจะเยอะขึ้นครับ
ความต่างของการเรียนม.รัฐแข็งๆกับม.อื่น (สำหรับผมเอง)
ผมเลยจะลองเอามาวิเคราะห์"เท่าที่ผมเคยเห็นจากเพื่อนๆของผมที่จบม.เอกชน, ม.เปิด, ม.รัฐคะแนนน้อย, และม,รัฐระดับ top นะครับ
ทั้งนี้ด้วยความที่ผมจบม.รัฐและประสบการณ์ส่วนตัว ผมจะไม่ขอเคลมว่าตัวเองไม่มี bias ในการตั้งกระทู้นี้ แต่จะเขียนด้วยเหตุผลให้มากที่สุดครับ
ทุกมหาวิทยาลัยมีทั้งคนเก่งระดับเก่งมากยันเรียนรอดมิรอดแหล่โดนไทร์ แต่จุดที่ต่างที่ผมเจอจะมีดังนี้
1. สัดส่วนเด็ก"เอาถ่าน": ผมนิยามเด็ก"เอาถ่าน"ไว้เป็นนศ./นิสิตที่มีคุณสมบัติหัวดีหรือไม่ก็ขยัน (แบบทั้งหัวดีทั้งขยันยิ่งเก่งน่ากลัว) พวกนี้จะสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐระดับ top ได้ด้วยคุณสมบัติข้างต้น ส่วนที่เลือกมาม.ประเภทอื่นเองทั้งที่คะแนนถึงคณะที่ต้องการในมหาลัยที่อยากได้ก็คงมีแต่น้อย และเท่าที่เห็น ตอนผมเรียนป.ตรีผมเจอกลุ่มเพื่อนที่ถกกันเป็นปกติเกี่ยวกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์, คณิตศาสตร์, ตรรกะ, ปรัชญา, การเงิน ,การเมืองเชิงวิชาการ (ผมเรียนจบป.ตรี-โทเศรษฐศาสตร์มา) ฯลฯ แต่ผมถามเพื่อนๆในมหาวิทยาลัยอื่น เพื่อนผมที่อยู่มหาวิทยาลัยอื่นเกือบทุกมหาวิทยาลัยไม่ค่อยมีวงสนทนาเช่นนี้เท่าไหร่ เท่าที่ผมรู้ก็มีกับม.รัฐชั้นนำสายเศรษฐศาสตร์ไม่กี่ที่ และม.เอกชนกลับไม่ได้ข่าวเรื่องบรรยากาศแบบนี้
2. จำนวนคนไปทำงานเชิงวิชาการต่อ: ผมมองว่าส่วนใหญ่นักเศรษฐศาสตร์ไทยดังๆที่ผมรู้จักก็มักจะจบจากมหาวิทยาลัยรัฐแข็งๆไม่กี่ที่ ไม่ค่อยมีอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงในวงวิชาการระดับประเทศ และส่วนใหญ่อาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐแข็งๆส่วนใหญ่ก็จบจากม.รัฐ อ.จบม.เอกชนและมาเป็นอ.มหาลัยรัฐก็มี แต่สัดส่วนน้อยกว่า (และเอาจริงๆส่วนใหญ่ก็ตรีม.เอกชน แต่ก็เป็นตัวแข็งของรุ่นที่เข้ามาต่อโทม.รัฐและต่อเอกนอกด้วยซ้ำ)
3. ประสบการณ์ส่วนตัวที่เจอ: เท่าที่ผมเคยคุยกับเพื่อนที่จบเศรษฐศาสตร์มหาลัยเอกชนส่วนใหญ่ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไม่แข็งแรงเท่าไหร่ เช่น เรียนเศรษฐศาสตร์จุลภาคแต่ไม่แม่นทฤษฎีเกม ไม่แม่นพวก consumer theory เลย หรือเรียนเศรษฐศาสตร์มหภาคแต่ไม่รู้จัก Phillips Curve ไม่รู้จัก Rational Expectation ไม่รู้จัก Solow Growth model ทั้งที่ของพวกนี้เป็นกรอบคิดที่สำคัญสำหรับมากการเรียนเศรษฐศาสตร์ ถ้าทฤษฎีไม่แม่นผมก็กลัวว่าเวลาไปประยุกต์มันจะรู้ไหมว่าข้อจำกัดของทฤษฎีอยู่ที่ตรงไหน? ทฤษฎีนี้อธิบายอะไรได้แค่ไหน? และถ้าไปเรียนต่อระดับป.โทหรือเอกจะมีปัญหาหรือเปล่า ยิ่งพื้นฐานคณิตศาสตร์สถิติยิ่งไม่แม่น หลายคนหาอนุพันธ์ของฟังก์ชั่นง่ายๆยังไม่ได้ ยังแยกความแตกต่างไม่ออกว่า sample mean กับ population mean ต่างกันยังไง ทำไมกลุ่มตัวอย่างเยอะแล้วดียังไง Gauss-Markov Theorem คืออะไร? ผมถือว่าน่าเป็นห่วงถ้าไปเรียนต่อในทางเศรษฐศาสตร์เพียวๆ
แต่เรื่องการทำงานมันก็แล้วแต่งาน ถ้างานเน้นสายธุรกิจแบบไม่ต้องแน่นทฤษฎีมากก็คงไม่ต่างมาก แต่เท่าที่ผมเห็น สถานที่ทำงานที่ต้องการพื้นฐานทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในระดับที่แข็งแรงเพื่อทำงานวิจัยอย่างแบงค์ชาติ, สถาบันวิจัยอย่าง TDRI ผมเคยลองอ่านก็ส่วนใหญ่จบม.รัฐแข็งๆทั้งนั้น
ผมเลยขอบอกว่าการเรียนม.รัฐแข็งๆกับม.อื่นๆถ้าสำหรับผมมันก็ต่าง เพราะอย่างน้อยในระดับวิชาการจริงๆม.แข็งๆก็ดูยังภาษีดีกว่า แต่สิ่งที่คนเรียนม.ประเภทอื่นทำได้ก็คือพึ่งตัวเองครับ ถึงเราไม่มีก๊วนหรือกลุ่มนั่งคุยวิชาการก็สร้างสังคมวิชาการเองเลยครับ เริ่มอ่านเริ่มทำอะไรบ้าง สงสัยก็ถามอาจารย์ ผมก็เชื่อว่าอย่างน้อยคนจากม.อื่นๆมาสายวิชาการไหวก็น่าจะเยอะขึ้นครับ