จำคุก 42 ปี 6 เดือน สนธิ ลิ้มทองกุล ผิดหลักทรัพย์ฯ

กระทู้สนทนา


วันที่ 07 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 10:08:09 น.

วันนี้ (7 ส.ค.) ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน จำคุก 85 ปี นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ ทำรายงานประชุมกรรมการเท็จค้ำประกันบริษัทในเครือ กู้แบงค์กรุงไทยกว่า พันล้าน

นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เดินทางมายังศาลอาญา เพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่ พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 1 เป็นโจทก์ฟ้อง นายสนธิ ร่วมกับ นายสุรเดช มุขยางกูร ,นางสาวเสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์ และ นางสาวยุพิน จันทนา อดีตผู้บริหาร และ กรรมการบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ

จากกรณีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2539 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2540 นายสนธิ กับพวกซึ่งเป็นกรรมการบริษัท แมเนเจอร์ ฯ ได้ร่วมกันทำสำเนารายงานการประชุมของกรรมการบริษัทที่เป็นเท็จ เพื่อค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัท เดอะ เอ็ม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่มีนายสนธิ เป็นผู้ถือหุ้น จำนวน 1,078 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยไม่ได้รายงานเรื่องดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นของ บริษัทแมเนเจอร์ฯ ขาดประโยชน์ที่ควรจะได้รับ รวมทั้งเป็นการลวงให้นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ได้รับรู้ถึงการค้ำประกันหนี้ดังกล่าว

โดยคดีนี้ศาลชั้นต้น พิพากษาจำคุกนายสนธิ จำเลยที่ 1 และ นางเสาวลักษณ์ จำเลยที่ 3 คนละ 85 ปี และนางสาวยุพิน จำเลยที่ 4 จำคุก 65 ปี ส่วนนายสุรเดช จำเลยที่ 2 ให้ลงโทษจำคุก 5 ปี

แต่จำเลยทั้ง 4 ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุกนายสนธิ จำเลยที่ 1 และ นางเสาวลักษณ์ จำเลยที่ 3 คนละ 42 ปี 6 เดือน และนางสาวยุพิน จำเลยที่ 4 จำคุก 32 ปี 6 เดือน ส่วนนายสุรเดช จำเลยที่ 2 ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือน

แต่โทษสูงสุดในความผิดฐานดังกล่าว กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 20 ปี จึงลงโทษจำคุก นายสนธิ จำเลยที่ 1 , นางเสาวลักษณ์ จำเลยที่ 3 และ นางสาวยุพิน จำเลยที่ 4 คนละ 20 ปี แต่ต่อมานายสนธิ พร้อมด้วยนางเสาวลักษณ์ และนางสาวยุพิน ยื่นอุทธรณ์

ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมพร้อมปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่าที่จำเลยทั้งสามอ้างว่าไม่มีเจตนาทุจริต และไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว จึงขอให้ศาลลงโทษสถานเบา และรอการลงโทษนั้น เห็นว่า

การกระทำของจำเลย เป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ ร้ายแรง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้นถือว่าเป็นโทษต่ำสุดแล้ว ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยพิพากษายืน

ด้านนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ เปิดเผยว่าจะใช้หลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์เดิม มูลค่า 10 ล้าน เพื่อขอปล่อยชั่วคราว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาคำร้องของศาลว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  การเมือง
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่