สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
แทนที่จะไล่ให้เค้าเหล่านั้นไปเรียนต่อ ผมกลับเห็นว่าบ้านเราควรปรับปรุงเรื่องค่านิยมบ้าปริญญามากกว่า(รู้ว่าคงยาก)
- หากทุกคนรู้จักเคารพหน้าที่ของกันและกัน บริษัทจะเจริญได้ก็ต่อเมื่อมีฟันเฟืองครบ ตั้งแต่ยาม ไปจนถึงผู้จัดการ
บ้านเราเคารพแต่ผู้จัดการ หยามหมิ่นผู้ทำหน้าที่ต่ำต้อยกว่า โดยไม่มองว่าเค้าเหล่านั้นเป็นเฟืองจักรหนึ่งที่ขับเคลื่อนบริษัท ให้เดินหน้าไปอย่างไม่ติดขัด นายช่างจึงดูต่ำต้อยกว่าผู้จัดการ เพราะบ้านเราวัดกันแค่เงินเดือนและความเหลื่อมล้ำของเงินเดือนมีอยู่สูง และกลไกของการทำงานของบ้านเราก็พิกลพิการ มีเพียงรูปแบบเดียวคือถ้าอยู่มานานก็ต้องไปทำงานบริหาร เพราะเงินเดือนตันติดเพดาน(ใครเป็นคนกำหนด?) การบริการงานเป็นศาสตร์และศิลป์ เหมาะกับคนบางจำพวก ไม่ใช่ทุกคนจะทำงานบริหารได้ดี การทำงานที่ตัวเองไม่ถนัด เราจึงเสียนายช่างฝีมือดีไปหนึ่งคน ได้ผู้บริหารแย่ๆหนึ่งคนมาแทน
- การแบ่งเป็นสายอาชีพและสายสามัญ รวมถึงค่านิยมบ้าปริญญา ส่งผลให้สายสามัญเหยียดสายอาชีพในสายงานเดียวกันว่าเป็นเพียงพลเมืองชั้นสอง วิกฤติอย่างหนึ่งของอาชีวะก็คือ เมื่อภาคการศึกษาเปิดโอกาสให้เขาเหล่านั้นสามารถเรียนต่อจนจบปริญญาตรีได้ ทำไมเขาจะไม่เอา ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงส่วนใหญ่ก็ต่อจนจบปริญญาทั้งนั้น [แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามหลักสูตรก็ล็อคไว้ว่า ไม่สามารถได้รับ"วุฒิเดียวกันกับสายสามัญ" (เพราะถูกตัดรายวิชาหลักออกบางส่วน ทำให้หน่วยกิตไม่ครบตามเกณฑ์ที่จะได้ตามวุฒิของสายสามัญ) ได้เป็นวุฒิข้างเคียงแทน]
- ปัญหาที่ตามมาก็คือปริญญาตรีก็เฟ้อ มีแต่เจ้านาย มีแต่คนสั่ง แต่ไม่มีคนระดับปฎิบัติการ อย่างวงการสถาปัตย์ ตอนนี้มีแต่สถาปนิก แต่ขาดคนเขียนแบบ(Draft Man) สุดท้ายสถาปนิกจบใหม่ก็ต้องมาเขียนแบบเอง ซึ่งก็ผิดๆถูกๆเพราะวิชาเขียนแบบเรียนน้อยกว่า พวกที่เรียนสายอาชีพ
- ปัญหาพวกนี้แก้ยังไง จากเคสที่เคยไปเห็นมาที่ต่างแดน
1.เค้าให้เกียรติว่าทุกคนต่างก็เป็นฟันเฟืองหนึ่งของสังคม ของงาน ดังนั้นทุกคนต่างมีความสำคัญ
2.ให้ความสำคัญกับอายุงานโดยเฉพาะLocal Experience ดราฟแมนอายุงาน20ปี ที่เมืองนี้ เงินเดือนสูงกว่าสถาปนิกใหม่จบดร.
3.ทุกคนสามารถเจริญก้าวหน้าไปในทางของตัวเองได้ ไม่ใช่แค่สายบริหารเท่านั้น
บ้านเราบ้าปริญญา จึงเต็มไปด้วยคนจบมาแล้วทำงานไม่เป็น แถมลึกๆแล้วยังชอบแบ่งชนชั้น ไม่รู้จักการให้เกียรติคนอื่นการทำงานเป็นทีมเลยไม่เกิด ยังไม่นับพวกโตเพราะเส้นสายฯลฯ เดี๋ยวจะออกทะเลไปไกล ผมว่าส่วนหนึ่งที่เค้าไม่เรียนต่อก็เพราะความไม่พร้อมทางด้านเศรฐกิจ หรืออาจด้วยโลกทัศน์ของสังคมเค้ายังแคบ(ส่วนใหญ่อยู่ในโลกของคนประเภทหาเช้ากินค่ำ) แต่ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่าหากเค้าเป็นคนรักดี ก็จะมีทางที่จะเจริญขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งเพียงใบปริญญาครับ
- หากทุกคนรู้จักเคารพหน้าที่ของกันและกัน บริษัทจะเจริญได้ก็ต่อเมื่อมีฟันเฟืองครบ ตั้งแต่ยาม ไปจนถึงผู้จัดการ
บ้านเราเคารพแต่ผู้จัดการ หยามหมิ่นผู้ทำหน้าที่ต่ำต้อยกว่า โดยไม่มองว่าเค้าเหล่านั้นเป็นเฟืองจักรหนึ่งที่ขับเคลื่อนบริษัท ให้เดินหน้าไปอย่างไม่ติดขัด นายช่างจึงดูต่ำต้อยกว่าผู้จัดการ เพราะบ้านเราวัดกันแค่เงินเดือนและความเหลื่อมล้ำของเงินเดือนมีอยู่สูง และกลไกของการทำงานของบ้านเราก็พิกลพิการ มีเพียงรูปแบบเดียวคือถ้าอยู่มานานก็ต้องไปทำงานบริหาร เพราะเงินเดือนตันติดเพดาน(ใครเป็นคนกำหนด?) การบริการงานเป็นศาสตร์และศิลป์ เหมาะกับคนบางจำพวก ไม่ใช่ทุกคนจะทำงานบริหารได้ดี การทำงานที่ตัวเองไม่ถนัด เราจึงเสียนายช่างฝีมือดีไปหนึ่งคน ได้ผู้บริหารแย่ๆหนึ่งคนมาแทน
- การแบ่งเป็นสายอาชีพและสายสามัญ รวมถึงค่านิยมบ้าปริญญา ส่งผลให้สายสามัญเหยียดสายอาชีพในสายงานเดียวกันว่าเป็นเพียงพลเมืองชั้นสอง วิกฤติอย่างหนึ่งของอาชีวะก็คือ เมื่อภาคการศึกษาเปิดโอกาสให้เขาเหล่านั้นสามารถเรียนต่อจนจบปริญญาตรีได้ ทำไมเขาจะไม่เอา ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงส่วนใหญ่ก็ต่อจนจบปริญญาทั้งนั้น [แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามหลักสูตรก็ล็อคไว้ว่า ไม่สามารถได้รับ"วุฒิเดียวกันกับสายสามัญ" (เพราะถูกตัดรายวิชาหลักออกบางส่วน ทำให้หน่วยกิตไม่ครบตามเกณฑ์ที่จะได้ตามวุฒิของสายสามัญ) ได้เป็นวุฒิข้างเคียงแทน]
- ปัญหาที่ตามมาก็คือปริญญาตรีก็เฟ้อ มีแต่เจ้านาย มีแต่คนสั่ง แต่ไม่มีคนระดับปฎิบัติการ อย่างวงการสถาปัตย์ ตอนนี้มีแต่สถาปนิก แต่ขาดคนเขียนแบบ(Draft Man) สุดท้ายสถาปนิกจบใหม่ก็ต้องมาเขียนแบบเอง ซึ่งก็ผิดๆถูกๆเพราะวิชาเขียนแบบเรียนน้อยกว่า พวกที่เรียนสายอาชีพ
- ปัญหาพวกนี้แก้ยังไง จากเคสที่เคยไปเห็นมาที่ต่างแดน
1.เค้าให้เกียรติว่าทุกคนต่างก็เป็นฟันเฟืองหนึ่งของสังคม ของงาน ดังนั้นทุกคนต่างมีความสำคัญ
2.ให้ความสำคัญกับอายุงานโดยเฉพาะLocal Experience ดราฟแมนอายุงาน20ปี ที่เมืองนี้ เงินเดือนสูงกว่าสถาปนิกใหม่จบดร.
3.ทุกคนสามารถเจริญก้าวหน้าไปในทางของตัวเองได้ ไม่ใช่แค่สายบริหารเท่านั้น
บ้านเราบ้าปริญญา จึงเต็มไปด้วยคนจบมาแล้วทำงานไม่เป็น แถมลึกๆแล้วยังชอบแบ่งชนชั้น ไม่รู้จักการให้เกียรติคนอื่นการทำงานเป็นทีมเลยไม่เกิด ยังไม่นับพวกโตเพราะเส้นสายฯลฯ เดี๋ยวจะออกทะเลไปไกล ผมว่าส่วนหนึ่งที่เค้าไม่เรียนต่อก็เพราะความไม่พร้อมทางด้านเศรฐกิจ หรืออาจด้วยโลกทัศน์ของสังคมเค้ายังแคบ(ส่วนใหญ่อยู่ในโลกของคนประเภทหาเช้ากินค่ำ) แต่ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่าหากเค้าเป็นคนรักดี ก็จะมีทางที่จะเจริญขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งเพียงใบปริญญาครับ
ความคิดเห็นที่ 11
มองอีกมุม ทำไม ค่านิยม ปริญญา ถึงยังคงอยู่ในประเทศนี้
ยาวหน่อย แต่มันคือเรื่องจริง ที่ไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน ถึงจะเปลี่ยนค่านิยมได้
วันก่อนไปนั่งฟังสัมมนาที่ TCDC มีสถาปนิกมาบรรยาย 2 ท่าน มีอยู่ประเด็นที่พูดถึงการล่มสลายของอาชีวะในไทย ก็คงคล้ายๆ กับบทความนี้ ...
" มหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบ !
ในยุโรปคนที่เรียนหมอ เรียนวิศวะ เรียนทนายความ ส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นกลางที่ห่วงใยเรื่องทำมาหากิน เพราะว่าเป็นอาชีพที่ได้เงินเยอะ
ทีนี้ชนชั้น สูงเขาเรียนอะไร อย่างเจ้าชายวิลเลี่ยมก็เรียนประวัติศาสตร์ศิลปะ ก็คือคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องการทำมาหากินก็จะไปเรียนวรรณคดี ศิลปะ
ในประเทศญี่ปุ่นก็เป็นเช่นนั้น คือชนชั้นสูงของญี่ปุ่นชอบเรียนรู้วิธีการที่จะอยู่กับเวลาว่างเพื่อให้เกิด ความสุข เช่น การเรียนชงชา เรียนจัดดอกไม้ เรียนเขียนกลอนเขียนกวี เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นวิชาของคนที่ไม่ต้องเดือนร้อนเรื่องการทำมาหากิน
แต่สำหรับคนไทยนั้นกลับกัน เพราะบางทีสอบเข้าอะไรไม่ได้แต่ดันไปติดวรรณคดี ก็ไม่รู้หรอกว่าตัวเองนี้อยากเรียนวรรณคดีหรือเปล่า ไม่ได้ตั้งคำถามว่าจบวรรณคดีแล้วจะไปทำงานอะไร
ในสังคมไทยเราจะรู้สึกว่าคนเรียนหมอเป็นคนที่มีอันจะกิน ไม่ใช่เรื่องของชนชั้นกลาง แต่เป็นอาชีพของชนชั้นสูงด้วยซ้ำไป
แต่สำหรับคนญี่ปุ่น ไม่จำเป็นเลยที่ทุกคนจะต้องเข้ามหาวิทยาลัย
เด็กนักเรียนไทยเมื่อจบ ม.3 จะขึ้นชั้น ม.ปลายก็จะมีวิธีคิดเรื่องของเกรดเฉลี่ย คือโรงเรียนก็จะมีการคัดเด็กเข้า ม.4 โดยคัดจากเกรดเฉลี่ยว่าถึงเกณฑ์หรือเปล่า แล้วเด็กที่เกรดไม่ถึงก็จะต้องไปเรียนสายอาชีวะ สายอาชีพ
จึงเท่ากับว่า เป็นการแบ่งเด็กออกเป็น 2 เกรด เด็กที่เรียนสายอาชีวะคือเด็กที่เรียนไม่เก่ง เป็นเด็กที่มีทักษะน้อยกว่าเด็กที่เรียนสายสามัญ
แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า เพราะเหตุนี้หรือเปล่าเป็นสาเหตุที่ทำให้การเรียนระดับอาชีวะ หรือเรียนสายอาชีพของไทยมันดูไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรีเท่ากับการเรียนสายสามัญเพื่อที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่มีอะไรมาประกันได้ว่าเด็กสายสามัญทุกคนจะสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้ หรือถ้าคุณสอบเข้ามหาวิทยาลัยระดับต้น ๆ ไม่ได้คุณก็จะมาเข้ามหาวิทยาลัยรอง ๆ ลงมา และก็ไม่ได้ประกันด้วยว่าคุณจะได้เข้าเรียนในคณะที่คุณชอบจริง ๆหรือเปล่า คุณจะได้เรียนในสิ่งที่คุณจะเอาไปประกอบอาชีพจริง ๆ หรืออาจเป็นการเรียนเพื่อให้ได้แค่...ใบปริญญา
มโนทัศน์อย่างหนึ่งของคนไทยที่ปลูกฝังมากันตั้งแต่เด็ก ๆ ในเรื่องการเรียนการศึกษาคือ เรียนเพื่อให้ได้เป็นเจ้าคนนายคน เพื่อที่จะเติบใหญ่ เพื่อที่จะได้ประกอบอาชีพ เรียนให้ถึงมหาวิทยาลัยเพื่อมาเป็นเจ้าคนนายคน
เพราะฉะนั้น คนไทยไม่ได้ตั้งความหวังไว้กับการศึกษาของลูกว่า เรียนเพื่อไปเป็นช่างประปาเก่ง ๆ เรียนเพื่อไปเป็นช่างไฟฟ้าเก่ง ๆ เรียนเพื่อไปเป็นช่างเทคนิคเก่ง ๆ เรียนเพื่อไปทำสีรถให้สวย ๆ ได้ยังไง
ทำให้ดินแดนที่ชื่อว่าประเทศไทยต้องตั้งคำถามว่า ทำไมประเทศนี้จึงหาช่างเก่ง ๆได้ยากเหลือเกิน
หาคนทาสีบ้านได้ยาก
หาช่างประปาก็ยาก
หาช่างไฟดีดีก็ยิ่งกว่าหาเข็มในมหาสมุทร
แล้วถ้ามีช่างไฟเก่ง ๆ ก็ต้องง้องอนเขามากเลย ถ้าคุณเจอปัญหาท่อน้ำแตก รั่ว คด งอ หรือระเบิดในผนังบ้านคุณ คุณจะรู้เลยว่าทำไมประเทศนี้หาช่างที่มีทักษะแล้วดูดีมีความภาคภูมิใจใน อาชีพของตนได้ยากเหลือเกิน
เพราะคนไทยไม่ได้ปลูกฝังมโนทัศน์ที่ว่าให้ทุกคนพึงพอใจหรือภาคภูมิใจในอาชีพ ของตน และทัศนะคติของคนไทยยังไม่เห็นว่าทุกอาชีพมีเกียรติเท่ากันหมด ลัทธิคลั่งปริญญาของสังคมไทย ทำให้สังคมไทยลืมให้ความสำคัญกับการเรียนสายอาชีพ
ปัญหาของสังคมไทยคือเราสามารถผลิตนักเรียนที่จบมัธยมปลายได้ และก็สามารถที่จะผลักดันให้นักเรียนนั้นได้เข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ และชั้นรอง ชั้นย่อยออกไปได้ แต่เพื่อที่จะถามว่าเรียนอะไรนั้นยังพบว่ามีปัญหา
เพราะเด็กของเราส่วนใหญ่ “ไม่รู้” หรอกว่าอยากเรียนอะไร คิดแต่ว่าทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ได้เข้าไปอยู่ในมหาวิทยาลัย คณะอะไรก็ได้ บางคนไปเรียนบรรณารักษ์ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รักการอ่าน ไม่ได้สนใจเลยว่าห้องสมุดที่น่าสนใจมันเป็นยังไง ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วบรรณารักษ์ไม่ใช่เป็นแค่ยายแก่เฝ้าหนังสือ บรรษรักษ์ก็เหมือน curator ของ museum คือคุณสามารถทำกิจกรรมอะไรในห้องสมุดได้หลากหลายมาก หรือบางคนเรียนภาษาไทยเป็นเพราะคณะรับคะแนนไม่สูง แต่พอจบออกมาแล้วหางานทำไม่ได้ แล้วก็เข้าสู่ระบบตลาดที่รับเงินเดือน 7,000 - 9,000 บาท
ถามว่าพอกินไหม...ไม่พอกิน !
ขณะเดียวกันถ้าคุณรู้ตั้งแต่แรกว่าคุณไม่เหมาะที่จะเรียนในระบบมหาวิทยาลัย
คุณไม่ต้องแคร์ใบปริญญาได้ไหม คุณไปเข้าโรงเรียนการสอนทำแพตเทิร์น ไปเรียนเย็บผ้า ไปเรียนทำผมอย่างนี้ไปเลย เรียนแล้วคุณก็อาจเป็นช่างทำผมที่เก่งมาก เป็นช่างนวดหน้าที่ดีมาก อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ แล้วเราจะทำอย่างไรให้สังคมไทยคิดอย่างนี้ ?
เราต้องให้ประเทศนี้ให้ความสำคัญกับการเปิดโรงเรียนสอนช่างประปา ช่างไฟฟ้า ช่างทำผม อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งมันทำให้เราเห็นโอกาสทางการศึกษา แล้วก็เกิดการพัฒนาตัวเอง คนก็จะขวนขวาย แล้วเมื่อทุกอาชีพได้รับเกียรติอย่างเท่าเทียมกัน คนก็จะบอกว่า ใบปริญญาไม่ใช่สิ่งสำคัญ สิ่งสำคัญก็คือความภาคภูมิใจในหน้าที่การงานของตน เพราะฉะนั้น
ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่เจริญแล้ว เขาไม่บ้าเอาปริญญามาใส่กรอบติดฝาบ้านเหมือนคนไทย เพราะเขามีการนับถือกันและกันในการเป็นมนุษย์ร่วมสังคมเดียวกัน เขาให้เกียรติทุกอาชีพอย่างเท่าเทียม แล้วเงินเดือนแต่ละอาชีพไม่ได้แตกต่างกันมากด้วย อย่างกรรมกรก่อสร้างกับพนักงานบริษัทก็เงินเดือนพอ ๆ กัน เพราะถือว่าฝึกฝนมาอย่างหนักไม่แพ้กัน และคุณต้องหาความรู้เพื่อสอบเลื่อนระดับขึ้นไปอยู่เรื่อย ๆ เหล่านี้คือความแตกต่างระหว่างบ้านเรากับญี่ปุ่น เพราะฉะนั้น
เรื่องทัศนะคติทางการศึกษานี้จะต้องเปลี่ยนที่ค่านิยมของพ่อแม่ ด้วย เปลี่ยนค่านิยมของตัวเด็กเองด้วย ความสำเร็จของชีวิตไม่ใช่ใบปริญญาที่ติดอยู่กับฝาบ้าน ไม่ใช่งานฉลองรับปริญญา แต่คือ
การที่เราได้ประกอบอาชีพที่เรารัก อาชีพที่เรามีความถนัด
ถ้าเราเปลี่ยนค่านิยมของพ่อแม่ได้
เปลี่ยนจินตนาการของเด็กนักเรียนได้ว่า
มหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบ
ใบปริญญาไม่ใช่ตัวตัดสินอนาคต
ศักดิ์ศรีอาชีพที่เท่าเทียมก็จะปรากฏให้เห็นเด่นชัดในสังคมไทย
แล้วจะรู้ซึ้งถึงแก่นแท้ว่า จริง ๆแล้ว "มหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบ"
Cr.leotutor By Admin สิงห์ทอง..
สาระน่ารู้ เกี่ยวกับรัฐศาสตร์
เพิ่มเติมจากแม่สัน:
เจตนาของผู้เขียนบทความนี้ เข้าใจว่า ไม่อยากให้วิ่งตามกระแส ว่าต้องต้องได้ใบปริญญา จะได้เป็นเจ้าคนนายคน เพราะได้ใบปริญญาแล้ว มีอาชีพเตะฝุ่นก็ถมไป ผู้เขียนคงอยากให้เราได้ทำมาหาเลี้ยงชีพกับงานที่เหมาะกับเรามากที่สุดค่ะ
เพราะผู้เขียนได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า
“ทัศนะคติทางการศึกษา คือการที่เราได้ประกอบอาชีพที่เรารัก อาชีพที่เรามีความถนัด”
ค่านิยมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งแม่สันเห็นว่าพ่อแม่ในไทยเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นเหมือนกันคือ พอจบม.3 จะต้องอยากให้ลูกได้เรียนต่อสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ ผลการศึกษาล่าสุด เด็กที่อยู่ชั้น ม.3 มีไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ที่จะเรียนต่อสายอาชีพ เพราะค่านิยมที่คิดว่าเรียน ม.4 จะดีกว่าเรียนสายอาชีพ จะมีโอกาสที่ดีกว่าสายอาชีพ
ความจริง การเรียนต่อสายอาชีพ เมื่อเรียนจบและได้ทำงานแล้ว ถ้าอยากจะได้ใบปริญญา เพื่อต่อยอดในอาชีพ ก็สามารถกลับมาเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเมื่อต้องการได้ทุกเมื่อ อย่างเช่นสายอาชีวะ ที่เข้าไปเรียนต่อเป็นวิศวะกร พวกเขาเหล่านี้จะมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนดีกว่าเพื่อนที่ไม่เคยทำงานมาก่อนค่ะ
และค่านิยมที่เรียนต่อ ม.4 ถ้าคะแนนถึงพอที่จะเรียนสายวิทย์ได้ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็จะใส่ข้อมูลให้เด็กว่า ให้เลือกเรียนสายวิทย์ไว้ก่อน เรียนไม่ไหว่ค่อยย้าย เพราะมีทางเลือกที่จะเรียนต่อ ได้มากกว่าที่จะเรียนสายศิลป์
ทำไมล่ะคะ? ถ้าเด็กคนหนึ่ง เขารู้แน่นอนว่า เขาไม่ชอบวิศวะ ไม่ชอบหมอ ไม่ชอบวิทยาศาสตร์ เขาจะเป็นนักการตลาด เป็นนักธุรกิจ การธนาคาร หรือนักบัญชี ทำไมจะต้องไปเรียนสายวิทย์ให้เปลืองสมอง? เอาสมองส่วนที่เหลือ ไปหาความรู้ในสิ่งที่เขาสนใจและชอบทำไม่ดีกว่าหรือคะ
แม่สันอยากจะบอกว่า ขอให้เด็ก ๆ ที่กำลังจะเป็นอนาคตของชาติทุกคน “ค้นหาตัวเองให้เจอ”ค่ะ ว่าชอบอะไร อยากทำงานอะไร ถ้าได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ก็จะมีความสุขกับการทำงานค่ะ และอาชีพที่คิดว่าตัวเองชอบนั้น ให้หาโอกาสไปคุยกับคนที่ได้ทำงานอยู่ในอาชีพนั้นเลย ว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้เช็คกับคำตอบของตัวเองว่า ใช่หรือไม่? ตรงกับที่เราคิดไว้หรือที่เข้าใจหรือไม่ค่ะ
โดยส่วนตัวแล้ว แม่สันจะบอกลูกเลยว่า แม่ไม่มีเงิน ไม่มีสมบัติอะไรที่จะให้ แม่จะให้เฉพาะการศึกษา ลูกต้องการเรียนมากแค่ไหน เรียนไหวแค่ไหน แม่ก็จะส่งเสียให้ได้เรียน ถ้าอยากได้ อยากมีอะไร ก็ต้องรอให้เรียนจบ ทำงาน มีรายได้แล้ว ค่อยเก็บเงินซื้อเอง
ลูกแม่สันคนโต ที่คิดว่าตนเองอยากจะเรียนหมอ เขาก็ยังต้องใช้เวลาค้นหาตัวเองให้เจอ ว่าใช่สิ่งที่เขาชอบจริงหรือไม่ เขาใช้เวลาตัดสินใจตั้งแต่ตอนอายุ 15 ปี ว่าจะใช่สิ่งที่เขาชอบจริงหรือไม่ เพราะเขาจะต้องอยู่กับอาชีพนั้นไปตลอดชีวิตการทำงาน ซึ่งเขาก็ต้องเช็คความสนใจ ความต้องการ ความสามารถของตัวเอง และได้ให้เขามีโอกาสพูดคุยกับแพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาลเมื่อตอนเรียนมัธยมปลาย เพื่อสอบถาม หรือถามสิ่งที่เขายังอยากรู้ จากผู้มีประสบการณ์ตรง เมื่อได้พูดคุยและเช็คความต้องการของตนเองจนแน่ใจแล้ว จึงเดินหน้าต่อ เพื่อไปตามทางเดินที่ตัวเองอยากไปค่ะ
ส่วนเพื่อนลูกชาย เป็นคนต่างชาติ เรียนเก่งเหมือนกัน ได้คะแนนสอบสูงเท่ากัน ซึ่งหมายความว่าจะสอบเข้าเรียนต่อหมอได้เช่นกัน แต่ชาวต่างชาตินั้น ถ้าเขาไม่แน่ใจว่าตัวเองชอบเป็นหมอจริงหรือไม่ เขาจะไม่เรียนต่อในมหาวิทยาลัยทันทีที่เรียนจบ เขาจะพักการเรียนไปก่อน 1 ปี ที่ฝรั่งเขาเรียกว่า “gap year” เพื่อไปทำการค้นหาตัวเองให้เจอ ไปฝึกงานดู ว่าสิ่งที่คิดว่าตัวเองชอบนั้น มันใช่หรือไม่ หรือไปหาสิ่งที่ตัวเองอยากเป็นให้เจอก่อน เพื่อนคนนี้ ไปฝึกงานอยู่ 1 ปี เข้าใจว่าไปช่วยงานในโรงพยาบาล อาจจะไปเป็นผู้ช่วยบุรุษพยาบาล อาจจะเข็นรถเข็น เข็นเตียง ฯลฯ จนคิดว่าตนเองชอบทำงานในโรงพยาบาล อยากเป็นหมอ จึงได้กลับเข้ามาเรียนหมอในปีถัดไป โดยไม่รู้สึกว่าเสียดายเวลาที่ช้าไป 1 ปีแม้แต่น้อย
เพื่อนอีกคน เป็นลูกครึ่ง หน้าตาหล่อเหลาเป็นพระเอกหนังได้เลย เวลาไปซื้อของแบกะดิน คนขายมักจะบอกราคาของเป็นภาษาอังกฤษ คิดว่าขายของให้ฝรั่ง เมื่อเพื่อนพูดตอบเป็นภาษาไทย คนขายเลยบอกราคาขายเป็นราคาคนไทย เพื่อนคนนี้ก็ใช้เวลาหาอาชีพที่จะทำในอนาคต 1 ปี (gab year) ที่กองถ่ายภาพยนต์ หลังจากหนังจึงกลับไปเรียนเกี่ยวกับภาพยนต์/การแสดง
แม่สันอยากจะฝากไว้เป็นข้อคิดสำหรับคุณพ่อคุณแม่ หรือเด็ก ๆ ที่กำลังอยู่ในวัยมัธยมปลาย หรือกำลังจะเป็นบัญฑิตด้วยนะคะ ว่ามหาลัยนั้นเป็นสถานที่ ๆ ทำให้เราได้เรียนรู้ในสาขาวิชาที่จะนำไปประกอบอาชีพในอนาคต อยากเป็นอะไร เอาให้รู้แน่ ๆ ว่า “ใช่” แล้วค่อยเรียนเถอะค่ะ ไม่อย่างนั้นเสียเวลาเรียนจนจบ 4 ปี ได้ใบปริญญาแล้ว มันไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองอยากจะเป็น อยากจะทำ หรืออาจจะไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองถนัด ก็จะทำให้มีความยากลำบากในการประกอบอาชีพตามที่ได้เรียนมา หรือได้ทำงานก็จะไม่มีความสุขกับงานที่ทำค่ะ
ขอยกตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานนี้ มีเด็กสาววัยใส หน้าตาน่ารัก อารมณ์ดี พ่ออยากให้ยายหนูเรียนวิทยาศาสตร์ เด็กก็เรียนไบโอเคมีตามใจพ่อ เรียนจนจบปริญญาตรี เพิ่งรับปริญญาไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ เมื่อถามเด็กว่าทำงานอยู่ที่ไหน เด็กตอบว่า ไม่ไปทำงานค่ะ ตอนนี้กลับไปเรียนปี 1 ใหม่ เรียนในสาขาวิชาที่ตัวเองชอบ ที่เขาอยากจะทำงานค่ะ เด็กให้เหตุผลว่าปริญญาใบแรกเรียนให้พ่อ แต่ใบใหม่นี้ เรียนให้ตัวเองค่ะ
น่าคิดนะคะ เด็กกตัญญูมาก ยอมเรียนเพื่อพ่อ เพื่อให้พ่อได้สมหวัง เพื่อความสุขของพ่อ แต่ยังไม่ละทิ้งความฝัน ความต้องการของตนเองค่ะ "
Cr. เพจ SuperSun- Special Edu
ยาวหน่อย แต่มันคือเรื่องจริง ที่ไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน ถึงจะเปลี่ยนค่านิยมได้
วันก่อนไปนั่งฟังสัมมนาที่ TCDC มีสถาปนิกมาบรรยาย 2 ท่าน มีอยู่ประเด็นที่พูดถึงการล่มสลายของอาชีวะในไทย ก็คงคล้ายๆ กับบทความนี้ ...
" มหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบ !
ในยุโรปคนที่เรียนหมอ เรียนวิศวะ เรียนทนายความ ส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นกลางที่ห่วงใยเรื่องทำมาหากิน เพราะว่าเป็นอาชีพที่ได้เงินเยอะ
ทีนี้ชนชั้น สูงเขาเรียนอะไร อย่างเจ้าชายวิลเลี่ยมก็เรียนประวัติศาสตร์ศิลปะ ก็คือคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องการทำมาหากินก็จะไปเรียนวรรณคดี ศิลปะ
ในประเทศญี่ปุ่นก็เป็นเช่นนั้น คือชนชั้นสูงของญี่ปุ่นชอบเรียนรู้วิธีการที่จะอยู่กับเวลาว่างเพื่อให้เกิด ความสุข เช่น การเรียนชงชา เรียนจัดดอกไม้ เรียนเขียนกลอนเขียนกวี เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นวิชาของคนที่ไม่ต้องเดือนร้อนเรื่องการทำมาหากิน
แต่สำหรับคนไทยนั้นกลับกัน เพราะบางทีสอบเข้าอะไรไม่ได้แต่ดันไปติดวรรณคดี ก็ไม่รู้หรอกว่าตัวเองนี้อยากเรียนวรรณคดีหรือเปล่า ไม่ได้ตั้งคำถามว่าจบวรรณคดีแล้วจะไปทำงานอะไร
ในสังคมไทยเราจะรู้สึกว่าคนเรียนหมอเป็นคนที่มีอันจะกิน ไม่ใช่เรื่องของชนชั้นกลาง แต่เป็นอาชีพของชนชั้นสูงด้วยซ้ำไป
แต่สำหรับคนญี่ปุ่น ไม่จำเป็นเลยที่ทุกคนจะต้องเข้ามหาวิทยาลัย
เด็กนักเรียนไทยเมื่อจบ ม.3 จะขึ้นชั้น ม.ปลายก็จะมีวิธีคิดเรื่องของเกรดเฉลี่ย คือโรงเรียนก็จะมีการคัดเด็กเข้า ม.4 โดยคัดจากเกรดเฉลี่ยว่าถึงเกณฑ์หรือเปล่า แล้วเด็กที่เกรดไม่ถึงก็จะต้องไปเรียนสายอาชีวะ สายอาชีพ
จึงเท่ากับว่า เป็นการแบ่งเด็กออกเป็น 2 เกรด เด็กที่เรียนสายอาชีวะคือเด็กที่เรียนไม่เก่ง เป็นเด็กที่มีทักษะน้อยกว่าเด็กที่เรียนสายสามัญ
แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า เพราะเหตุนี้หรือเปล่าเป็นสาเหตุที่ทำให้การเรียนระดับอาชีวะ หรือเรียนสายอาชีพของไทยมันดูไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรีเท่ากับการเรียนสายสามัญเพื่อที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่มีอะไรมาประกันได้ว่าเด็กสายสามัญทุกคนจะสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้ หรือถ้าคุณสอบเข้ามหาวิทยาลัยระดับต้น ๆ ไม่ได้คุณก็จะมาเข้ามหาวิทยาลัยรอง ๆ ลงมา และก็ไม่ได้ประกันด้วยว่าคุณจะได้เข้าเรียนในคณะที่คุณชอบจริง ๆหรือเปล่า คุณจะได้เรียนในสิ่งที่คุณจะเอาไปประกอบอาชีพจริง ๆ หรืออาจเป็นการเรียนเพื่อให้ได้แค่...ใบปริญญา
มโนทัศน์อย่างหนึ่งของคนไทยที่ปลูกฝังมากันตั้งแต่เด็ก ๆ ในเรื่องการเรียนการศึกษาคือ เรียนเพื่อให้ได้เป็นเจ้าคนนายคน เพื่อที่จะเติบใหญ่ เพื่อที่จะได้ประกอบอาชีพ เรียนให้ถึงมหาวิทยาลัยเพื่อมาเป็นเจ้าคนนายคน
เพราะฉะนั้น คนไทยไม่ได้ตั้งความหวังไว้กับการศึกษาของลูกว่า เรียนเพื่อไปเป็นช่างประปาเก่ง ๆ เรียนเพื่อไปเป็นช่างไฟฟ้าเก่ง ๆ เรียนเพื่อไปเป็นช่างเทคนิคเก่ง ๆ เรียนเพื่อไปทำสีรถให้สวย ๆ ได้ยังไง
ทำให้ดินแดนที่ชื่อว่าประเทศไทยต้องตั้งคำถามว่า ทำไมประเทศนี้จึงหาช่างเก่ง ๆได้ยากเหลือเกิน
หาคนทาสีบ้านได้ยาก
หาช่างประปาก็ยาก
หาช่างไฟดีดีก็ยิ่งกว่าหาเข็มในมหาสมุทร
แล้วถ้ามีช่างไฟเก่ง ๆ ก็ต้องง้องอนเขามากเลย ถ้าคุณเจอปัญหาท่อน้ำแตก รั่ว คด งอ หรือระเบิดในผนังบ้านคุณ คุณจะรู้เลยว่าทำไมประเทศนี้หาช่างที่มีทักษะแล้วดูดีมีความภาคภูมิใจใน อาชีพของตนได้ยากเหลือเกิน
เพราะคนไทยไม่ได้ปลูกฝังมโนทัศน์ที่ว่าให้ทุกคนพึงพอใจหรือภาคภูมิใจในอาชีพ ของตน และทัศนะคติของคนไทยยังไม่เห็นว่าทุกอาชีพมีเกียรติเท่ากันหมด ลัทธิคลั่งปริญญาของสังคมไทย ทำให้สังคมไทยลืมให้ความสำคัญกับการเรียนสายอาชีพ
ปัญหาของสังคมไทยคือเราสามารถผลิตนักเรียนที่จบมัธยมปลายได้ และก็สามารถที่จะผลักดันให้นักเรียนนั้นได้เข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ และชั้นรอง ชั้นย่อยออกไปได้ แต่เพื่อที่จะถามว่าเรียนอะไรนั้นยังพบว่ามีปัญหา
เพราะเด็กของเราส่วนใหญ่ “ไม่รู้” หรอกว่าอยากเรียนอะไร คิดแต่ว่าทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ได้เข้าไปอยู่ในมหาวิทยาลัย คณะอะไรก็ได้ บางคนไปเรียนบรรณารักษ์ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รักการอ่าน ไม่ได้สนใจเลยว่าห้องสมุดที่น่าสนใจมันเป็นยังไง ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วบรรณารักษ์ไม่ใช่เป็นแค่ยายแก่เฝ้าหนังสือ บรรษรักษ์ก็เหมือน curator ของ museum คือคุณสามารถทำกิจกรรมอะไรในห้องสมุดได้หลากหลายมาก หรือบางคนเรียนภาษาไทยเป็นเพราะคณะรับคะแนนไม่สูง แต่พอจบออกมาแล้วหางานทำไม่ได้ แล้วก็เข้าสู่ระบบตลาดที่รับเงินเดือน 7,000 - 9,000 บาท
ถามว่าพอกินไหม...ไม่พอกิน !
ขณะเดียวกันถ้าคุณรู้ตั้งแต่แรกว่าคุณไม่เหมาะที่จะเรียนในระบบมหาวิทยาลัย
คุณไม่ต้องแคร์ใบปริญญาได้ไหม คุณไปเข้าโรงเรียนการสอนทำแพตเทิร์น ไปเรียนเย็บผ้า ไปเรียนทำผมอย่างนี้ไปเลย เรียนแล้วคุณก็อาจเป็นช่างทำผมที่เก่งมาก เป็นช่างนวดหน้าที่ดีมาก อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ แล้วเราจะทำอย่างไรให้สังคมไทยคิดอย่างนี้ ?
เราต้องให้ประเทศนี้ให้ความสำคัญกับการเปิดโรงเรียนสอนช่างประปา ช่างไฟฟ้า ช่างทำผม อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งมันทำให้เราเห็นโอกาสทางการศึกษา แล้วก็เกิดการพัฒนาตัวเอง คนก็จะขวนขวาย แล้วเมื่อทุกอาชีพได้รับเกียรติอย่างเท่าเทียมกัน คนก็จะบอกว่า ใบปริญญาไม่ใช่สิ่งสำคัญ สิ่งสำคัญก็คือความภาคภูมิใจในหน้าที่การงานของตน เพราะฉะนั้น
ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่เจริญแล้ว เขาไม่บ้าเอาปริญญามาใส่กรอบติดฝาบ้านเหมือนคนไทย เพราะเขามีการนับถือกันและกันในการเป็นมนุษย์ร่วมสังคมเดียวกัน เขาให้เกียรติทุกอาชีพอย่างเท่าเทียม แล้วเงินเดือนแต่ละอาชีพไม่ได้แตกต่างกันมากด้วย อย่างกรรมกรก่อสร้างกับพนักงานบริษัทก็เงินเดือนพอ ๆ กัน เพราะถือว่าฝึกฝนมาอย่างหนักไม่แพ้กัน และคุณต้องหาความรู้เพื่อสอบเลื่อนระดับขึ้นไปอยู่เรื่อย ๆ เหล่านี้คือความแตกต่างระหว่างบ้านเรากับญี่ปุ่น เพราะฉะนั้น
เรื่องทัศนะคติทางการศึกษานี้จะต้องเปลี่ยนที่ค่านิยมของพ่อแม่ ด้วย เปลี่ยนค่านิยมของตัวเด็กเองด้วย ความสำเร็จของชีวิตไม่ใช่ใบปริญญาที่ติดอยู่กับฝาบ้าน ไม่ใช่งานฉลองรับปริญญา แต่คือ
การที่เราได้ประกอบอาชีพที่เรารัก อาชีพที่เรามีความถนัด
ถ้าเราเปลี่ยนค่านิยมของพ่อแม่ได้
เปลี่ยนจินตนาการของเด็กนักเรียนได้ว่า
มหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบ
ใบปริญญาไม่ใช่ตัวตัดสินอนาคต
ศักดิ์ศรีอาชีพที่เท่าเทียมก็จะปรากฏให้เห็นเด่นชัดในสังคมไทย
แล้วจะรู้ซึ้งถึงแก่นแท้ว่า จริง ๆแล้ว "มหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบ"
Cr.leotutor By Admin สิงห์ทอง..
สาระน่ารู้ เกี่ยวกับรัฐศาสตร์
เพิ่มเติมจากแม่สัน:
เจตนาของผู้เขียนบทความนี้ เข้าใจว่า ไม่อยากให้วิ่งตามกระแส ว่าต้องต้องได้ใบปริญญา จะได้เป็นเจ้าคนนายคน เพราะได้ใบปริญญาแล้ว มีอาชีพเตะฝุ่นก็ถมไป ผู้เขียนคงอยากให้เราได้ทำมาหาเลี้ยงชีพกับงานที่เหมาะกับเรามากที่สุดค่ะ
เพราะผู้เขียนได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า
“ทัศนะคติทางการศึกษา คือการที่เราได้ประกอบอาชีพที่เรารัก อาชีพที่เรามีความถนัด”
ค่านิยมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งแม่สันเห็นว่าพ่อแม่ในไทยเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นเหมือนกันคือ พอจบม.3 จะต้องอยากให้ลูกได้เรียนต่อสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ ผลการศึกษาล่าสุด เด็กที่อยู่ชั้น ม.3 มีไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ที่จะเรียนต่อสายอาชีพ เพราะค่านิยมที่คิดว่าเรียน ม.4 จะดีกว่าเรียนสายอาชีพ จะมีโอกาสที่ดีกว่าสายอาชีพ
ความจริง การเรียนต่อสายอาชีพ เมื่อเรียนจบและได้ทำงานแล้ว ถ้าอยากจะได้ใบปริญญา เพื่อต่อยอดในอาชีพ ก็สามารถกลับมาเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเมื่อต้องการได้ทุกเมื่อ อย่างเช่นสายอาชีวะ ที่เข้าไปเรียนต่อเป็นวิศวะกร พวกเขาเหล่านี้จะมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนดีกว่าเพื่อนที่ไม่เคยทำงานมาก่อนค่ะ
และค่านิยมที่เรียนต่อ ม.4 ถ้าคะแนนถึงพอที่จะเรียนสายวิทย์ได้ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็จะใส่ข้อมูลให้เด็กว่า ให้เลือกเรียนสายวิทย์ไว้ก่อน เรียนไม่ไหว่ค่อยย้าย เพราะมีทางเลือกที่จะเรียนต่อ ได้มากกว่าที่จะเรียนสายศิลป์
ทำไมล่ะคะ? ถ้าเด็กคนหนึ่ง เขารู้แน่นอนว่า เขาไม่ชอบวิศวะ ไม่ชอบหมอ ไม่ชอบวิทยาศาสตร์ เขาจะเป็นนักการตลาด เป็นนักธุรกิจ การธนาคาร หรือนักบัญชี ทำไมจะต้องไปเรียนสายวิทย์ให้เปลืองสมอง? เอาสมองส่วนที่เหลือ ไปหาความรู้ในสิ่งที่เขาสนใจและชอบทำไม่ดีกว่าหรือคะ
แม่สันอยากจะบอกว่า ขอให้เด็ก ๆ ที่กำลังจะเป็นอนาคตของชาติทุกคน “ค้นหาตัวเองให้เจอ”ค่ะ ว่าชอบอะไร อยากทำงานอะไร ถ้าได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ก็จะมีความสุขกับการทำงานค่ะ และอาชีพที่คิดว่าตัวเองชอบนั้น ให้หาโอกาสไปคุยกับคนที่ได้ทำงานอยู่ในอาชีพนั้นเลย ว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้เช็คกับคำตอบของตัวเองว่า ใช่หรือไม่? ตรงกับที่เราคิดไว้หรือที่เข้าใจหรือไม่ค่ะ
โดยส่วนตัวแล้ว แม่สันจะบอกลูกเลยว่า แม่ไม่มีเงิน ไม่มีสมบัติอะไรที่จะให้ แม่จะให้เฉพาะการศึกษา ลูกต้องการเรียนมากแค่ไหน เรียนไหวแค่ไหน แม่ก็จะส่งเสียให้ได้เรียน ถ้าอยากได้ อยากมีอะไร ก็ต้องรอให้เรียนจบ ทำงาน มีรายได้แล้ว ค่อยเก็บเงินซื้อเอง
ลูกแม่สันคนโต ที่คิดว่าตนเองอยากจะเรียนหมอ เขาก็ยังต้องใช้เวลาค้นหาตัวเองให้เจอ ว่าใช่สิ่งที่เขาชอบจริงหรือไม่ เขาใช้เวลาตัดสินใจตั้งแต่ตอนอายุ 15 ปี ว่าจะใช่สิ่งที่เขาชอบจริงหรือไม่ เพราะเขาจะต้องอยู่กับอาชีพนั้นไปตลอดชีวิตการทำงาน ซึ่งเขาก็ต้องเช็คความสนใจ ความต้องการ ความสามารถของตัวเอง และได้ให้เขามีโอกาสพูดคุยกับแพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาลเมื่อตอนเรียนมัธยมปลาย เพื่อสอบถาม หรือถามสิ่งที่เขายังอยากรู้ จากผู้มีประสบการณ์ตรง เมื่อได้พูดคุยและเช็คความต้องการของตนเองจนแน่ใจแล้ว จึงเดินหน้าต่อ เพื่อไปตามทางเดินที่ตัวเองอยากไปค่ะ
ส่วนเพื่อนลูกชาย เป็นคนต่างชาติ เรียนเก่งเหมือนกัน ได้คะแนนสอบสูงเท่ากัน ซึ่งหมายความว่าจะสอบเข้าเรียนต่อหมอได้เช่นกัน แต่ชาวต่างชาตินั้น ถ้าเขาไม่แน่ใจว่าตัวเองชอบเป็นหมอจริงหรือไม่ เขาจะไม่เรียนต่อในมหาวิทยาลัยทันทีที่เรียนจบ เขาจะพักการเรียนไปก่อน 1 ปี ที่ฝรั่งเขาเรียกว่า “gap year” เพื่อไปทำการค้นหาตัวเองให้เจอ ไปฝึกงานดู ว่าสิ่งที่คิดว่าตัวเองชอบนั้น มันใช่หรือไม่ หรือไปหาสิ่งที่ตัวเองอยากเป็นให้เจอก่อน เพื่อนคนนี้ ไปฝึกงานอยู่ 1 ปี เข้าใจว่าไปช่วยงานในโรงพยาบาล อาจจะไปเป็นผู้ช่วยบุรุษพยาบาล อาจจะเข็นรถเข็น เข็นเตียง ฯลฯ จนคิดว่าตนเองชอบทำงานในโรงพยาบาล อยากเป็นหมอ จึงได้กลับเข้ามาเรียนหมอในปีถัดไป โดยไม่รู้สึกว่าเสียดายเวลาที่ช้าไป 1 ปีแม้แต่น้อย
เพื่อนอีกคน เป็นลูกครึ่ง หน้าตาหล่อเหลาเป็นพระเอกหนังได้เลย เวลาไปซื้อของแบกะดิน คนขายมักจะบอกราคาของเป็นภาษาอังกฤษ คิดว่าขายของให้ฝรั่ง เมื่อเพื่อนพูดตอบเป็นภาษาไทย คนขายเลยบอกราคาขายเป็นราคาคนไทย เพื่อนคนนี้ก็ใช้เวลาหาอาชีพที่จะทำในอนาคต 1 ปี (gab year) ที่กองถ่ายภาพยนต์ หลังจากหนังจึงกลับไปเรียนเกี่ยวกับภาพยนต์/การแสดง
แม่สันอยากจะฝากไว้เป็นข้อคิดสำหรับคุณพ่อคุณแม่ หรือเด็ก ๆ ที่กำลังอยู่ในวัยมัธยมปลาย หรือกำลังจะเป็นบัญฑิตด้วยนะคะ ว่ามหาลัยนั้นเป็นสถานที่ ๆ ทำให้เราได้เรียนรู้ในสาขาวิชาที่จะนำไปประกอบอาชีพในอนาคต อยากเป็นอะไร เอาให้รู้แน่ ๆ ว่า “ใช่” แล้วค่อยเรียนเถอะค่ะ ไม่อย่างนั้นเสียเวลาเรียนจนจบ 4 ปี ได้ใบปริญญาแล้ว มันไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองอยากจะเป็น อยากจะทำ หรืออาจจะไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองถนัด ก็จะทำให้มีความยากลำบากในการประกอบอาชีพตามที่ได้เรียนมา หรือได้ทำงานก็จะไม่มีความสุขกับงานที่ทำค่ะ
ขอยกตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานนี้ มีเด็กสาววัยใส หน้าตาน่ารัก อารมณ์ดี พ่ออยากให้ยายหนูเรียนวิทยาศาสตร์ เด็กก็เรียนไบโอเคมีตามใจพ่อ เรียนจนจบปริญญาตรี เพิ่งรับปริญญาไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ เมื่อถามเด็กว่าทำงานอยู่ที่ไหน เด็กตอบว่า ไม่ไปทำงานค่ะ ตอนนี้กลับไปเรียนปี 1 ใหม่ เรียนในสาขาวิชาที่ตัวเองชอบ ที่เขาอยากจะทำงานค่ะ เด็กให้เหตุผลว่าปริญญาใบแรกเรียนให้พ่อ แต่ใบใหม่นี้ เรียนให้ตัวเองค่ะ
น่าคิดนะคะ เด็กกตัญญูมาก ยอมเรียนเพื่อพ่อ เพื่อให้พ่อได้สมหวัง เพื่อความสุขของพ่อ แต่ยังไม่ละทิ้งความฝัน ความต้องการของตนเองค่ะ "
Cr. เพจ SuperSun- Special Edu
แสดงความคิดเห็น
ทำไมพนักงานที่จบ ปวช. ปวส. ไม่เรียนต่อกัน
บางคนที่จบช่างมาทำงานเเล้ว น่าจะเก็บเงินเพื่อไปเรียนต่อระดับปริญญาตรีเพื่อจะได้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มีตำเเหน่งที่สูงขึ้น
เเต่พวกเขาก็ไม่ไปเรียน อาจเพราะมีภาระครอบครัวภาระค่าใช้จ่ายเช่นผ่อนรถ จึงทำให้ไม่มีเงินพอที่จะไปศึกษาต่อ
ผมว่านักศึกษา ปวส. ปวช. ที่จบมา ควรจะทำงานเเล้วเก็บเงินเพื่อเรียนต่อด้วย ไม่ควรที่จะรีบมีครอบครัว หรือไปผ่อนอะไรที่เป็นภาระค่าใช้จ่ายเยอะ
พนักงานรายวันที่จบ ม6. ก็เช่นกัน ทำไมพวกเขาไม่คิดที่จะไปเรียนต่อ
ทำงานก็เหนื่อย เงินเดือนก็น้อย เเล้วจะมีความมั่นคงหรือไม่
คงเป็นเพราะพวกเขาไม่มีเงินพอที่จะเรียน หรือว่าไม่อยากเรียน หรือคิดว่าสายไปเเล้ว