โจรงัดบ้าน ถ้ายิงโจร เราจะผิดรึเปล่า
คำถามอาจจะเก่า หลายคนอาจจะถามแล้ว
ผมก็เพิ่งโดนงัดบ้าน ออกไปกินข้าวประมาณสองชั่วโมง กลับบ้านบ้านโดนงัดซะแล้ว
เงินสดหายไปสองหมื่นกว่าบาท ลูกปืนที่สะสมไว้ยิงที่สนามสองถึงสามร้อยลูก อุปกรณ์แต่งปืนยกกระเป๋า
ดีนะเอาปืนใส่รถไปด้วย ถ้าไม่เช่นนั้นคงหายไปทั้งลูกทั้งปืน
เอกสารเกี่ยวกับถือครองที่ดินมันก็ยังเอาไป มันจะเอาไปทำอะไรของมัน
บ้านอยู่กลางป่า ไม่รั่วรอบ เพราะมันกว้างมากร้อยกว่าไร่ มีถนนหลวงผ่ากลาง
จะทำรั่วล้อมเฉพาะเนื้อที่บ้านก็ไม่ไหว เพราะเนื้อที่สองไร่กว่าๆ สองหลัง เลี้ยงหมาดุๆ ก็ไม่ได้ เดี๋ยวไปกัดชาวบ้าน กัดคนงาน
แจ้งความแล้วก็ยังไม่คืบหน้า
ก็เลยคิด ถ้ามันมาอีก แล้วบังเอิญเจอ ถ้ายิงมันในอานาเขตของเราจะผิดรึเปล่า
หลังจากที่ลองศึกษาดูแล้ว ข้อกฎหมายรู้สึกว่าจะเอื้อให้กับโจรจริงๆ
ลองอ่านกันดูนะครับ ยาวสักหน่อยแต่ได้ประโยชน์
...........................
ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 บัญญัติว่า
"ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด"
หลักเกณฑ์การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
1. มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
2.ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
3.ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง หรือของผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายนั้น
4. การกระทำโดยป้องกันสิทธินั้นไม่เกินขอบเขต
การป้องกันเกินขอบเขตมี 2 กรณี คือ
1. การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
2. การป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
การป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ประกอบด้วยหลัก
1. ผู้ป้องกันได้กระทำการป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายนั้น ด้วยวิถีทางน้อยที่สุดเท่าที่จำต้องกระทำ หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีวิถีทางน้อยที่สุด และ
2. ผู้ป้องกันได้กระทำการป้องกันโดยได้สัดส่วนกับภยันตราย หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีสัดส่วน
ยกตัวอย่าง เช่น
กรณีเป็นภัยอันตรายซึ่งเกิดจาการประทุษร้ายที่ละเมิดต่อกฏหมาย
>> เราเป็นเจ้าของบ้าน มีสิทธิป้องกันไม่ให้ใครเข้ามารุกรานทำร้าย
แม้ว่าจะมีทางหนีได้ แต่ไม่มีความจำเป็นที่เจ้าของบ้านต้องหนีผู้ทำผิด
กฏหมาย ถ้าผู้ร้ายถืออาวุธจะเข้ามาทำร้ายเราถึงบ้าน เราสามารถกระทำ
ป้องกันชีวิตเราพอสมควรแก่เหตุได้
กรณีต้องเป็นภัยอันตรายที่ใกล้จะถึงตัว โดยภัยนั้ยังมีอยู่ ไม่สิ้นสุดไป
>> เราเป็นหญิง ถูกชายลากเข้าไปป่าข้างทางเพื่อข่มขืนและขู่ว่าจะฆ่า
เราจึงใช้มีดแทงหนึ่งทีแล้ววิ่งหนีออกมา ฝ่ายผู้ร้ายจะพยายามแย่งมีดจากเรา
ทำให้เราแทงผู้ร้ายอีกหลายครั้งจนเป็นหตุถึงตาย เช่นนี้ถือว่าภัยยังไม่หมดไป
เมื่อเป็นหญิงอยู่ในภาวะเช่นนั้น จะเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
กรณีผู้ป้องกันจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นให้พ้นภัย
>> มีคนบุกรุกเข้ามาฉุดคร่าลูกสาวของเราถึงในบ้าน และกำลังพาออกจาก
บ้านไป การที่เรายิงผู้ร้ายนั้นเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของลูกสาวให้
พ้นจากภัยอันตรายดังกล่าว โดยเราไม่มีทางเลือกอื่นที่จะป้องกันได้ การยิง
ผู้ร้ายจึงเป็นการป้องกันที่ชอบด้วยกฏหมาย
กรณีเป็นการกระทำป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ
>> หากภัยที่มีมาอาจทำให้ถึงตาย ก็สามารถตอบโต้ถึงตายได้ โดยไม่ต้อง
คำนึงว่าจะใช้อาวุธหรือวิธีการอย่างไร แต่ถ้าภัยที่มีมาถึงเราเป็นเหตุไม่ร้ายแรง
การที่เราป้องกันถึงขนาดทำให้ผู้ร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บสาหัส ย่อมเป็นการ
กระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ เป็นความผิดที่ต้องรับโทษ เพียงแต่ศาลอาจ
ลงโทษน้อยกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้
เหตุที่อ้างป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมายไม่ได้
1. ถ้าภัยอันตรายที่เราอ้างว่าใกล้จะถึงตัวได้ผ่านพ้นไปแล้ว เราจะอ้างป้องกัน
ไม่ได้ เช่น เราเห็นคนกำลังปีนรั้วเข้าบ้าน เราจึงร้องเอะอะขึ้น คนนั้นจึงรีบปีน
หนีไป แต่เรายังใช้ปืนยิงเขาถึงตาย อย่างนี้จะอ้างว่ายิงเขาตายเป็นการกระทำ
เพื่อป้องกันไม่ได้
2. เราเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นก่อนหรือเป็นผู้ที่ท้าทายผู้อื่นก่อน เช่น เราเป็นฝ่ายก่อเหตุ
ด่าเขาก่อน เมื่อเขาจะเข้ามาทำร้าย เราจึงทำร้ายเขานั้น จะอ้างว่าป้องกันตัวไม่ได้
3. เราเป็นผู้สมัครใจเข้าต่อสู้ วิวาทกัน ที่ไม่ใช่การโต้เถียงกัน แต่ทั้งคู่กระทำโดย
ใช้กำลังเข้าชกต่อยหรือตบตีกัน ย่อมถือว่าสมัครใจทะเลาะวิวาท อ้างเหตุป้องกัน
ตัวไม่ได้
ตัวอย่างการป้องกันที่เกินสมควรแก่เหตุ เช่น เด็กเข้ามาลักทรัพย์สินในบ้าน
เราโดยไม่มีอาวุธ ขณะเด็กโผล่ขึ้นมาจากที่ซ่อนตัวใต้แคร่อันเป็นที่จำกัด เราอาจ
ใช้วิธีอื่นในการสกัดจับเด็กหรือเรียกคนอื่นมาช่วยกันจับ แต่เราถึงขั้นใช้อาวุธปืนยิง
จนเด็กเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัส ย่อมเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
......................
สรุปคราวๆ
1. ก่อนยิงต้องดูมันมีอาวุธรึเปล่า มันกำลังจะหนีหรือซ่อนตัวรึเปล่า ถ้ามันมามือเปล่าห้ามยิง ถ้ามันกำลังหนีหรือซ่อนตัวห้ามยิง
2. ให้ไล่จับมันได้อย่างเดียว ความเป็นจริง อยู่คนเดียวใครจะช่วยจับ ถ้าจับไม่ได้เดี๋ยวมันก็มาอีก
3. ถ้ามันมีอาวุธเราถึงจะตอบโต้มันได้ ความเป็นจริงจะรู้ได้อย่างไรว่ามันมีอาวุธ หรือต้องรอให้มันยิงเราก่อน หรือถึงตัวเราก่อน เราถึงยิงมันได้ จะบ้าตาย
4. เป็นโจรมันสบายจริงๆ
โจรงัดบ้าน ถ้ายิงโจร เราจะผิดรึเปล่า
คำถามอาจจะเก่า หลายคนอาจจะถามแล้ว
ผมก็เพิ่งโดนงัดบ้าน ออกไปกินข้าวประมาณสองชั่วโมง กลับบ้านบ้านโดนงัดซะแล้ว
เงินสดหายไปสองหมื่นกว่าบาท ลูกปืนที่สะสมไว้ยิงที่สนามสองถึงสามร้อยลูก อุปกรณ์แต่งปืนยกกระเป๋า
ดีนะเอาปืนใส่รถไปด้วย ถ้าไม่เช่นนั้นคงหายไปทั้งลูกทั้งปืน
เอกสารเกี่ยวกับถือครองที่ดินมันก็ยังเอาไป มันจะเอาไปทำอะไรของมัน
บ้านอยู่กลางป่า ไม่รั่วรอบ เพราะมันกว้างมากร้อยกว่าไร่ มีถนนหลวงผ่ากลาง
จะทำรั่วล้อมเฉพาะเนื้อที่บ้านก็ไม่ไหว เพราะเนื้อที่สองไร่กว่าๆ สองหลัง เลี้ยงหมาดุๆ ก็ไม่ได้ เดี๋ยวไปกัดชาวบ้าน กัดคนงาน
แจ้งความแล้วก็ยังไม่คืบหน้า
ก็เลยคิด ถ้ามันมาอีก แล้วบังเอิญเจอ ถ้ายิงมันในอานาเขตของเราจะผิดรึเปล่า
หลังจากที่ลองศึกษาดูแล้ว ข้อกฎหมายรู้สึกว่าจะเอื้อให้กับโจรจริงๆ
ลองอ่านกันดูนะครับ ยาวสักหน่อยแต่ได้ประโยชน์
...........................
ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 บัญญัติว่า
"ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด"
หลักเกณฑ์การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
1. มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
2.ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
3.ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง หรือของผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายนั้น
4. การกระทำโดยป้องกันสิทธินั้นไม่เกินขอบเขต
การป้องกันเกินขอบเขตมี 2 กรณี คือ
1. การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
2. การป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
การป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ประกอบด้วยหลัก
1. ผู้ป้องกันได้กระทำการป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายนั้น ด้วยวิถีทางน้อยที่สุดเท่าที่จำต้องกระทำ หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีวิถีทางน้อยที่สุด และ
2. ผู้ป้องกันได้กระทำการป้องกันโดยได้สัดส่วนกับภยันตราย หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีสัดส่วน
ยกตัวอย่าง เช่น
กรณีเป็นภัยอันตรายซึ่งเกิดจาการประทุษร้ายที่ละเมิดต่อกฏหมาย
>> เราเป็นเจ้าของบ้าน มีสิทธิป้องกันไม่ให้ใครเข้ามารุกรานทำร้าย
แม้ว่าจะมีทางหนีได้ แต่ไม่มีความจำเป็นที่เจ้าของบ้านต้องหนีผู้ทำผิด
กฏหมาย ถ้าผู้ร้ายถืออาวุธจะเข้ามาทำร้ายเราถึงบ้าน เราสามารถกระทำ
ป้องกันชีวิตเราพอสมควรแก่เหตุได้
กรณีต้องเป็นภัยอันตรายที่ใกล้จะถึงตัว โดยภัยนั้ยังมีอยู่ ไม่สิ้นสุดไป
>> เราเป็นหญิง ถูกชายลากเข้าไปป่าข้างทางเพื่อข่มขืนและขู่ว่าจะฆ่า
เราจึงใช้มีดแทงหนึ่งทีแล้ววิ่งหนีออกมา ฝ่ายผู้ร้ายจะพยายามแย่งมีดจากเรา
ทำให้เราแทงผู้ร้ายอีกหลายครั้งจนเป็นหตุถึงตาย เช่นนี้ถือว่าภัยยังไม่หมดไป
เมื่อเป็นหญิงอยู่ในภาวะเช่นนั้น จะเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
กรณีผู้ป้องกันจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นให้พ้นภัย
>> มีคนบุกรุกเข้ามาฉุดคร่าลูกสาวของเราถึงในบ้าน และกำลังพาออกจาก
บ้านไป การที่เรายิงผู้ร้ายนั้นเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของลูกสาวให้
พ้นจากภัยอันตรายดังกล่าว โดยเราไม่มีทางเลือกอื่นที่จะป้องกันได้ การยิง
ผู้ร้ายจึงเป็นการป้องกันที่ชอบด้วยกฏหมาย
กรณีเป็นการกระทำป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ
>> หากภัยที่มีมาอาจทำให้ถึงตาย ก็สามารถตอบโต้ถึงตายได้ โดยไม่ต้อง
คำนึงว่าจะใช้อาวุธหรือวิธีการอย่างไร แต่ถ้าภัยที่มีมาถึงเราเป็นเหตุไม่ร้ายแรง
การที่เราป้องกันถึงขนาดทำให้ผู้ร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บสาหัส ย่อมเป็นการ
กระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ เป็นความผิดที่ต้องรับโทษ เพียงแต่ศาลอาจ
ลงโทษน้อยกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้
เหตุที่อ้างป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมายไม่ได้
1. ถ้าภัยอันตรายที่เราอ้างว่าใกล้จะถึงตัวได้ผ่านพ้นไปแล้ว เราจะอ้างป้องกัน
ไม่ได้ เช่น เราเห็นคนกำลังปีนรั้วเข้าบ้าน เราจึงร้องเอะอะขึ้น คนนั้นจึงรีบปีน
หนีไป แต่เรายังใช้ปืนยิงเขาถึงตาย อย่างนี้จะอ้างว่ายิงเขาตายเป็นการกระทำ
เพื่อป้องกันไม่ได้
2. เราเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นก่อนหรือเป็นผู้ที่ท้าทายผู้อื่นก่อน เช่น เราเป็นฝ่ายก่อเหตุ
ด่าเขาก่อน เมื่อเขาจะเข้ามาทำร้าย เราจึงทำร้ายเขานั้น จะอ้างว่าป้องกันตัวไม่ได้
3. เราเป็นผู้สมัครใจเข้าต่อสู้ วิวาทกัน ที่ไม่ใช่การโต้เถียงกัน แต่ทั้งคู่กระทำโดย
ใช้กำลังเข้าชกต่อยหรือตบตีกัน ย่อมถือว่าสมัครใจทะเลาะวิวาท อ้างเหตุป้องกัน
ตัวไม่ได้
ตัวอย่างการป้องกันที่เกินสมควรแก่เหตุ เช่น เด็กเข้ามาลักทรัพย์สินในบ้าน
เราโดยไม่มีอาวุธ ขณะเด็กโผล่ขึ้นมาจากที่ซ่อนตัวใต้แคร่อันเป็นที่จำกัด เราอาจ
ใช้วิธีอื่นในการสกัดจับเด็กหรือเรียกคนอื่นมาช่วยกันจับ แต่เราถึงขั้นใช้อาวุธปืนยิง
จนเด็กเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัส ย่อมเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
......................
สรุปคราวๆ
1. ก่อนยิงต้องดูมันมีอาวุธรึเปล่า มันกำลังจะหนีหรือซ่อนตัวรึเปล่า ถ้ามันมามือเปล่าห้ามยิง ถ้ามันกำลังหนีหรือซ่อนตัวห้ามยิง
2. ให้ไล่จับมันได้อย่างเดียว ความเป็นจริง อยู่คนเดียวใครจะช่วยจับ ถ้าจับไม่ได้เดี๋ยวมันก็มาอีก
3. ถ้ามันมีอาวุธเราถึงจะตอบโต้มันได้ ความเป็นจริงจะรู้ได้อย่างไรว่ามันมีอาวุธ หรือต้องรอให้มันยิงเราก่อน หรือถึงตัวเราก่อน เราถึงยิงมันได้ จะบ้าตาย
4. เป็นโจรมันสบายจริงๆ